จบ มนุษยศาสตร์ ภาษา ไทย ทํา งาน อะไร

บทความนี้คัดลองมา  จาก  Pantip.com   เห็นว่ามีประโยชน์อย่างมหาศาลสำหรับคนจะเลือกเรียนเอกภาษาไทย

Q  =  จบเอกภาษาไทย จะมีหวังได้เงินเดือนสูงๆกะเขามั่งมั้ย แบบว่าสัก10,000-15,000ประมาณเนี้ย ไม่อยากได้แค่8,000-9,000น่ะค่ะ แนะนำหน่อยว่าทำอาชีพอะไรดี

A = เป็นครูสอนภาษาไทย..

มันขึ้นอยู่กับวิชาข้างในที่คุณจะเลือกเรียนด้วยครับมาหลากหลาย

ผมจบวิชาโทเป็นภาษาไทย 30 หน่วยกิต..
ผมเลือกแต่วิชาที่เกี่ยวกับการเขียนทั้งสารคดี การเขียนแบบสร้างสรรค์ การเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย บทความ..คล้ายกับนิเทศน์ แต่ก็จะมีส่วนลึกกว่า พวกกลอน วรรณคดี
หลักหรือรากของภาษาครับ..

A =  ครูลิลลี่ ไม่ได้จบเอกภาษาไทย(จบนิเทศฯ) แต่สอนภาษาไทย ไม่ทราบเดือนนึงได้กี่บาทนะครับ
 

A =   มีญาติคนหนึ่งเรียนจบโทภาษาไทย ตอนนี้เงินเดือนเป็นแสนแล้ว ทำอาชีพเป็นครูสอนภาษาไทยอยู่สิงคโปร์ บินกลับบ้านได้ทุกเดือน เหมือนอยู่ต่างจังหวัด แต่ก็ต้องเก่งอังกฤษด้วยนะ
 

A =  ขอแนะนำอีกอาชีพครับ
ก่อนนั้นไม่ชอบภาษาไทย
แต่ชอบเขียนเรื่องสั้น
จึงได้ศึกษาการใช้ภาษาอย่างถูกต้องไปโดยปริยาย

ต่อมาได้ฝึกฝนการเขียนมากขึ้น
ทำงานเป็นบรรณาธิการหนังสือระยะหนึ่ง
รายได้ก็หมื่นต้นๆ ถึงกลางๆ (แต่มีรายได้เสริมจากงานเขียนวรรณกรรมลงหนังสือ)

และต่อมา ฝึกฝนเขียนข่าว เขียนคำโฆษณา
ทำงานเป็น Copy-Writer

รายได้ประจำมากกว่าที่คุณแต๊แนวคาดหวังหนึ่งเท่า
(ไม่รวมรายได้เสริมอื่น)

แนะนำว่า เก่งภาษาไทยแล้วศึกษาเรื่องวรรณกรรม
ก็จะช่วยได้มากครับ โดยเฉพาะการมีงานหลักที่ผมทำ
และงานเสริม บรรณาธิการหนังสือ แต่ต้องฝึกฝน
เรืองสำนวนภาษา และต้องรักการอ่านมากๆ ครับ

A =   เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย เงินเดือนจะเริ่มที่ประมาณ 14,000 - 15,000 บาท

รับสอนพิเศษ ให้นักเรียนก็รายได้ดี ทั้งที่ประจำถามสถาบันต่าง ๆ และที่รับเอง

คิดดู 1 เทอม มี 3-4 เดือน รับสอนให้เด็กกลุ่มสัก 10 -15 คน สัก 2 กลุ่มต่อเทอม คิดหัวถูก ๆ หัวละ 2,000 -2,500 บาท 1 ปี มี 2 เทอม ก็ได้โขอยู่นะ แต่ต้องสอนดีจริงนะ ถึงจะมีลูกค้าปากต่อปาก ต่อเนื่อง

นอกจาเป็นครุแล้ว ก็ทำอย่างอื่นได้อีกเยอะ อาจใช้วิชาโทที่เลือกด้วย หรือใช้ความสนใจส่วนตัวของตน เช่น เขียนวรรณกรรม สารคดี บทละคร

ประเด็นคือ คุณต้องอดทน ฝึกฝน และหมั่นหาความรู้เพิ่มเติมเสมอครับ

A  =   ถ้าจบเอกไทย แล้วคิดว่าตัวเองสร้างสรรค์พอ ขอแนะนำให้เป็น Copy writer ในเอเจนซี่โฆษณา และพัฒนาตัวเองให้กลายเป็น ครีเอทีฟ ในที่สุด ...

A  =   ผมจบเอกไทย รามคำแหง เกรด แค่สองกว่าๆ
เป็นครูจ้างรร.ไทย อยู่ปีกว่าๆ ตอนนี้เป็นอาจารย์พิเศษมหาลัยเอกชน สอนเด็กต่างชาติ แล้วหาสอนพิเศษอื่นๆ แล้วได้เรียนต่อ ปโท ที่ มศว ก็ภูมิใจ รายได้พอมีพอกิน มีความสุข ...ถ้าภูมิใจกับสิ่งที่ได้เรียนได้ทำ แล้วทำด้วยความรักจริงๆ ผมว่าอดทนสักหน่อยก็จะได้สิ่งดีๆน่ะครับ ผมเคยโดนดูถูก เพราะจบเอกไทย ที่รามคำแหง
ไม่มีวันสู้อักษรจุฬา ศิลศาสตร์ มธ ได้หรอก ตอนแรกแอบน้อยใจ ...เวลาผ่านไป ตอนนี้ผมไม่คิดสู้ใครเลย สู้กับตัวเองมากๆๆๆ ได้ทำสิ่งที่ตัวเองรัก แล้วก็ทำได้ดีเท่าที่ความสามารถจะมีให้คนอื่นๆเห็น ...แค่นี้ผมก็พูดให้ใครๆฟังด้วยความภูมิใจว่า ผมเด็กมนุษย์ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาไทย มอรามฯ คร๊า.......บบบบบบบ

สุดท้ายกราบขอบพระคุณ พี่พี่ทุกคน ใน pantip  สำหรับประสบการณ์ดีดีที่ร่วมแบ่งปัน

Credit //pantip.com/

     สวัสดีค่ะน้อง ๆ วันนี้พี่ EDUGEN จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับพี่หนึ่ง ติวเตอร์ภาษาไทยแสนอารมณ์ดีกันค่ะ ในฐานะเด็กเอกภาษาไทย พี่หนึ่งมีมุมมองต่อภาษาไทยอย่างไรบ้าง น้อง ๆ คนไหนที่แอบเล็งว่าอยากจะเรียนเอกภาษาไทยแบบพี่หนึ่ง หรืออยากรู้ว่าพี่หนึ่งมีเทคนิคอย่างไรถึงเก่งภาษาไทยขนาดนี้ ห้ามพลาดบทสัมภาษณ์นี้เลยนะคะ  

แนะนำตัวหน่อยค่า

     “ชื่อพี่หนึ่ง หรือครูพี่หนึ่ง ธีรศักดิ์ จิระตราชูครับ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาไทย การศึกษาบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่งครับ เป็นครูสอนวิชาภาษาไทย และก็ติวเตอร์สอนวิชาภาษาไทย แล้วก็อีกอย่างหนึ่ง คือเป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับการสอนภาษาไทยให้กับคุณครูด้วยครับ”

ทำไมพี่หนึ่งถึงเลือกเรียนคณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาไทย

     “สมัยมัธยมปลายพี่เรียนสายวิทย์-คณิต แทบไม่ค่อยได้แตะภาษาไทยเลย แต่มีโอกาสได้เข้าไปทำงานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ซึ่งเราชอบการสื่อสาร ชอบการพูดและให้คนอื่นเข้าใจสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสาร ชอบการติดต่อ ชอบการเขียน วันที่เราจบมัธยมปลาย เราคิดว่าเราอยากหาอะไรที่เป็นตัวเองจริง ๆ เราลิสต์รายการมาดูเลยว่าวันที่เราถึงทางแยกเราจะเบนสายไปทางวิทย์-คณิตหรือเราจะเบนสายไปทางภาษา ซึ่งถ้าไปทางภาษาก็ค่อนข้างยากพอสมควร เพราะตอนนั้นเราไม่ได้มีการเตรียมตัวเกี่ยวกับภาษามาเลย แต่เราอยากเรียนภาษาไทย จึงตัดสินใจเลือกแอดมิดชั่นในคณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาไทย คนเรียนเอกนี้ก็คือต้องเรียนไปเป็นครูแน่นอน เราก็มุ่งมั่น ฝึกฝน พัฒนาตัวเองจนกลายมาเป็นคุณครูภาษาไทยในปัจจุบัน”

คณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาไทยเรียนอะไร

     “คณะมนุษยศาสตร์ เป็นศาสตร์ทางด้านสังคมศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับการทำความเข้าใจความเป็นมนุษย์ บริบทของการใช้ชีวิตต่าง ๆ ในสังคม รวมถึงการเรียนภาษาต่าง ๆ ด้วย ซึ่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเป็นมหาวิทยาลัยที่เอาคณะที่เป็นครูมาไว้ในคณะมนุษยศาสตร์ เพราะฉะนั้นพี่เหมือนเรียนสองคณะพร้อม ๆ กัน คือคณะศึกษาศาสตร์กับคณะมนุษยศาสตร์ บางคนมีทัศนคติว่าการเรียนภาษามันจะง่ายใช่ไหม แต่ความจริงไม่ง่ายนะครับ เราต้องทำความเข้าใจพื้นฐานความคิดของคนที่ถ่ายทอดออกมาผ่านภาษา ภาษามีอิทธิพลหรือเข้าไปช่วยคนให้เกิดการสื่อสารอย่างไรบ้าง คนใช้ภาษาเป็นเครื่องมือทำอะไรบ้าง การเรียนการสอนในคณะมนุษยศาสตร์ก็จะตอบคำถามตรงนี้ และที่สำคัญตอบคำถามมาก ๆ เลยว่าเรามีภาษาไทยไปทำไม”

พี่หนึ่งคิดว่าการเรียนภาษาไทยสำคัญอย่างไร

     ทุก ๆ วันนี้ เราใช้ภาษาไทยสื่อสารเป็นภาษาหลัก ถ้าใครอยู่ในประเทศไทย และที่สำคัญถ้ามีคำถามว่า เราเรียนภาษาไทยไปทำไม ภาษาไทยมันน่าเบื่อ คงต้องถามกลับไปพอสมควรว่าแล้วเราสื่อสารภาษาไทยทำไม ทุกวันนี้เราสื่อสารภาษาไทยดีหรือยัง เราสื่อสารภาษาไทยมีประสิทธิภาพแล้วหรือยัง เราเข้าใจภาษาไทยแล้วจริง ๆ หรือเปล่า ภาษาไทยในมุมมองของคนไทยอาจจะดูล้าสมัย แต่ในมุมมองของคนต่างประเทศ พวกกาพย์ กลอน โคลง ร่าย ต่าง ๆ ที่เรามีกันอยู่ ที่เป็นวัฒนธรรม หรือธรรมเนียมไทยที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คนต่างชาติสนใจ เพราะเป็นภาษาที่มีทำนอง เป็นภาษาที่มีจังหวะชัดเจน และสื่อความหมายอย่างลึกซึ้ง พี่ว่ามันมีเสน่ห์ตรงนี้นะ”

พี่หนึ่งคิดว่านอกจากเป็นครู ภาษาไทยสามารถประยุกต์ใช้กับอาชีพอะไรได้อีกบ้าง

     “เอาเป็นพื้นฐานก่อนเลยนะครับ เรายังไม่ต้องพูดถึงการประกอบอาชีพ ในสังคมไทยเราหาคนที่พูดกับคนอื่นรู้เรื่องยากนะ ไม่ใช่แค่การพูดอย่างเดียว การสื่อสารในประจำวัน ฟัง พูด อ่าน เขียน พี่ว่าก็สำคัญกับชีวิตคนทั้งหมด เช่น เวลาเราไปทำงานเราต้องเผชิญกับเรื่องของการเขียนสรุปงาน เขียนรายงาน คนที่ทำสิ่งเหล่านี้ได้ดีอะ พี่รู้สึกว่าเขาจะทำงานของตัวเองได้มีเสน่ห์ยิ่งขึ้น มันทำให้เรามีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ไม่ต้องเป็นครูภาษาไทยอย่างเดียว เดี๋ยวนี้คนต้องการภาษาไทยเยอะ เลขาในองค์กร ทำงานเกี่ยวกับหนังสือหรือการแปล ภาษาไทยมีส่วนเกี่ยวข้อง ยิ่งภาษาไทยเข้าสู่ AEC ใช่ไหมครับ เรารู้สึกว่าภาษาไทยมีบริบทในการสื่อสารเยอะมากเลย คนต้องการคนไปสอนภาษาไทยในต่างแดนเยอะเพราะมีการลงทุนแลกเปลี่ยนกัน ไม่ว่าในภาพใหญ่ก็ภาพเล็กพี่ว่ามันเกี่ยวข้องหมดเลยครับ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาษาที่สำคัญต่อสังคมเราเช่นกันก็คือภาษาอังกฤษ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นไปได้เราอยากจะให้เรียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษควบคู่กันไป เราจะมีทักษะในการสื่อสารเหนือกว่าคนอื่น และพี่เชื่อว่าการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ดี มันต้องเกิดจากการสื่อสารภาษาไทยได้ดีก่อน”

ระหว่างเด็กเรียน กับเด็กกิจกรรม พี่หนึ่งเป็นเด็กประเภทไหน

     “พี่เป็นเด็กกิจกรรมครับ พี่เชื่อว่าการเรียนที่ไม่ได้ผ่านการทำกิจกรรมเป็นการเรียนที่ไร้ชีวิตชีวา ถ้าสมมุติว่าเรียนอย่างเดียว แต่ไม่ได้ผ่านการฝึกฝนเลย มันจะไม่ได้นำความรู้ไปใช้ เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากเจอสิ่งที่เราถนัดจริง ๆ ต้องประยุกต์การเรียนไปสู่การปฏิบัติจริง ๆ ด้วย เหมือนเราเรียนภาษาไทย ถ้าเราเรียนอย่างเดียว แล้วเรารู้สึกว่าต้องท่องจำหลักภาษา ท่องจำวรรณคดี ท่องจำตัวละครในวรรณคดี มันเป็นการเรียนที่ไร้ประโยชน์ เวลาพี่สอนพี่จะบอกว่าอะไรที่ควรนำไปใช้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร พี่ว่าสำคัญมาก ๆ”

     “ถ้าใครเป็นเด็กที่จบจากโรงเรียนในเครือ สพฐ. จะต้องทราบเลยว่าทุกปีจะมีงาน ๆ หนึ่งเกิดขึ้น ก็คืองานศิลปหัตถกรรมของประเทศ ชื่อศิลปหัตกรรมแต่มันคือการแข่งขันทักษะทางวิชาการทุก ๆ ทักษะวิชาการรวมอยู่ในงานนี้ เขาจะคัดเด็กที่เก่งที่สุดในแต่ละด้านมาแข่ง โดยแต่ละโรงเรียนก็จะคัดตัวแทนมาแข่งระดับจังหวัดก่อนไประดับภาค ไประดับประเทศ งานจัดประมาณ 3 วัน พี่ไปแข่งทั้ง 3 วันเลย ไปแข่งภาษาไทยหนึ่งวัน ไปแข่งการงานหนึ่งวัน และไปแข่งวิทยาศาสตร์หนึ่งวัน พี่คิดว่าสิ่งที่ทำให้พี่โดนคัดเลือกไปแข่งขัน เพราะพี่พูดภาษาไทยรู้เรื่อง พี่ไปนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องของความซับซ้อนทางความคิด ตรรกะเหตุผลต่าง ๆ การทดลองวิจัยนั้น ๆ จะส่งผลให้เกิดเหตุผลอะไรบ้างในอนาคต ถ้าเราสื่อสารให้กรรมการไม่รู้เรื่องคือจบเลย กิจกรรมมันทำให้พี่นำความรู้ไปใช้พอสมควร และพี่ก็มีความสุขที่ได้ทำ”

ถ้าอยากพูดจาฉะฉานแบบพี่หนึ่ง ต้องฝึกฝนอย่างไร

     “พี่รู้สึกว่าการพูดจาให้ฉะฉาน ทำได้อย่างเดียวเลยคือการฝึกฝน ต้องผ่านเวทีมาเยอะพอสมควร การจับไมค์ครั้งแรกมันอาจจะสั่น ๆ นิดนึง หรือการพูดครั้งแรกมันจะประหม่านิดนึง แต่ครั้งที่สองจะดีขึ้น ครั้งที่สามจะดีขึ้นมากกว่านี้ ครั้งที่สี่มันจะสุดยอดที่สุดเลย มันต้องผ่านการฝึกฝนไปทั้งนั้นอะครับ เพราะฉะนั้นใครที่อยากจะฝึก ลุย! พังครั้งแรกช่างมัน ครั้งที่สองต้องดีกว่าเดิม ครั้งที่สามมันต้องเยี่ยมกว่านี้ ต้องผลักดันตัวเองแบบนี้”

งานอดิเรกที่พี่หนึ่งชอบคืออะไร และคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญไหม

     “เป่าขลุ่ย ตีกรับ ตีระนาด เล่นกีต้าร์ ตีกรับเสภา ขับเสภา เล่นเปียโน พัฒนาสมองด้านขวา พี่ชอบอะไรแบบนี้ พี่รู้สึกว่าพี่ทำสิ่งเหล่านี้เพื่อระบายความเครียด บางทีการทำงานหนัก เราเครียดมาพอสมควร เราได้ทำสิ่งเหล่านี้มันทำให้เราผ่อนคลาย การเรียนก็เหมือนกัน เราจะเรียนแบบเครียดอย่างเดียวไม่ได้ อัลเบิร์ต ไอสไตน์ บอกว่าเขามีทฤษฎีฟิสิกส์มากมายเลย แต่ถ้าเขาไม่มีไวโอลินมันคือทฤษฎีที่ไร้ชีวิตชีวา เหมือนกันเวลาเราทำอะไร เราต้องมีงานอดิเรกที่ทำให้เราผ่อนคลายบ้างในบางอิริยาบถ”

อยากให้พี่หนึ่งแชร์วิธีการเรียนให้ประสบความสำเร็จกับน้อง ๆ หน่อยค่ะ

     “พี่ทำอยู่ 2 อย่างเองครับ หนึ่งพี่มีเป้าหมายชัดเจน สองพี่ตั้งใจเรียนในห้องเรียนสุด ๆ ที่สำคัญพี่จะเอาสิ่งที่พี่เรียนมาทบทวนตลอด ถ้าพี่รู้สึกว่าวิชานี้พี่ไม่เก่ง พี่ก็จะให้เพื่อนพี่ทบทวนให้ คนเราเรียนรู้แตกต่างกัน เกียรตินิยมอันดับหนึ่งของพี่อาจจะมาจากสิ่งที่เพื่อนพูดให้ฟังก็ได้ อาจจะมาจากสิ่งที่พี่ได้ยินเขามาก็ได้ หลายคนเรียนรู้จากการอ่านด้วยตัวเอง บางคนเรียนรู้จากการฟัง แต่พี่เป็นคนเรียนรู้ได้ทุกอย่างเลย ไม่ว่าจะการอ่านและการฟัง อยู่ที่น้อง ๆ ว่าอยากเรียนแบบไหน”

พี่หนึ่งคิดว่าการเรียนเป็นการค้นหาตัวเองไหม

     “คนเรามัน long life education การค้นหาตัวเองจริง ๆ อาจจะไม่ได้เกิดตอนหลังจากเรียนจบปริญญาตรีก็ได้ การค้นหาตัวเองจริง ๆ อาจจะเกิดตอนอายุ 35 หรือ 40 หรือบางคนแก่แล้วเพิ่งเจอก็ได้ แต่พี่รู้สึกว่าการค้นหาตัวเองมันต้องทำอยู่ตลอดเวลา มันทำให้รู้สึกว่าเรายังมีชีวิตอยู่ บางครั้งการค้นหาตัวเองให้เจอในหลาย ๆ จุดนั่นแหละคือคุณค่าของชีวิต เพราะฉะนั้นต้องเรียนรู้อยู่ตลอด ยิ่งเดี๋ยวนี้มีสื่อการเรียนการสอนเรียนรู้เยอะแยะเลย ก็เลือกเรียนที่ตัวเองสนใจจริง ๆ”

พี่หนึ่งคิดว่าการเลือกเรียนภาษาไทย ตอบโจทย์พี่หนึ่งอย่างไร

     “ตอบในส่วนหนึ่งครับ คือโจทย์ที่เราอยากเป็นครู เราอยากทำงานอะไรที่เป็นวิชาชีพ และเรามีความสุขที่เราได้อยู่กับเด็ก ๆ ได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับคนอื่น ได้ช่วยให้เขากระจ่างชัดในบางเรื่องที่เขายังสงสัย พี่รู้สึกว่านั่นตอบโจทย์พี่แล้ว แต่อย่าลืมทุกครั้งที่เราตอบโจทย์ตัวเองแล้ว อย่าลืมสร้างโจทย์ใหม่ ๆ ให้กับตัวเองด้วย เพราะถ้าเราปล่อยตัวเองไปกับโจทย์เดิม ๆ เราจะเป็นคนเดิม ๆ ที่ไม่มีทางสร้างสิ่งใหม่ ๆ ได้เลย เพราะฉะนั้นจงสร้างโจทย์ให้กับตัวเองทุกวันที่เราเรียน และก็ตอบโจทย์ใหม่ ๆ ไปเรื่อย ๆ เพื่อพัฒนาตัวเองไปเรื่อย ๆ ครับ”

สำหรับพี่หนึ่งติวเตอร์กับครูต่างกันอย่างไร

     “ติวเตอร์กับครูความจริงแล้วทำหน้าที่ต่างกันนะครับ ถ้าน้อง ๆ เรียนกับครูหนึ่งที่อยู่ในห้องเรียนจริง ๆ ครูหนึ่งจะเป็นอีกแบบหนึ่ง ครูหนึ่งจะมีการสอนทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และจิตพิสัย คือสอนให้เด็กเป็นคนดีด้วย ครูในโรงเรียนมีหน้าที่แบบนี้ ติวเตอร์ไม่สามารถสอนทั้ง 3 แบบได้ แต่สิ่งเดียวพี่ที่เกาะเอาไว้ชัด ๆ เลยคือก้อนความรู้ เพราะฉะนั้นติวเตอร์คือคนที่ไปสรุปองค์ความรู้บางอย่างที่มันอาจจะดูซับซ้อน ดูยากให้น้อง ๆ เข้าใจได้อย่างรวดเร็ว และกระชับที่สุดเท่าที่น้องจะมีเวลา”

หนึ่งถึงมาสอนพิเศษออนไลน์

     “พี่รู้สึกว่าการสอนของเรามันทำให้เด็กฉลาดขึ้น และที่สำคัญเราอยากจะให้โอกาสเด็ก ๆ ที่เขาอยู่ไกล ๆ ได้เรียน พี่เข้าใจพี่เป็นเด็กบ้านนอกคนหนึ่งที่ได้มาเรียนกรุงเทพ พี่จึงอยากให้ทุกคนได้รับโอกาสแบบพี่บ้าง การสอนผ่านออนไลน์มันทำให้เราสอนเด็กได้มากขึ้น และทุกคนได้โอกาสเท่า ๆ กัน มีสื่อการสอนเท่า ๆ กัน พี่รู้สึกว่าเวลาเราทำแล้วเราขยายผลตรงนี้ได้มากกว่าเดิม และก็มีความสุขกับการทำ

พี่หนึ่งคิดว่าการเรียนออนไลน์ตอบโจทย์สำหรับเด็กในยุคปัจจุบันอย่างไร

     “ถ้าเราไม่ได้มองแค่ในไทยนะ ในโลกนี้เกิดคอร์สออนไลน์เยอะแยะมากมาย และมีแนวโน้มในการโตถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของฐานเศรษฐกิจโลกนะครับ พี่พูดอาจจะดูสังคมไปสักนิดนึง แต่มันโตขึ้นจริง ๆ การเรียนออนไลน์ทำให้เราเพิ่มโอกาส จากเราได้รับความรู้ทางเดียว เราได้ความรู้หลายทางในเรื่องที่เราสนใจจริง ๆ การเรียนออนไลน์มันพาเราไปได้ทุกที่ ที่สำคัญมันสามารถเข้าได้แบบไม่จำกัด ตลอดเวลา เราอยากรู้อยากทบทวนตรงไหนเราสามารถย้อนกลับไปได้”

พี่หนึ่งอยากเห็นเด็กที่พี่หนึ่งสอนเติบโตไปในทิศทางไหนคะ

     “ทิศทางแต่ละคนมันอาจไม่เหมือนกันนะครับ พี่รู้สึกว่าเราไปเป็นแกนความรู้ให้เขาในส่วนหนึ่ง ปัจจุบันนี้มันมีอาชีพเยอะแยะมากมายที่เราไม่คาดคิด เช่น ผลสำรวจของเด็กญี่ปุ่นอยากเป็นยูทูปเบอร์ อยากเป็นเน็ตไอดอล มันเป็นอาชีพที่เราไม่คาดคิด แล้วอีกสัก 10 ปีต่อจากนี้มันอาจจะมีอาชีพอีกเยอะแยะมากมายที่เราคาดไม่ถึงก็ได้ แต่ถ้าอาชีพที่เขาจะเป็นในอนาคตมันมาจากส่วนหนึ่งที่เราสอนเขาไป พี่รู้สึกว่าพี่มีความสุข ถ้าพี่ได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับเด็ก ๆ ให้เขาขับเคลื่อนตัวเองไป พี่รู้สึกว่าพี่พอใจแล้ว ถ้าเราไปจับเขาเดินจริง ๆ เราจะจับเขาได้ไม่นาน แต่ถ้าเราช่วยให้เขามีแรงบันดาลใจเขาจะเดินไปด้วยตัวเองแล้วเขาจะมั่นคง”

พี่หนึ่งมีอะไรอยากฝากถึงน้อง ๆ ในเรื่องของการใช้ภาษาไทยไหม

     “กฎของภาษาไทย 1 ข้อ คือ ภาษามีการเปลี่ยนแปลง มันจะวิบัติในโซเชียลช่างมัน แต่ในชีวิตประจำวัน การสื่อสารในห้องเรียนจริง ๆ มันควรจะถูกต้อง พี่ยกตัวอย่าง คำว่า ‘นะคะ’ ถ้าเราต้องจับผิดทุกคนที่เขียนคำว่านะคะผิด ในโลกในประเทศไทยมันมีเป็นหมื่นเป็นแสนคนเลย เราจับผิดไม่ไหว ทุกอย่างง่ายนิดเดียวคือเริ่มต้นที่ตัวเองใช้ภาษาให้ถูก และอีกอย่างหนึ่งคือมีกาลเทศะในการใช้ภาษา การใช้ภาษาในโซเชียลมันอาจจะเป็นการใช้ภาษาแบบกันเอง ในฐานะเพื่อน มันเป็นระดับภาษาอีกระดับหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันที่เราใช้ภาษาในการเขียนสื่อสารจริง ๆ เราใช้อีกแบบหนึ่ง ใช้ให้ถูกต้อง แต่อย่าลืมถ้าเราใช้บ่อย ๆ เราอาจจะติดจากในโซเชียลเข้ามาใช้ในที่มันเป็นทางการจริง ๆ อันนี้ก็ต้องระวังนะ”

คอร์สเรียนที่พี่หนึ่งออกแบบมีรูปแบบอย่างไร

     “คอร์สที่พี่ออกแบบมีด้วยกันทั้งสิ้น 3 คอร์ส

          1. คอร์สสรุปเนื้อหาภาษาไทยตั้งแต่ ม.4 - ม.6 ในคอร์สนี้พี่จะสรุปสาระสำคัญของเนื้อหาภาษาไทยจริง ๆ และที่สำคัญเรามีแบบฝึกหัดเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นการทบทวนเนื้อหาให้ในท้ายการเรียนการสอนด้วย

          2. คอร์สตะลุยโจทย์ จะเป็นโจทย์ทั้ง 9 วิชาสามัญ และ O-NET ซึ่งจะไล่ไปตามระดับความยากง่ายของข้อสอบ ไม่อยากให้มองแยกว่านี่คือ 9 สามัญ นี่คือ O-NET มันต่างกันแค่ชื่อเท่านั้นเอง ความจริงมันคือเนื้อหาภาษาไทยเหมือนกันและมีระดับความยากของข้อสอบแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นถ้าเรียนคอร์สนี้เราจะได้ทบทวนโจทย์ เอาความรู้ที่ได้เรียนมาในชั้นเรียนหรือได้เรียนในคอร์สเนื้อหาที่พี่สอนมาลองทำโจทย์จริง ๆ

          3. คอร์ส GAT เชื่อมโยง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องสอบ และมีสัดส่วนคะแนนมากถึง 150 และทุกคนไม่ควรพลาด ถ้าอยากมีโอกาสไปยื่นคะแนนสอบมหาวิทยาลัยดีๆ ควรเก็บให้ได้ 150 เต็ม พี่จะพาน้องๆ เริ่มตั้งแต่สกิลพื้นฐาน ไปจนถึงทำบทความเต็ม ๆ”

คอร์สเรียนพี่หนึ่งเหมาะสำหรับใครบ้าง

     “ถ้าถามว่าใครจะเรียนตรงไหนได้บ้าง ไม่ว่าเด็กสายวิทย์หรือสายศิลป์ต้องสอบภาษาไทยทุกคน O-NET บังคับสอบ 9 วิชาสามัญต้องเลือกก็จริงแต่ทุกคนมักจะสอบทั้งหมดอยู่แล้ว และ GAT ทุกคนก็ต้องสอบอยู่ดี เพราะฉะนั้น 3 คอร์สที่พี่ออกแบบมามันคือสิ่งที่ทุกคนต้องสอบ แต่จะเลือกเรียนในช่วงเวลาไหน พี่รู้สึกว่าน้องต้องประเมินตัวเองด้วยหลัก 4 ประการนี้ครับ

          1. ดูเวลาของน้องจริง ๆ ในโรงเรียน เช่น ม.6 เทอม 1 เคร่งเครียดกับงานมากเลย พอ ม.6 เทอม 2 ครูอาจจะปล่อยว่าง ก็มาเลือกเรียนตรงนี้ได้ แล้วเวลาเลือกเรียนเราก็ดูว่าเราเข้าใจเนื้อหามากพอหรือยัง ถ้าเข้าใจเนื้อหามากพอแล้วเริ่มเรียนที่คอร์สติวข้อสอบได้ แต่ถ้าเข้าใจเนื้อหายังไม่พอมาเริ่มเรียนที่คอร์สเนื้อหาก่อน แต่คอร์ส GAT แนะนำอยากให้ลงทุกคนนะ เพราะมันสำคัญกับชีวิตเราจริง ๆ

          2. ดูตามกำลังทรัพย์ ถ้าเรามีกำลังทรัพย์ไม่มาก พี่ว่าคอร์สตะลุยโจทย์กับคอร์ส GAT ก็ตอบโจทย์

          3. ดูสิ่งที่เราต้องนำไปใช้จริง ๆ คนที่จะต้องเรียนเกี่ยวกับภาษา พี่ว่าเรียนทั้ง 3 คอร์สมีประโยชน์มาก เพราะน้องจะได้เก็บรายละเอียดภาษาไทยทั้งหมด ทุกทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน วรรณคดี วรรณกรรม

          4. เลือกตามความสนใจ ถ้าน้องคิดว่าเรียนไม่ครบแล้วรู้สึกเครียด มาเลือกเรียนทั้งหมดได้เช่นเดียวกัน”

หากน้องๆ คนไหนสนใจเรียนวิชาภาษาไทยกับพี่หนึ่ง สามารถเข้าไปดูรายละเอียดคอร์สเรียนเพิ่มเติมได้ที่ คอร์สเรียนคณิตศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จบไปทำงานอะไร

สามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาและความเข้าใจด้านวัฒนธรรมได้หลากหลายประเภทดังนี้ 1. สายวิชาการ เช่น ครู อาจารย์ ผู้ช่วยวิจัย 2. สายบริการ เช่น มัคคุเทศก์ เลขานุการ แอร์โฮสเตส พนักงานต้อนรับ 3. สายงานธุรกิจ เช่น ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้แทนฝ่ายขาย

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง

ทำงานเกี่ยวกับอะไร กองบรรณาธิการ, นักประชาสัมพันธ์, อาจารย์สอนวิชาภาษาไทย, อาจารย์สอนภาษาไทยให้ชาวต่างประเทศ, พนักงานต้อนรับ, พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน, เลขานุการ, นักเขียน, นักแปล/ล่าม, เจ้าหน้าที่สถานทูต/สถานกงสุลต่างประเทศ, มัคคุเทศก์ ฯลฯ

ครูภาษาไทยทำอะไรได้บ้าง

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา.
ครูสอนภาษาไทยระดับปฐมวัยศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และครูการศึกษานอกโรงเรียน.
นักวิจัยทางด้านการศึกษาภาษาและการสอนภาษาไทย.
นักวิชาการทางด้านภาษาไทยและวิธีสอนภาษาไทย.
นักวิชาชีพทางการศึกษาทั้งในและนอกสถานศึกษา.
นักพัฒนาสื่อ นวัตกรรมทางการศึกษาภาษา.

ทำไมถึงอยากเรียนคณะมนุษยศาสตร์

ทำให้เข้าใจความคิดมนุษย์ ด้วยความหมายมนุษยศาตร์และสังคมศาสตร์ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคมโดยตรงแล้ว เพราะฉะนั้นการเรียนสายมนุษยศาตร์และสังคมศาสตร์จึงเป็นการศึกษาเกี่ยวกับแนวความคิดของมนุษย์และสังคมที่มนุษย์อยู่อาศัย และนอกจากนั้นยังศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์รวมถึงประวัติศาสตร์ของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้