พระพุทธ ศาสนา มีความสำคัญต่อ ชาติไทย หลายด้าน ยกเว้นข้อใด

ผู้แต่ง :: พระธรรมโกศาจารย์

          ระยะนี้ ชาวพุทธออกมาเรียกร้องให้บัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับล่าสุด มีหลายคนตั้งข้อสงสัยว่าการที่ร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในมาตรา ๙ ว่า "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก" ยังไม่เป็นการเพียงพอที่จะรับประกันว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติละหรือ
          ชาวพุทธผู้ออกมาเรียกร้องมีความเห็นว่า บทบัญญัติในมาตราดังกล่าวเพียงพอที่จะประกันว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งชาติไทยก็จริง แต่ยังไม่ใช่การรับรองว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย
          อะไรคือความแตกต่างระหว่างคำว่า ศาสนาแห่งชาติ (National Religion) กับคำว่า ศาสนาประจำชาติ (State Religion)
           คำว่า ศาสนาแห่งชาติ หมายถึง ศาสนา ที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศนั้นๆ นับถือ ซึ่งรวมทั้งประมุขหรือพระประมุขของประเทศนั้นก็นับถือด้วย
            คำว่า ศาสนาประจำชาติ หมายถึง ศาสนาที่ทางราชการในประเทศนั้นๆ รับรองให้ความสำคัญสูงสุด ด้วยการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังเช่น รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถาน บัญญัติให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ รัฐธรรมนูญของพม่า บัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
           เมื่อว่าโดยพฤตินัย พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งชาติไทย เพราะมีคนไทยส่วนใหญ่นับถือมาตั้งแต่เริ่มสถาปนารัฐไทยในสมัยกรุงสุโขทัย และพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ก็ทรงเป็นพุทธมามกะ แต่เมื่อว่าโดยนิตินัย พระพุทธศาสนายังไม่เป็นศาสนาประจำชาติไทย เพราะยังไม่มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕
            ในสมัยสมบูรณาสิทธิราชย์ การที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ ถือว่าเป็นการรับรองพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยอยู่ในตัว ตามหลักการแต่โบราณที่ว่า "ศาสนาประจำชาติเป็นไปตามศาสนาของผู้ปกครอง (Whose rule, his religion)"
           ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมา ความเป็นศาสนาประจำชาติของพระพุทธศาสนาควรมีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ความเป็นศาสนาประจำชาตินี้ได้รับการสืบทอดอย่างเป็นทางการมาจากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั่นเอง
            สถาบันชาติได้รับการกล่าวถึงไว้ในมาตรา ๑ แห่งร่างรัฐธรรมนูญว่า "ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้" และสถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับการบัญญัติไว้ในมาตรา ๒ ว่า "ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"
           ชาวพุทธเรียกร้องให้เพิ่มอีก ๑ มาตราที่บัญญัติเกี่ยวกับสถาบันพระพุทธศาสนาไว้ในร่างรัฐธรรมนูญว่า "ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" หรือจะเพิ่มข้อความเข้าในมาตรา ๒ ว่า "ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" ดังนี้ก็ได้
           ถ้ามีการบัญญัติเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญเช่นว่านี้ พระพุทธศาสนาซึ่งเคยเป็นศาสนาประจำชาติไทยในสมัยสมบูรณาสิทธิราชย์ก็ชื่อว่าได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการให้เป็นศาสนาประจำชาติไทยต่อไป และจะได้ไม่ต้องมีใครมาโต้แย้งว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่
           เมื่อมีการปรับปรุงหลักสูตรพระพุทธศาสนาในโรงเรียนแล้ว นักวิชาการชาวพุทธเขียนลงในหนังสือแบบเรียนว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ นักวิชาการต่างศาสนาได้ส่งหนังสือทักท้วงไปที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้ถอดข้อความที่ว่านั้นออกจากแบบเรียน เขาให้เหตุผลว่าเพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
            เรื่องได้ยุติลงในที่สุดเมื่อนักวิชาการชาวพุทธท่านนั้นอ้างพระราชนิพนธ์หรือพระราชดำรัสของพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงประกาศไว้ว่า
           "ข้าพเจ้าย่อมรู้สึกว่า เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะต้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งคู่กับพระราชอาณาจักร ให้ดำเนินไปในทางวัฒนาถาวรพร้อมกันทั้งสองฝ่าย" (พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ ๕)
            " ถ้าข้าพเจ้าจะขอแก่ท่านทั้งหลายว่า พุทธศาสนาเป็นของไทย เรามาชวนกันนับถือพระพุทธศาสนาเถิด... เพราะเหตุฉะนั้น เป็นความจำเป็นที่เราทั้งหลาย ผู้เป็นไทยจะต้องมั่นอยู่ในศาสนาพระพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาสำหรับชาติเรา..." (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖)
           "เมื่อข้าพเจ้ามีโอกาสไปเยือนสำนักวาติกัน เมื่อปีคริสต์ศักราช ๑๘๖๐ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ ๒ ตรัสถามถึงคนไทยนับถือศาสนามากน้อยเพียงใด ข้าพเจ้าทูลตอบว่า คนไทยเป็นศาสนิกชนที่ดีทั่วกัน ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชาติ" (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน)
            ดังนั้น การที่ชาวพุทธเรียกร้องให้มีการบัญญัติว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญก็เพื่อให้มีการับรองสถานะของพระพุทธศาสนาที่เป็นศาสนาแห่งชาติอยู่แล้วโดยพฤตินัยนั้นให้เป็นศาสนาประจำชาติโดยนิตินัยอย่างชนิดที่ไม่อาจมีใครโต้แย้งได้ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
            ในโลกปัจจุบัน มีประเทศที่ประกาศอย่างเป็นทางการไว้ในรัฐธรรมนูญว่า มีศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติ จำนวนกว่า ๑๕ ประเทศ ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญฃองประเทศเดนมาร์กบัญญัติว่า "ศาสนาคริสต์ลูเธอแรนเป็นศาสนาประจำชาติเดนมาร์กที่จะต้องได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐ" รัฐธรรมนูญของประเทศกรีซบัญญัติว่า "ศาสนาสำคัญในประเทศกรีซคือศาสนาคริสต์ออร์ธอดอกซ์ตะวันออก... พระคัมภีร์ไบเบิ้ลอันศักดิ์สิทธิ์ต้องได้รับการอนุรักษ์ไว้โดยไม่มีการดัดแปลง"
            ประเทศที่ประกาศอย่างเป็นทางการไว้ในรัฐธรรมนูญว่า มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ มีจำนวน ๓๐ ประเทศ ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญฃองประเทศมาเลเซีย บัญญัติว่า "อิสลามเป็นศาสนาแห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย แต่ก็อาจปฏิบัติศาสนาอื่นได้ด้วยสันติและสามัคคีในทุกส่วนของสหพันธรัฐ" รัฐธรรมนูญของประเทศอัฟกานิสถานบัญญัติว่า "ศาสนาอิสลามที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นศาสนาแห่งอัฟกานิสถาน ในสาธารณรัฐอัฟกานิสถานจะไม่มีกฎหมายใดขัดแย้งกับหลักการของศาสนาอิสลามที่ศักดิ์สิทธิ์"
            ประเทศที่ประกาศอย่างเป็นทางการไว้ในรัฐธรรมนูญว่า มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติมีเพียง ๔ ประเทศเท่านั้น คือ ศรีลังกา พม่า กัมพูชา ภูฏาน ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญของประเทศศรีลังกาบัญญัติว่า "สาธารณรัฐศรีลังกายกพระพุทธศาสนาไว้ในสถานะสำคัญสูงสุดและถือเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาและในขณะเดียวกันก็ประกันสิทธิของทุกศาสนาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐ และ ๑๔" รัฐธรรมนูญของประเทศภูฎาน บัญญัติว่า "พระพุทธศาสนาเป็นมรดกทางจิตใจของภูฎาน ซึ่งส่งเสริมหลักการและค่านิยมแห่งสันติ อหิงสา กรุณาและขันติ"
           แต่ประเทศไทยที่มีพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย มีสำนักงานใหญ่ขององค์การพุทธศานิกสัมพันธ์แห่งโลกตั้งอยู่เป็นการถาวรมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๒ และมีพุทธมณฑลที่ชาวพุทธทั่วโลกยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลกตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘ ยังไม่มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
            หลายคนแสดงความห่วงใยว่า การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติจะเป็นเหตุให้ชาวไทยต่างศาสนาถูกกดขี่กีดกันทางศาสนา หรืออาจเป็นชนวนยั่วยุให้ความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ลุกโชนยิ่งขึ้น
           ในประเด็นที่เกี่ยวกับความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ยืนยันว่าไม่ได้เกิดจากความขัดแย้งของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาและศาสนาอิสลาม แต่เป็นการสร้างความวุ่นวายและก่อการร้ายของกลุ่มที่ไม่มีศาสนาที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน ทางคมช.จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ไม่ขัดข้อง หากจะบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ
            ประเด็นที่ว่าชาวไทยที่นับถือศาสนาอื่นอาจถูกกีดกันหรือกดขี่ทางศาสนา ถ้ารัฐธรรมนูญบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาตินั้น เกิดจากความหวาดระแวงว่าการบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญจะนำไปสู่การบังคับให้คนไทยต้องนับถือแต่พระพุทธศาสนาและจะมีการกีดกันหรือกดขี่ศาสนาอื่นไปพร้อมกัน
            ในเดือนมีนาคม ๒๕๔๙ นายอับดุล ราห์มัน ชาวอัฟกานิสถานถูกจับข้อหาเลิกนับถือศาสนาอิสลามและหันไปนับถือศาสนาคริสต์ ถ้ามีการพิสูจน์ได้ว่าเปลี่ยนศาสนาจริง เขาจะถูกศาลพิพากษาประหารชีวิต คดีนี้โด่งดังไปทั่วโลกเมื่อผู้นำประเทศมหาอำนาจได้กดดันรัฐบาลอัฟกานิสถานเพื่อไม่ให้ประหารชีวิตชายคนนี้
            เมื่อพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเดินทางเข้าไปในประเทศมาเลเซียซึ่งมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ก็ถูกห้ามมิให้เผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ภูมิบุตรคือชาวมาเลเซียมุสลิมมิฉะนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย
            ในประเทศพม่าซึ่งมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติได้มีนโยบายกีดกันไม่ให้คนที่นับถือศาสนาอื่นซึ่งรับราชการทหารมียศสูงกว่าพันเอก
            พระพุทธศาสนาในประเทศไทยแต่โบราณมาเป็นศาสนาที่ประนีประนอมกับศาสนาอื่นมาโดยตลอด โดยไม่เคยมีการบังคับให้คนไทยต้องนับถือแต่พระพุทธศาสนา และไม่เคยมีการกีดกันศาสนาอื่นไม่ให้เผยแผ่ในประเทศไทย ทั้งไม่เคยกีดกันคนไทยที่นับถือศาสนาอื่นไม่ให้เจริญก้าวหน้าในสังคมไทย ดังที่เราได้เห็นศาสนิกชนแห่งศาสนาอื่นสามารถดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐบาล เป็นประธานรัฐสภาและเป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพ เป็นต้น
            เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะไม่มีการกีดกันหรือกดขี่ทางศาสนาเกิดขึ้นในสังคมไทย รัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาและร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดก็ได้บัญญัติเรื่องการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคในสังคมไทยไว้ดังต่อไปนี้
            “มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
            การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรมหรือความคิดเห็นทางการเมือง อันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
            มาตรา ๓๗ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
            ในการใช้เสรีภาพดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐกระทำการใด ๆ อันเป็นการรอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้ เพราะเหตุที่ถือศาสนา นิกายของศาสนา ลัทธินิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือแตกต่างจากบุคคลอื่น"
            ถ้าชาวพุทธต้องการให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแบบผูกขาด ชนิดไม่มีคู่แข่งจริงๆก็คงต้องเรียกร้องให้ตัดมาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๗ ออกจากร่างรัฐธรรมนูญอีกด้วย แต่ในความเป็นจริงชาวพุทธต้องการให้คงมาตราทั้งสองไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เพราะพระพุทธศาสนาสอนให้คนไทยใจกว้างและรักสันติ
            เมื่อศาสนิกชนแห่งศาสนาอื่นได้อ่านพบมาตราทั้งสองนี้แล้วก็จะเกิดความอุ่นใจว่าสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคทางศาสนาของพวกเขาไม่ได้ถูกริดรอนไปแต่อย่างใด และถ้าจะให้ความอุ่นใจแก่ศาสนิกชนของศาสนาอื่นก็ควรเพิ่มข้อความเกี่ยวกับศาสนาอื่นไว้ในมาตราเดียวกันตามแบบอย่างรัฐธรรมนูญของเดนมาร์กและมาเลเซียว่า "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทย รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น"
           เมื่อมีการกล่าวถึงพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นไว้ในรัฐธรรมนูญมาตราเดียวกันอย่างนี้ แม้รัฐธรรมนูญจะบัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทยก็จะไม่มีอะไรไปรอนสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคทางศาสนาของศาสนิกชนในศาสนาอื่น

            ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยซึ่งมีพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย มีสำนักงานใหญ่ขององค์การพุทธศานิกสัมพันธ์แห่งโลกตั้งอยู่เป็นการถาวร และมีพุทธมณฑลที่ชาวพุทธทั่วโลกยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก จะได้บัญญัติในรัฐธรรมนูญให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้