หูรูดปัสสาวะเสื่อมเกิดจากอะไร

แม้อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนในผู้สูงอายุ จะเป็นปัญหาที่พบบ่อยจนกลายเป็นความเคยชินเมื่อมีอายุมากขึ้น แต่ภาวะนี้กลับส่งปัญหาต่อสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง เช่น ปัสสาวะที่ราดออกมาจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ รบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวันส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต จนกระทั่งมีปัญหาที่รุนแรงตามมา เช่น การหกล้ม กระดูกหักเนื่องจากต้องเข้าห้องน้ำบ่อยในเวลาค่ำคืน หรืออดหลับ อดนอนเพราะต้องตื่นตอนกลางคืนบ่อยครั้ง ฉะนั้นอย่านิ่งนอนใจ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินและทำการรักษา จะช่วยบรรเทาอาการ และส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้นได้


อาการของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

  • ปวดปัสสาวะรุนแรงแล้วปัสสาวะราดออกมา
  • ไอ จาม ปัสสาวะราด ปัสสาวะเล็ด
  • ปัสสาวะรดที่นอน
  • ปัสสาวะเล็ดราดตามออกมาอีกเล็กน้อยหลังการถ่ายปัสสาวะสุด
  • ปัสสาวะไหลซึมตลอดเวลา
  • ปัสสาวะไหลซึมเมื่อเปลี่ยนท่าทาง

สาเหตุการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

  • อายุที่เพิ่มขึ้น เมื่อมีอายุสูงขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆมีความเสื่อมของร่างกาย ทั้งในระบบของทางเดินปัสสาวะเองและในระบบที่เกี่ยวข้อง
  • กระเพาะปัสสาวะมีความจุลดลง จำนวนปัสสาวะค้างเพิ่มมากขึ้นหลังการถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวกว่าปกติ ทำให้ต้องปัสสาวะบ่อยและอาจมีปัสสาวะราดได้บ่อย
  • ผู้สูงอายุหญิงจะมีภาวะวัยทอง ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลง ส่งผลกระทบต่อทางเดินปัสสาวะ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนตัว หูรูดท่อปัสสาวะหดรัดตัวไม่ดี
  • ผู้สูงอายุชายอาจเกิดจากภาวะต่อมลูกหมากโต จนอุดตันท่อทางเดินปัสสาวะได้บ่อยๆ ทำให้ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะเวลากลางคืน
  • การอักเสบติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะราด
  • ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการกลั้นปัสสาวะ เช่น โรคเบาหวาน เบาจืด โรคความดันโลหิตสูง โรคทางสมอง ผู้สูงอายุที่มีปัญหาโรคข้อเสื่อม เป็นต้น
  • ปัญหาด้านจิตใจ โดยเฉพาะอาการซึมเศร้า ซึ่งสามารถพบได้บ่อยในวัยผู้สูงอายุ เมื่อเกิดอาการซึมเศร้าก็อาจจะมีปัสสาวะเล็ดราด
  • ข้อจำกัดในการเดิน การเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น มีอาการปวดเอว ปวดหลัง ปวดเข่า ทำให้เดินลำบาก ขยับตัวนานกว่าจะไปเขาห้องน้ำได้ มีปัญหาด้านสายตาที่มองไม่ชัด




ผู้สูงอายุกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ส่งผลกระทบอย่างไร

การมีปัสสาวะเล็ดราดบ่อยครั้ง ทำให้ผิวหนังเปียกชื้น เกิดการระคายเคือง เกิดผื่นหรือผิวหนังเปื่อย ผิวหนังฉีกขาด เสี่ยงต่อการติดเชื้อของผิวหนัง การที่ผู้สูงอายุกังวลเกี่ยวกับการปัสสาวะบ่อย ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ต้องรีบลุกไปขับถ่าย โดยเฉพาะในเวลากลางคืน มีผลรบกวนต่อการนอนหลับ และการเดินไปเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ยังทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดการหกล้มและกระดูกหักได้ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อภาวะจิตใจ มีผลต่อความรู้สึกลดคุณค่าในตัวเอง ทำให้แยกตัวจากสังคมเนื่องจากกลัวการปัสสาวะเล็ดราดในที่ชุมชน


การรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาควรมาปรึกษาแพทย์พร้อมนำยาที่ใช้รับประทานเป็นประจำมาให้แพทย์ดู เนื่องจากภาวะปัสสาวะเล็ดในแต่ละแบบมีวิธีรักษาที่แตกต่างกัน การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุการเกิด รวมทั้งเน้นที่การบำบัดเชิงพฤติกรรม การใช้ยา และการใช้หัตถการต่างๆ ดังนี้

การควบคุมการขับปัสสาวะผิดปกติเป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง โดยมีอาการคือ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ดราดขณะไอ จาม หรือหัวเราะ ปัสสาวะเล็ดราดแม้ไม่มีการปวด ปัสสาวะบ่อย และรู้สึกเหมือนปัสสาวะไม่หมด ซึ่งเป็นอาการที่ส่งผลทั้งต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย

แพทย์สามารถรักษาระบบควบคุมการขับปัสสาวะเสื่อมเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ โดยหนึ่งในวิธีการตรวจวินิจฉัยเพื่อให้ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของโรคได้แก่ การวิเคราะห์แบบยูโรไดนามิก (urodynamic analysis)

การวิเคราะห์แบบยูโรไดนามิกคืออะไร

การวิเคราะห์แบบยูโรไดนามิก หรือการตรวจยูโรพลศาสตร์ เป็นการตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดว่ามีการบีบตัวอย่างเหมาะสมหรือไม่ โดยการวัดแรงดันในกระเพาะปัสสาวะขณะที่มีน้ำไหลเข้าและขับออกจากกระเพาะปัสสาวะ ความสามารถในการกักเก็บปัสสาวะของกระเพาะปัสสาวะ การกลั้นปัสสาวะ รวมถึงตรวจว่ามีภาวะปัสสาวะเล็ดขณะเบ่งหรือไม่

การวิเคราะห์แบบยูโรไดนามิกจึงเป็นการตรวจการทำงานโดยรวมตั้งแต่กระเพาะปัสสาวะจนถึงท่อปัสสาวะ เพื่อหากลไกและสาเหตุความผิดปกติของระบบควบคุมการขับปัสสาวะนั่นเอง

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รวมถึงผู้ดูแลมักมองว่าปัญหาปัสสาวะเล็ดในผู้สูงวัยเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากสภาวะร่างกายที่ถดถอย ระบบขับถ่ายขาดความยืดหยุ่นและเสื่อมสภาพ ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะได้ดีเหมือนสมัยหนุ่มสาว ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาปัสสาวะเล็ดราดส่งผลต่อเนื่องถึงสุขภาพโดยทั่วไปของผู้สูงวัย อีกทั้งยังรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน จนบางครั้งกลายเป็นปัญหาที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการพลัดตกหกล้ม เพราะต้องเข้าห้องน้ำบ่อย หากเป็นมากในเวลากลางคืน ยังทำให้ต้องอดนอน กลายเป็นปัญหากวนใจและวิตกกังวล

ทั้งนี้มีผลวิจัยพบว่าหญิงไทยวัยหมดประจำเดือนมีปัญหาปัสสาวะเล็ด เนื่องจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนสมรรถภาพไม่สามารถเดินทางไกลได้ ประกอบกับความอับอาย ไม่กล้าเปิดเผยอาการให้แพทย์ทราบ คิดว่าโรคนี้รักษาไม่ได้ กลายเป็นคนเก็บตัว โดดเดี่ยวและซึมเศร้าในที่สุด

าการเพียงชั่วคราว ในขณะที่บางรายก็อาจส่งผลในระยะยาว โดยลักษณะอาการจะขึ้นอยู่กับโรคหรือปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุด้วย ซึ่งแพทย์จะให้การรักษาตามสาเหตุนั้น ๆ

อาการปัสสาวะเล็ด

อาการของภาวะปัสสาวะเล็ด แบ่งออกได้หลายประเภท ดังนี้

ปัสสาวะเล็ดเมื่อมีแรงดัน เกิดแรงดันบริเวณกระเพาะปัสสาวะจนทำให้ปัสสาวะเล็ด ซึ่งอาจเกิดจากการไอ จาม หัวเราะ ออกกำลังกาย ยกของหนัก เคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะอื่น ๆ หรือมีภาวะที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างการตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และการอยู่ในวัยหมดประจำเดือน โดยผู้ป่วยมักมีปัสสาวะเล็ดออกมาเพียงเล็กน้อย แต่หากในขณะนั้นกระเพาะปัสสาวะเต็มก็อาจทำให้มีปัสสาวะเล็ดออกมาในปริมาณมากได้

ปัสสาวะเล็ดเนื่องจากปัสสาวะล้น หรืออาการปัสสาวะไม่ออกเรื้อรัง เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถปัสสาวะออกมาได้หมด เพราะกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอ่อนแรงหรืออาจเกิดการอุดตันของท่อปัสสาวะ ซึ่งอาจเกิดจากภาวะต่อมลูกหมากโต มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือท้องผูก จึงทำให้มีปัสสาวะเหลือค้างมากกว่าปกติ โดยผู้ป่วยอาจขับปัสสาวะได้เพียงหยดเล็ก ๆ และรู้สึกว่าไม่สามารถปัสสาวะออกมาให้หมดได้

ปัสสาวะราด เป็นอาการปวดปัสสาวะที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันและปวดมากจนไม่สามารถกลั้นเอาไว้ได้ บางรายอาจปวดปัสสาวะบ่อยครั้งโดยไม่เว้นแม้แต่ในตอนกลางคืน ซึ่งปัจจัยบางอย่างก็อาจกระตุ้นให้รู้สึกปวดปัสสาวะได้ เช่น การได้ยินเสียงน้ำไหล หรือการเปลี่ยนท่าทางอย่างกะทันหัน เป็นต้น รวมทั้งอาจปัสสาวะราดในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์หรือเมื่อถึงจุดสุดยอดด้วย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อ ความผิดปกติทางระบบประสาท และโรคเบาหวานได้เช่นกัน  

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เกิดจากความผิดปกติทางด้านจิตใจหรือร่างกายที่ส่งผลให้ผู้ป่วยไปเข้าห้องน้ำไม่ทัน เช่น ผู้ป่วยมีอาการข้ออักเสบอย่างรุนแรงจนอาจปัสสาวะเล็ดเพราะอาการป่วยทำให้ถอดกางเกงได้ช้า เป็นต้น

ปัสสาวะเล็ดจากหลายสาเหตุรวมกัน ผู้ป่วยอาจมีอาการปัสสาวะเล็ดในลักษณะต่าง ๆ ดังข้างต้นร่วมกันมากกว่า 1 ประเภท เช่น มีปัสสาวะเล็ดออกมาเมื่อไอหรือจามร่วมกับปัสสาวะไม่ออกอย่างเรื้อรัง หรือปวดปัสสาวะแบบกะทันหันและไม่สามารถกลั้นเอาไว้ได้ เป็นต้น

สาเหตุของอาการปัสสาวะเล็ด

อาการปัสสาวะเล็ดอาจเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมการใช้ชีวิต อาการเจ็บป่วย หรือความเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกาย ดังนี้

การรับประทานอาหารและการใช้ยา

  • รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม น้ำตาลเทียม ช็อกโกแลต พริกไทย ผลไม้จำพวกส้ม อาหารที่มีเครื่องเทศ น้ำตาล หรือมีกรดในปริมาณมาก เป็นต้น
  • ใช้ยารักษาบางชนิด เช่น ยากล่อมประสาท ยารักษาความดันโลหิตสูง ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาขับปัสสาวะ ฮอร์โมนทดแทน เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

  • ตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง รวมถึงน้ำหนักของทารกในครรภ์ที่เพิ่มขึ้นก็อาจทำให้มีอาการปัสสาวะเล็ดในช่วงนี้ได้
  • คลอดลูก เพราะกล้ามเนื้อที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะอาจอ่อนแอลงจนทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน ทั้งยังทำให้กระเพาะปัสสาวะ มดลูก ลำไส้ใหญ่ และลำไส้เล็กเกิดการเคลื่อนที่จนยื่นเข้าไปในช่องคลอด ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะเล็ดตามมาได้
  • ผ่านการผ่าตัดมดลูก กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอาจเกิดความเสียหายจนส่งผลกระทบต่อกระเพาะปัสสาวะไปด้วย
  • เป็นผู้สูงวัยหรืออยู่ในวัยหมดประจำเดือน อายุที่เพิ่มมากขึ้นอาจทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะเกิดความเปลี่ยนแปลงและบรรจุน้ำปัสสาวะได้น้อยลง ส่วนผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง ซึ่งฮอร์โมนนี้จะช่วยให้เยื่อบุในกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะมีความแข็งแรง ดังนั้น เมื่อมีการผลิตฮอร์โมนนี้น้อยลงจึงทำให้เนื้อเยื่อดังกล่าวเสื่อมสภาพและส่งผลให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้

ภาวะเจ็บป่วยต่าง ๆ

  • ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาจทำให้กระเพาะปัสสาวะเกิดการระคายเคืองและมีอาการปวดปัสสาวะมากผิดปกติหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะไม่ออกเรื้อรังเนื่องจากมีเนื้องอก กระเพาะปัสสาวะทะลุ มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
  • ท้องผูก เพราะทวารหนักนั้นอยู่ใกล้กับกระเพาะปัสสาวะและมีเส้นประสาทหลายเส้นร่วมกัน เมื่อเกิดการสะสมของอุจจาระจึงอาจไปกระตุ้นการทำงานของเส้นประสาทในบริเวณดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกระเพาะปัสสาวะได้เช่นกัน
  • มีปัญหาที่ต่อมลูกหมาก เช่น ต่อมลูกหมากโต มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น หรืออาจเป็นผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ด้วย
  • เป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง หรือการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง เป็นต้น เนื่องจากโรคเหล่านี้อาจส่งผลต่อการส่งสัญญาณประสาทที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ

การวินิจฉัยอาการปัสสาวะเล็ด

แพทย์จะสอบถามอาการของผู้ป่วย ซักประวัติสุขภาพ และตรวจร่างกายเพื่อประเมินในเบื้องต้นว่าเป็นอาการปัสสาวะเล็ดชนิดใด จากนั้นอาจมีการวินิจฉัยเพิ่มเติม ดังนี้

จดบันทึกการปัสสาวะ โดยให้ผู้ป่วยบันทึกอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน เพื่อให้ทราบถึงปริมาณน้ำที่ดื่มในแต่ละวันและปริมาณปัสสาวะที่ขับออกมา รวมทั้งดูว่ามีอาการปวดปัสสาวะผิดปกติหรือมีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือไม่

ตรวจปัสสาวะ แพทย์จะเก็บตัวอย่างปัสสาวะของผู้ป่วยและทำการเพาะเชื้อเพื่อตรวจหาการติดเชื้อแบคทีเรีย การเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือความผิดปกติใด ๆ โดยอาจใช้แถบตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจระดับเลือดและโปรตีนที่อยู่ในปัสสาวะด้วย

ตรวจปริมาณปัสสาวะที่ค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ หากคาดว่าผู้ป่วยกลั้นปัสสาวะไม่ได้เนื่องจากมีปัสสาวะล้น แพทย์อาจตรวจดูปริมาณปัสสาวะที่ค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะหลังจากปัสสาวะไปเรียบร้อยแล้ว โดยจะใช้การอัลตราซาวด์เพื่อแสดงภาพกระเพาะปัสสาวะ หรืออาจใช้ท่อสวนเข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อวัดปริมาณปัสสาวะ

ตรวจการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นการสอดท่อวัดแรงดันเข้าไปในท่อปัสสาวะ เพื่อวัดความดันในกระเพาะปัสสาวะหรือช่องท้อง จากนั้นแพทย์จะให้ผู้ป่วยปัสสาวะลงในอุปกรณ์ที่มีไว้สำหรับวัดปริมาณและการไหลของปัสสาวะ

ตรวจด้วยการกระตุ้นให้เกิดแรงเบ่ง แพทย์จะให้ผู้ป่วยไออย่างแรง โดยในระหว่างนี้แพทย์จะตรวจดูท่อทางเดินปัสสาวะและปริมาณปัสสาวะที่ไหลออกมาไปพร้อมกัน

ตรวจด้วยการส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ เป็นการนำท่อที่ติดกล้องขนาดเล็กสอดเข้าไปทางท่อปัสสาวะ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์มองเห็นกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ เพื่อที่จะระบุความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้

การรักษาอาการปัสสาวะเล็ด

แพทย์จะพิจารณาการรักษาจากลักษณะอาการ ความรุนแรงของการป่วย รวมถึงโรคที่เป็นสาเหตุด้วย ซึ่งอาจต้องรักษาหลายวิธีรวมกัน โดยวิธีการที่แพทย์อาจนำมาใช้ มีดังนี้

การแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  • ให้ออกกำลังกายเพื่อฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยผู้ป่วยอาจปรึกษานักกายภาพบำบัดเกี่ยวกับการวางแผนออกกำลังกาย หรืออาจฝึกขมิบกล้ามเนื้อเป็นเวลา 5 วินาที แล้วผ่อน 5 วินาที ทำอย่างต่อเนื่อง 10 ครั้ง นับเป็นหนึ่งชุด และควรปฏิบัติให้ได้ 3 ชุดต่อวัน ซึ่งการออกกำลังกายด้วยวิธีนี้เป็นประจำจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดความแข็งแรงและสามารถควบคุมปัสสาวะได้
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน รวมทั้งควรปรับเปลี่ยนปริมาณเครื่องดื่มที่ผู้ป่วยดื่มในแต่ละวันตามคำแนะนำของแพทย์ด้วย เพราะหากดื่มมากหรือน้อยเกินไปอาจทำให้อาการแย่ลงได้
  • ฝึกปัสสาวะ เช่น ฝึกชะลอการปัสสาวะ โดยควรกลั้นปัสสาวะไว้ประมาณ 10 นาทีเมื่อรู้สึกปวดแล้วจึงค่อยไปปัสสาวะ พยายามถ่ายปัสสาวะซ้ำเพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างและลดการเกิดปัสสาวะล้น หรือรีบไปห้องน้ำก่อนจะปวดปัสสาวะมากจนกลั้นไม่อยู่ เป็นต้น
  • ดูแลสุขภาพโดยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเสมอ

การใช้ยา

แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาบางชนิด เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อในกระเพาะปัสสาวะผ่อนคลาย บีบตัวน้อยลง จนทำให้ปัสสาวะได้ง่ายขึ้น หรือช่วยให้กลั้นปัสสาวะได้นานขึ้น เช่น

  • ยากลุ่มแอนตี้โคลิเนอร์จิก
  • ยามิราเบกรอน
  • ยาแอลฟาบล็อกเกอร์
  • ยาดูล็อกซีทีน
  • ยาแอนตี้มัสคารินิก
  • ยาเดสโมเพรสซิน
  • ยาฮอร์โมนทดแทน

การผ่าตัด

  • ผ่าตัดใส่เชือกสลิงใต้ท่อปัสสาวะ เพื่อช่วยปิดท่อปัสสาวะเอาไว้ไม่ให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดหากผู้ป่วยไอหรือจาม
  • ผ่าตัดรักษาภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน มักใช้ในผู้ป่วยหญิงที่ปัสสาวะเล็ดร่วมกับมีภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนยาน โดยแพทย์อาจใช้วิธีนี้ร่วมกับการผ่าตัดใส่เชือกสลิงใต้ท่อปัสสาวะด้วย
  • ผ่าตัดใส่หูรูดเทียม เป็นการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยชาย โดยแพทย์จะฝังห่วงของเหลวบริเวณรอบคอกระเพาะปัสสาวะ เพื่อให้หูรูดของท่อปัสสาวะปิดอยู่ตลอดเวลา เมื่อต้องการปัสสาวะ ผู้ป่วยจะกดปุ่มที่ฝังใต้ผิวหนังเพื่อทำให้ห่วงนั้นแฟบลงจนปัสสาวะไหลผ่านออกมาได้
  • ผ่าตัดทำรูสวนปัสสาวะผ่านทางหน้าท้อง โดยสอดท่อผ่านรูผ่าตัดที่หน้าท้องเพื่อระบายปัสสาวะออกมาทางท่อ

การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ

  • กระตุ้นด้วยไฟฟ้า โดยแพทย์จะใส่ขั้วไฟฟ้าเข้าไปบริเวณช่องคลอดหรือลำไส้ใหญ่ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และทำให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวมีความแข็งแรงมากขึ้น
  • ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ อย่างการใช้ Urethral Insert ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับผ้าอนามัยแบบสอด โดยใช้สอดเข้าไปในช่องปัสสาวะ เพื่อป้องกันการไหลของปัสสาวะ ซึ่งก่อนผู้ป่วยจะปัสสาวะต้องนำอุปกรณ์นี้ออกก่อนเสมอ
  • ฉีดโบท็อกซ์เข้าไปบริเวณกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ เพื่อช่วยลดอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินไป โดยจะใช้วิธีนี้กับผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล  

ภาวะแทรกซ้อนของอาการปัสสาวะเล็ด

ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีภาวะปัสสาวะเล็ดหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่อย่างเรื้อรัง โดยอาจเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือเกิดปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง เช่น มีผื่น ผิวหนังติดเชื้อ เกิดแผลจากความเปียกชื้นบริเวณจุดช่อนเร้น เป็นต้น นอกจากนี้ อาจเกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิต อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอายเมื่อปัสสาวะเล็ด และอาจกระทบต่อการทำงาน ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ รวมถึงการใช้ชีวิตในสังคมด้วย

การป้องกันอาการปัสสาวะเล็ด

แม้ไม่สามารถป้องกันอาการปัสสาวะเล็ดได้ทั้งหมด แต่อาจลดความเสี่ยงได้ ดังนี้

  • ออกกำลังกาย และบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานโดยเฉพาะในผู้ที่ตั้งครรภ์หรือเพิ่งคลอดลูก
  • ควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากผู้ป่วยที่มีโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักเกินมาตรฐานอาจเสี่ยงเกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้ จึงควรออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม รวมถึงงดสูบบุหรี่ เพราะปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้ไตผลิตน้ำปัสสาวะมากกว่าเดิม และอาจเกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้