การนําวงจร pdca ไปใช้ในชีวิตประจําวัน

การวางแผนหรือเตรียมการประเมินผลงานอย่างเป็นระบบ เช่น ประเมินจากยอดการจำหน่าย ประเมินจากการติชมของลูกค้า เพื่อให้ผลที่ได้จากการประเมินเกิดการเที่ยงตรง

      2.  การปฏิบัติตามแผนงาน ทำให้ทราบขั้นตอน วิธีการ และสามารถเตรียมงานล่วงหน้าหรือทราบอุปสรรคล่วงหน้าด้วย ดังนั้น การปฏิบัติงานก็จะเกิดความราบรื่น และเรียนร้อย นำไปสู่เป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

หลายครั้งที่เราตั้งเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองหรืออยากพัฒนาตัวเองไปในทางที่ดีขึ้น แต่ก็ต้องล้มเหลวและไม่สำเร็จตามเป้าหมายสักครั้ง เช่น ตั้งเป้าหมายไว้ว่าวันเสาร์-อาทิตย์ จะอ่านหนังสือทบทวนบทเรียน แต่พอถึงเวลากลับหาเหตุผลมาอ้างเพื่อหักล้างให้ไม่ต้องทำตามเป้าหมายนั้น เช่น “ขอนอนก่อนเดี๋ยวตื่นมาอ่าน” หรือ “อ่านวันอื่นก็ได้ ไม่เห็นจะยากเลย” ด้วยเหตุผลทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นจุดหล่อหลอมทำให้เกิดความขี้เกียจขึ้น และทำให้เราไปไม่ถึงความสำเร็จนั้นสักที

บางครั้งสาเหตุที่ทำให้เราไปไม่ถึงเป้าหมายนั้น นอกจากความขี้เกียจก็อาจเป็นเพราะเราขาดความจริงจังและขาดการวางแผนที่ดี เพราะความขี้เกียจนั้นถูกสะสมมานาน การจะกำจัดมันออกไปภายในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่มีการวางแผนย่อมเป็นเรื่องที่ยากและหนักพอสมควร วันนี้พี่ EDUGEN จะพาน้อง ๆ ไปดูวิธีกำจัดความขี้เกียจทิ้งไปให้ราบคาบด้วยหลักการ PDCA แต่วิธีนี้จะช่วยกำจัดความขี้เกียจได้อย่างไรนั้นไปอ่านกันเลย

PDCA คืออะไร?

PDCA เป็นวงจรที่พัฒนามาจากการคิดค้นโดย Walter Shewhart เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นเมื่อ E.W.Deming นำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการทำงานของพนักงานโรงงานให้ดีขึ้น เป็นแนวคิดที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการวางแผนงานเพียงอย่างเดียว แต่แนวคิดนี้จะเน้นให้    การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบโดยมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น หลักการ PDCA ยังสามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกงานรวมถึงในชีวิตประจำวันด้วย 

P (Plan) หรือการวางแผนเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ๆ ในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง หลังจากที่เราสำรวจตัวเองและตั้งเป้าหมายได้แล้วว่ามีตรงไหนที่ต้องการจะปรับปรุงให้ดีขึ้น ให้นำเป้าหมายนั้นมาวางแผนเพื่อกำหนดรายละเอียดขั้นตอนต่าง ๆ รวมไปถึงกำหนดระยะเวลาและต้องมีตัววัดผลเพื่อจะทำให้รู้ว่าวิธีการที่เราเลือกใช้นั้นถูกต้องหรือไม่ เช่น ตื่นไปเรียนสายทุกวัน และตั้งเป้าหมายไว้ว่า “ฉันจะต้องตื่นไปเข้าเรียนให้ทัน 8 โมง” เราก็ต้องวางแผนว่าเช้า กลางวัน เย็น จะใช้เวลาทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันเท่าไหร่ และตอนกลางคืนจะเข้านอนกี่โมง ตัววัดผลคือเช้าวันต่อมาเราสามารถไปถึงโรงเรียนได้ก่อน 8 โมงนั่นเอง

 

D (Do) การลงมือทำ เป็นขั้นตอนที่สำคัญไม่แพ้ขั้นตอนการวางแผน เมื่อมีการวางแผนงานแล้วเราต้องลงมือ “ทำทันที” ไม่ผัดวันประกันพรุ่งเพื่อให้แผนที่วางเอาไว้เกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาโดยที่เราอาจจะมีตัวช่วยเป็นแอปพลิเคชันดี ๆ สักอัน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ก็ได้  ในขั้นตอนนี้ต้องอาศัยการทำอย่างมีวินัยและต้องรู้จักบริหารเวลาให้ดี เช่น การจัดการตัวเองให้ตื่นไปทันเข้าเรียนตอน 8 โมงเช้า โดยที่เราอาจจะมีตัวช่วยเป็นนาฬิกาปลุกเพื่อให้การลงมือทำเป็นไปตามแผนที่วางไว้ เป็นต้น อย่างไรก็ตามในขณะที่เราลงมือทำถ้ามีเหตุการณ์ที่เหนือการควบคุมเกิดขึ้นเราสามารถปรับเปลี่ยนแผนการได้ทันที 

C (Check) ตรวจสอบและประเมินตนเอง เมื่อเราลงมือทำตามแผนการที่วางเอาไว้ได้สักระยะเวลาหนึ่งแล้ว เราต้องมีการตรวจสอบความคืบหน้า เพื่อเปรียบเทียบผลจากการลงมือทำจริงกับแผนที่วางไว้ว่าเราสามารถทำตามแผนที่กำหนดไว้ได้หรือไม่หรือมีสิ่งใดที่เราลืมทำหรือเปล่า ถ้าผลที่ออกมาเป็นไปตามแผนหรือได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าก็ถือว่าวิธีการที่เราทำอยู่นั้นได้ผล แต่ถ้าผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะเราจะได้แก้ไขหรือปรับเปลี่ยนแผนให้ดีขึ้นได้

A (Action) การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงวิธีการเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเมื่อผ่านกระบวนการทั้ง 3 ขั้นตอนมาแล้ว ในขั้นตอนนี้ถ้าผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ก็ให้เรานำวิธีการนั้นมาปรับใช้จนเป็นนิสัย หรือเป็นมาตรฐานส่วนตัวที่เราจะนำไปใช้กับเป้าหมายอื่นได้ เช่น เราสามารถตื่นเช้าได้ทุกวันแบบสบาย ๆ จนเรียกได้ว่าการตื่นเช้าไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับเราอีกต่อไป 

แต่ในกรณีที่ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ให้เราพยายามทำให้มากกว่าเดิม แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเองจริง ๆ ให้ลองขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น แต่ถ้าสุดท้ายยังได้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีให้เรามองหาวิธีการหรือทางเลือกใหม่ ๆ แล้วลงมือลุยต่อไปได้เลย

วงจร PDCA ที่ดีจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเรานำผลลัพธ์ที่ได้หลังจากขั้นตอนปรับปรุงแผน (Action) วนกลับไปสู่ขั้นตอนการวางแผน (Plan) อีกครั้ง เพื่อดูว่าเราจะปรับเปลี่ยนเป้าหมายหรือจะลงมือทำต่อทันที และจะเป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ เพราะหัวใจหลักของ PDCA คือการพัฒนาหรือทำอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นนิสัย และในอนาคตไม่ว่าจะต้องเจอเรื่องยุ่งยากแค่ไหน เราก็จะผ่านไปได้อย่างแน่นอน น้อง ๆ ลองเอาไปปรับใช้กันดูนะคะ

สำหรับน้องๆ ที่อยากมีตัวช่วยในการทบทวนบทเรียนหรือเตรียมตัวสอบเข้ามาดูคอร์สเรียน

หรือลองวางแผนการเรียนกับพี่ EDUGEN ได้เลยที่

หรือ พูดคุยกับพี่ EDUGEN ได้ที่

Tags ของบทความนี้

#EDUGEN #EDUGENสถาบันเรียนพิเศษออนไลน์ #เรียนพิเศษออนไลน์ #TCAS63 #dek63 #dek64 #dek65 #dek66 #ONET #GATPAT #9วิชาสามัญ #กสพท #PDCA #ขั้นตอนกำจัดความขี้เกียจ

PDCA ในชีวิตประจําวัน มีอะไรบ้าง

PDCA คือวงจรบริหารงานคุณภาพ ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน Plan-Do-Check-Act หรือ วางแผน-ปฏิบัติ-ตรวจสอบ-ปรับปรุง เป็นกระบวนการที่ใช้ปรับปรุงการทำงานขององค์กรอย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาและเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

PDCA สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างไร

PDCA คือ วงจรการบริหารงานคุณภาพ ย่อมาจาก 4 คำ ได้แก่ Plan (วางแผน), Do (ปฏิบัติ), Check (ตรวจสอบ) และ Act (การดำเนินการให้เหมาะสม) ซึ่งวงจร PDCA สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกๆ เรื่อง นับตั้งแต่กิจกรรมส่วนตัว เช่น การปรุงอาหาร การเดินทางไปทำงานในแต่ละวัน การตั้งเป้าหมายชีวิต และการดำเนินงานในระดับบริษัท ซึ่งรายละเอียดใน ...

วงจรPDCAควรนําไปใช้ที่ใด

การนำ PDCA ไปใช้ การวางแผนเป้าหมายชีวิต การวางแผนเป้าหมายชีวิตด้วยวงจรควบคุมคุณภาพ

การนำ PDCA ไปใช้มีขั้นตอนอย่างไร

หลังจากบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งใจไว้ครั้งแรกแล้ว เรายังคงใช้หลักการ PDCA อย่างต่อเนื่องได้ด้วยการยกระดับของเป้าหมายให้สูงขึ้น แล้วจึงมากำหนดแผนงาน-วิธีการที่เหมาะสม แล้วจึงเริ่มเข้าสู่วงจร วางแผน – ลงมือปฏิบัติ – ตรวจสอบ – ปรับปรุง/แก้ไข ได้เช่นกัน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้