โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ภาษาอังกฤษ

Home > โรคระบบทางเดินหายใจในเด็ก – Pediatric Respiratory Disease


เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถดูแลตัวเองได้ดีเหมือนผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอบจึงมีส่วนสำคัญในการเป็นผู้ปกป้องดูแลสุขภาพของเด็ก อวัยวะหรือโครงสร้างในระบบการหายใจในเด็กยังไม่สมบูรณ์เท่าผู้ใหญ่ หากเกิดการเจ็บป่วยบางอย่างอาจส่งผลต่อการทำงานของปอดในระยะยาว สถาบันกุมารเวชพร้อมให้การดูแล ตรวจวินิจฉัยและรักษา ผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคระบบการหายใจและทางเดินหายใจ โดยกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

ปัญหาและโรคระบบการหายใจที่พบบ่อยในเด็ก

● โรคหวัด
● คอหรือทอนซิลอักเสบ
● ภูมิแพ้เยื่อบุจมูกอักเสบ
● โรคไซนัสอักเสบ
● หลอดลมอักเสบ
● ปอดอักเสบติดเชื้อ หรือ ปอดบวม
● ไอเรื้อรัง
● หอบบ่อย หรือเป็นซ้ำ
● โรคหืด
● หายใจมีเสียงดัง หรือ หายใจครืดคราด
● นอนกรน นอนหายใจเสียงดัง
● ต่อมทอนซิล ต่อมอะดีนอยด์โต
● ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)
● ตรวจสมรรถภาพปอด

“การติดเชื้อนิวโมคอคคัสอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างท่วงทัน โดยจากสถิติพบว่า เชื้อนิวโมคอคคัส เป็นเชื้อแบคทีเรียที่สามารถตรวจพบได้สามอันดับแรกของการติดเชื้อแบบรุนแรง โดยเฉพาะในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี”

กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ

นอกจากการดูแลที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการติดเชื้อแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญต่อสุขอนามัย และการจัดสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว เพื่อช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ นอกจากนี้ในปัจจุบัน มีวัคซีนที่สามารถช่วยป้องกันโรคติดเชื้อทางระบบหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเจ็บป่วยและให้เด็กๆ มีสุขภาพแข็งแรง และลดภาวะแทรกซ้อนได้มาก

Package

แพ็กเกจวัคซีนไอพีดี (IPD)
แพ็กเกจวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์
แพ็กเกจผ่าตัดทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ในผู้ป่วยเด็ก
แพ็กเกจตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)

แชร์บทความ

แม่และเด็ก

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease : COPD) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของปอด ซึ่งเป็นกลุ่มหนึ่งของโรคปอดอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการที่ปอดได้รับความเสียหายจนก่อให้เกิดปัญหาทางด้านการหายใจ รวมถึงมีอาการโรคถุงลมโป่งพองและหลอดลมอักเสบเรื้อรังร่วมด้วย เช่น ไอมีเสมหะ เหนื่อยหอบ แน่นหน้าอกเป็นต้น

อาการของโรคนี้จะรุนแรงขึ้นตามระยะ ซึ่งในระยแรกๆอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยความรุนแรงของอาการนี้ขึ้นอยู่กับความเสียหายของปอด โดยอาการที่พบบ่อย มีดังนี้

  • มีอาการไอเรื้อรัง และมีเสมหะ โดยเฉพาะในช่วงเวลาเช้าหลังตื่นนอน
  • มีอาการหอบเหนื่อย เวลาทำกิจวัตรประจำวันโดยเฉพาะเวลาที่ออกแรง
  • หายใจได้ลำบาก แน่นหน้าอก และมีเสียงหวีดได้ในลำคอ
  • เกิดการติดเชื้อที่ปอดได้บ่อยๆ
  • อาการอื่นๆ อาจเกิดขึ้นได้ หากมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น ไอเป็นเลือด ปากและเล็บเป็นสีม่วง เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด แขน ขา หรือข้อเท้าบวม หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ

  • ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง เนื่องจากถุงลมโป่งพองจึงทำให้ความดันเลือดที่ปอดสูงขึ้น
  • การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีโอกาสเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม และโรคอื่นๆที่เกิดจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจได้ลำบากและอาจมีเนื้อเยื่อปอดสูญเสียได้
  • โรคหัวใจ ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นโรคหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
  • โรคกระดูกพรุน เนื่องจากได้รับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
  • ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ หรือปอดแตก เนื่องจากโครงสร้างปอดเสียหาย ทำให้อากาศไหลเข้าสู่ช่องอก
  • มะเร็งปอด เนื่องจากมีมีปัจจัยเสี่ยงร่วมกันกับหลายสาเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูบบุหรี่
  • โรคซึมเศร้า เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจกรรมได้ปกติ จนรู้สึกหดหู่ เครียด และเศร้า จนเกิดอารมณ์ทางด้านลบที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า

สาเหตุของโรค COPD

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือ COPD นี้ เกิดจากการที่ปอด ทั้งเนื้อปอด หลอดลม และหลอดเลือดปอดเกิดการอักเสบ เนื่องจากได้รับสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองเป็นเวลานาน ทำให้หลอดลมค่อยๆตีบลง หรืออาจอุดกั้นโดยไม่สามารถฟื้นคืนสภาพเดิมได้ ทั้งนี้สาเหตุและความเสี่ยงอาจเกิดได้จาก

  1. การสูบบุหรี่ หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่แต่รับควันบุหรี่เป็นจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุนี้เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย เนื่องจากควันบุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4000 ชนิดซึ่งทำให้เกิดความระคายเคืองต่อปอดจนนำไปสู่การอักเสบเรื้อรัง
  2. มลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ควันเสีย รวมถึงการหายใจนำสารเคมีเป็นพิษเข้าไปเป็นเวลานาน
  3. โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคที่เกิดจากการขาดอัลฟ่า 1 (Alpha-1-Antitrypsin Deficiency) ซึ่งเป็นเอนไซม์นี้เป็นเอนไซม์ที่ผลิตในตับและส่งไปยังปอดเพื่อป้องกันไม่ให้ปอดถูกทำลาย
  4. ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ผู้ที่มีอาการหอบหืดแล้วสูบบุหรี่ร่วมด้วย อายุที่มากขึ้นยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมีโอกาสเสี่ยงกว่าเด็กทั่วไป

การวินิจฉัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง COPD

  • การตรวจด้วย Spirometry ซึ่งเป็นวิธีในการตรวจวัดปริมาตรของอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอด รวมถึงประสิทธิภาพของปอด โดยวัดค่าปริมาณอากาศที่ผู้ป่วยสามารถหายใจออกใน 1 วินาที (FEV1) เทียบกับค่าปริมาณของอากาศเมื่อหายใจออกทั้งหมด โดยคิดเป็นเปอร์เซนต์ เมื่อนำผลมาพิจารณาประกอบกับอาการของผู้ป่วยก็จะสามารถบอกถึงระดับความรุนแรงของโรคได้ดังนี้
ความรุนแรงFEV1 % ที่คาดคะเน
เล็กน้อย (GOLD 1) ≥80
ปานกลาง (GOLD 2) 50–79
รุนแรง (GOLD 3) 30–49
รุนแรงมาก (GOLD 4) <30 หรือความล้มเหลวของระบบทางเดินหายใจ
  • การตรวจภาพรังสีทรวงอก หรือเอกซเรย์ปอด เพื่อแยกโรคที่มีภาวะคล้ายกัน รวมถึงวินิจฉัยการมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆร่วมด้วย
  • การตรวจซีที สแกน (CT scan) เพื่อแยกมะเร็งปอด รวมถึงดูการกระจายตัวของโรคถุงลมโป่งพองเพื่อใช้ประกอบกับการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วยการผ่าตัด
  • การตรวจวิเคราะห์แก๊สในเลือดแดง (arterial blood gas) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้ตรวจดูประสิทธิภาพของปอดได้ โดยดูจากปริมาณออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์
  • การตรวจอื่นๆ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของอาการบางอย่าง หรือตัดภาวะเจ็บป่วยอื่นๆ

การตรวจด้วยเครื่อง Spirometer

การประเมินระดับความรุนแรงของ COPD

โรค COPD สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับความรุนแรงดังนี้

ระดับ 1 ไม่รุนแรง

ผู้ป่วยไม่ค่อยแสดงอาการ แต่อาจมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น ผู้ป่วยมีอาการไอเรื้อรังและมีเสมหะ ซึ่งการรักษาระยะนี้สามารถใช้ยาขยายหลอดลมได้

ระดับ 2 ปานกลาง

ผู้ป่วยเริ่มมีอาการที่เริ่มสังเกตได้ เช่น ไอ มีเสมหะมาก หายใจลำบาก การรักษาระยะนี้ต้องใช้ยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์ยาว

ระดับ 3 รุนแรง

อาการของโรคเกิดได้ถี่มากขึ้น บางครั้งอาจเกิดได้รุนแรงและเฉียบพลัน ทำให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่างๆได้ลำบาก

ระดับ 4 รุนแรงมาก

ผู้ป่วยมีอาการที่รุนแรงมากจนไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้ รวมถึงอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆด้วย

การรักษาและการป้องกัน

  1. การเลิกสูบบุหรี่ เนื่องจาก ควันบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การเลิกบุหรี่จะทำให้การหายใจได้ดีขึ้น และยังส่งผลไม่ให้อาการแย่ลงด้วย
  2. หลีกเลี่ยงการสูดดมมลพิษทางอากาศทั้งฝุ่นละออง และควันพิษ ที่กระตุ้นอาการให้อาการแย่ลง
  3. การใช้ยา เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งการใช้ยาต้องเป็นไปตามระดับความรุนแรงและอาการ โดยกลุ่มยาที่ใช้ในการรักษานี้ได้แก่
  4. ยาขยายหลอดลม ช่วยคลายกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจ ลดอาการไอ หายใจติดขัดซึ่งมี 2 ประเภทคือออกฤทธิ์สั้นและออกฤทธิ์ยาว
  5. ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ ซึ่งต้องใช้ร่วมกับยาขยายหลอดลมเพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
  6. ยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาอาการที่เกิดการติดเชื้อ หรือการกำเริบแบบเฉียบพลัน
  7. ยาอื่นๆ เช่น ยาทีโอฟิลลีน ซึ่งช่วยให้การหายใจสะดวกมากขึ้นและป้องกันการกำเริบของอาการ
  8. การใช้เครื่องช่วยหายใจ BiPAP
  9. การบำบัดด้วยออกซิเจน เช่น ใช้เครื่องผลิตออกซิเจน หรือถังออกซิเจน เพราะผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะมีภาวะที่ออกซิเจนไม่เพียงพอ จึงต้องบำบัดด้วยออกซิเจนเพื่อให้มีออกซิเจนเพียงพอซึ่งอาจจะใช้ในระยะเวลาอันสั้น หรือยาว ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
  10. การผ่าตัด หากการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล จึงต้องทำการผ่าตัดเพื่อลดปริมาตรปอดหรือผ่าตัดเพื่อนำถุงลมโป่งพองขนาดใหญ่ที่กดเนื้อปอดข้างเคียงออกหรือผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายปอด
  11. การรักษาอื่นๆ เช่น การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด เพื่อให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น รวมถึงควบคุมไม่ให้อาการแย่ลงโดยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

Managing Director at NK Sleepcare Co., Ltd. / Bachelor of Engineering, Chulalongkorn University

แนะแนวเรื่อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้