ลงท้าย จดหมาย สมัคร งาน ภาษา อังกฤษ

หน้าแรกคำศัพท์และสำนวนประจำวันจดหมายสมัครงาน...เขียนอย่างไรให้ได้งานกันล่ะเนี่ยะ

จดหมายสมัครงาน...เขียนอย่างไรให้ได้งานกันล่ะเนี่ยะ

"จดหมายสมัครงาน"...เขียนอย่างไรให้ได้งานกันล่ะเนี่ยะ


OMG ("ย่อมาจาก โอ้มายก้อด" นะคะ) วันนี้ไปเรียนขับรถมา อยากจะกรี๊ด เวลามีรถใหญ่ๆ มาขับผ่านอยู่ข้างๆ อยากตะโกนออกไปว่า "เสียวโว้ย(ค่ะ)" แต่วันแรกนี้ก็รอดมาได้ค่ะ ครูถามว่ากลัวไหม สาลี่ก็ตอบไปว่า "ไม่กลัวค่ะ" ครูถามต่อว่า "เราว่าใครจะกลัวมากกว่ากัน เราหรือว่าคนขับรถคันข้างหลังเรา" สาลี่ก็ตอบไปอีกว่า "คนขับรถข้างหลังเราค่ะ" พร้อมคิดในใจว่่า "ก็รถที่หนูขับอยู่เป็นรถครูนิคะ ไม่ใช่รถหนู ~(^_^)~


เอาล่ะค่ะ เกริ่นให้หายเครียดพอหอมปากหอมคอ เราจะมาเริ่มเรื่องในวันนี้กันเลยนะคะ วันนี้สาลี่จะมาสอนเขียนจดหมายสมัครงานภาษาอังกฤษค่ะ สมัยนี้ไม่ต้องไปเขียนส่งแล้วนะคะ จดหมายสมัครงานภาษาไทย เนื่องจากสำนักงานแทบทุกที่ต้องการวัดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของผู้สมัครงานทั้งหมด 


"ข้อห้ามที่สำคัญยิ่งสำหรับการสมัครงาน คือ ห้ามทำตัวไม่โปรเฟสชั่นนอลเด็ดขาด (ห้ามทำตัวติงต๊อง เอ๋อ หรือไม่เต็ม เด็ดขาด) ยกตัวอย่างเช่น

STOP ใช้ชื่ออีเมลติงต๊องในการสมัครงาน เช่น [email protected] หรือ [email protected] ขอเถอะค่ะ ถ้าคุณมีอีเมลอะไรที่มีสีสันขนาดนี้ โปรดเก็บไว้ใช้ส่วนตัวนะคะ ถ้าจะสมัครงานขอแนะนำให้ใช้ชื่อจริงของเรา จุด และตัวย่อนามสกุล เช่น [email protected]???.com เป็นต้น เพราะไม่มีใครต้องการ "นักร้อง" หรือ "ซูเปอร์ฮีโร่" ไปทำงานแน่นอน ~(^_^)~
STOP ส่งคำถามมาถามรายละเอียดแบบไร้เดียงสา  (แปลไทยเ็ป็นไทยว่า คำถามทุเรศ ห้ามเด็ดขาด) ให้คิดเอาใจเขามาใส่ใจเราเสียหน่อย ว่า ถ้าเราเป็นนายจ้าง เราต้องการรับคนที่เขียนจดหมายสไตล์นี้มาถามเราหรือไม่ ทางแก้ -- อ่านข้อความรับสมัครงานนั้นให้ถี่ถ้วน 

*** เพราะฉะนั้น เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หากใครไม่มีอีเมลที่ดู Professional ก็กรุณาไปถอยอีเมลนั้นมาไว้ให้เป็นสง่าราศีแก่ตนเองและวงตระกูลเสีย 1 อีเมลนะคะ (อ้อ คำว่า email เขียนเป็นภาษาไทยว่า "อีเมล" นะคะ ไม่มี "ล์" นะคะ) ***


มามะ มาต่อกัน อิอิ -- หากเราต้องการเขียนจดหมายสมัครงานไปสมัครงานที่ไหน โปรดจำไว้ว่า มีของ 2 อย่างที่เราต้องส่งไปให้บริษัทนั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งแต่ "ใบประวัติส่วนตัว" หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกกันหรูๆ ว่า "Resume" (อ่านว่า /เระ-ซู-เม่/ ไม่อ่านว่า รีซูม นะคะ) หรือ "CV" (ที่ย่อมาจาก curriculum vitae อ่านว่า /เค่อ-ริ้-คู-ลั่ม ไว้-ถี่/ หรือ /เค่อ-ริ้-คู-ลั่ม วี้-ทาย/) (ซึ่งไม่ถูกต้องนะคะ เพราะมีอีกอย่างหนึ่งที่ต้องส่งไปคู่กัน)


นั่นแน่...ทุกคนต้องแปลกใจแน่ๆ ว่า อะไรวะ(คะ)ที่มันจะสำคัญมากไปกว่า Resume สาลี่ก็เห็นทุกคนเตรียมกันอย่างจริงจังมาก ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ทางฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทต่างพิจารณาจากสิ่งที่เราเรียกว่า COVER LETTER ก่อนทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นวันนี้ สาลี่จะสอนเขียนจดหมายสมัครงาน (หรือที่เรียกว่า Cover Letter กันนะคะ) ดังนั้นในการสมัครงาน สิ่งที่เราต้องส่งมี 2 สิ่ง ได้แก่ (1) Cover Letter และ (2) Resumeนะคะ 

สาลี่ไม่ขอร่ายทฤษฎียาวนะคะ ขอเริ่มกันที่ส่วนแรกของจดหมายเลยนะคะ 

ตัวอย่างด้านบนเป็น Cover Letter ที่สาลี่เขียนขึ้นมานานแล้วเพื่อใช้สมัครเป็น Freelance Translator กับ Translation Agency ในประเทศจีนค่ะ สาลี่ขอนำมาเป็นตัวอย่างสำหรับการสอนเขียน Cover Letter ในบล็อกสาลี่นะคะ (รบกวนหากใครจะนำไปใช้ต่อให้ Credit บล็อกสาลี่ด้วยนะคะ ~(^_^)~)

จากตัวอย่างด้านบน แสดงให้เห็นว่า Cover Letter ของเราต้องประกอบไปด้วย 10 ส่วน ดังต่อไปนี้นะคะ 



1: ที่อยู่ตัวเรา -- ใส่ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรและอีเมล ของเรา (ผู้สมัคร) ภาษาอังกฤษ เราเรียกผู้สมัครว่า "Applicant" นะคะ เพราะเราทำกริยา Apply for (สมัคร) นั่นเอง จดหมายสมัครงานเรา จึงเรียกว่า Application Letter (สังเกตนะคะว่า กริยา = apply คำนาม = application) 

ข้อสังเกต: แบบอักษร (font) ที่น่าใจชื่อ (1) Times New Roman ขนาด 12 หรือ (2) Arial ขนาด 11 ไม่ต้อง Double Space แต่เวลาวรรรคระหว่างย่อหน้า ให้ใช้ "กด enter ลงมา 2 ทีค่ะ"

2: วันที่ -- ใส่วันที่ค่ะ การใส่วันที่มี 2 แบบ นั่นคือใส่แบบอังกฤษ จะใส่เรียงกันดังนี้ "วัน เดือน ปี" แต่ถ้าใส่แบบอเมริกันจะใส่เรียงกันว่า "เดือน วัน, ปี" แต่สาลี่ชอบใส่แบบอเมริกันค่ะ มันเท่ห์ดี (555+ )  


3: ชื่อและที่อยู่บริษัทที่เราสมัครงาน -- ใส่ชื่อ และ ตำแหน่ง และ ที่อยู่ ของคน (บริษัท) ที่เราเขียนจดหมายไปหา (นายจ้างของเราในอนาคตนั่นเอง)  ห้ามมั่วเด็ดขาด ที่สำคัญที่สุด ห้ามสะกดชื่อผิด ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ผู้จัดการหรือชื่อบริษัท เพราะคนอ่านจะไม่ปลื้มอย่างแรงนะคะ (ส่วนสถานภาพผู้ชายใช้ Mr. (ง่ายมาก) ส่วนผู้หญิงใช้ Ms. นะคะ (Ms. เป็นคำกลางๆ แทนผู้หญิงที่เราไม่ทราบว่าแต่งงานหรือยัง เพราะถ้าเรามั่นใจ เราใช้ Miss แทนหญิงที่ไม่แต่งงาน และใช้ Mrs. แทนหญิงที่แต่งงานแล้วนะคะ ) 


4: เรียน (ชื่อคนที่เราต้องการคุยด้วย) -- ใช้คำว่า Dear Mr. ชื่อสกุล (นามสกุล), [มีคอมม่าหรือลูกน้ำด้วยค่ะ] 


5: เรื่อง (บอกว่าเราเขียนมาหาเขาทำไม) -- ตรงนี้มักใช้เป็นคำนามนะคะ อย่างในตัวอย่าง สาลี่ใช้คำนามคำว่า Application ไว้ด้านหลังสุด ด้านหน้าเป็นส่วนขยายค่ะ ว่า Application หรือ จดหมายสมัครงานฉบับนี้ สมัครในตำแหน่ง Freelance Translator :D หรือจะใช้ Gerund นำหน้าก็ได้นะคะ (Gerund หรือ การเติม -ing ที่กริยา เพื่อเปลี่ยนกริยานั้นเป็น "คำนาม" คืออะไร เข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ คลิกเลย) เช่น Applying for the Position of a Freelance Translator เป็นต้นค่ะ


6: ย่อหน้าที่ 1 (ชี้แจงรายละเอียดว่าเราเขียนมาหาเขาทำไม) -- ตรงนี้ "สำคัญ***" มากค่ะ เขียนให้ชัดเจนไปเลยว่า เราเขียนมาหาเขาเพื่อมาสมัครตำแหน่งอะไร เห็นการโฆษณานั้นจากที่ไหน หรือจะบวกแนะนำตัวเองไปนิดหน่อยก็ได้ค่ะ ลองอ่านดูตัวอย่างด้านบนก่อนนะคะ หรือประมาณนี้I write this letter to apply for the position of ..., as announced in the Bangkokpost newspaper, dated November 12, 2010.  หรือ I am very interested in applying for the position of .... ก็ได้ค่ะ อันที่จริงมันเขียนได้หลายรูปแบบ ทุกคนสามารถเปิดหาความรู้เพิ่มเติมได้ โดยการพิมพ์คำว่า Cover Letter ใน Google.com แต่ใ้ห้คลิกไปที่ "ค้นรูป" นะคะ


7: ย่อหน้าที่ 2 (บรรยายประสบการณ์และข้อดีต่างๆ ของเราที่สำคัญกับตำแหน่งที่สมัครค่ะ) -- ตรงนี้ เป็นย่อหน้า "ขายตัว" ค่ะ 55+ หมายถึงขายตัวเองให้กับนายจ้างนะคะ แสดงจุดเด่นให้เต็มที่ไปเลย อย่างในตัวอย่างด้านบนสาลี่ก็เขียนถึงประสบการณ์การทำงานของตัวสาลี่เองค่ะ ว่าเรียนจบจากที่ไหน ปริญญาอะไรบ้าง ใ้ช้โปรแกรมอะไรเป็นบ้าง เป็นต้น (เวลาทำ list ออกมาก่อนก็ได้ค่ะ ว่าเรามีข้อดีอะไร แล้วค่อยนำมาเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ^^")


8: ย่อหน้าที่ 3 (ปิดท้าย ด้วยการขอโอกาสสัมภาษณ์งาน แจ้งเบอร์ติดต่อ เวลาที่สะดวกอีกครั้ง) -- ตรงนี้เป็นย่อหน้าเก็บรายละเอียดค่ะ แจ้งรายละเอียดเบอร์ติดต่อ อีเมลให้เรียบร้อย พร้อมรุกคืบอีกนิดหน่อยว่า สัมภาษณ์เดี้ยนได้นะคะ เวลาไหนก็ได้ที่เดี้ยนยังไม่ได้งานทำค่ะ เอิ๊กๆๆ เช่น I am looking forward to having an interview with you, at any time of your convenience, so that I can discuss with you my further contribution to the Company


9: ย่อสำนึำกบุญคุณล่วงหน้า (ปิดท้าย ด้วยการขอบพระคุณผู้อ่านอีกสักครั้ง) -- จบงามๆ ด้วยคำขอบคุณ อิอิ


10: ลงท้ายจดหมาย พร้อมลงชื่อให้เรียบร้อย เวลาลงท้ายจดหมาย นิยมใช้ Sincerely,/ Your sincerely, / Sincerely yours, / Faithfully, / Your faithfully, / Faithfully yours , เลือกเอานะคะ ว่าจะใช้อันไหนก็ได้ แล้วก็เซ็นชื่อ และต่อด้วยชื่อสกุลตัวบรรจงของเรา และปิดท้ายด้วยตำแหน่งของเราค่ะ 


เย้...จบแล้ว (วันนี้สาลี่มาวางหลักเรื่องการเขียน Cover Letter ให้ผู้ที่สนใจทุกคนได้ทราบไว้) บทต่อไปสาลี่จะเขียนเรื่องการเขียน Resume หรือประวัติส่วนตัวนะคะ เพื่อนำไปใช้ประกอบกันในการสมัครงาน 

บทเรียนนี้ไม่ได้สอนเรื่องการเรียงประโยคภาษาอังกฤษนะคะ อืม...เนื่องจากมันต้องค่อยๆ ฝึกกันตั้งแต่โครงสร้างประโยคพื้นฐาน อาจจะมีครั้งหนึ่งในอนาคตอันใกล้ที่สาลี่จะมาสอนแต่งประโยคภาษาอังกฤษกันนะคะ ^^" 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้