การเชื่อมไฟฟ้าควรใช้เลนส์เบอร์

ชนิดอุปกรณ์ป้องกันดวงตา สามารถแบ่งได้ตามประเภทการใช้งาน ดังนี้

1.แว่นครอบตา

แว่นครอบตา อาจแบ่งย่อยออกไปอีก ตามลักษณะของการใช้งาน ได้ดังนี้:

1.1 แว่นครอบตาสำหรับใช้กับงานเจียร์ (IMPACT GOGGLE):

โดยปกติทั้งตัวกรอบแว่นและเลนส์ ทำด้วยพลาสติกใส ลักษณะของแว่นครอบตาชนิดนี้จะมีรูพรุนเล็กๆ เป็นจำนวนมากอยู่โดยรอบกรอบแว่น (เพื่อระบายความร้อนที่ออกจากผู้ใช้ ไปสู่ภายนอกแว่นในขณะปฏิบัติงาน เลนส์ของแว่นจะมีลักษณะเป็นแผ่นเดียวกันตลอด ไม่แยกจากกัน มีความหนาโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 0.04 นิ้ว สำหรับไว้ป้องกันฝุ่นหรือเศษของวัสดุที่เจียร์ เช่น หิน เหล็ก พลาสติก ไฟเบอร์กลาส ฯลฯ

1.2 แว่นครอบตาสำหรับใช้กับงานเจียร์ และป้องกันสารเคมี (CHEMICAL & IMPACT GOGGLE):

แว่นครอบตาชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากกว่าชนิดแรก เพราะสามารถใช้งานได้มากกว่า กล่าวคือ ใช้สำหรับป้องกันสารเคมีกระเซ็น และเศษหรือฝุ่นจากงานเจียร์ปลิวเข้าตา ลักษณะโดยทั่วไปของแว่นครอบตาชนิดนี้คล้ายกับชนิดแรก จะต่างกันก็เพียงการระบายความร้อนออกสู่ภายนอกแว่นเท่านั้น กล่าวคือแว่นครอบตาชนิดนี้จะใช้ลิ้นระบาย (EXHAUST VALVE) ระบายความร้อนออกสู่ภายนอกแว่นแทน ซึ่งโดยมากจะมีอยู่ด้วยกัน 4-6 ลิ้นรอบกรอบแว่น ส่วนเลนส์จะเป็นชนิดเดียวกันกับชนิดแรก

1.3 แว่นครอบตาสำหรับใช้ป้องกันสารเคมี ควันและงานเจียร์ (CHEMICAL SPLASH GOGGLE):

แว่นครอบตาชนิดนี้ จะมีลักษณะแตกต่างออกไปจากแว่นทั้งสองชนิดที่กล่าวมาแล้ว ตัวกรอบแว่นจะมีลักษณะกว้างและโค้งแนบกับใบหน้าได้ดีกว่า และไม่มีลิ้นรูระบายความร้อน เลนส์จะมีลักษณะโค้งไปตามกรอบแว่น เนื่องจากแว่นชนิดนี้ไม่มีรูระบายความร้อน แต่ใช้ระบบการระบายความร้อนออกจากตัวแว่น ด้วยวิธีไหลผ่านจากเลนส์สู่กรอบแว่นสู่ภายนอกแทน (INDIRRCT VENT) ดังนั้นแว่นชนิดนี้จึงเหมาะสำหับใช้กันควัน สารเคมีและบริเวณที่มีฝุ่น หรือเศษของชิ้นงานจากงานเจียร์จำนวนมากได้ดีกว่าชนิดที่ 1 หรือ 2

1.4 แว่นครอบตาสำหรับเชื่อม (WELDING GOGGLE):

กล่าวคือ จะใช้ลิ้นระบายความร้อนออกจากแว่นเหมือนกัน จะต่างกันก็เพียงเลนส์ที่ใช้มักจะเป็นชนิดเลนส์แยกทำด้วยแก้วชุบแข็ง (HARDEN GLASS) มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ:.

1.4.1 ชนิดเลนส์ติดตายกับตัวกรอบแว่น (FIXED LENS WELDING GOGGLE): แว่นเชื่อมชนิดนี้จะมีเลนส์ติดตายอยู่ที่ตัวกรอบแว่น มีข้อดีคือ อายุการใช้งานยาวนาน ข้อเสียคือ ไม่สะดวกต่อผู้ปฏิบัติงานมากนัก เวลาจะเคาะรอยตะเข็บเชื่อมต้องถอดแว่นออก

1.4.2 ชนิดเลนส์ปิด-เปิดได้ (FLIP-UP WELDING GOGGLE): แว่นเชื่อมชนิดนี้จะมีเลนส์ขึ้นลง ปิด-เปิด ข้อดีและข้อเสียจะตรงกันข้ามกับชนิดแรก ปัจจุบันแว่นเชื่อมชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากกว่าชนิดแรก

แว่นครอบตาสำหรับงานเชื่อมทั้ง 2 ชนิด ดังกล่าวข้างต้นเหมาะสำหรับการเชื่อมแก๊สเท่านั้น ไม่ควรนำมาใช้กับงานเชื่อมไฟฟ้า

อนึ่ง ความเข้มของกระจกเชื่อมที่ใช้จะแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาของชิ้นโลหะที่เชื่อม ชนิดของโลหะ ฯลฯ โดยจะมีความเข็มที่ใช้แตกต่างกันออกไปดังนี้คือ

ตารางแสดงลักษณะงานกับขนาดของเลนส

ลักษณะงาน ชนิดของเลนส์
(SHADE NUMBER)
 1. ผู้ปฏิบัติงานใกล้งานเชื่อมและตัด 2
 2. งานเชื่อมทองเหลือง บัดกรี 3-4
 3. งานตัดหรือเชื่อมด้วยอ๊อกซิเจนหรือก๊าซชิ้นงานหนาไม่เกิน 1/8 นิ้ว 4-5
 4. งานตัดหรือเชื่อมด้วยอ๊อกซิเจน หรือก๊าซ ชิ้นงานหนามากกว่า 1/2 และงานเชื่อมไฟฟ้าน้อยกว่า 30 แอมป์ 5-6
 5. งานเชื่อมด้วยก๊าซ ชิ้นงานมากกว่า 1/2 นิ้วและงานเชื่อมไฟฟ้า 30-75 แอมป์ 5-8
 6. งานเชื่อมไฟฟ้า 75-200 แอมป์ 10
 7. งานเชื่อมไฟฟ้า 200-400 แอมป์ 12
 8. งานเชื่อมไฟฟ้า มากกว่า 400 แอมป์ 14

แว่นครอบดังกล่าวทั้งหมดนี้เป็นเพียงแว่นครอบตาชนิดหลักที่ใช้กันอยู่ทั่วๆ ไปในโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น ยังมีแว่นครอบตาที่ใช้เฉพาะงานอยู่อีกมากมายหลายประเภท ซึ่งมีรูปลักษณะแตกต่างกันออกไปตามจุดประสงค์ของการใช้งาน อนึ่ง แว่นครอบตาทุกชนิดควรมีมาตรฐานความปลอดภัยรับรอง อาทิเช่น ANSI 87.2-1989, B.S2092-2 DIN.4647 ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้มั่นใจว่าได้สินค้าที่ใช้มีคุณภาพและมาตรฐานจริงๆ

2.แว่นตานิรภัย (SAFETY GLASSES)

ลักษณะของแว่นตานิรภัย จะมีลักษณะ คล้ายคลึงกับแว่นสายตา หรือ แว่นแฟชั่นโดยทั่วๆ ไป ต่างกันเพียงเลนส์ที่ใช้และมีกระบังข้างตรงกรอบแว่นตาเพิ่มขึ่นเท่านั้น

จุดประสงค์ของการใช้แว่นตานิรภัย: แว่นตานิรภัยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้สวมใส่ สามารถป้องกันนัยน์ตาจากงานต่างๆ ดังนี้
     1. งานกลึง
     2. งานประกอบชิ้นส่วน (รถยนต์ ฯลฯ)
     3. งานเชื่อมโดยวิธียิงด้วยไฟฟ้า
     4. งานในห้องแล็บ
     5. งานหล่อโลหะ

วิธีการทดสอบเลนส์ของแว่นนิรภัย :

ตามมาตรฐานสถาบันมาตรฐานความปลอดภัยอเมริกา ข้อที่ ANSI Z 87.1-1963 (ANSI = AMERICAN NATIONAL STANDARD INSTITUTE) กล่าวไว้ดังนี้

“นำเลนที่จะทดสอบมาไว้ยังฐานซึ่งอยู่ในแนวราบ (HORIZONTAL LEVEL) จากนั้นกาลูกเหล็กที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว น้ำหนักของลูกเหล็ก 2.4 ออนซ์ วัดระยะห่างของลูกเหล็ก และจุดศูนย์กลางของเลนส์มี่จะทดสอบ ให้ห่างกันประมาณ 50 นิ้ว (1.30 เมตร) จากนั้นให้ปล่อยลูกเหล็กทิ้งลงมาอย่างอิสระลงบนผิวหน้าตรงจุดศูนย์กลางเลนส์ ถ้าหากเลนส์ที่ทดสอบไม่มีรอยร้างใดๆ เกิดขึ้น ถือว่าเลนส์ดังกล่าวเป็นเลนส์นิรภัยได้”

ตัวอย่างแว่นตานิรภัย มาตรฐาน ANSI ดูได้ที่

//www.pdgth.com/product_cat.php?idsection=11

facebook : Thai-Safetywiki

ติดต่อเรา : Thai-Safetywiki

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้