รู้สึกไม่สบายท้องเกิดจากอะไร

หลังกินข้าวแล้วเกิดอาการท้องอืด จุดเสียด แน่นท้อง เหมือนอาหารไม่ย่อยทุกที ทรมานจนหลายครั้งต้องพึ่งยาช่วยย่อยอาหาร ยาลดกรด แม้อาการจะดีขึ้นและหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา หรือไม่หาสาเหตุอาจกลายเป็นภาวะอาหารไม่ย่อยเรื้อรัง ก่อให้เกิดโรคและการเจ็บป่วยในระบบทางเดินอาหารที่รุนแรงได้


อาหารไม่ย่อย

อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) เป็นอาการไม่สบายท้องบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ช่วงระหว่างหรือหลังกินอาหาร ทำให้เกิดอาการอึดอัด ไม่สบายท้อง มีอาการหลายอย่างร่วมกัน พบได้เกือบทุกวัย ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ที่จะพบได้มากกว่าในเด็ก ส่วนโอกาสการเกิดอาการมีใกล้เคียงกันทั้งในผู้ชายและผู้หญิง บางคนเป็นครั้งคราว บางคนอาจเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง


ต้นเหตุ...ภาวะอาหารไม่ย่อย

บ่อยครั้งที่ไม่สามารถทราบได้แน่ชัดว่า สาเหตุของอาการอาหารไม่ย่อยมาจากอะไร แต่โดยส่วนใหญ่มักเกิดจาก

  1. พฤติกรรมการกิน เช่น กินอาหารเร็วเกินไปซึ่งการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดจะทำให้อาหารย่อยได้ยากขึ้น หรือกินอาหารในปริมาณมากเกินไปในแต่ละมื้อซึ่งส่งผลให้น้ำย่อยอาหารไม่เพียงพอที่จะย่อยอาหารได้ รวมไปถึงการกินอาหารไม่ตรงเวลา กินอาหารมัน หรือกินอาหารที่มีรสเผ็ด ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือน้ำอัดลมมากเกินไป
  2. พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน และการตั้งครรภ์
  3. ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ เช่น มีภาวะความเครียด วิตกกังวล จะส่งผลทำให้กระเพาะอาหารสร้างกรดมากกว่าปกติ
  4. ปัญหาด้านสุขภาพหรือการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น
    • การเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือภายในลำไส้เล็ก ทั้งจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (H.pylori) และจากสาเหตุอื่น
    • ภาวะท้องผูก ภาวะกรดไหลย้อนหรือเป็นโรคกรดไหลย้อน
    • อวัยวะในระบบย่อยอาหารเกิดการอักเสบ เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ หลอดอาหารอักเสบ ลำไส้เล็กหรือตับอ่อนอักเสบ ซึ่งมีหน้าที่ผลิตเอนไซม์ย่อยอาหาร
    • ลำไส้อุดตัน ภาวะลำไส้ขาดเลือด
    • โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งหลอดอาหาร พบได้น้อย และส่วนใหญ่จะพบในคนอายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไป
  5. ผลข้างเคียงของยาบางชนิดที่มีต่อระบบย่อยอาหาร จนนำไปสู่อาการอาหารไม่ย่อยได้ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นประจำ ยาแก้ปวด ยาสเตียรอยด์ และจำพวกยาต้านอักเสบ เช่น ยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน และยาไดโคลฟีแนค เป็นต้น

จุกเสียด แน่นท้อง อาการเด่นอาหารไม่ย่อย

เมื่อเกิดภาวะอาหารไม่ย่อยจะทำให้มีอาการเด่นเลย คือ จุดเสียด แน่นท้อง ไม่สบายท้องตรงบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ รวมทั้งมีอาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในท้อง เรอบ่อย แสบท้อง เรอเปรี้ยว เป็นต้น โดยอาการจะเป็นเฉพาะบริเวณระดับเหนือสะดือขึ้นไป และจะไม่มีอาการปวดท้องในระดับใต้สะดือและไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายร่วมด้วย

ทั้งนี้ อาหารไม่ย่อยที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้ง อาจไม่เป็นอันตรายอะไร แต่หากมีอาการอาหารไม่ย่อยมากกว่า 1 สัปดาห์ขึ้นไป หรือร่วมกับอาการเหล่านี้ เช่น อาเจียนอย่างรุนแรง อาเจียนเป็นเลือด หรืออาเจียนออกมาเป็นสีดำคล้ำ น้ำหนักลดไม่มีสาเหตุ กลืนอาหารลำบาก เป็นต้น ควรรีบมาพบแพทย์


ตรวจเช็ค รักษาให้ถูกวิธี

การดูแลรักษาภาวะอาหารไม่ย่อย ต้องรักษาที่ต้นเหตุตามลักษณะอาการที่เป็น โดยเบื้องต้นแพทย์จะวินิจฉัย จากประวัติอาการ การตรวจร่างกาย และจากการที่ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดกรด หรือยาช่วยย่อยอาหาร ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หลังจากนั้นจะดูอาการประมาณ 3-4 สัปดาห์

หากไม่ดีขึ้นหรือมีอาการมากขึ้น ก็อาจมีการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติมตามดุลยพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจเลือด หรือการตรวจลมหายใจหาการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร และการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษที่มีกล้อง (Endoscope) ติดอยู่ตรงส่วนปลายท่อ สอดเข้าไปทางปากของผู้ป่วย แล้วตรวจดูอวัยวะภายในเพื่อหาความผิดปกติผ่านภาพจากกล้อง

อย่างไรก็ตาม อาหารไม่ย่อยควรป้องกันที่สาเหตุและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง รวมทั้งการปรับพฤติกรรมการรับประทาน เช่น เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง มีรสเผ็ด หรืออาหารสำเร็จรูป กินอาหารให้ตรงเวลาและกินพอดีไม่เยอะจนเกินไป พร้อมทั้งเรียนรู้วิธีบริหารจัดการรับมือกับความเครียด หาวิธีผ่อนคลาย ก็จะช่วยให้ห่างไกลอาการอาหารไม่ย่อยได้

อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) เป็นอาการปวดท้องบริเวณช่วงบน ร่วมกับมีอาการท้องอืด จุกเสียดแน่นท้อง จุกลิ้นปี่ รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว โดยมักมีอาการในระหว่างหรือหลังรับประทานอาหาร ซึ่งอาการอาหารไม่ย่อยนี้ พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ อาการมักจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว แต่รู้หรือไม่ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหรือความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

อาหารไม่ย่อย อาจเป็นเพราะมีพฤติกรรมเหล่านี้…

อาหารไม่ย่อยเกิดจากอะไร? อาการอาหารไม่ย่อยเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่แล้วพบว่ามีปัจจัยมาจากพฤติกรรมการกิน และลักษณะการดำเนินชีวิต รวมไปถึงอาหาร เครื่องดื่ม หรือยาบางชนิด ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ

  • เคี้ยวอาหารไม่ละเอียดก่อนกลืน รับประทานเร็ว รับประทานเยอะ
  • ชอบรับประทานอาหารมันๆ อาหารรสเผ็ดจัด
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม มากเกินไป
  • น้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วน
  • รับประทานยาบางชนิด ที่ส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาปฏิชีวนะ อาหารเสริมธาตุเหล็ก เป็นต้น
  • มีแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก กรดไหลย้อน
  • มีภาวะเครียดหนัก ภาวะวิตกกังวล
  • สูบบุหรี่เป็นประจำ

อาหารไม่ย่อยเป็นประจำ อาจเสี่ยงเป็น “มะเร็งกระเพาะอาหาร”

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นภัยเงียบของสุขภาพที่หลายคนมองข้าม และกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ ก็มีอาการรุนแรงและลุกลามไปตามอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายแล้ว โดยอาการอาหารไม่ย่อยเป็นประจำ อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้

หากคุณมีอาการอาหารไม่ย่อยเป็นประจำ แน่นท้อง ปวดท้องหลังรับประทานอาหาร จุกที่ลิ้นปี่ แสบร้อนบริเวณหน้าอก ร่วมกับ อุจจาระเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ควรมาปรึกษาพบแพทย์เพราะหากปล่อยไว้อาการอาจรุนแรงขึ้น

ปวดท้องจุกเสียดเกิดจากอะไร

อาการของอาหารไม่ย่อย เมื่ออาหารไม่ย่อย จะทำให้เกิดกลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในระบบย่อยอาหารอย่างกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร และลำไส้เล็ก และผู้ที่มีภาวะอาหารไม่ย่อย จะเผชิญกับอาการดังต่อไปนี้ ปวดท้องช่วงบน จุกเสียดแน่นท้อง จุกลิ้นปี่ รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว ท้องอืด ท้องเฟ้อ หลังการรับประทานอาหาร

ไม่สบายท้องทำไง

6 Tips แก้ปัญหา ท้องอืด ด้วยธรรมชาติ.
1. ปรับเปลี่ยนนิสัยการกินใหม่ แก้อาการท้องอืด ... .
2. กินผักผลไม้ที่ช่วยคลายท้องอืด ... .
3. เครื่องดื่มบางอย่างช่วยได้ ... .
4. รับประทานโปรไบโอติกส์ แก้อาการท้องอืด ... .
5. นวดกดจุดลดแน่นท้อง ... .
6. ใช้ยาสมุนไพรแก้ท้องอืด.

อาการท้องอืดท้องเฟ้อเกิดจากอะไร

อาหาร อาการท้องอืดท้องเฟ้อ รู้สึกมีลมในกระเพาะอาหาร จนอึดอัดไม่สบายตัว อาจเกิดจากอาหาร เช่น ผักผลไม้ที่มีเส้นใยมาก หากรับประทานมากเกินอาจทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ นอกจากนี้ อาหารเผ็ด แอลกอฮอล์ อาหารไขมันสูง นมและกาแฟ และพฤติกรรมการรับประทานก็มีผลทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อได้เช่นกัน โดยเฉพาะการรับประทานอาหารเร็วเกินไป เคี้ยว ...

ปวดท้องคลื่นไส้ เกิดจากอะไร

คนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบมักมีอาการปวดท้องทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร แต่จะค่อย ๆ หายไปเมื่อรับประทานอาหารเข้าไปสักพัก ไม่สบายท้องส่วนบน เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ รู้สึกเหมือนมีลมในท้องมาก คลื่นไส้ อาเจียน ขณะที่โรคลำไส้อักเสบมักพบในกลุ่มวัยทำงานได้มากกว่า สังเกตอาการเบื้องต้นคือ อาการแสบท้อง คนไข้จะมีอาการแสบท้อง ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้