กิจกรรมเสริมพัฒนาการ 6 ขวบ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้

ตั้งค่าคุกกี้ ยอมรับทั้งหมด

นอกจากนั้นยังช่วยเรื่องการทำงานประสานกัน ระหว่างกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ด้วย เช่น กล้ามเนื้อแขน ขา มือ และการประสานการทำงานระหว่างมือและตา เช่น ปั้น พับกระดาษ วาดรูประบายสี เป็นต้น

นอกจากนั้น ยังสามารถรับรู้ความในใจของเด็กผ่านการเล่นของเด็กได้ เพราะเด็กอาจจจะไม่สามารถอธิบายความกังวลใจ หรือความรู้สึกออกมาเป็นคำพูดได้เหมือนผู้ใหญ่

การปล่อยให้เด็กได้เล่น เช่น วาดรูป หรือเล่นตุ๊กตา หรือเล่นของเล่นทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการใช้จินตนาการ เช่น หุ่นมือ บ้านตุ๊กตา บทบาทสมมติ กะบะทราย ฯลฯ จะช่วยบอกความในใจได้ว่าตอนนี้เด็กรู้สึกอะไรอยู่

การเล่นพัฒนาสมอง

การเล่นทุกรูปแบบล้วนมีผลต่อพัฒนาการของสมองเด็ก ซึ่งเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องเปิดโอกาสและช่วยให้เด็กได้ เล่น หากแต่การทำให้การเล่นของเด็กมีคุณค่าอย่างแท้จริง พ่อแม่จะต้องมีความเข้าใจในหลักการสำคัญก่อน

1. การเล่นจะต้องเริ่มต้นโดยเด็ก คือ เด็กจะต้องเป็นคนเริ่มต้น ต้องเป็นคนนำ
หากเราจะเล่นด้วยหรือช่วยให้เด็กได้เล่น ต้องจำให้ขึ้นใจว่า จะต้องเล่นตามเด็กเท่านั้น

2. การเล่นนั้นจะต้องสนุกและมีความสุข

3. การเล่นจะต้องเหมาะสมกับวัยของเด็ก

4. การเล่นต้องมีความปลอดภัย

5. เพื่อนเล่น (หรือของเล่น) ที่ดีที่สุดของเด็ก คือ พ่อแม่

การเล่นจินตนาการกับการเล่นของเด็กวัย 3-6 ปี

การเล่นจะช่วยวางรากฐานการเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก การเล่นของเด็กๆ อาจเป็นเรื่องธรรมดาในสายตาผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กๆ แล้ว การเล่นนั้นถือเป็นส่วนสำคัญในชีวิต เพราะการได้เล่นถือว่าเป็นประสบการณ์ที่สนุกและท้าทาย ที่ช่วยวางรากฐานการเรียนรู้และช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ในทุกด้าน โดยอาจแบ่งการเล่น ดังนี้

การเล่นคนเดียว

เพราะพัฒนาการของเด็กจะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง จะชอบนั่งเล่นคนเดียวมากกว่าการเล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกัน บางครั้งพ่อแม่อาจจะเห็นเด็กนั่งพูดคุยกับตุ๊กตาเป็นเวลานาน

ตัวอย่าง : เล่นบทบาทสมมติ เป็นการเล่นสมมติว่าตัวเองหรือข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เป็นโน้นนี้ เช่น สมมติว่าตัวเองเป็นคุณหมอ คุณครู ตำรวจ หรือพยาบาล แล้วสมมติให้ตุ๊กตาเป็นนักเรียนหรืออื่นๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นจินตนาการอันกว้างไกลของเด็กๆ ที่ผู้ใหญ่ไม่ควรปิดกั้น

Tip : อาจกำหนดพื้นที่ในบ้านให้เป็นมุมส่วนตัวของเด็ก ให้มีของเล่นหรือของประดับต่างๆ ให้เด็กได้มีอิสระในการเล่นตามลำพัง ได้คิดและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง

การเล่นเป็นกลุ่ม

เด็กวัยนี้อาจยังไม่พร้อมเต็มร้อยที่จะมีเพื่อน แต่ก็จะเริ่มเข้าสังคมและเล่นกับกลุ่มเพื่อนมากขึ้น ระยะแรกๆ อาจจะเพียงเข้าไปนั่งใกล้กลุ่มเพื่อนๆ ที่กำลังเล่นอยู่ จากนั้นก็จะค่อยๆ เล่นกับเพื่อนได้ในที่สุด

ตัวอย่าง : เล่นบ่อทราย (สร้างเมืองหรือปราสาท) เล่นบทบาทสมมติ เช่น เล่นพ่อแม่ลูก เป็นการเลียนแบบบทบาทของพ่อแม่ หรือเล่นตามจินตนาการ โดยเอาเก้าอื้หลายๆ ตัวมาต่อกันเป็นรถเมล์ แล้วเล่นเป็นคนขับกับผู้โดยสาร การเล่นเหล่านี้เด็กจะเป็นคิดขึ้นเองตามแต่จินตนาการ จะได้ทักษะเรื่องการเข้าสังคม เรียนรู้เรื่องการแบ่งปัน การรอคอย

Tip : การเล่นกับเพื่อนในบางครั้งอาจมีการทะเลาะกันบ้างตามประสาของเด็กวัยนี้ ผู้ใหญ่ไม่ควรเข้าไปตัดสินปัญหาให้ ให้เด็กได้รู้จักคิดและแก้ปัญหาเองก่อน


การเล่นกับพ่อแม่

เด็กรู้สึกว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของบ้าน และรู้สึกอบอุ่นเมื่อได้เล่นกับพ่อแม่ที่คอยตามใจเสมอ

ตัวอย่าง : เล่นต่อบล็อกไม้ ต่อภาพ ให้พ่อวาดรูปตุ๊กตา แล้วให้เจ้าหนูตัดกระดาษ เอามาเล่นสมมติเป็นคนหรือสิ่งของต่างๆ ก็ได้ หรือลองเอาเก้าอี้มาต่อกันแล้วใช้ผ้าห่มคลุม กลายเป็นถ้ำหรือเต้นท์ก็สร้างความสนุกตื่นเต้นไม่แพ้กัน เป็นการดัดแปลงจากสิ่งของธรรมดาๆ ให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ ตามความคิดสร้างสรรค์ของเด็กทำให้มีของเล่นที่เล่นได้ไม่รู้เบื่อ

Tip : พ่อแม่อาจคอยกระตุ้น หรือแนะนำวิธีการเล่นใหม่ๆ ให้เด็ก แต่ต้องระวังไม่ให้การเล่นนั้นเป็นการเล่นแบบผู้ใหญ่ ซึ่งจะเป็นการปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับอารมณ์ของเด็ก เพราบางครั้งก็อยากเล่นคนเดียว บางครั้งก็อยากมีเพื่อนเล่นด้วย ที่สำคัญการเล่นสำหรับเด็กนั้นไม่ได้อยู่ที่ของเล่นราคาแพง เพียงพ่อแม่พลิกแพลงจากสิ่งของใกล้ตัวและวิธีการเล่นนิดหน่อย คอยเติมความรัก ความอบอุ่นอยู่ใกล้ๆ ให้รู้สึกปลอดภัยเพียงเท่านี้ก็พอแล้ว

จินตนาการกับการเล่นของเด็กวัย 3-6 ปี

จินตนาการเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะในเด็กวัย 3 - 6 ปี เพราะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ การเล่นบทบาทสมมติ จะทำให้ผู้เล่นรู้สึกพึงพอใจในตัวเอง ในการเปลี่ยนความจริงให้เป็น ความปรารถนา เป็นการก่อรากฐานทางอารมณ์ และพัฒนาความคิดให้กว้างไกลออกไป อันเป็นจุดเริ่มต้นของความเชื่อมั่นในตนเอง

เด็กในวัยอนุบาล 3-6 ขวบนี้ ได้ไปโรงเรียน มีเพื่อน มีสังคม เริ่มอ่านหนังสือได้ ดูหนังเป็นเรื่องเป็นราวเข้าใจ และสามารถนำเรื่องราวมาปะติดปะต่อเข้ากับตัวเอง สร้างเรื่อง สร้างจินตนาการ ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีมากน้อยแตกต่างกันไป

แม้จินตนาการจะเป็นส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตและเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริม แต่พ่อแม่ก็ควรดูแลให้อยู่ในขอบเขตที่พอดี และสอนให้เด็กเรียนรู้ถึงโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกแห่งจินตนาการ

เมื่อใดที่เด็กเริ่มมีพฤติกรรมก้าวร้าว ใช้ความรุนแรง คิดว่าตัวเองเป็นฮีโร่เหมือนในการ์ตูนที่ดู เช่น หยิบมีดในครัวออกมาวิ่งไล่ คล้ายจะออกรบเหมือนในหนัง ชก เตะ ต่อยคนอื่นแล้วภาคภูมิใจ หรือคิดว่าตัวเองมีความพิเศษ กระโดดตึกแล้วเหาะกลางอากาศได้ เหมือนยอดมนุษย์ในหนัง ถือว่าน่าเป็นห่วง



จินตนาการก่อผลร้ายในเด็ก

      • เด็กเก็บตัวมีโลกส่วนตัวสูงโดยทั่วๆ ไปเด็กวัยนี้จะชอบอยู่เป็นกลุ่มกับเพื่อน อาจจะเล่นคนเดียวได้แต่ก็ชอบการเล่นเป็นกลุ่มมากกว่า แต่เด็กบางคนเก็บตัว ชอบเล่นคนเดียว อยู่กับโทรทัศน์ หรือขอให้มีหนังสือการ์ตูนเป็นเพื่อนก็พอ เพราะมีความสุขกับการได้อยู่กับจินตนาการในโลกส่วนตัว แต่ถ้าเด็กรับจากสื่อที่รุนแรง ก้าวร้าว เด็กอาจจะทำตามได้
      • เด็กโจ๋...หัวหน้าแก๊ง มีความสามารถ เป็นผู้นำในการเล่น ช่างคิด เล่นเป็น เล่นเก่ง และมีของเล่นใหม่ๆ มาให้เพื่อนเสมอ เด็กที่มีลักษณะเช่นนี้จึงมักจะถูกยกให้เป็นหัวหน้าแก๊ง

เด็กจะได้ฝึกความเป็นผู้นำ แต่ถ้าเขาโกรธหรือไม่พอใจ ก็อาจใช้อำนาจ ใช้กำลัง และหากบวกเข้ากับจินตนาการ หรือลอกเลียนแบบมาจากสื่อ ก็อาจจะเล่นรุนแรง ใช้กำลัง เตะต่อย พูดหยาบคาย ทำแล้วไม่คิดว่าผิด ก็จะส่งผลตอนที่เด็กโตขึ้น

การเลือกกิจกรรมจินตนาการที่เหมาะกับเด็กวัย 3-6 ปี

พ่อแม่คือบุคคลสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมเด็กให้จินตนาการในด้านบวกเพื่อให้เด็กเติบโตขึ้น เป็นคนดี เด็กเก่ง กล้าคิด กล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง

      • คำพูดสร้างความเข้าใจ คำพูด สำหรับเด็กๆ วัยนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเด็กสามารถเข้าใจคำพูดของผู้ใหญ่ได้ดี พ่อแม่ควรใช้คำพูดอธิบายให้เข้าใจเหตุผล อะไรคือเรื่องจริงหรือสิ่งสมมติ
      • พัฒนากล้ามเนื้อ ฝึกใช้ความคิด จินตนาการ พ่อแม่หากิจกรรมง่ายๆ ให้ทำ วาดรูป ปั้นแป้ง ปั้นดินเหนียว เล่นกับตุ๊กตา ต่อรูปลูกบาศก์ ต่อตัวต่อเป็นรูปต่างๆ ต่อจิ๊กซอว์ ต่อรูปปริศนา เกมขายของ เพราะเด็กจะเริ่มเล่นกับเพื่อน เริ่มเลียนแบบบทบาทผู้ใหญ่ ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นอย่างเต็มที่ โดยพ่อแม่ดูแลสังเกตอยู่ใกล้ๆ และเข้าไปช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการเท่านั้น
      • กติกาพอเด็กเริ่มมีการเคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่ว เริ่มมีเพื่อนแล้ว การละเล่นที่ต้องอาศัยกฎกติกาก็เริ่มจำเป็น เพราะกฎกติกาของการเล่น คือ พื้นฐานที่จะก้าวไปสู่กฎกติกาของสังคม
      • การละเล่นพื้นบ้านไทย มีมากมายที่พ่อแม่จะช่วยแนะนำให้เด็กได้เล่นกับเพื่อน เป็นการเล่นง่ายๆ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์มาก ได้ออกกำลังกาย และช่วยสร้างจินตนาการได้มาก
      • เน้นกิจกรรมสร้างสรรค์จินตนาการ พ่อแม่อาจชักชวนเด็กทำกิจกรรมที่จะได้เพลิดเพลินไปกับจินตนาการได้อย่างปลอดภัย เช่น พาไปเข้าค่าย อาจเป็นค่ายศิลปะ แสดงละคร พากย์การ์ตูน ตามแต่ความสนใจของเด็ก ยังช่วยให้เด็กได้ค้นหาความชอบและความถนัดของเด็กอีกด้วย
      • จินตนาการสร้างวินัย พ่อแม่สามารถใช้จินตนาการหรือการชอบเลียนแบบมาสร้างวินัยให้เด็กได้ เพราะธรรมชาติของเด็กวัยนี้จะกระตือรือร้นช่วยทำงานบ้าน อยากรับผิดชอบกิจวัตรตัวเอง ช่วงเวลานี้สามารถช่วยสร้างวินัยให้เด็กได้ง่าย
      • เล่นอย่างมีคุณค่า ด้วยสิ่งของจากธรรมชาติ ทำให้ของเล่นมีประโยชน์มากและประหยัดด้วย ทุกสิ่งรอบตัวนำมาเล่นได้ ทั้งดิน ทราย น้ำ ใบไม้ ต้นไม้ ช่วยส่งเสริมพัฒนาการได้มาก เช่น การเล่นตักทราย สามารถนำมาสอนให้เด็กเรียนรู้ความแตกต่างของผิวสัมผัส เรื่องของปริมาณ ปริมาตร และเสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก การทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อตาและมือ ถ้าพ่อแม่เล่นด้วย ก็จะช่วยส่งเสริมจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะด้านภาษา และถ้าเด็กเล่นกับเพื่อน ก็ยังช่วยพัฒนาทักษะทางด้านสังคมด้วย
      • ควรเล่นกับเพื่อน เมื่อเด็กอายุ 3 ขวบขึ้นไป ควรได้เล่นกับเด็กคนอื่นๆ เพื่อส่งเสริมทักษะด้านสังคม และส่งเสริมการเล่นที่มีจินตนาการ
      • ระวังมากขึ้น เมื่อให้เด็กเล่นกับธรรมชาติรอบตัว ก็ต้องระวังเรื่องความปลอดภัย เช่น เล่นใบไม้ก็อาจมีแมลงหรือสัตว์กัดต่อยที่เป็นอันตราย

ของเล่นที่เหมาะสำหรับเด็กวัย 3-6 ปี

พ่อแม่จะต้องเลือกของเล่นให้เหมาะกับวัยของเด็ก สำหรับเด็กวัย 3- 6 ปี เริ่มอยากรู้อยากเห็น ช่างซักช่างถาม มีจินตนาการสูง มีพัฒนาการทางอารมณ์ซับซ้อนมากขึ้น เริ่มเล่นกับเพื่อนวัยเดียวกันได้ดีขึ้น ควรปล่อยให้เด็กได้เล่นกับเพื่อน อย่างเล่นตุ๊กตา เล่นต่อไม้บล็อก หรือปั้นแป้งเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ด้วยกัน เป็นต้น การเล่นนี้ก็จะช่วยพัฒนาการทางสังคม พัฒนาการทางภาษาได้เป็นอย่างดี

การเล่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและมีประโยชน์สำหรับพัฒนาการของเด็กใน เพราะเป็นการวางรากฐานการเรียนรู้ให้เด็ก และของเล่น ก็มีส่วนสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการเหล่านั้น จะต้องคำนึงถึงเหมาะสมกับวัยและความปลอดภัย เพื่อให้เด็กเล่นได้อย่างมีความสุข

      • ความปลอดภัย : ควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ห้ามของเล่นแหลมคม หรือของเล่นที่มีชิ้นส่วนเล็กๆ อาจเป็นอันตรายต่อเด็กๆได้
      • ของดีไม่จำเป็นต้องแพง : บางครั้งของเล่นที่เป็นฝีมือพ่อแม่ ก็มีประโยชน์และสร้างความประทับใจให้ได้มากกว่าของ
      • เล่นราคาแพง
      • น้อยแต่ได้ประโยชน์ : ของเล่นไม่กี่ชิ้น ก็เสริมทักษะ เสริมจินตนาการให้เด็กได้เพียงพอแล้ว หากมีของเล่นมากเกินไป
      • แต่ของเล่นไม่มีประโยชน์ ก็ไม่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านการเล่นของเด็ก
      • ศึกษาก่อนให้เด็กเล่น : ควรอ่านคำอธิบาย คำแนะนำวิธีใช้ และคำเตือนอย่างละเอียด ก่อนให้เด็กเล่น
      • รู้จักเล่น รู้จักเก็บ : หัดให้เด็กเก็บของเมื่อเล่นเสร็จแล้ว ต้องรู้จักรับผิดชอบในสิ่งที่เล่นด้วย เพราะหากวางของเล่นทิ้งไว้
      • อาจลื่นล้มเป็นอันตรายได้

เลือกของเล่น

      • บล็อก ใช้ต่อเป็นรูปร่างตามจินตนาการอันไร้ขีดจำกัด ซึ่งเด็กๆ สามารถวางแผนล่วงหน้าได้ว่าต้องการต่อเป็นอะไรและยังได้ทดลองในเรื่องความสมดุลในการถ่วงน้ำหนักบล็อกไม้ไม่ให้ล้มลงมาอีกด้วย
      • ลูกฟุตบอล เล่นได้ทั้งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง เนื่องจากจะได้ใช้กล้ามเนื้อใหญ่ในการเตะหรือการโยน เพราะเด็กรู้จักการเตะ การโยน การจับลูกบอล
      • เชือกหรือหนังยาง นำมาร้อยเป็นเส้น ให้เด็กได้กระโดดโลดเต้นตามใจชอบ
      • อุปกรณ์การประดิษฐ์ต่างๆ เช่น กระดาษสี กรรไกร ลูกปัด ไหมพรม เศษผ้า กล่องกระดาษ เด็กๆ จะชอบสวมบทบาทเป็นนักประดิษฐ์รุ่นจิ๋ว ถ้าได้ทดลองประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง จะสนุกสนานกับการได้เลือกวัสดุมาประดิษฐ์งาน
      • เครื่องแต่งตัวต่างๆ เช่น หมวก เสื้อ ผ้าพันคอ ที่หาง่ายภายในบ้าน อนุญาตให้เด็กนำมาเล่น เพื่อใช้จินตนาการในการเล่นบทบาทสมมติ เช่น แต่งตัวเป็นหมอ ครู
      • ดินน้ำมัน ดินเหนียว หรือแป้งโดว์ ให้เด็กปั้น ขยำ เพื่อฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก และได้ใช้สายตา ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
      • จิ๊กซอว์ ช่วยส่งเสริมกล้ามเนื้อมือ ได้ใช้ความคิด และเสริมทักษะสายตาไปพร้อมกัน
      • แม้ว่าของเล่นจะมีบทบาทสำคัญต่อการเล่นของเด็ก แต่สิ่งสำคัญคือ พ่อแม่ควรเล่นด้วย เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างปลอดภัยและอบอุ่น

เพลงที่เหมาะสำหรับเด็กวัยนี้

การบูรณาการผ่านเสียงเพลง ช่วยเสริมพัฒนาการหลากหลายด้านให้เด็ก การฝึกกล้ามเนื้อมือ - เท้า ฝึกระเบียบวินัย ความคิดสร้างสรรค์ และฝึกสมาธิให้เด็ก สามารถฝึกได้ด้วยเสียงเพลง

เสียงเพลงและดนตรี เป็นอุปกรณ์สำหรับ ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก - มัดใหญ่ มีความคิดสร้างสรรค์ มีวินัย การทำงานเป็นกลุ่ม การกล้าแสดงออก และการฝึกสมาธิไปได้พร้อมๆ กัน เช่น

      • สามารถใช้เพลงสอนคำศัพท์แก่เด็ก ใช้ได้ทุกภาษา
      • เพลงที่สอดแทรกการสอน ภาษาไทย การนับเลข คณิตศาสตร์ สัตว์ สัตว์เลี้ยง กิจวัตรประจำวัน และอื่นๆ เพราะในเพลงสามารถแทรกได้ทุกอย่างที่ต้องการจะสอนเด็ก
      • เพลงที่แต่งเนื้อขึ้นเองในครอบครัว พ่อแม่อาจจะแต่งขึ้นมาเพื่อสอนเด็กในเรื่องชีวิตประจำวัน เช่น พูดถึงเวลากลางกลางวัน - กลางคืน และเพลงแปรงฟัน เป็นต้น
      • ในวิชาดนตรี ให้เด็กร้องเพลง ออกกำลังตามจังหวะ เด็กจะได้ความสนุกสนานและเรียนรู้ไปพร้อมกัน
      • การร้องเพลงและเต้นไปด้วย จะช่วยสมองให้ใช้งานพร้อมๆ กัน สมองจะถูกใช้เต็มที่ ให้สมองสั่งการว่า จะใช้มือข้างไหน ซ้ายหรือขวา ใช้ขาไหน จะต้องขยับมือ ขยับนิ้วยังไง ปากร้องเพลงไปด้วย และหูก็ต้องฟังว่าตอนนี้ท่อนเพลงไปถึงไหนแล้ว ซึ่งเด็กจะได้ใช้ทักษะหลายส่วนในเวลาเดียวกัน
      • สำหรับเด็กเล็กๆ ควรใช้เวลาร้องเพลงไม่เกิน 5 นาที แล้วจะเปลี่ยนเพลงหรือเปลี่ยนกิจกรรม
      • ถ้าเด็กร้องเพลง พ่อแม่หรือครูบอกว่าชอบเพลงที่ร้อง เด็กก็จะมีความสุข เมื่อมีความสุข ก็กล้าที่จะร้องเพลงอีก เมื่อร้องเพลงบ่อยๆ ก็จะมีมั่นใจมากขึ้น และมีความสุข

หมายเหตุ : การเรียนร้องเพลงสามารถปรับพฤติกรรมเด็กบางคนเป็นคนมีเหตุผล มั่นใจในตัวเอง และกล้าแสดงออก แต่ใจร้อน ถ้าเรียนร้องเพลงแล้วเขาใจเย็นขึ้น ได้ปรับตัวให้อยู่ร่วมกับเพื่อนได้ รู้จักคิดก่อนทำมากขึ้น และได้ฝึกเรื่องการพูด้วย พูดชัดชัดขึ้น และยังได้ฝึกเรื่องกฎเกณฑ์และวินัย


เด็กพิเศษกับการเล่น

ของเล่นของเด็กปกติกับเด็กพิเศษเหมือนกัน สิ่งที่แตกต่างคือ วิธีการเล่น ซึ่งเด็กพิเศษแต่ละกลุ่มก็มีความต้องการในการเล่นต่างกัน และความถนัดไม่เหมือนกัน จึงต้องดูว่าเด็กพิเศษคนนั้นสนใจอะไร และต้องการความช่วยเหลืออย่างไร

ของเล่นสำหรับเด็กพิเศษ สามารถเป็นของเล่นที่ประดิษฐ์ขึ้นเองก็ได้ หรือของเล่นตามธรรมชาติ เช่น ก้อนหิน ดิน ทราย ใบไม้ หรือของเล่นที่ซื้อหาได้ตามท้องตลาด แต่ต้องใช้ความเข้าใจและใช้เทคนิควิธีการสอน ด้วยการใช้ของเล่นเป็นสื่อการสอนสำหรับเด็กพิเศษแต่ละคนให้เหมาะสม

ดังนั้นการเลือกของเล่นให้เด็กกลุ่มนี้ ควรเลือกให้ตรงตามความถนัด และความสนใจของเด็กเป็นหลัก

เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย

      • การใช้มือไม่แข็งแรง การประสานสัมพันธ์ของมือและตา และการเคลื่อนไหวไม่สะดวก จึงควรเลือกของเล่นที่ใช้วัสดุและขนาดที่ไม่หลุดมือได้ง่าย
      • เด็กที่มีกล้ามเนื้อมือไม่แข็งแรง ต้องใช้ของเล่นที่ช่วยฝึกเรื่องกล้ามเนื้อมือ เช่น ดินเหนียว แป้งโดว์ ทราย ฯลฯ
      • เอาเรือไม้หรือเรือพลาสติกลำเล็กๆ ไปลอยน้ำ เพื่อกระตุ้นให้เด็กหยิบขึ้นมาดู เด็กจะรู้สึกสนุกที่จะเรียนรู้ และจะได้ฝึกกล้ามเนื้อมือไปด้วย

เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาในระดับหนัก

      • ไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว อาจจะชอบหรือสนใจเสียงดนตรี จึงควรเลือกใช้กล่องเพลง หรือของเล่นที่มีเสียงกระตุ้นเร้าความสนใจให้เด็กมีการตอบสนอง

เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น

      • เด็กกลุ่มนี้ก็ต้องการของเล่นที่มีเสียง เช่น กล่องเพลง หรือของเล่นที่มีเสียง

เด็กออทิสติก

        • มีความผิดปกติทางพัฒนาการในด้านสังคม ภาษา และการสื่อสาร ก็จะมีความผิดปกติทางด้านการเล่น และจินตนาการ เช่น ไม่มีจินตนาการในการเล่น แต่เล่นสมมติไม่เป็น ไม่สามารถแยกแยะระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องสมมติได้ เด็กจะชอบเล่นคนเดียว ไม่ชอบเข้ากลุ่ม
        • เด็กจะเล่นของเล่นที่แตกต่างไปจากเด็กอื่นๆ เช่น หยิบของเล่นมาส่องดู จ้องมองนานๆ หยิบของเล่นหมุนไปหมุนมา ครูจึงต้องชักชวนหรือสอนให้เล่นของเล่นให้เป็น

เด็กสมาธิสั้น

      • เด็กอาจจะเล่นของเล่นแต่ละอย่างได้ไม่นาน วิ่งไปหยิบจับสิ่งของต่างๆ รอบตัวตลอดเวลา จึงไม่สามารถเล่น หรือทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งให้สำเร็จได้ ต้องจัดให้เด็กเล่นหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ เช่น ร้อยลูกปัด ต่อจิ๊กซอว์ การปั้นดิน การเล่นทราย เล่นน้ำ ฯลฯ จะช่วยฝึกเรื่องสมาธิได้ เด็กจะเริ่มจดจ่ออยู่กับของเล่นที่ชอบและสนใจได้นานมากขึ้น

ประโยชน์ของการเล่น

ประโยชน์ของการเล่น คือ การได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร การวางแผน การลองผิดลองถูก การแก้ปัญหา การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เกิดการแลกเปลี่ยน ช่างคิด ช่างสังเกต กล้าแสดงออก และอื่นๆ โดยรูปแบบการเล่นที่เหมาะสมกับวัยต้องคำนึงความพร้อมด้านต่างๆ ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา และสังคม

เด็กวัย 3 - 6 ปี เรียกว่า พัฒนาทักษะต่างๆ ได้เกือบครบแล้ว ยิ่งพัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ ในสมองส่วนที่เรียกว่า ลิมบิก(limbic) ก็พัฒนามากขึ้นจากประสบการณ์การเล่นที่ต่อเนื่องนี่เอง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้