สัญลักษณ์ การควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า

1.1 บทนำ

            สถานประกอบการหรืออุตสาหกรรมในประเทศไทย ได้มีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อใช้ในสายงานการผลิต เพื่อลดการใช้กำลังงานและลดต้นทุนการผลิต ซึ่งเครื่องจักรทุกเครื่องจำเป็นต้องใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นเครื่องต้นกำลัง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบุคลากรของโรงงานจะต้องมีความรู้และความเข้าใจในการสั่งการหรือควบคุมคำสั่งนั้นๆ ให้ทำงานได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ฉะนั้นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานดังกล่าวจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในด้านควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า ตลอดจนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในวงจรควบคุมมอเตอร์ ซึ่งผู้ผลิตเครื่องจักรแต่ละประเภทอาจใช้สัญลักษณ์ที่แตกต่างกัน

1.2 สัญลักษณ์

            สัญลักษณ์ที่ใช้ในการควบคุมมอเตอร์ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ ประมาณปี พ.ศ.2510 ประเทศในแถบยุโรป อเมริกา และเอเชียยังใช้สัญลักษณ์ที่แตกต่างกัน จนกระทั่งในปี พ.ศ.2520 (ค.ศ. 1977) จึงได้มีการจัดตั้งองค์การขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานของงานด้านวิศวกรรมให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่นเดียวกับหน่วยวัดปริมาณความยาว มวล และเวลา ซึ่งใช้มาตรฐาน SI (System International Units) สำหรับงานวิศวกรรมไฟฟ้านั้นใช้มาตรฐาน IEC (International Electrotechnical Commission) ฯลฯ องค์การดังกล่าวมีชื่อว่า International Organization for Standardization

โดยทั่วไปงานที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ป้องกัน หรือการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ จะต้องมีมาตรฐานเป็นตัวกำหนด ซึ่งมาตรฐานที่ประเทศไทยเราคุ้นเคยก็คือมาตรฐานของประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกา ดังนั้นในบทบาทนี้จึงได้รวบรวมสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมมอเตอร์โดยจำแนกไว้ในตารางที่ 1.1 เป็นการเปรียบเทียบสัญลักษณ์ 4 มาตรฐานคือ สัญลักษณ์ของประเทศเยอรมัน ประเทศอังกฤษ ประเทศอเมริกา/แคนาดา และสัญลักษณ์นานาชาติ (IEC) และตารางที่ 1.2 เป็นสัญลักษณ์อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมมอเตอร์มาตรฐานของอเมริกา

ต ารางที่ 1.1 สัญลักษณ์อุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรควบคุมมอเตอร์ เปรียบเทียบ 4 มาตรฐาน

ตารางที่ 1.2 สัญลักษณ์ที่ใช้ในวงจรควบคุมมอเตอร์มาตรฐานอเมริกา

1.3 แมกเนติก คอนแทคเตอร์

แมกเนติก คอนแทคเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “คอนแทคเตอร์” เป็นอุปกรณ์ตัดต่อวงจรไฟฟ้าซึ่งควมคุมโดยแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อมีกระแสกระตุ้นขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า จะทำให้หน้าสัมผัสของคอมเทคเตอร์ต่อถึงกัน ทำให้วงจรไฟฟ้าครบวงจร กระแสจากแหล่งจ่ายไฟจึงไหลผ่านไปที่โหลดได้ เมื่อตัดกระแสกระตุ้นออก สนามแม่เหล็กไฟฟ้าก็จะหมดไป สปริงจะดันให้หน้าสัมผัสแยกออกจากกัน ทำให้วงจรไฟฟ้าไม่ครบวงจร

คอนแทคเตอร์มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ

ก.      ขดลวดสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ คอยล์ (Magnetic coil)

ข.      หน้าสัมผัสหลัก คือ คอนแทคเมน (Main contact) ใช้เป็นหน้าสัมผัสสำหรับปิด-เปิด วงจรเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น มอเตอร์หรือโหลดอื่นๆ ที่ต้องการกระแสสูง (Power circuit)ทั้งนี้เพราะว่าหน้าสัมผัสหลักมีขนาดใหญ่ สามารถรับกระแสมาก ๆ ได้

ค.      หน้าสัมผัสช่วย หรือ คอนแทคช่วย (Auxiliary contact) ใช้เป็นหน้าสัมผัสสำหรับปิด-เปิดวงจรควบคุม (Control circuit) หน้าสัมผัสมีขนาดเล็ก รับกระแสได้น้อย

    ข้อดีของคอนแทคเตอร์

        ก.      สามารถตัดต่อวงจรที่มีกระแสสูงได้ ด้วยอุปกรณ์ควบคุมซึ่งกินกระแสต่ำ

        ข.      ใช้กับงานที่มีลักษณะต่อเนื่อง หรืองานซึ่งมีการตัดและต่อวงจรบ่อยๆ

        ค.      เป็นอุปกรณ์ที่แข็งแรงทนทานและใช้งานได้นาน

        ง.       สามารถปรับให้ใช้กับระบบควบคุมอื่นๆ ได้ง่าย

ด้วยสาเหตุดังกล่าว คอนแทคเตอร์จึงถูกนำไปใช้งานอย่างกว้างขวาง ในการตัดต่อวงจรไฟฟ้ากำลังและงานควบคุมมอเตอร์

1.4 รีเลย์ช่วยหรือคอนโทรลรีเลย์ (Auxiliary relay or Control relay)

หมายถึง สวิตส์ที่ทำงานโดยอาศัยอำนาจแม่เหล็กช่วยให้เกิดการตัดต่อวงจรควบคุม มีลักษณะการทำงานเหมือนกับคอนแทคเตอร์ ต่างกันที่หน้าคอนแทคของรีเลย์ช่วยทนกระแสได้ต่ำดังนั้นจังไม่สมควรนำไปต่อเข้ากับโหลด ลักษณะของคอนแทคมีทั้งแบบปกติเปิด (NO) และแบบปกติ (NC) รูปที่ 1-6 เป็นรีเลย์ช่วยสำหรับติดตั้งกับรางเหล็กในตู้ควบคุม

อักษรกำกับอุปกรณ์สำหรับรีเลย์ช่วยสัญลักษณ์ IEC จะมีอักษร A ต่อท้ายตัวอย่าง เช่น K 2 A และ K 3 4 เป็นต้น

1.5 รีเลย์ตั้งเวลาหรือไทม์เมอร์

            เป็นรีเลย์ที่ใช้ในวงจรควบคุมอีกชนิดหนึ่งแต่สามารถปรับตั้งเวลาทำงานของหน้าคอนแทคได้ หมายความว่าจะให้คอนแทคตัดหรือต่อวงจรภายในเวลาที่กำหนดหลังจากจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ตัวรีเลย์ เรียกว่าไทม์เมอร์แบบออน ดีเลย์ (ON-Delay type) หรือจะให้คอนแทคตัดหรือต่อวงจรภายในเวลาที่กำหนดหลังจากหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ตัวรีเลย์ เรียกว่า ไทม์เมอร์ แบบออฟดีเลย์ (OFF -Delay type) รีเลย์ตั้งเวลาแบ่งออกตามลักษณะการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมได้หลายชนิด เช่น รีเลย์ตั้งเวลาทำงานโดยอาศัยลม เรียกว่า “อิเล็กทรอนิก ไทม์เมอร์” ดังแสดงในรูปที่ 1-9 ก. รีเลย์ตั้งเวลาทำงานโดยอาศัยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า “อิเล็กทรอนิกส์ ไทม์เมอร์” ดังแสดงในรูปที่ 1-9 ข. และรีเลย์ตั้งเวลาทำงานโดยอาศัยแรงขับมอเตอร์ เรียกว่า “มอเตอร์ ไดรฟ์เวน ไทม์เมอร์”

1.5.1 หน่วงเวลาหลังจากจ่ายไฟเข้า (On-delay) เมื่อจ่ายไฟเข้ารีเลย์ตั้งเวลา หน้าคอนเทคจะอยู่ในสภาพเดิมก่อน เมื่อครบกำหนดเวลาที่ตั้งไว้แล้ว หน้าคอนแทคจึงจะเปลี่ยนสภาพไปเป็นสภาวะตรงข้ามและจะค้างอยู่ในตำแหน่งนั้นจนกว่าจะหยุดการจ่ายไฟเข้ารีเลย์ หน้าคอนแทคจึงกลับสู่สภาพเดิม

    1.5.2 หน่วงเวลาหลังจากตัดไฟออก (Off-delay) เมื่อจ่ายไฟเข้ารีเลย์ตั้งเวลา หน้าคอนแทคจะเปลี่ยนสภาพไปเป็นสภาวะตรงข้ามทันที หลังจากตัดไฟออกจากรีเลย์แล้วจึงเริ่มหน่วงเวลาเมื่อครบกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ หน้าคอนแทคจะกลับสู่สภาพเดิมอักษรกำกับอุปกรณ์สำหรับรีเลย์ตั้งเวลา สัญลักษณ์มาตรฐาน IEC จะมีตัวอักษร T ต่อท้าย เช่น K 4

T หรือ K 5 T เป็นต้น สัญลักษณ์ของรีเลย์ตั้งเวลามาตรฐาน U.S./Canada และ มาตรฐานสากล แสดงไว้ใน

1.6 รีเลย์โหลดเกินหรือโอเวอร์

 เป็นอุปกรณ์สำหรับป้องกันมิให้มอเตอร์ทำงานเกินกำลัง หรือป้องกันมิให้มอเตอร์เสียหายเนื่องจากการใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัดหากกระแสไฟฟ้าไหลเกินกว่าพิกัดจะทำให้ขดลวดภายในมอเตอร์ร้อนขึ้นเรื่อยๆ และไหม้ในที่สุด แต่ถ้าหากภายในวงจรมีรีเลย์โหลดเกินต่อไว้ และปรับตั้งขนาดพิกัดกระแสให้ถูกต้อง รีเลย์โหลดเกินจะทำหน้าที่ตัดวงจรควบคุมมอเตอร์ออกไปก่อนที่มอเตอร์จะไหม้

           โครงสร้างและหลักการทำงานของรีเลย์โหลดเกินที่จะกล่าวต่อไปเป็นรีเลย์โหลดเกินที่ทำงานโดยอาศัยผลของความร้อน จึงเรียกกันทั่วไปว่า “เทอร์มอล โอเวอร์โหลด รีเลย์” (Thermal overload relay) โครงสร้างภายในประกอบด้วยขดลวดความร้อนพันรอบแผ่นโลหะไบเมทอล โดยใช้กระแสที่ไหลผ่านโหลดเป็นตัวควบคุม เมื่อแผ่นโลหะไบเมทอลร้อนจะโค้งงอไปดันคานส่ง (ทำด้วยเบเกอร์ไลท์) เคลื่อนที่ไปดันหน้าคอนแทคของรีเลย์โหลดเกินในวงจรคอบคุมให้เปิดวงจร

รีเลย์โหลดเกินจะถูกออกแบบไว้เป็น 2 ลักษณะ คือ แบบธรรมดา หรือแบบรีเซทอัตโนมัติ (Automatic reset) เมื่อแผ่นไบเมทอลร้อนจะโค้งงอไปดันคานส่งทำให้หน้าคอนแทคเปิดวงจรและจะกลับมาอยู่ในสภาพเดิมเมื่อเย็นลง กับแบบที่มีปุ่มรีเซท (Hand reset) คือเมื่อตัดวงจรแล้ว หน้าคอนแทคจะถูกล็อคไว้ หากต้องการให้วงจรทำงานใหม่ ทำได้โดยกดปุ่มรีเซท

1.7 สวิตช์ปุ่มกด (Push button switch)

               เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุม เพื่อทำหน้าที่เริ่มเดิน (start) หยุด (stop) เดินหน้า (For-ward) และถอยหลัง (Reverse) เป็นต้น สวิตช์ปุ่มกดมีให้เลือกใช้หลายแบบ

1.8 สวิตช์เลือกหรือซีเล็คเตอร์ สวิตช์ (Selector switch)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในวงจรควบคุม เพื่อทำหน้าที่เลือกทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าหรือตัดกระแสไม่ให้ไหลผ่านวงจรได้ตามต้องการ รูปที่ 1-14 เป็นสวิตช์เลือกแบบธรรมดา แบบก้านยาว และสวิตช์เลือกแบบกุญแจ

1.9 ลิมิตสวิตช์ (Limit switch)

                 ลิมิตสวิตช์ เป็นสวิตช์ที่ใช้ในการควบคุมมอเตอร์ซึ่งจะต้องทำงานร่วมกันกับแมกเนติกคอนแทคเตอร์เสมอ เพื่อควบคุมเครื่องจักรให้ ทำงานโดยอัตโนมัติ เช่น ควบคุมให้เลื่อนไปทางซ้ายและขวา ควบคุมให้เลื่อนขึ้นและลง เป็นต้น               

1.1 สวิตช์ความดัน หรือเพรชเชอร์ สวิตช์ (Puessure switches)

                 ในงานอุตสาหกรรมมีความจำเป็นต้องใช้เพรชเชอร์ สวิตช์ ในงานที่ต้องการควบคุมความดันให้ได้ตามต้องการ เช่น อุปกรณ์ที่ทำงานด้วยลมในระบบนิวเมติก (Pneumatic) หรือน้ำมันในระบบไฮดรอลิก (Hydraulie)

1.11 สวิตช์เลือกแบบดรัม ( Drum switch)

ประกอบด้วยชุดคอนแทคที่ติดตั้งบนแกนฉนวน ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เมื่อหมุนรอบแกนจะทำให้หน้าคอนแทคเกิดการเปลี่ยนแปลง จากปกติปิดเป็นเปิด และจากปกติเปิดเป็นปิดได้ตามความต้องการ  สวิตช์เลือกแบบดรัมสามารถนำไปใช้งานได้มากมาย อาทิ สวิตช์ เลือกสำหรับโวลท์มิเตอร์ (Voltmetre selector switch) สวิตช์เลือกสำหรับแอมป์มิเตอร์ (Ammeter selector switch) สวิตช์เลือกสำหรับเริ่มเดินและหยุดมอเตอร์  (On-off switch) สวิตช์เลือกสำหรับกลับทางหมุนมอเตอร์ (Forward and reverse switch) สวิตช์เลือกสำหรับสตาร์ทมอเตอร์แบบสตาร์- เดลต้า

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้