การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา doc

การบริหารจัดการทรัพยากรการศึกษา...สู่การพัฒนาการเรียนการสอน

           ประเทศที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาทุกประเทศได้ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน  หากสามารถใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนให้มีขีดความสามารถ  มีศักยภาพเต็มสมบูรณ์ตามอัตภาพของแต่ละบุคคลแล้ว  การพัฒนาชุมชน  สังคม  และประเทศก็สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะมีทรัพยากรบุคคลที่ดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมโลกในอนาคตที่เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และเป็นสังคมแห่งปัญหา  ดังนั้น  ประเทศที่มีความสามารถในการปรับเปลี่ยนเรียนรู้ได้ดีมีทรัพยากรบุคคลที่ทรงปัญญาและมีความดีเท่านั้น  ที่จะยืนอยู่ในตำแหน่งประเทศแนวหน้าได้อย่างมั่นคงและสง่างาม  ในขณะเดียวกันประเทศที่มีทรัพยากรบุคคลที่ด้อยประสิทธิภาพ  ด้อยปัญญาย่อมตกเป็นประเทศผู้ตาม  และย่อมได้รับผลกระทบในทางลบโดยไม่อาจหลีกเลี่ยง  ประเทศไทยมีทรัพยากรอยู่ในปริมาณที่เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศ  มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์กว่าหลายๆ ประเทศในโลกแต่ยังไม่สามารถใช้การศึกษา  เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนให้เต็มตามศักยภาพ  เพราะการศึกษาไทยยังมีข้ออ่อนด้อยที่กลายเป็นปัญหาฉุดรั้งหลายประการ  เช่น  เรื่องคุณภาพการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มีผลกระทบจากปัจจัยแวดล้อม  ด้านการเมือง  ด้านเศรษฐกิจ  และด้านสังคม  (สำนักงานการปฏิรูปการศึกษา 2544 : 4)

            การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาบุคคลให้มีคุณภาพ  เป็นทรัพยากรทางปัญญาที่มีค่าของประเทศชาติ  ดังนั้นการศึกษาจึงนับเป็นรากฐานสำคัญที่สุดในปัจจัยหนึ่งของการพัฒนาประเทศ  ให้เจริญก้าวหน้า  สามารถช่วยแก้ปัญหาด้านต่างๆ  ในสังคมได้  เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการที่ช่วยให้คนได้พัฒนาตนเองในด้านต่างๆ  ตลอดชีวิต  (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  2541 : 117)  ดังนั้น  ในการเตรียมเด็กไทยเข้าสู่สังคมฐานความรู้  (Knowledge-Based  Society)  จึงต้องมีการปฏิรูปการเรียนรู้เกิดขึ้น  เพื่อที่จะทำให้มีการพัฒนาปัญญาของเด็กไทยให้เกิดขึ้นอย่างเต็มตามศักยภาพให้มีแนวคิดแบบใหม่ที่สามารถเชื่อมโยงบูรณาการสิ่งต่างๆ  ได้อย่างมีเหตุผล  (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  2545 : 7)

            พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม  พ.ศ.2545  หมวด 8  ทรัพยากรและการลงทุนการศึกษา  มาตรา 58  ระบุว่า  ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ  การเงินและทรัพย์สิน  ทั้งจากรัฐ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  บุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรชุมชน  เอกชน  องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ  สถาบันสังคมอื่นและต่างประเทศมาใช้ในการจัดการศึกษา  ดังนี้

              1. ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาโดยอาจจัดเก็บภาษาเพื่อการศึกษาได้ตามความเหมาะสม  ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

              2. ให้บุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เอกชนองค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ  และสถาบันทางสังคมอื่น  ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาโดยเป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาบริจาคทรัพย์สินและทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น

            ทั้งนี้  ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากรดังกล่าว  โดยการสนับสนุนการอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี  ตามความเหมาะสมและความจำเป็น  (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 2542  ข : 54-55) ดังนั้น  การจัดการศึกษาจะให้มีคุณภาพได้  จะต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมใจกันทุกฝ่ายในสังคม  มีการระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการจัดการศึกษาอย่างหลากหลาย  แต่จากสภาพปัญหายังมีการระดมทรัพยากรที่เกิดจากแหล่งอื่นๆ  เพื่อนำมาใช้ในการจัดการศึกษา  เช่น  เงินอุดหนุนจากท้องถิ่น  การบริจาคจากชุมชนยังมีอยู่น้อย  (นางราม  เศรษฐพานิช และคนอื่นๆ  2541 : 54)  

การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา  หมายถึง สิ่งต่างๆที่ทำให้การจัดการศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ ทรัพยากรทางการศึกษาจึงครอบคลุมอยู่ในความหมายต่างๆไม่ว่าจะมองในแง่ของทางเศษฐศาสตร์ หรือทางการบริหารก็ตาม การดำเนินการกับทรัพยากรเหล่านี้ต้องมีหลักการ วิธีการ และแนวคิดเป็นกรอบเพื่อให้เกิดผลและมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่เนื่องจากการศึกษาเป็นงานใหญ่ ขอบข่ายกว้างขวางครอบคลุมหลายส่วน ทรัพยากรจึงมีเป็นจำนวนมากและกลากหลายรูปแบบ เช่น ทรัพยากรทางการเงิน วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการ รวมทั้งทรัพยากรบุคคลด้วย   

หลักการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา ต้องมุ่งตอบสนองเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่เน้นความสำคัญของตัวผู้เรียน และเน้นการบริหารที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน ตามโครงสร้างการกระจายอำนาจ  การบริหารทรัพยากรจะเป็นกลไกหรือเครื่องมือสำคัญที่กระตุ้นให้สถานศึกษาดำเนินการเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการจัดการศึกษาดังกล่าว จึงกำหนดหลักการสำคัญดังนี้  หลักความเป็นธรรม  (Equity)  หลักความเสมอภาค  (Equality)  หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล  (Efficiency and Effectiveness)  หลักความพอเพียง  (Adequacy) หลักการกระจายอำนาจ  (Decentralization) หลักเสรีภาพ  (Freedom  of Choice)  หลักการปฏิบัติได้จริง (Practicality)

แนวปฏิบัติในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา

            สถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไปจะอยู่ในความดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพราะฉะนั้นการดำเนินการด้านงบประมาณหรือทรัพยากร  ที่จะได้รับจากทางรัฐบาลจึงต้องดำเนินการผ่านเขตพื้นที่การศึกษา  ยกเว้นรายได้ที่สถานศึกษาสามารถหาได้เองไม่ต้องส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินเช่นที่เคยเป็นมา แต่สถานศึกษาจะมีฐานะเป็นหน่วยงบประมาณและหน่วยบริหารการเงินของตนเองด้วยแต่ยังต้องมีเขตพื้นที่ดูแลอีกชั้นหนึ่งเนื่องจากสถานศึกษาไม่ได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล  จึงไม่สามารถรับงบประมาณโดยตรงจากสำนักงานงบประมาณได้และแนวคิดทางการบริหารการศึกษาที่ต้องการให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด การให้เขตพื้นที่การศึกษาเป็นตัวกลางประสานระหว่างสถานศึกษาต่างๆจึงเป็นการดี

การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นั้นต้องตอบสนองต่อนโยบายที่สำคัญดังนี้  การระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ การเงินและทรัพย์สินจากทุกส่วนของสังคมเพื่อนำมาใช้จัดการศึกษา

ให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับการศึกษา  โดยจัดสรรเงินอุดหนุนรายบุคคลให้แก่ผู้เรียนการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดโดยรัฐและเอกชนให้เท่าเทียมกันและจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้แก่ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ให้สถานศึกษามีอิสระในการบริหารงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาควบคู่กับระบบการบริหารการเงินและบัญชี ระบบการตรวจสอบ ติดตามและประเมินประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ

แนวปฏิบัติในการนำระบบการบริหารจัดการทรัพยากรทางหารศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษามีดังนี้ พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากร,ระบบงบประมาณและบัญชีของส่วนกลาง,ระบบการตรวจสอบ ติดตามประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล,ระบบการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษาและพัฒนาระบบบริหารบุคคลทางการศึกษา

ดังนั้นสถานศึกษาจะต้องปฏิบัติในเรื่องต่างๆดังต่อไปนี้ การจัดทำระบบสารสนเทศของสถานศึกษาเพื่อการตรวจสอบและรองรับการประเมินภายในและภายนอก  ควรมีคณะกรรมการหรือหน่วยงานเฉพาะเรื่องเพื่อทำหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์พัฒนารูปแบบวิธีคำนวณค่าใช้จ่ายรายบุคคล สถานศึกษาต้องจัดให้มีมาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ประการ คือ การวางแผนงบประมาณ  การคำนวณต้นทุนของกิจกรรม  การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง  การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ  การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน  การบริหารสินทรัพย์  การตรวจสอบภายใน  เปลี่ยนระบบบัญชีจากเกณฑ์เงินสดและต้องมีระบบตรวจสอบ ความโปร่งใส

การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรทางการศึกษา  โดยการลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วยในการดำเนินการโดยไม่เปลี่ยนรูปแบบขององค์กร  การเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรเพื่อลดค่าใช้จ่าย  ให้ครุอาจารย์ 1 คนรับผิดชอบนักเรียน 20-25 คน   กำหนดมาตรฐานของห้องเรียน และรายวิชา  ลดอัตราบุคลากร  เพิ่มจำนวนชั่วโมงสอนของอาจารย์  ใช้วิธีการศึกษาด้วยตัวเอง  ต้องหาแหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้น  ต้องจำกัดและควบคุมค่าใช้จ่ายต่อหน่วยงาน

การบริหารสถานศึกษาต้องเน้นประสิทธิภาพมากขึ้นและต้องให้ความมั่นใจว่าทรัพยากรถูกใช้ออกไปอย่างคุ้มค่า  ควรเปลี่ยนแปลงการบริหารแบบเดิมที่รวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางมาเป็นการกระจายอำนาจ  นำเอาระบบงบประมาณและวิธีการเงินที่ยืดหยุ่นมาใช้  จัดตั้งระบบ MIS ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรและสถานการณ์ทางทรัพยากร

มีระบบการคัดเลือกนักศึกษาที่เหมาะสมเพื่อใหม่ให้ศูนย์เปล่าจากการเรียนไม่จบหรือลาออกกลางคัน  มีการยุบรวมภาควิชา คณะหรือโปรแกรมที่ไม่คุ้ม  ลดความซับซ้อนของการใช้ทรัพยากรบุคคลและเครื่องมือ  หาแหล่งเงินภายนอกเพิ่ม  สนับสนุนให้เอกชนเข้ามามากขึ้น

ความจำเป็นในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา  เพื่อสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมทุกๆกิจกรรมไม่ว่าจะเป็น คน วัสดุ หรือสิ่งอื่นๆ  เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานในการจัดสรรทรัพยากรให้แก่หน่วยงานนั้นๆ  การควบคุมการดำเนินงานขององค์การหรือผู้รับผิดชอบการบริหารทรัพยากร  การส่งเสริมกิจกรรมใหม่ๆและเพื่อเป็นการกระจายทรัพยากร

หลักในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา  หลักความเสมอภาค ในการบริหารทรัพยากรต้องถือหลักความเสมอภาคอย่างเคร่งครัดคือต้องมีความเสมอภาคในด้านคุณภาพและความเสมอภาคในด้านโอกาส

การวางแผนการใช้ทรัพยากรทางการศึกษา เป็นจุดเริ่มต้นของกิจกรรมทางหารศึกษาที่สำคัญยิ่ง ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทภารกิจในการวางแผนและการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาโดยกำหนดนโยบายและแผนของสถานศึกษา โดยการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่างๆทั้งปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน มาวิเคราะห์กำหนดเป็นนโยบายและแผนของสถานศึกษาให้สนองกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ซึ่งในแผนงานควรมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้  วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน  ขั้นตอนการดำเนินงานระยะเวลาของการดำเนินงาน  ทรัพยากรที่ต้องใช้ในการดำเนินงาน  ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน  การนิเทศกำกับติดตามการดำเนินงาน  การประเมินผลการดำเนินงาน  การบริหารทรัพยากร  โดยการรวบรวมทรัพยากรต่างๆที่ต้องใช้ในการดำเนินงานจากแผนงาน นำมาจัดเรียงลำดับความสำคัญก่อน-หลังเพื่อจัดสรรและใช้ทรัพยากรที่ได้มาอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลเกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด  การประเมินผลการใช้ทรัพยากร เพื่อตรวจสอบความสามารถในการนำทรัพยากรไปใช้ว่าตรงกับความต้องการหรือไม่เพียงไร เกิดผลสำเร็จอย่างไร

การนำผลการประเมินไปใช้  เมื่อประเมินผลการใช้ทรัพยากรจะได้รับข้อมูลย้อนกลับ ซึ่งสามารถนำไปปรับปรุง พัฒนาบริหารทรัพยากรในด้านต่างๆ เช่น การจัดสรร การใช้และควบคุม ตรวจสอบเป็นต้น

แหล่งทรัพยากรทางการศึกษา  ได้แก่  งบประมาณแผ่นดิน  เงินนอกงบประมาณ  เงินจากการลงทุน  ทรัพยากรจากชุมชน แบ่งเป็น 2 รูปแบบ  รูปแบบที่ 1 เป็นการให้แก่บุคลากรโดยตรง เช่นให้ทุนอุดหนุนในการศึกษา การศึกษาวิจัยค้นคว้า  รูปแบบที่ 2 ให้การอุดหนุนแก่สถาบันโดยส่วนรวม เช่นการให้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ  แหล่งทรัพยากรต่างประเทศ  จากภาครัฐ ได้จากงบประมาณแผ่นดิน เงินอุดหนุนจากภาครัฐบาล  จากเอกชน เช่น การลงทุน การบริจาคช่วยเหลือสนับสนุนจากทั้งชุมชนหรือหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ รายได้จากการดำเนินงาน เช่น เงินค่าบำรุงการศึกษา  ค่าจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์การศึกษาที่ผลิตจากสถาบันการศึกษา

การระดุมทรัพยากรท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการศึกษา เป็นกิจกรรมสำคัญที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรตระหนัก และให้ความสำคัญมาเป็นพิเศษ เนื่องจากว่า  สถานศึกษาต่างมีข้อจำกัดเกี่ยวกับทรัพยากรทางการศึกษาที่ใช้ในการบริหารสถานศึกษาที่จะได้รับจากรัฐคำนึงถึงการมีประสิทธิภาพ ในการใช้ทรัพยากรทางการบริหาร

อย่างที่ทราบกันว่าทรัพยากรท้องถิ่นมีมากมาย ดังนั้นการที่ผู้บริหารควรดำเนินการโดยคำถึงสิ่งต่อไปนี้  นโยบายและแผนงานที่ชัดเจนของสถานศึกษา ผู้บริหารต้องตอบให้ได้ว่า

เป้าหมายของการผลิตและการบริการคืออะไร จะดำเนินการอย่างไร จึงมีประสิทธิภาพ จะใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง ระดมจากแหล่งไหนและจะใช้อย่างไร  การดำเนินงานของสถานศึกษา เป็นยุทธวิธีที่ผู้บริหารจะต้องใช้ในการระดมทรัพยากรท้องถิ่น ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การติดตามและประเมินผล เป็นกิจกรรมทางการบริหารที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่สถานศึกษาต้องใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้รับทราบผลการดำเนินงานว่ามีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายหรือไม่

            การระดมสรรพกำลังและทรัพยากรทางการศึกษา ผู้บริหารควรตระหนักและความสำคัญดังนี้ ความชัดเจนในเป้าหมาย การใช้กระบวนการอย่างผสมกลมกลืน ความเป็นสากลของการบริหาร  คือความเมาะสมระหว่างลักษณะของงานหรือภารกิจ ทักษะทางการบริหารและระดับชั้นของผู้บริหาร

พบปัญหาการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาว่า  สถานศึกษายังขาดงบประมาณการเดินทางไปศึกษาในท้องถิ่น  บุคลากรในท้องถิ่นที่มีความรู้ไม่มีเวลาว่างมาให้การศึกษา  แหล่งทรัพยากรในท้องถิ่นมีสภาพไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้งาน  เวลาในการจัดกิจกรรมในท้องถิ่นไม่สอดคล้องกับเวลาเรียนและผลกระทบทางเศรษฐกิจทำให้ได้รับการสนับสนุนด้านการเงิน  งบประมาณจากท้องถิ่นค่อนข้างน้อย  ซึ่งสอดคล้องกับขวัญยืน  แปลงแดง  (2544 : 75) ที่ศึกษาพบว่า  ปัญหาของการใช้ทรัพยากรบุคคลในท้องถิ่นเพื่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาที่ประสบอยู่ในระดับมาก  คือ  การประสานงานไม่ชัดเจน  ทรัพยากรบุคคลที่เชิญมาไม่มีเวลาว่างพอ  ขาดแคลนงบประมาณสนับสนุน  ทรัพยากรบุคคลที่เชิญมามีความรู้และประสบการณ์ไม่เพียงพอ  และขาดการวางแผนงานร่วมกัน  ในเมื่อทรัพยากรต่างๆ  ที่จะนำมาใช้ในการจัดการศึกษามีน้อย  ไม่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาที่จะสามารถทำให้พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้  จึงเห็นว่า  การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาจึงมีความจำเป็นและมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะสามารถจัดการและบริหารทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้ได้ประโยชน์อย่างสูงสุด  จึงได้ทำการศึกษาถึงการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในสถานศึกษาว่ามีการดำเนินการอย่างไร  การบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษามีประสิทธิภาพหรือไม่  เพื่อใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษาต่อไป

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้