อิสรภาพทาง การเงิน 5 ระดับ

การมีอิสรภาพทางการเงินก็เหมือนการเดินทางที่เราต้องอาศัยแผนที่เช้ามาช่วยเพื่อให้เดินทางไปถึงที่หมายได้ไวขึ้น การมีอิสรภาพทางการเงินก็เช่นกันก็ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนและทิศทางที่ถูกต้อง โดยทุกคนควรจะต้องรู้ 5 สิ่งต่อไปนี้

1. เป้าหมายต้องชัดเจน

เป้าหมายแต่ละคนไม่เหมือนกันและความต้องการการใช้เงินของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะทำงานราชการมา พอใช้กับรายได้ เงินบำนาญที่ได้รับหลังเกษียณ พอใจกับสวัสดิการการรักษาพยาบาลที่ได้รับหลังเกษียณ อาจจะไม่ต้องการเงินก้อนที่ได้ แต่สำหรับคนที่ทำงานเป็นพนักงานบริษัท เจ้าของธุรกิจหรือฟรีแลนซ์อาจจะไม่ได้มีเงินบำนาญแต่ยังจำเป็นที่ต้องมีเงินก้อนเพื่อใช้หลังเกษียณ ฉะนั้นจะต้องรู้ว่าเงินก้อนนั้นจะเป็นเท่าไหร่ ซึ่งเงินก้อนของแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากัน

  • ตัวอย่างบทความการคำนวณเงินใช้หลังเกษียณที่ได้เคยเขียนไว้ (คลิ๊ก)

2. ขยันและประหยัด

ขยันคือการทำงานที่สร้างรายได้ให้สม่ำเสมอหรือเกือบสม่ำเสมอ เช่น งานประจำ ธุรกิจส่วนตัว งานฟรีแลนซ์ หรือเป็นงานที่เราทำแล้วได้เงิน ที่สำคัญเมื่อหาเงินได้แล้วต้องประหยัดนำเงินก้อนที่ได้มาสะสมเพื่อสร้างผลตอบแทนให้งอกเงย เนื่องจากในแต่ละปีเราอาจจะมีรายได้เพิ่มขึ้นทำให้เราอาจจะเผลอใช้ชีวิตหรือมีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปตามเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นได้ กลายเป็นว่าต้องสร้างหนี้ไปตลอด จึงควรกันเงินที่ได้จากการทำงานมาออมหรือลงทุนคิดเป็นเปอร์เซ็นเพื่อสามารถออมให้ได้มากขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในข้อ 1

3. ศึกษาสินทรัพย์ที่สร้างรายได้ให้เราสม่ำเสมอ (Passive Income)

Passive Income คือรายได้ที่จะเข้ามาโดยที่เราไม่ต้องทำงาน แต่ก่อนที่จะไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ควรมีความรู้และเข้าใจสินทรัพย์ประเภทนั้นๆ ด้วยและที่สำคัญคือต้องรู้ว่าสินทรัพย์นั้นๆเป็นสินทรัพย์ที่จะมีกระแสเงินสดรับในอนาคต เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า หรือไม่มีกระแสเงินสดรับแต่คิดว่าราคาจะเพิ่มขึ้น เช่น ทองคำ นาฬิกา พระเครื่อง อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ

4. อดทนและมีวินัย

วินัยช่วยสร้างให้เราเก็บเงินได้เรื่อยๆ เก็บเงินได้ทุกเดือนหรืออย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าขาดวินัยเก็บไปช่วงเวลานึงได้เงินก้อนมาแล้วเอาเงินก้อนนั้นไปใช้จนหมด ก็จะต้องมาเริ่มนับหนึ่งใหม่ ถ้าหากมีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนนั้นจริงๆ อาจจะใช้วิธีการแบ่งเงินออกเป็น 2 ส่วนคือเงินที่สำรองฉุกเฉินหรือเก็บเพื่อเป้าหมาย และเงินสำหรับเงินทุน

5. ถนนสู่อิสรภาพทางการเงินไม่ง่าย อย่าคิดว่ามีทางลัด

การมีอิสรภาพทางการเงินแม้ว่าเราจะรู้เทคนิค รู้วิธีแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำได้ง่ายๆ ต้องอาศัยความพยายามอย่างสูง และบางครั้งเราอาจจะเกิดความโลภเผลอเอาเงินที่เก็บได้ไปลงทุนในสินทรัพย์ที่จะถูกโกงเพราะเห็นว่าได้ผลตอบแทนสูง แต่ถ้าอยากลองเสี่ยงลงทุนก็อาจจะใช้เงินบางส่วนที่กันออกมาไปลองดูก็ได้

อิสรภาพทางการเงิน คือ การที่มีเงินมากพอใช้ชีวิตได้แบบที่ต้องการอย่างมีความสุขโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการเงิน ทั้งการใช้จ่าย ท่องเที่ยว หรือแม้จะทำงานต่อไปโดยมีเป้าหมายนอกเหนือจากเรื่องเงิน
  • ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุเป็นขั้นตอนที่หลายคนอาจมองข้าม ควรวางแผนการซื้อประกันให้ครอบคลุมการรักษาและต้องเหมาะสมกับค่าเบี้ยประกัน โดยค่าใช้จ่ายส่วนนี้ควรอยู่ที่ 5-10% ของรายได้
  • การมีอิสรภาพทางการเงินเป็นเป้าหมายที่ไม่ง่ายเพราะต้องผ่านความอดทน ใช้เวลา และความรู้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของการมีอิสรภาพทางการเงิน คือ การเริ่มต้นลงมือทำตาม 6 ขั้นตอน สร้างอิสรภาพทางการเงิน อย่างน้อยเริ่มช้าแต่เริ่มนะก็ยังดีกว่าไม่เริ่มเลย

  • รูปบน ของ desktop
    รูปล่าง ของ mobile

    อิสรภาพทางการเงิน หรือ Financial Freedom พื่ทุยเชื่อว่า เป็นคำที่ทุกคนใฝ่ฝันถึง โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ ที่ต้องตื่นนอนตั้งแต่เช้าตรู่ ฝ่ารถติด ฝ่าคนแน่น ๆ บนรถไฟฟ้า เพื่อมาทำงานในเมืองให้ทันเวลา ทำงานงก ๆ ทั้งวัน เหนื่อยสายตัวแทบขาด เพื่อนำเงินเดือนมารักษาโรคปวดหลัง (เอ๊ย ไม่ใช่!)

    แน่นอนว่าการปลดพันธนาการจากเรื่องเงิน เพื่อจะมีชีวิตที่ไม่ต้องทำงาน มีเงินเข้ามาให้ใช้ได้ในทุกเดือน อยากทำอะไรก็ได้ตามใจ จะเป็นความฝันที่ยิ่งใหญ่ของหลายคน แต่ก็ไม่ใช่เป้าหมายที่ได้มาอย่างง่ายดาย กว่าจะไปถึง ต้องอดทน ใช้เวลา และความรู้ จนหลายคนก็ไปไม่ถึงฝัน

    แต่เรื่องที่เป็นไปได้ยาก ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ บทความนี้พี่ทุยขอเลยอยากพาไปรู้จักกับ 6 ขั้นตอน สร้างอิสรภาพทางการเงิน ที่วัยรุ่น วัยทำงาน หรือใครก็ทำได้

    อิสรภาพทางการเงิน คืออะไร?

    อิสรภาพทางการเงิน คือ การที่มีเงินมากพอใช้ชีวิตได้แบบที่ต้องการอย่างมีความสุข โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการจับจ่ายใช้สอย การท่องเที่ยว หรือแม้กระทั่งทำงานต่อไปโดยมีเป้าหมายอื่นนอกเหนือจากเรื่องเงิน

    นั่นหมายความว่าจะต้องมีเงินมากพอหรือปล่อยให้เงินทำงานจ่ายกระแสเงินสดออกมาเพียงพอต่อการใช้ชีวิตในรูปแบบที่ต้องการ

    Financial Freedom = When you no longer have to worry about money”

    ซึ่งเงินส่วนที่จะช่วยเราปลดแอกพันธนาการนี้ได้ ก็คือ รายได้จากสินทรัพย์ต่างๆ เช่น เงินปันผล ดอกเบี้ย ค่าเช่าอสังหาฯ ค่าสิทธิบัตรลิขสิทธิ์

    โดยที่สินทรัพย์เหล่านี้ เราต้องสร้างมันขึ้นมาและคอยดูแลบริหารจัดการทรัพย์สิน ทำให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ แม้ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน

    พี่ทุยจะชี้ให้เห็นว่า อิสรภาพการเงินแบบไม่ต้องทำอะไรเลยเนี่ย มันไม่ได้มีอยู่จริง ๆ หรอก ยกเว้นแต่บางคนที่โชคดีได้รับมรดกตกทอดจากรุ่นพ่อแม่ รุ่นปู่ย่าตายาย ที่สั่งสมมาให้แล้วเป็นพันเป็นหมื่นล้านบาท แค่นำเงินไปฝากธนาคารกินดอกเบี้ยก็เพียงพอแล้ว

    แต่อย่าลืมว่า มีได้ ก็หมดได้เช่นกัน! ถ้าไม่คิดจะรักษาหรือต่อยอดการลงทุนไว้ให้ดี

    อย่าเพิ่งน้อยใจไป ถึงแม้ว่าพวกเราอาจไม่ได้โชคดีแบบนั้น รวมถึงตัวพี่ทุยเอง (เศร้า) แต่พี่ทุยเชื่อว่า เราก็สามารถสร้างอิสรภาพทางการเงินได้ด้วยตนเองได้ อิสรภาพแบบที่คนทั่ว ๆ ไป อย่างเราหรือพี่ทุยก็ทำได้

    ต้องมีเท่าไหร่ ถึงจะมีอิสรภาพทางการเงิน

    คำตอบนี้หาได้จากการถามตัวเองว่า เราจะใช้ชีวิตแบบมีอิสรภาพทางการเงินกี่ปีและการใช้จ่ายแต่ละเดือนเพื่อคุณภาพชีวิตมากน้อยแค่ไหน ? โดยพี่ทุยจะลองให้สูตรคำนวณอิสรภาพกางเงิน ดังนี้

    จำนวนเงินที่ต้องมีเพื่ออิสรภาพทางการเงิน = จำนวนเงินที่ต้องการใช้ต่อปี x จำนวนปี x ตัวเลขเงินเฟ้อ

    เช่น ต้องการใช้ชีวิตมีค่าใช้จ่าย 30,000 บาท/เดือน คาดว่าจะใช้ชีวิตแบบไม่ทำงาน 30 ปี แสดงว่าต้องใช้เงินทั้งหมด 10,800,000 บาท แต่นี่ยังไม่คิดผลของเงินเฟ้อซึ่งเมื่อถึงเวลาใช้ชีวิตมีอิสรภาพทางการเงิน ค่าใช้จ่ายอาจเพิ่มไปแล้วเท่าตัว ในความจริงจึงควรมีเงินทั้งหมด 10,800,000 x 2 = 21,600,000 บาท

    แล้วทำไมเงินเฟ้อต้องคูณสอง นั่นก็เพราะว่า จากสถิติข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของไทย ตกเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 2-3 % โดยประมาณ (แต่ปี 2565 นี้ เงินเฟ้อน่าจะเกิน 3% แน่นอน)

    หลายคนอาจจะบอกว่าพี่ทุยพูดเว่อร์หรือเปล่า แต่อยากให้ลองนึกดู ว่า 20 ปีที่แล้วก๋วยเตี๋ยวชามเดียวแค่ 20 บาท แต่ตอนนี้ชามละ 40-50 บาท เข้าไปแล้ว และแนวโน้มในอนาคต เงินก็จะเฟ้อไปเรื่อย ๆ แบบนี้

    และต้องบอกว่านี่เป็นการตีเลขคร่าว ๆ เท่านั้น สำหรับบางคนเงินที่ใช้ในแต่ละเดือนอาจจะมากกว่านี้ เพราะรูปแบบการใช้ชีวิตต่างกัน ทำให้มูลค่าของอิสรภาพทางการเงินของแต่ละคนไม่เท่ากัน

    แต่อย่างไรก็ตาม หลักการสำคัญคือ ควรมีเงินเผื่อเหลือไว้ดีกว่าขาด พี่ทุยเลยอยากบอกว่าควรเริ่มลงมือทำตั้งแต่วันนี้ โดยลองทำตาม 6 ขั้นตอน ดังนี้

    6 ขั้นตอน สู่อิสรภาพทางการเงิน

    1. ประเมินค่าใช้จ่ายรายเดือน

    เริ่มต้นด้วยการสำรวจพฤติกรรมว่าในแต่ละเดือนมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ส่วนไหนที่ใช้กับของไม่จำเป็น ส่วนไหนที่จ่ายหนี้ดอกเบี้ยสูง ส่วนไหนที่ใช้กับของจำเป็น

    ขั้นตอนนี้ช่วยให้เห็นรอยรั่วของพฤติกรรมการใช้จ่าย สามารถนำไปประเมินเพื่อลดการใช้จ่ายกับสิ่งไม่จำเป็น และควรลดการใช้จ่ายทั้งหมดให้ไม่เกิน 50% ของรายได้ เพื่อให้มีเงินเหลือเอาไว้สร้างอิสรภาพทางการเงินในขั้นตอนอื่น

    2. มีเงินสำรองฉุกเฉินตลอดเวลา

    เงินที่ได้หลังหักรายจ่ายต่อเดือนและที่เพิ่มได้จากขั้นตอนแรกควรนำเก็บออก ซึ่งเงินออมแรกที่ทุกคนควรมี คือ เงินสำรองฉุกเฉิน เพราะเรื่องฉุกเฉินพร้อมจะเกิดได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงาน สุขภาพ ครอบครัว

    เงินในส่วนนี้ควรมีเท่ากับ 3-6 เท่าของเงินเดือน หรืออย่างน้อยก็ควรเท่ากับค่าใช้จ่าย 3-6 เดือน เพื่อที่หากเกิดเรื่องฉุกเฉินจะได้ไม่ต้องกลายเป็นลูกหนี้

    3. ปิด โปะ หนี้ที่ดอกเบี้ยสูงมาก

    หนี้ในระดับที่เกินจำเป็นเป็นสิ่งที่กีดกันการใช้ชีวิต บั่นทอนกระแสเงินสดในแต่ละเดือนที่สามารถนำไปใช้สร้างอิสรภาพทางการเงิน ดังนั้นต้องพยายามจ่ายหนี้ให้ได้มากที่สุดโดยเฉพาะจากการบริโภคเกินตัว ซึ่งมักมีดอกเบี้ยสูง

    หากมีภาระดอกเบี้ยมากเกินไปควรเจรจากับเจ้าหนี้ซึ่งมีหลายวิธีที่ช่วยลดภาระดอกเบี้ยได้ เช่น ขอให้คิดดอกเบี้ยในอัตราปกติที่ไม่ผิดนัด, ขอขยายเวลาการชำระหนี้, ขอเปลี่ยนประเภทหนี้, ขอพักชำระเงินต้น

    4. มีเงินลงทุนอย่างน้อย 10% ทุกเดือน

    เมื่อมีเงินสำรองฉุกเฉินแล้ว จัดการกับภาระหนี้ไปแล้ว เงินส่วนที่เหลืออย่างน้อย 10% ควรนำไปทำให้งอกเงยซึ่งก็ผ่านการลงทุนนั่นเอง เพราะเงินเฟ้อจะลดอำนาจการใช้จ่ายของเงินที่ออมได้ในแต่ละเดือน

    แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ ควรลงทุนตามความรู้ที่มีและความเสี่ยงที่รับได้ เช่น หุ้นกู้ กองทุนรวม หุ้น และหากมีเวลาก็ควรศึกษาการลงทุนเพิ่มเติมซึ่งจะช่วยให้มีทางเลือกในการสร้างอิสรภาพทางการเงินมากขึ้น

    5. ป้องกันความเสี่ยงด้วยการมีประกันที่เหมาะสม

    เป็นขั้นตอนที่หลายคนอาจมองข้าม แต่บางครั้งอาจมีเหตุการณ์เร่งด่วนที่ต้องใช้เงินจำนวนมากกว่าเงินสำรองฉุกเฉินโดยเฉพาะเรื่องสุขภาพและอุบัติเหตุ ซึ่งค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทยนับว่าสูงมาก

    ดังนั้นควรมีประกันสุขภาพหรืออุบัติเหตุเพื่อป้องกันความเสี่ยง แต่ควรวางแผนการซื้อประกันให้ครอบคลุมการรักษาและต้องเหมาะสมกับค่าเบี้ยประกัน โดยค่าใช้จ่ายส่วนนี้ควรอยู่ที่ 5-10% ของรายได้

    6. ลองหารายได้หลายทาง

    ไม่ว่าจะทำอาชีพใดก็ตามความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ การแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน การมีรายได้หลายทางช่วยลดความเสี่ยงนี้และยังเพิ่มรายได้ในช่วงเวลาปกติอีกด้วย โดยอาจเริ่มจากงานอดิเรก หรือการหาช่องทางรายได้ทางสื่อออนไลน์ แต่หากยังหาช่องทางรายได้เพิ่มไม่ได้ก็อาจกลับมาเริ่มต้นลงทุนด้านความรู้กับตัวเองก่อน ไม่แน่ว่าอาจเป็นจุดเริ่มต้นของอาชีพเสริมก็ได้

    ขั้นตอนเหล่านี้ไม่ยากเลยสำหรับการมีอิสรภาพทางการเงิน แต่สิ่งที่ยาก คือ ความอดทน และที่ยากกว่านั้น คือ จะเริ่มทำขั้นตอนเหล่านี้เมื่อไหร่? เพราะเกือบทุกสิ่งที่อยู่ในโลกการเงินแทบจะมีคำตอบแล้ว แต่จุดเริ่มต้นไม่สามารถหาคำตอบได้จากที่ใด

    และโปรดจำไว้ว่า ยิ่งเราเริ่มลงทุนไวเท่าไหร่ เงินสะสมเราก็จะยิ่งเพิ่มพูนจากดอกเบี้ยทบต้นที่มากขึ้น สร้างโอกาสให้เราได้เข้าใกล้เป้าหมายการเป็นอิสระได้เร็วขึ้น

    ดังนั้นพี่ทุยอยากบอกว่าควรเริ่มนับตั้งแต่วันนี้เพื่อให้มีอิสรภาพทางการเงินไวที่สุด อย่างน้อยเริ่มช้าแต่เริ่มนะก็ยังดีกว่าไม่เริ่มเลย

    ส่วนใครอ่านมาจนถึงตรงนี้แล้วมีไฟที่จะลุกขึ้นมาปฏิวัติการเงินของตัวเอง พี่ทุยก็ขอแนะนำว่าควรศึกษาการวางแผนการเงินที่ถูกต้องก่อน การผลีผลามรีบทำอะไรโดยไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ อาจจะทำเราล้มละลายมากกว่าร่ำรวย

    สุดท้ายนี้พี่ทุยอยากเป็นกำลังใจให้กับทุกคนที่กำลังไล่ตามความฝันนี้อยู่ อิสรภาพทางการเงินในแบบของเราไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร เราอาจไม่จำเป็นต้องกินหรูอยู่แพงในทุกวัน อาจไม่ต้องไปท่องเที่ยวต่างประเทศทุกเดือน ขอเพียงแค่เรารู้จักตนเอง รู้จักความพอดี และมีความรู้ความเข้าใจของการบริหารจัดการสินทรัพย์ให้ดี แล้วทำในสิ่งที่เรารัก เพียงแค่นี้เราก็เจออิสรภาพทางความสุขในแบบของตนเองได้แล้วล่ะ

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้