สมัครงานธนาคารต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง

ธนาคารอาคารสงเคราะห์มีหลักเกณฑ์ในการดำเนินการสรรหาและคัดเลือกบุคคล มาปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบแข่งขัน ซึ่งผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกกับธนาคารจะต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่รับสมัคร

2. การบรรจุและแต่งตั้งบุคลากร

ธนาคารอาคารสงเคราะห์มีหลักเกณฑ์การบรรจุและแต่งตั้งบุคลากร ดังนี้

1. ผู้ที่จะเข้าทำงานเป็นผู้ปฏิบัติงานต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

(1) มีสัญชาติไทย

(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี

(3) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ

(4) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือไม่เป็นโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏ อาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคยาเสพติดให้โทษ หรือโรคพิษสุราเรื้อรัง

(5) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี

(6) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

(7) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษถึงต้องออกจากราชการหรือรัฐวิสาหกิจ

(8) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือพ้นโทษแล้วเกินห้าปี

2. ผู้ที่จะเข้าทํางานเป็นผู้ปฏิบัติงานต้องยื่นใบสมัครตามแบบที่กรรมการผู้จัดการกําหนดพร้อมด้วยหนังสือรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง สาขาเวชกรรม ตามความในข้อ 1 (4) และ รับรองด้วยว่าผู้ที่จะเข้าทํางานเป็นผู้มีพลานามัยสมบูรณ์ สมควรที่จะเข้าทํางานเป็นผู้ปฏิบัติงานได้

3. การบรรจุบุคคลตามลำดับที่ของผู้สอบได้

4. หลังจากธนาคารดำเนินการออกคำสั่งบรรจุบุคคลเพื่อให้ทดลองปฏิบัติงานแล้ว หากผ่านการทดลองปฏิบัติงาน 90 วัน และมีคุณสมบัติครบถ้วน ธนาคารจะแต่งตั้งเป็นพนักงานภายใน 120 วัน

3. การประเมินผลการปฏิบัติงานและการให้รางวัล

คณะกรรมการทรัพยากรบุคคล (HR Committee) ได้ทบทวนแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นประจำทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางยุทธศาสตร์ของธนาคาร ตั้งแต่กระบวนการคณะกรรมการทบทวนและจัดทำแผนฯ จะทำการประชุมหารือ เพื่อกำหนดตัวชี้วัดระดับองค์กร ที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร จากนั้นจะถ่ายทอดตัวชี้วัดในระดับองค์กรลงไปตามลำดับชั้นจนถึงตัววัดระดับบุคคลตามลำดับ ประกอบด้วยทั้งหมด 5 ขั้นตอน

1 ) คณะกรรมการวัดผลการดำเนินงานฯ กำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานและตัวชี้วัดระดับฝ่าย/สำนัก (IPA) และผู้อำนวยการฝ่าย/สำนักถ่ายทอดแผนงานพร้อมตัววัดที่สำคัญลงไประดับส่วน

2) หัวหน้าส่วน/งาน จะประชุมเพื่อสื่อสาร วางแผน พร้อมกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดรายบุคคล ร่วมกันกับผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นรายบุคคล (One on One) และบันทึกลงในระบบ ERP-HR ซึ่งจะกำหนดเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน/ผลสำเร็จของงาน หรือ KPIs (ซึ่งจะประกอบด้วย ตัววัดตามบันทึกข้อตกลงฯ ตัววัดจากงานตามนโยบาย ตัววัดที่เป็นงานประจำ) และสมรรถนะหลัก(Core Competency) เป็นต้น ซึ่งจะมีสัดส่วนที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะงาน และระดับตำแหน่ง

3) ผู้บังคับบัญชาจะติดตามผลการดำเนินงานใน 2 ด้าน คือ การพัฒนาตาม IDP การประเมินพฤติกรรมตาม Core Competency และการบรรลุผลการปฏิบัติงานตาม KPIs ทุกไตรมาสผ่าน Smart Radar หากไม่เป็นไปตามเป้าหมายหัวหน้างานจะทำ Coaching/Mentoring และให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปรับแผนการดำเนินงาน

4) เพื่อสนับสนุนให้เกิดผลการดำเนินงานที่ดี และสร้างความผูกพันของบุคลากรในขั้นตอนที่ 4) จะเชื่อมโยงการประเมินผลปฏิบัติงานกับระบบบริหารทรัพยากรบุคคล และการจ่ายผลตอบแทน เช่น ผู้ได้รับการประเมินผล A+ และ A เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาการเลื่อนตำแหน่ง หรือได้รับการคัดเลือกในการพัฒนาผู้มีศักยภาพ (Talent) และการได้รับคัดเลือกเพื่อศึกษาดูงานภายในและต่างประเทศ เป็นต้น

ในการพิจารณา การให้ค่าตอบแทน การให้รางวัล การยกย่องชมเชย และการให้แรงจูงใจจะเชื่อมโยงผลประเมินการปฏิบัติงาน (A+, A, S, N, D) กับอัตราการขึ้นเงินเดือนประจำปี
ทั้งนี้ ระดับการประเมินผล แบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้

ระดับความหมายคะแนนA+สูงว่ามาตรฐานมาก>95-100 คะแนนAสูงกว่ามาตรฐาน>85-95 คะแนนSมาตรฐาน>70-85 คะแนนNควรปรับปรุง>50-70 คะแนนDไม่น่าพอใจ<=50 คะแนน

 

หลักเกณฑ์โครงการพัฒนาบุคลากรภายในธนาคารเพื่อยกระดับความรู้และความเชี่ยวชาญในภาคธุรกิจด้านต่างๆของธนาคาร

1. เป็นพนักงานที่มีค่างานระหว่าง 5 – 10

2. ปฏิบัติงานในสำนักงานใหญ่และสาขากทม.และปริมณฑลปฏิบัติงานในสาขาภูมิภาค

3. มีผลการปฏิบัติงาน 1 ปีย้อนหลังเป็น A+

4. ระดับการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี

5. มีประสบการณ์ทำงานที่ ธอส. อยู่ระหว่าง 3-5 ปี

6. สามารถเข้าเรียนตามหลักสูตร ในวันทำงานและวันหยุด

 

โทษทางวินัย

ธนาคารฯได้กำหนดโทษผิดทางวินัยไว้ในข้อบังคับธนาคาร อาคารสงเคราะห์ ฉบับที่ 17 เรื่อง ระเบียบวิธีปฏิบัติของพนักงานธนาคาร ว่าด้วยวินัย การสอบสวน การลงโทษพนักงานและลูกจ้าง การอุทธรณ์การ ถูกลงโทษของพนักงานและลูกจ้าง พ.ศ. 2520 โดยกำหนดไว้ใน ข้อ.6 มีโทษทางวินัย 5 สถาน โดยเรียงจากโทษหนักไปหาโทษเบา ได้แก่

(1) ไล่ออก

(2) ให้ออก

(3) ลดขั้นเงินเดือน

(4) ตัดเงินเดือน

(5) ภาคทัณฑ์

กรณีที่พนักงานและลูกจ้างกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและเป็นความผิดครั้งแรก ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นว่ามีเหตุอันควรงดโทษ จะว่ากล่าวตักเตือน หรือให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือไว้ก่อนก็ได้

หนุ่มแบงค์ สาวแบงค์ อาจเป็นคำเรียกสั้น ๆ ของพนักงานธนาคาร ที่บางคนฟังแล้วก็รู้สึกว่ามีความเท่และน่าสนใจ แสดงถึงการมีความมั่นคงในหน้าที่การงานและผลตอบแทนสูง จนทำให้ใครหลาย ๆ คนอยากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคำเรียกนี้ แต่การที่จะประกอบอาชีพนี้นั้นจะต้องทำยังไงล่ะ ? มาเริ่มจากทำความรู้จักอาชีพนี้และเตรียมตัวไปพร้อม ๆ กันเลย

งานธนาคารอาชีพยอดนิยมมั่นคงสูง?

งานธนาคาร ถือว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพยอดนิยมที่มีความมั่นคงสูง เป็นที่สนใจของนักศึกษาจบใหม่และผู้ที่กำลังหางานเป็นอย่างมาก อีกทั้งมีการเปิดรับผ่านทางเว็บไซต์สมัครงานหรือตามธนาคารต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ เคยสงสัยไหมว่าการทำงานงานธนาคารนั้น ทำอะไรบ้าง? ไม่ใช่แค่เพียงบริการลูกค้าหรือทำหน้าที่รับฝาก ถอนหรือเปิดบัญชีเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการบริการด้านการจัดทำรายการประจำวันเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน การให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุน ประกันชีวิต ประกันภัย ควบคุมและติดตามงานบัญชีลูกค้า ติดต่อประสานงานและให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลรายรับรายจ่ายของคู่ค้า รวมไปถึงการวางแผนและวิเคราะห์ด้านการเงินและบริหารจัดการ และอีกหลาย ๆ ส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องของการเงิน เช่น การส่งเสริมให้มีการออมเพื่อความยั่งยืนในระยะยาวอีกด้วย

ตำแหน่งงานที่เปิดรับในสายงานธนาคารและการเงิน

ธนาคารส่วนใหญ่แล้วจะมีการให้บริการอยู่หลายด้าน ตำแหน่งงานจึงแบ่งออกเป็นหลายประเภท ตามลักษณะการให้บริการ เช่น งานบริการรับฝากเงิน งานบริการสินเชื่อ งานบริการด้านการบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละตำแหน่งก็มีหน้าที่รับผิดชอบที่แตกต่างกันไป

- งานวิเคราะห์การลงทุน – กองทุน

มีหน้าที่วิเคราะห์และประเมินว่าเงินที่ลูกค้ามอบหมายมาให้ดูแลนั้น ควรจะบริหารอย่างไรให้ได้ผลตอบแทนที่ลูกค้าคาดหวัง รวมไปถึงความเสี่ยงที่เกินกว่าลูกค้าจะรับได้

ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจ ตลาดการเงิน การลงทุน และภาวะอุตสาหกรรมในอนาคตจะเป็นอย่างไร และภายใต้สถานการณ์ที่คาดไว้ อุตสาหกรรมไหนจะได้ประโยชน์ โดยจะต้องตัดสินใจว่า ในพอร์ตของลูกค้า ควรจะมีหุ้นหรือหลักทรัพย์ใดบ้าง เป็นสัดส่วนเท่าใด และควรจะซื้อหรือขายหุ้นตัวไหนในราคาเท่าไหร่โดยการตัดสินใจลงทุนจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ลูกค้ากำหนด และเป็นไปตามนโยบายการลงทุนของบริษัทอีกด้วย

- งานการเงิน

เจ้าหน้าที่การเงินของทุกบริษัทเปรียบเสมือนกระเป๋าเงินขององค์กรธุรกิจ เพราะมีหน้าที่จัดหาเงินมาใช้ในการดำเนินกิจการ และในขณะเดียวกันก็มีหน้าที่ดูแลการใช้เงินและจ่ายเงิน เช่น การซื้อ วัตถุดิบ การควบคุมจำนวนสินค้าระหว่างผลิต การควบคุมลูกหนี้การค้าในกรณีที่ มีการให้เทอมเครดิตกับผู้ซื้อ และการจัดเก็บหนี้ให้มีประสิทธิภาพด้วย

- งานสินเชื่อและวิเคราะห์สินเชื่อ

งานสินเชื่อและวิเคราะห์สินเชื่อ คือ การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมการประเมินความเสี่ยง เพื่อวัตถุประสงค์ ในการให้กู้ยืมเงิน และการประเมินความเสี่ยงในส่วนของผู้กู้ การกำหนดระดับความเสี่ยงและความน่าเชื่อถือของผู้กู้  ซึ่งในการขอสินเชื่อผู้กู้ก็จะต้องผ่านหลายกระบวนการในการตรวจสอบ กระบวนการต่าง ๆ ที่ต้องอาศัยความละเอียด รอบคอบอย่างนี้ทำให้เกิดตำแหน่งงานสินเชื่อและวิเคราะห์สินเชื่อเพื่อใช้เวลาและไม่พลาดไปกับการตรวจสอบ

นอกจากตำแหน่งงานที่เกริ่นไปในข้างต้นแล้วนั้น งานธนาคารจะสามารถแบ่งตำแหน่งได้อีก ดังนี้

-กรรมการผู้จัดการ / รองกรรมการผู้จัดการ / ผู้ช่วยผู้จัดการ

-ผู้อำนวยการ / รองผู้อำนวยการ

-ผู้จัดการเขต / รองผู้จัดการเขต

-ผู้จัดการสาขา / รองผู้จัดการสาขา

-ผู้จัดการอาวุโส / หัวหน้าส่วน / ผู้จัดการส่วน

-เจ้าหน้าที่อาวุโส

-เจ้าหน้าที่

-ลูกจ้างประจำ

-รปภ. / แม่บ้าน / แมสเซนเจอร์

ซึ่งแต่ละธนาคารอาจมีบางตำแหน่งที่แตกต่างกันไป หน้าที่ที่เพิ่มหรือลดก็ว่ากันไปตามความเหมาะสมและขนาดของแต่ละธนาคาร

วุฒิการศึกษาที่สอดคล้องกับงานธนาคาร

หากคุณสนใจงานธนาคารแล้วล่ะก็ บางตำแหน่งก็จะมีการระบุที่ต้องการวุฒิการศึกษาไว้ด้วย เช่น  คณะบริหารธุรกิจ (สาขาการเงินและการธนาคาร สาขาการวางแผนการเงินและการลงทุน) คณะเศรษฐศาสตร์ (สาขาเศรษฐศาสตร์การเงิน) หรือคณะ/สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการธนาคาร เช่นคณะวิทยาการจัดการ(สาขาการเงินและการธนาคาร) คณะวิศวกรรมศาสตร์ (สาขาวิศวกรรรมการเงิน) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (สาขาวิชาการประกันภัย) เป็นต้น แต่ทั้งนี้ ลองศึกษาใบประกาศให้ดีหรือลองโทรไปสอบถามเพิ่มเติมก็ได้ เพื่อความแน่ใจและตรงคุณสมบัติมากขึ้นนั่นเอง

คุณสมบัติเก๋ ๆ ของพนักงานธนาคาร

สำหรับคนที่สนใจงานทางด้านงานธนาคารนั้น อาจจะต้องเตรียมตัว เตรียมพร้อมและเช็คความมั่นใจว่าตนเองมีคุณสมบัติ เหล่านี้หรือไม่

- มีความรู้ความสามารถตรงกับตำแหน่งงาน คล่องแคล่วและสามารถจัดการข้อมูล งานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
- มีความละเอียดรอบคอบในการจัดการข้อมูล มีใจรักในงานบริการ มีทักษะด้านการบริการที่ดี เนื่องจากงานธนาคารต้องพบเจอ  ลูกค้าอยู่เสมอนั่นเอง
- ขยัน อดทน สามารถทำงานภายใต้แรงกดดันได้ ทั้งจากองค์กรและลูกค้า
- มีความสามารถด้านการสื่อสาร การใช้ภาษาและที่สุภาพและชัดเจน
- บุคลิกภาพดีน่าเชื่อถือ

ภาพลักษณ์ที่โดดเด่นและเหมาะสมกับงานธนาคาร

งานธนาคารถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการสมัครงานเกี่ยวกับด้านการเงิน การบริการ มีทักษะด้านการบริการเพื่อที่จะให้ลูกค้าสนใจที่จะลงทุนกับธนาคาร ทั้งด้านการเปิดบัญชี การฝากและถอนรวมไปถึงการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ของทางธนาคาร เพราะฉะนั้นผู้ที่ต้องการหางานธนาคารจะต้องศึกษาเกี่ยวกับตำแหน่งงาน หน้าที่ความรับผิดชอบต่าง ๆ ให้ละเอียดเพื่อที่จะทำให้เราได้รับงานในตำแหน่งที่ต้องการและสามารถทำงานออกได้ดีและมีประสิทธิภาพที่สุด

ทำงานธนาคารต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง

คุณสมบัติที่สำคัญของพนักงานธนาคารมีความละเอียดรอบคอบ มี Service Mind รักในการบริการ – ขยัน อดทน ตั้งใจทำงาน และรับแรงกดดันได้ดี – บุคลิกภาพดี มีภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือ – เป็นคนที่สื่อสารได้ดี มีความรู้ด้านภาษา และเป็นคนสุภาพ

สิ่งที่อยากรู้เกี่ยวกับการทำงานธนาคาร

ความรู้เกี่ยวกับเลขคณิต พีชคณิต เรขาคณิต แคลคูลัส สถิติ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน เศรษฐศาสตร์ และการบัญชี ความรู้เกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลด้านเศรษฐกิจ การจัดการทรัพยากร การสร้างนโยบายสาธารณะ การเงิน การลงทุน การธนาคาร บัญชีรายรับรายจ่าย ภาษาไทย

คนที่ทำงานในธนาคารเรียกว่าอะไร

(n) พนักงานรับฝาก-ถอนเงินในธนาคาร, Syn. cashier, clerk, counting clerk. teller. (n) เครื่องฝาก-ถอนเงิน

ตําแหน่งงานธนาคาร มีอะไรบ้าง

โดยธนาคารแต่ละแห่งจะมีธุรกิจหลักที่ให้บริการอยู่หลายด้าน ดังนั้น ตำแหน่งงานธนาคารจึงแบ่งออกเป็นหลายประเภท ตามลักษณะการให้บริการของธนาคาร เช่น งานบริการลูกค้า งานบริการบัตรเครดิต งานบริการสินเชื่อ งานบริการรับฝากเงิน งานบริการด้านการบริหารสินทรัพย์ งานบริการบริหารเงินสด งานการบริการเงินทุน งานบริการด้านหลักทรัพย์ และงาน ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้