อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 2565

กรุงเทพฯ 14 ธันวาคม 2565 – เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะฟื้นตัวกลับมาสู่ระดับก่อนวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด -19 ได้ในปี 2565 แต่ในปี 2566 จะขยายตัวได้ช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้อันเป็นผลมาจากแรงต้านของภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเศรษฐกิจคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.4 ในปี 2565 และเพิ่มเป็นร้อยละ 3.6 ในปี 2566 ซึ่งการขยายตัวในปี 2566 ถูกปรับลดลง 0.7 จุดร้อยละ เทียบกับประมาณการเดิมในเดือนมิถุนายน 2565 เป็นผลมาจากการชะลอตัวของอุปสงค์โลกที่เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนยังคงเป็นปัจจัยหลักในการเติบโตของเศรษฐกิจไทย

รายงานตามติดเศรษฐกิจไทย ฉบับเดือนธันวาคม 2565: นโยบายการคลังเพื่ออนาคตที่พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงและเท่าเทียม ที่เผยแพร่ในวันนี้พบว่า เศรษฐกิจไทยแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการฟื้นตัวจากผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ขยายตัวเร่งขึ้นเป็นร้อยละ 4.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัว การไหลเข้าของนักท่องเที่ยวจากการกลับมาเปิดประเทศในเดือนพฤษภาคม และมาตรการของภาครัฐเพื่อบรรเทาแรงกดดันด้านค่าครองชีพ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศในเดือนกันยายนกลับมาอยู่ที่ร้อยละ 45 ของระดับก่อนการระบาด แซงหน้าประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์

ปัจจุบัน ประเทศไทยประสบปัญหาการขยายตัวของการส่งออกสินค้าที่ชะลอตัวลง ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก การส่งออกสินค้าคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 2.1 ในปี 2566 ลดลงอย่างมากจากที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.1 ในปี 2565 การปรับลดนี้สะท้อนให้เห็นถึงอุปสงค์ที่ลดลงจากประเทศคู่ค้าหลัก เช่น จีน ยูโรโซน และสหรัฐฯ

“ในขณะที่ประเทศไทยกำลังกลับเข้าสู่เส้นทางของการเป็นประเทศที่มีรายได้สูงหลังจากการระบาดของโควิด-19 การเพิ่มพื้นที่ทางการคลังให้เพียงพอสำหรับความต้องการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและเพื่อรองรับผลกระทบด้านลบอื่นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องดำเนินการ” ฟาบริซิโอ ซาร์โคเน ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทยกล่าว

จากรายงานดังกล่าว การดำเนินมาตรการทางการคลังเพื่อรองรับสถานการณ์โควิด-19 ได้ช่วยบรรเทาผลกระทบของวิกฤติที่มีต่อสวัสดิการของครัวเรือนได้อย่างมาก แม้เศรษฐกิจจะฟื้นตัว แต่คาดว่าความยากจนจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.6 ในปี 2565 จากร้อยละ 6.3 ในปี 2564 เนื่องจากมาตรการบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 กำลังจะสิ้นสุดลงท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ผลกระทบด้านลบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นซึ่งรวมถึงราคาพลังงานที่สูงขึ้นอาจทำให้พื้นที่ทางการคลังลดลง เว้นแต่จะมีการนำมาตรการช่วยเหลือทางสังคมที่เจาะจงเฉพาะกลุ่มเป้าหมายมาใช้มากขึ้น

"วิกฤติในปัจจุบันเป็นแรงผลักดันที่สำคัญเพื่อให้เกิดการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง โดยการปรับปรุงคุณภาพและการจัดสรรการใช้จ่ายภาครัฐ รวมทั้งเพิ่มการจัดเก็บรายได้ที่ต่ำตามโครงสร้างเศรษฐกิจ" เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทย ธนาคารโลกกล่าว “เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการใช้จ่าย ในขณะที่ยังมีความจำเป็นต้องปรับปรุงผลกระทบของนโยบายการคลังในด้านการกระจายความเท่าเทียม และ การเพิ่มศักยภาพทางการคลัง ดังนั้น การใช้จ่ายภาครัฐที่มีประสิทธิภาพและตรงกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งความพยายามในการเพิ่มการจัดเก็บรายได้ จึงเป็นสิ่งที่ภาครัฐจำเป็นต้องดำเนินการ”

รายงานฉบับนี้เสนอแนะให้มีการพัฒนาอาชีพและเพิ่มโอกาสในการหารายได้สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยขณะเดียวกันก็เพิ่มพื้นที่ทางการคลังเพื่อให้มีการใช้จ่ายอย่างเพียงพอในการให้ความช่วยเหลือทางสังคมสำหรับกลุ่มที่เปราะบางที่สุด ซึ่งรวมถึงผู้สูงอายุ ผู้พิการ และกลุ่มคนที่ยากจนสุดขั้ว การจัดหาเงินทุนสำหรับการลงทุนของรัฐที่จำเป็นทั้งในโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล และทุนมนุษย์เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนามนุษย์ในระยะยาว จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายในการลดความยากจนอย่างยั่งยืน

KKP ชี้โอมิครอนกระทบสั้น คาดฟื้นตัวครึ่งปีหลัง ทั้งปีโตได้ร้อยละ 3.9 แต่เสี่ยงเงินเฟ้อและบาทผันผวนกระทบปากท้องและธุรกิจ

ดร. พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ KKP Research บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) (Dr. Pipat Luengnaruemitchai, Chief Economist, KKP Research, Kiatnakin Phatra Securities Public Company Limited) เผย บล. เกียรตินาคินภัทร ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2565 ว่ามีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีขึ้น โดยเศรษฐกิจน่าจะเริ่มกลับสู่ภาวะปกติได้มากขึ้น แต่ยังมีความไม่แน่นอนอยู่ค่อนข้างมาก ความกังวลเรื่องการระบาดของเชื้อโอมิครอนในไตรมาสที่หนึ่ง น่าจะมีผลกระทบในช่วงสั้น ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการกลับมาของนักท่องเที่ยวล่าช้าออกไป แต่น่าจะกลับมาฟื้นตัวได้เมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศและการท่องเที่ยวเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และยังคงการคาดการณ์เศรษฐกิจทั้งปีที่น่าจะโตได้ที่ระดับร้อยละ 3.9 ภายใต้สมมุติฐานนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 5.8 ล้านคน

ทั้งนี้ ในภาพรวม เศรษฐกิจไทยปี 2565 มีแนวโน้มและปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตามอง คือ

แนวโน้มแรก คือ สถานการณ์โรคระบาดที่กระทบต่อระบบสาธารณสุขและเศรษฐกิจน่าจะค่อย ๆ เปลี่ยนกลายเป็นโรคประจำถิ่น สัดส่วนของการฉีดวัคซีนที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในไทยและต่างประเทศ ช่วยลดความรุนแรงของโรค และผลกระทบของการระบาด ทำให้เศรษฐกิจเริ่มทยอยกลับสู่ภาวะปกติได้มากขึ้น

แนวโน้มที่สอง คือ สภาพคล่องโลกมีแนวโน้มลดลงและอัตราดอกเบี้ยโลกกำลังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น หลังแรงกดดันเงินเฟ้อโลกที่สูงกว่าคาด กดดันให้ธนาคารกลางใหญ่ ๆ โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องเริ่มถอนการกระตุ้นเศรษฐกิจ และปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการลงทุน ต้นทุนทางการเงิน เงินทุนเคลื่อนย้าย และอัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย

แนวโน้มที่สาม คือ เศรษฐกิจไทยน่าจะยังคงฟื้นตัวได้ช้ากว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยน่าจะเร่งตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี หลังการกลับสู่ภาวะปกติของอุปสงค์ในประเทศและการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ แต่การฟื้นตัวยังมีความไม่แน่นอน และยังไม่ทั่วถึง

 

นอกจากนี้ เงินเฟ้อในประเทศไทยมีโอกาสที่จะปรับตัวสูงขึ้นถึง 3.5% ในไตรมาสหนึ่ง จากต้นทุนพลังงานและราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อค่าครองชีพโดยเฉพาะของผู้มีรายได้น้อย  ในฝั่งนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะยังคงให้ความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากกว่าเงินเฟ้อ และคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเกือบตลอดทั้งปี ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยภายนอกและภายในประเทศ จะทำให้ค่าเงินบาทมีความผันผวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่ยังมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด

 

อย่างไรก็ดี มีความเสี่ยงที่สำคัญสามด้าน คือ

หนึ่ง การระบาดและการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส อาจจะทำให้การระบาดใหญ่ยังคงมีอยู่ต่อไป กระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

สอง การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน จากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์และการควบคุมวิกฤตโควิด อาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการส่งออกที่มีโอกาสชะลอตัวลง และ

สาม หากอัตราเงินเฟ้อโลกไม่ปรับตัวลดลงตามคาด อาจทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยและถอนการกระตุ้นมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ซึ่งจะส่งกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังต้องจับตาประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจจะยิ่งทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น และกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วโลกได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้