เทียบเสียงภาษาอังกฤษ phonics

เชื่อว่าน้องๆ หลายๆ คนคงอยากพูดภาษาอังกฤษสำเนียงที่เหมือนกับเจ้าของภาษามาเอง เพราะมันดูน่าฟัง แถมดูมืออาชีพอีก ไม่ว่าจะไปพูดคุย หรือนำเสนองาน ถ้ามีสำเนียงดี ฟังเป็นธรรมชาติ และออกเสียงได้ถูกต้องชัดเจน ก็ดึงดูดผู้ฟังได้แล้ว บทความนี้ได้รวบรวม 5 เทคนิคการฝึกออกเสียงและสำเนียงภาษาอังกฤษให้เหมือนเจ้าของภาษามาฝากกัน 

เทคนิคที่ 1 การออกเสียงพยัญชนะโดยใช้หลักสัทศาสตร์ (Phonetics) 

การฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษให้เหมือนเจ้าของภาษา เทคนิคแรก ก็คือ การออกเสียงให้ถูกต้องตามหลักสัทศาสตร์ อธิบายง่ายๆ ว่า สัทศาสตร์ (Phonetics) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการอ่านออกเสียงของมนุษย์ วิธีการเปล่งเสียง และอวัยวะในปากที่ใช้ในการออกเสียง ซึ่งสัทศาสตร์เปรียบเหมือนตัวกลางที่ช่วยให้เข้าใจวิธีการอ่านออกเสียงในแต่ละภาษา เนื่องจากมีการใช้สัทอักษรสากล หรือ International Phonetic Alphabet (IPA) ซึ่งสามารถพบได้บ่อยในพจนานุกรม เช่น Ant = /ænt/ Believe = / bəˈliv/ Expert = /ˈekˌspərt/ และ Ecosystem /ˈēkōˌsistəm/ เป็นต้น

โดยเสียงพยัญชนะ (Consonants) ในภาษาอังกฤษมีดังนี้

  • /p/ อ่านว่า [เพอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘พ’
  • /b/ อ่านว่า [เบอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘บ’
  • /t/ อ่านว่า [เทอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ท’
  • /d/ อ่านว่า [เดอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ด’
  • /k/ อ่านว่า [เคอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ค’
  • /g/ อ่านว่า [เกอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ก’
  • /tʃ/ อ่านว่า [เชอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ช’
  • /dʒ/ อ่านว่า [เจอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘จ’
  • /f/ อ่านว่า [เฟอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ฟ’
  • /v/ อ่านว่า [เวอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ว’
  • /θ/ อ่านว่า [เธอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ธ’
  • /ð/ อ่านว่า [เธ่อะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ธ’
  • /s/ อ่านว่า [เสอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ส’
  • /z/ อ่านว่า [เสอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ส’
  • /ʃ/ อ่านว่า [เชอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ช’
  • /ʒ/ อ่านว่า [เฉ่อะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ฉ’
  • /h/ อ่านว่า [เช่อะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ฮ’
  • /m/ อ่านว่า [เม่อะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ม’
  • /n/ อ่านว่า [เน่อะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘น’
  • /ŋ/ อ่านว่า [เงอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ง’
  • /l/ อ่านว่า [เล่อะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ล’
  • /r/ อ่านว่า [เรอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ร’
  • /j/ อ่านว่า [เยอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ย’ 
  • /w/ อ่านว่า [เยอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง ‘ว’ 

การออกเสียงพยัญชนะคู่คล้าย 

เมื่อสามารถอ่านตัวพยัญชนะได้แล้ว สิ่งที่ต้องระวังในการฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษ คือ การออกเสียงพยัญชนะ 2 ตัวที่มีเสียงคล้ายกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักเป็นเสียงพยัญชนะที่มีลักษณะการออกเสียง และเกิดบริเวณฐานกรณ์หรืออวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการออกเสียงเดียวกัน แต่มีจุดแตกต่างกันอยู่ที่ความก้องของเสียงที่เปล่งออกมา ซึ่งในทางสัทศาสตร์ได้มีการแยกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 

  • เสียงก้อง (Voiced Sound): เป็นเสียงที่เกิดจากลมที่ออกจากปอด ผ่านเส้นเสียง ต้องใช้แรงในการออกเสียง โดยใช้อวัยวะที่ช่วยในการออกเสียง เช่น ริมฝีปาก และลำคอ ซึ่งมีเทคนิคในการสังเกตง่ายๆ คือ เวลาออกเสียง ให้ลองจับลำคอบริเวณลูกกระเดือก ถ้าเป็นเสียงก้อง จะรู้สึกว่ามีแรงสั่นออกมาจากเส้นเสียงค่อนข้างชัดเจน โดยตัวอย่างพยัญชนะที่เป็นเสียงก้อง คือ /b/, /d/, /g/, /j/, /l/, /ʤ/, /n/, /ŋ/,/m/,/r/, /v/,/ð/, /z/,/Ʒ/
  • เสียงไ่ม่ก้อง (Voiceless Sound): หรือเสียงเปิดกว้าง เป็นเสียงที่เกิดจากลมที่ออกจากปอดเหมือนกัน แต่ลมออกมาได้สะดวกมากกว่า เป็นเสียงที่สามารถเปล่งออกมาได้ง่ายกว่า ใช้แรงน้อยกว่าเสียงก้อง ซึ่งมีเทคนิคในการสังเกตง่ายๆ คือ ให้น้องๆ ลองถือกระดาษบังหน้าตนเอง แล้วลองออกเสียงดู จะพบว่า เวลาที่ออกเสียงไม่ก้อง กระดาษจะขยับตามลมที่ออกจากปากได้มากกว่าเสียงก้อง โดยตัวอย่างพยัญชนะที่เป็นเสียงไม่ก้อง เช่น  /p/, /t/, /k/,/t∫/, /f/,/θ/, /s/,/∫/, /h/ เป็นต้น

ตัวอย่างของเสียงพยัญชนะที่มีความคล้ายคลึงกัน เช่น  

  • /b/ ออกเสียงว่า [เบอะ] และ /p/ ออกเสียงว่า [เพอะ] จัดเป็นพยัญชนะเสียงระเบิด (Plosive) ที่มีฐานกรณีอยู่ที่ริมฝีปาก (Bilabial) โดย /b/ เป็นเสียงก้อง และ /p/ เป็นเสียงไม่ก้อง 
  • /t/ ออกเสียงว่า [เทอะ] และ /d/ ออกเสียงว่า [เดอะ] เป็นพยัญชนะเสียงระเบิด (Plosive) ที่มีฐานกรณีอยู่ที่ปุ่มเหงือก (Alveolar) โดย /t/ เป็นเสียงก้อง และ /d/ เป็นเสียงไม่ก้อง
  • /v/ ออกเสียงว่า [เวอะ] และ /f/ อ่านว่า [เฟอะ] เป็นพยัญชนะเสียงเสียดแทรก (Fricative) ที่มีฐานกรณีอยู่ที่ริมฝีปากกับฟัน (Labiodental) โดย /f/ เป็นเสียงไม่ก้อง และ /v/ เสียงก้อง

โดยเทคนิคในการสังเกต เมื่อฝึกออกเสียงคู่คล้ายในภาษาอังกฤษ ว่าตนเองออกเสียงพยัญชนะตัวนั้นๆ ถูกหรือไม่ คือ ถ้าพยัญชนะเสียงก้อง บริเวณลูกกระเดือกจะสั่น ส่วนเสียงไม่ก้องจะมีลมออกจากริมฝีปากมากกว่า

การออกเสียง -ed 

น้องๆ คงเคยสับสนเกี่ยวกับการออกเสียง -ed กันมาแล้ว ว่าคำไหน ควรออกเสียงลงท้าย -ed หรือไม่ออกกันแน่ ซึ่งจริงๆ แล้ววิธีการออกเสียงท้ายพยางค์ของ -ed มีทั้งหมด 3 แบบ

  • T sound = -ed ที่ตามพยัญชนะด้วยเสียงไม่ก้อง เช่น /p/, /t/, /k/ จะไม่ออกเสียง -ed แต่จะใช้เสียง T แทน เช่น Liked, Thanked, Hoped, Stopped เป็นต้น
  • D sound = -ed ที่ตามพยัญชนะด้วยเสียงก้อง เช่น /b/, /d/, /g/ จะไม่ออกเสียง -ed แต่จะใช้เสียง D แทน เช่น Lived, Fined, Grabbed
  • ID sound = -ed ที่ตามพยัญชนะ ตัว T  จะไม่ออกเสียง -ed แต่จะใช้เสียง ID แทน เช่น Wanted, Decided, Headed 

สามารถฝึกออกเสียง ED ในภาษาอังกฤษเพิ่มเติมได้ที่: ออกเสียง ED ยังไงให้คะแนน Speaking IELTS 7.0

การออกเสียง -s, -es 

น้องๆ หลายคนอาจจะเคยงงกันว่า หากคำศัพท์เติม -s หรือ -es จะมีวิธีการออกเสียงอย่างไร โดยมีเทคนิคในการสังเกตได้จาก 3 ลักษณะ ดังนี้

  • ออกเสียง s เป็น /s/ เมื่อคำกริยาเหล่านั้นลงท้ายด้วยเสียงไม่ก้อง (Voiceless Sound) เช่น /f/, /k/, /p/, /t/, /θ/  จะต้องออกเสียง /s/ เช่น talk = talks, walk = walks, jump = jumps, sit = sits
  • ออกเสียง s เป็น /z/ จะใช้เมื่อคำกริยาลงท้ายด้วยเสียงก้อง (Voiced Sound) เช่น /b/, /d/, /g/, /l/, /m/, /n/ จะต้องออกเสียงเป็นเสียง /z/ หรือ [เสอะ] ตัวอย่างเช่น card = cards, run = runs
  • ออกเสียง s เป็น /iz/ เมื่อคำกริยาลงท้ายด้วยเสียง /s/, /t/, /dz/, /z/ เช่น kiss = kisses, freeze= freezes

เทคนิคที่ 2 รู้จักเสียงสระ  (Vowels) 

น้องๆ หลายคนจะคุ้นเคยว่า สระในภาษาอังกฤษมีทั้งหมด 5 ตัว คือ a, e, i, o, u แต่ในทางสัทศาสตร์ เสียงสระในภาษาอังกฤษสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ สระเดี่ยว (Monophthong) และสระประสม (Diphthong) ซึ่งจะมีเสียงที่แตกต่างกันทั้งสิ้นจำนวน 20 ตัว ดังนี้

สระเดี่ยว

  • /ɪ/ อ่านว่า [อิ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระอิ ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น ship [ชิพ]
  • /і/ อ่านว่า [อี] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระอี ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น sheep [ชีพ]
  • /ʊ/ อ่านว่า [อู] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระอู ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น look [ลูค]
  • /u:/ อ่านว่า [อู:] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระอู แต่ออกเสียงยาวกว่า/ʊ/ ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น shoot [ชูท]
  • /e/ อ่านว่า [เอะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระเอะ ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น pen [เพน]
  • /Ə / อ่านว่า [เออะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระเออะ ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น  the [เดอะ]
  • /ɜ:/ อ่านว่า [เออ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระเออ ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น  bird [เบิด]
  • /Ɔ:/ อ่านว่า [ออ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระออแต่ลากเสียงยาวกว่า ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น  door [ดอ]
  • /æ/ อ่านว่า [แอ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระแอ ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น  apple [แอปเปิล]
  • /Λ / อ่านว่า [อะ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระอะ ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น  up [อัพ]
  • /a: / อ่านว่า [อา] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระอา ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น car [คา]
  • /ɒ / อ่านว่า [ออ] เทียบเสียงภาษาไทยจะคล้ายเสียง สระออ ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ เช่น what [วอท]

สระประสม

  • /ɪə/อ่านว่า [เอีย] เช่น ear [เอีย], here [เฮีย]
  • /ɛɪ/ อ่านว่า [เอ] เช่น say [เซย์], pay [เปย์]
  • /ʊə/ อ่านว่า [อัว] เช่น tour [ทัว], pure [พัว]
  • /ɔɪ/อ่านว่า [ออย] เช่น boy [บอย], toy [ทอย]
  • /əʊ/ อ่านว่า [โอว] เช่น phone [โฟน], show [โชว์]
  • /ɛə/ อ่านว่า [แอ] เช่น air [แอ]
  • /ai/ อ่านว่า [อาย] เช่น buy [บาย]
  • /aʊ/ อ่านว่า [อา,อาว] เช่น how [ฮาว]

เมื่อรู้วิธีการอ่านออกเสียงทั้งพยัญชนะ และ สระ เรียบร้อยแล้ว ในการฝึกเทคนิคออกเสียงภาษาอังกฤษให้เหมือนกับเจ้าของสำเนียง ให้ลองนำพยัญชนะ + สระ มารวมกัน เช่น pet เมื่อเราอ่านออกมาจะได้คำว่า  พ-เอะ-ท อ่านว่า [เพ็ท] หรือ bat = /bæt/ จะได้คำว่า บ-แอ-ท อ่านว่า [แบท] นั่นเอง

เทคนิคที่ 3  รู้จักลงน้ำหนักเสียงหนัก-เบา (Stressed and Unstressed) ตามแต่ละพยางค์ 

ในการฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษ จะต้องเรียนรู้วิธีการลงน้ำหนักเสียงหนักและเสียงเบาในแต่ละพยางค์ รวมถึงการเลือกใช้น้ำเสียงในแต่ละประโยคให้เหมาะสม เพื่อให้สามารถพูดคุยกับเจ้าของภาษาได้อย่างถูกต้อง น้องๆ ที่อยากมีสำเนียงเหมือนเจ้าของภาษาจะต้องเข้าใจเรื่องของ Word Stress และ Intonation ให้ดีก่อน

Word Stress

Word Stress คือ การเรียนรู้การออกเสียงโดยเลือกใช้น้ำเสียงหนักหรือเสียงเบาตามแต่ละพยางค์ ในหนึ่งคำสามารถมีทั้งเสียงหนักและเสียงเบาได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงเดียวกันทั้งประโยค หรือทั้งคำ

  • คำนามและคำคุณศัพท์ส่วนใหญ่จะเน้นน้ำหนักเสียงที่พยางค์แรก เช่น garden = gar’ den, kitten = kit’ ten 
  • คำกริยาที่มี 2 พยางค์ มักเน้นเสียงที่พยางค์สุดท้าย เช่น relax, enjoy 
  • คำที่มักลงท้ายด้วย -sion, -tion, -ic มักออกเสียงที่พยางค์ก่อนสุดท้าย เช่น pollution, romantic, information
  • คำที่เกิดจากการนำคำนาม 2 คำมารวมกัน มักออกเสียงที่พยางค์แรก เช่น bookstore, highway, skytrain

น้ำเสียง หรือทำนองเสียง (Intonation)

น้ำเสียง (Intonation) หรือทำนองเสียง เป็นสิ่งที่จำเป็นในการสื่อสาร ใช้บ่งบอกอารมณ์ และความรู้สึก ซึ่งจะทำให้เข้าใจบริบทที่ต้องการจะสื่อออกมา มีทั้งหมด 2 รูปแบบ  

  • การลงเสียงต่ำ (Falling Intonation) ใช้กับประโยคทั่วไป, ใช้กับคำลงท้ายคำถาม WH Questions หรือใช้ในประโยคคำสั่ง เช่น How are you?, What’s the matter? หรือ Don’t move.
  • การขึ้นเสียงสูง (Rising Intonation) ใช้กับประโยคคำถาม หรือประโยคที่ต้องการคำตอบ เช่น Are you okay? หรือ Are you serious? 

เทคนิคที่ 4 รู้จักการใช้เสียงเชื่อมให้เหมือนเจ้าของภาษา (Linking Sounds) 

โดยปกติเจ้าของภาษามักออกเสียงเชื่อมระหว่างคำเป็นหลัก ไม่นิยมพูดแยกเป็นคำๆ เน้นพูดให้คล่องปาก ไม่ติดขัด ทำให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาฟังไม่ทัน หรืออาจจับใจความประโยคได้ไม่ครบถ้วน ดังนั้น หากอยากมีสำเนียงเหมือนเจ้าของภาษา จะต้องใช้เสียงเชื่อม (Linking Sound) ให้เป็น โดยหลักการเชื่อมนั้น จะดูจากพยัญชนะท้ายของคำ ผสมกับเสียงสระของอีกคำหนึ่งเข้าด้วยกัน เช่น พยางค์ตามหลังเป็นเสียงสระ เช่น -ing  คำว่า running หากอ่านแยกจะอ่านออกเสียงว่า รัน-อิง แต่เจ้าของภาษามักพูดเชื่อมเสียงว่า รัน-นิง 

เทคนิคที่ 5 หาตัวช่วยด้วยการลงเรียนกับผู้เชี่ยวชาญ (Consultants and Professional)

ในโลกปัจจุบัน มีตัวเลือกในการฝึกภาษาอังกฤษมากมาย ทั้งหนังสือสอนอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษหรือแม้แต่การเริ่มฝึกอ่านออกเสียงด้วยตนเอง แต่ที่จริงแล้วนั้น การฝึกด้วยตนเองเพียงอย่างเดียว อาจเกิดความคลาดเคลื่อนในการออกเสียงที่ถูกต้องได้ เนื่องจากไม่ได้ฝึกพูดกับเจ้าของภาษาโดยตรง ดังนั้น การหาตัวช่วยด้วยวิธีการลงเรียนกับผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าของภาษา จะช่วยยกระดับการอ่านออกเสียงและสำเนียงภาษาอังกฤษได้อย่างดี 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้