ม 4 ต่อ สาย อะไร ดี

เรียกว่าเป็นข้อมูลสำคัญของเด็ก มัธยมปลายที่ควรรู้ เอาไว้สำหรับการวางอนาคตเลือกคณะในมหาวิทยาลัยรวมไปถึงข้อมูลประกอบการตัดสินใจของเหล่านักเรียนมัธยมต้นที่จะตัดสินในเลือกเรียนต่อในสายต่างๆ ในระดับมัธยมปลายอีกด้วย สำหรับ ข้อมูลแต่ละสาย แต่ละหลักสูตรในชั้นมัธยมปลาย สามารถไปสอบและเรียนต่อที่คณะไหนได้บ้าง

วันนี้ Sanook Campus เราก็ขอรวบรวม ข้อมูลการเรียนต่อ เรียนสายไหน ต่อคณะอะไรได้บ้าง มาให้เพื่อนๆ ได้สำรวจความชอบและเช็กตัวเองกันว่าเรียนจบแล้วเราจะไปทางไหนต่อดี

เรียนสายไหน ต่อคณะอะไรได้บ้าง

สายวิทย์-คณิต

  • แพทยศาสตร์
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ศิลปศาสตร์
  • ทันตแพทยศาสตร์
  • สัตวแพทยศาสตร์
  • เภสัชศาสตร์
  • เกษตรศาสตร์
  • นิติศาสตร์
  • อักษรศาสตร์
  • เทคนิคการแพทย์
  • วนศาสตร์
  • รัฐศาสตร์
  • วิทยาการจัดการ
  • สหเวชศาสตร์
  • สัตวศาสตร์
  • นิเทศศาสตร์
  • พาณิชยศาสตร์การบัญชี
  • พยาบาลศาสตร์
  • จิตวิทยา
  • ศิลปกรรมศาสตร์
  • เศรษฐศาสตร์
  • สาธารณสุขศาสตร์
  • อุตสาหกรรมเกษตร
  • วารสารศาสตร์
  • บริหารธุรกิจ
  • วิทยาศาสตร์
  • วิศวกรรมศาสตร์
  • มนุษยศาสตร์
  • ครุศาสตร์
  • ศึกษาศาสตร์
  • โลจิสติกส์

สายศิลป์-คำนวณ

  • พาณิชยศาสตร์
  • การบัญชี
  • ศิลปศาสตร์
  • เศรษฐศาสตร์
  • อักษรศาสตร์
  • บริหารธุรกิจ
  • วิทยาการจัดการ
  • นิติศาสตร์
  • โลจิสติกส์
  • รัฐศาสตร์
  • ครุศาสตร์
  • นิเทศศาสตร์
  • ศึกษาศาสตร์
  • ศิลปกรรมศาสตร์
  • จิตวิทยา (เปิดรับสมัครสายการเรียนสายศิลป์-คำนวณในเฉพาะบางมหาวิทยาลัย)
  • วารสารศาสตร์
  • สถาปัตยกรรมศาสตร์ (เปิดรับสมัครสายการเรียนสายศิลป์-คำนวณในเฉพาะบางมหาวิทยาลัย)
  • มนุษยศาสตร์ แพทยศาสตร์ (รอบ กสพท.)

สายศิลป์-ภาษา

  • มนุษยศาสตร์
  • เศรษฐศาสตร์
  • ศิลปศาสตร์
  • บริหารธุรกิจ
  • อักษรศาสตร์
  • นิติศาสตร์
  • นิเทศศาสตร์
  • รัฐศาสตร์
  • ศิลปกรรมศาสตร์
  • ครุศาสตร์
  • วารสารศาสตร์
  • ศึกษาศาสตร์
  • วิทยาการจัดการ
  • จิตวิทยา (เปิดรับสมัครสายการเรียนสายศิลป์-ภาษาในเฉพาะบางมหาวิทยาลัย)
  • โลจิสติกส์
  • สถาปัตยกรรมศาสตร์ (เปิดรับสมัครสายการเรียนสายศิลป์-ภาษาในเฉพาะบางมหาวิทยาลัย)
  • พาณิชยศาสตร์การบัญชี
  • แพทยศาสตร์ (รอบ กสพท.)

หมายเหตุ ในสำหรับบางโรงเรียนอาจมีสายการเรียนที่แตกต่างกันไป ควรดูหน่วยกิตของสายการเรียนเพื่อมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์การรับสมัครของมหาวิทยาลัย ก่อนที่จะยื่นสมัคร

โหลดเพิ่ม

แชร์เรื่องนี้

แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คัดลอกลิงก์

เรียนสายไหน ต่อคณะอะไรได้บ้างหลักสูตรการเรียนสายการเรียนเรียนต่อมหาวิทยาลัยคณะสายวิทย์-คณิตสายศิลป์-คำนวณสายศิลป์-ภาษาeducationเรียนต่อในประเทศEDUCATION

Natchaphon B. ผู้เขียน

มนุษย์ติดโซเชียล พร้อมพาส่องหนุ่มหล่อสาวสวยมากความสามารถ ชอบอัปเดตเทรนด์ของโลก มีอะไรปังๆ ดังๆ ก็ไม่พลาดเอามาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

เมื่อใกล้จบม. 3 นักเรียนหลายคนอาจเริ่มกังวลใจ และยังไม่รู้ตัวเองว่าจะเข้า สายการเรียน ไหนดี การเลือกสายการเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเรียนอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นการเลือกสายเพื่อให้เข้าคณะที่ตัวเองต้องการแล้ว ยังเป็นการเลือกแผนการเรียนที่ตนเองสนใจ และได้เรียนในวิชาที่เกี่ยวข้องอีกด้วย หากนักเรียนไม่ชอบในรายวิชา หรือสายการเรียนนั้น ก็อาจทำให้การเรียน ไม่มีความสุขก็ได้ สำหรับนักเรียนคนไหนที่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกสายการเรียนไหนดี วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลของสายการเรียนแต่ละสายมาแล้วค่ะ เผื่อเป็นแนวทางให้ทุกคนได้เลือกได้สายที่ตัวเองต้องการ

 

เลือก สายการเรียน อย่างไรดี?

แน่นอนว่า เมื่อนักเรียนใกล้เรียนจบชั้น ม. 3 หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าเราควรเลือกเรียนสายอะไร และควรเลือกสายการเรียนไหน ที่จะช่วยให้เราได้เรียนในคณะที่ชอบในอนาคตได้ สำหรับเทคนิคการเลือกสายการเรียนต่อนั้น มีดังนี้

  • เลือกตามความชอบของวิชาเรียน : หากนักเรียนชอบเรียน หรือถนัดวิชาใดวิชาหนึ่ง ก็สามารถนำมาพิจารณาประกอบการเลือกสายการเรียนต่อได้ เพราะการที่เรามีความถนัดในวิชาที่ตนเองชอบ หรือสนใจ ก็ช่วยให้การเรียนม. ปลายของเรานั้นถนัดมากขึ้นก็ได้ ตัวอย่างเช่น หากนักเรียนไม่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ แต่ชอบเรียนภาษาไทย หรือสังคมศึกษามากกว่า ก็มีแนวโน้มที่ควรจะเลือกในสายไทย-สังคม หรือศิลป์-ภาษา เป็นต้น
  • เลือกจากความถนัดของตนเอง : อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำไมเราจึงต้องพิจารณาจากความถนัดของตนเอง เพราะการเรียนในชั้นม. ปลายนั้น นักเรียนจะได้เรียนวิชาหลักของแต่ละสาย มากกว่าวิชาพื้นฐานแบบตอนม. ต้น หากนักเรียนมีความถนัดด้านการคำนวณ ก็สามารถเลือกเรียนสายวิทย์-คณิต หรือศิลป์-คำนวณได้ หรือหากนักเรียนมีความถนัด และสนใจในเรื่องของภาษา ก็ควรที่จะเลือกเรียนสายศิลป์-ภาษานั่นเอง
  • เลือกจากอาชีพที่เราอยากเป็น : เทคนิคสำคัญที่จะช่วยให้เราเลือกสายการเรียนให้ง่ายขึ้น คือการดูอาชีพที่เราอยากเป็น สมมติว่านักเรียนอยากเป็นแพทย์ ก็ควรเลือกสายการเรียนวิทย์-คณิต หรือหากนักเรียนอยากเป็นล่าม ก็ควรเลือกสายศิลป์-ภาษา หรือศิลป์-คำนวณ ซึ่งจะช่วยให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
  • เลือกจากคณะที่เราเข้าเรียนในอนาคต : การพิจารณาตามคณะที่เราอยากเรียนในอนาคต ก็สามารถช่วยให้นักเรียนเลือกสายการเรียนได้ง่ายขึ้นเช่นกัน เพราะแต่ละคณะ หรือสาขาของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้น ได้กำหนดสายการเรียนที่นักเรียนต้องเรียนมานั่นเอง ดังนั้น วิธีนี้จึงสามารถช่วยให้นักเรียนได้เลือกสายการเรียน ที่ตนเองอยากเรียนได้ง่ายขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : อยากเป็นหมอ หรือ เรียนต่อสายแพทย์ ต้องเตรียมตัวอย่างไร

 

 

สายการเรียนทั้งหมด ของชั้นม. ปลาย มีอะไรบ้าง

สายการเรียนหลัก ๆ ในชั้นมัธยมศึกษาของประเทศไทย เริ่มต้นด้วย 4 สายการเรียนหลัก โดยจะมีสายวิทย์-คณิต สายศิลป์-คำนวณ สายศิลป์-ภาษา และสายไทย-สังคม หรือศิลป์อื่น ๆ ด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลักสูตรของแต่ละโรงเรียนว่ามีแผนการเรียนการสอนอย่างไร โดยข้อมูลของแต่ละสายการเรียนนั้น สามารถแบ่งได้ดังนี้

1. สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (วิทย์-คณิต)

เรียกได้ว่าเป็นสายการเรียนยอดฮิต สำหรับนักเรียนไทยเลยก็ว่าได้ เพราะนอกจากจะขึ้นชื่อเรื่องความโหดแล้ว ยังเป็นสายที่นักเรียนได้มีทางเลือกในการสอบเข้าระดับอุดมศึกษามากเป็นพิเศษ โดยในสายการเรียนนี้ นักเรียนจะได้เรียนวิชาคณิตหลัก และคณิตเสริม หรือคณิตเพิ่มเติมนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีวิชาวิทย์พื้นฐาน ที่แบ่งออกเป็นวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา รวมทั้งบางโรงเรียนยังมีฟิสิกส์เพิ่ม เคมีเพิ่ม ชีววิทยาเพิ่มเติมอีกด้วย เรียกได้ว่าเรียนกันให้จุใจเลยทีเดียว

สำหรับนักเรียนที่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์นั้น เหมาะอย่างยิ่งที่จะเข้าเรียนในสายนี้ เพราะหากชื่นชอบเป็นทุนเดิมนั้น ก็จะส่งผลให้เราสามารถเรียนสายการเรียนนี้ได้ โดยไม่ต้องกังวล นอกจากนี้นักเรียนจะได้เรียนวิชาพื้นฐานเหมือนกับนักเรียนสายอื่น ๆ เว้นแต่ว่าจะเลือกเรียนให้ห้องสายการเรียนพิเศษ เช่น ห้องเรียน Gifted หรือ English Program (EP) เป็นต้น โดยการเรียนในสายการเรียนวิทย์-คณิต นักเรียนจะได้ฝึกเน้นการคำนวณ การตีความ การอธิบายเหตุผล ตลอดจนการสื่อสารความหมายนั่นเอง นอกเหนือจากการเรียนในรายวิชา สำหรับการเรียนสายวิทย์-คณิต นักเรียนจะมีโอกาสได้สอบเข้าได้คณะดังต่อไปนี้

  • กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ
    • แพทยศาสตร์-พยาบาลศาสตร์
    • เภสัชศาสตร์-ทันตแพทย์ศาสตร์
    • สัตวแพทยศาสตร์-กายภาพบำบัด
    • เทคนิคการแพทย์-สาธารณสุขศาสตร์
  • กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ
  • กลุ่มวิศวกรรมศาสตร์
  • กลุ่มเกษตรศาสตร์
  • กลุ่มบริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
  • กลุ่มสถาปัตยกรรมศาสตร์ 
  • กลุ่มครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ 
  • กลุ่มศิลปกรรมศาสตร์ 
  • กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 

2. สายภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ (ศิลป์-คำนวณ)

สายศิลป์-คำนวณ เหมาะสำหรับเด็กที่มีใจรักการคำนวณ และภาษาอังกฤษ แต่ไม่ชอบวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งแน่นอนว่าการเรียนในสายการเรียนนี้ นักเรียนจะได้เรียนวิชาคณิตศาสตร์อย่างอัดแน่น โดยจะได้เรียนแบบเดียวกับนักเรียนสายวิทย์-คณิต รวมทั้งนักเรียนจะได้เรียนวิชาภาษาอังกฤษที่จัดเต็มอีกเช่นกัน โดยจะได้เรียนทั้งการอ่าน การพูด การฟัง และการเขียนนั่นเอง

นอกจากวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน และอังกฤษพื้นฐานแล้ว นักเรียนจะได้เรียนคณิตเสริม หรือคณิตเพิ่ม และภาษาอังกฤษในด้านทักษะต่าง ๆ ด้วย สายศิลป์-คำนวณ จะช่วยพัฒนาให้นักเรียนได้มีทักษะการคำนวณที่ดี และยังมีทักษะด้านภาษา การคิดวิเคราะห์ และการจดจำรายละเอียดได้ด้วย สำหรับการเรียนสายศิลป์-คำนวณ นักเรียนจะมีโอกาสได้สอบเข้าได้คณะดังต่อไปนี้

  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  • คณะบริหารธุรกิจ
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • คณะวิทยาการจัดการ
  • คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม
  • คณะศึกษาศาสตร์
  • คณะครุศาสตร์
  • คณะอักษรศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์-โบราณคดี
  • คณะนิเทศศาสตร์
  • คณะศิลปกรรม
  • คณะวิจิตรศิลป์
  • คณะมัณฑนศิลป์
  • คณะจิตรกรรม
  • คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะรัฐศาสตร์ 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ศิลป์คำนวณเรียนอะไรบ้าง ไขข้อสงสัย เด็กสายศิลป์คำนวณเรียนอะไร?

 

 

3. สายภาษาอังกฤษ-ภาษา (ศิลป์-ภาษา)

อีกหนึ่งสายการเรียนที่ได้รับความนิยมไม่แพ้สายวิทย์-คณิต คือ สายศิลป์-ภาษา การเรียนในสายการเรียนนี้ นักเรียนเรียนจะได้เรียนภาษาที่สาม และภาษาอังกฤษแบบจัดเต็ม โดยส่วนใหญ่แล้ว โรงเรียนในประเทศไทย จะนิยมเปิดในสายภาษาจีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน และเกาหลี เป็นต้น ซึ่งนักเรียนจะได้มีโอกาสเลือก หรือสอบเข้าในแต่ละสายภาษานั้น ๆ หากนักเรียนต้องการหลีกเลี่ยงการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ สายศิลป์-ภาษาจึงเหมาะที่กับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงวิชาเหล่านั้นอย่างยิ่ง

นอกจากการเรียนภาษาที่สามแล้ว นักเรียนจะได้เรียนรู้พื้นฐานของภาษานั้น ๆ เพื่อให้สามารถสื่อสารได้ อ่านออก หรือเขียนได้ ทั้งนี้การเรียนในสายศิลป์-ภาษาไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะเป็นการเรียนภาษาต่างประเทศ ดังนั้นเด็ก ๆ จะได้เรียนภาษาที่ไม่ใช่แค่ภาษาอังกฤษอย่างเดียวนั่นเอง การเรียนในสายการเรียนนี้ยังช่วยฝึกให้นักเรียน เกิดความรู้ และความเข้าใจในภาษา และฝึกจดจำรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อใช้เหตุผลในการวิเคราะห์อีกด้วย โดยสำหรับการเรียนในสายศิลป์-ภาษานั้น นักเรียนจะสามารถเลือกสอบเข้าคณะได้ดังต่อไปนี้

  • คณะครุศาสตร์
  • คณะอักษรศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์-โบราณคดี
  • คณะนิเทศศาสตร์
  • คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการโรงแรม
  • คณะศึกษาศาสตร์
  • คณะศิลปกรรม
  • คณะวิจิตรศิลป์
  • คณะมัณฑนศิลป์
  • คณะจิตรกรรม
  • คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะรัฐศาสตร์ 

4. สายภาษาไทย-สังคม (ไทย-สังคม) และศิลป์อื่น ๆ

สำหรับการเรียนสายไทย-สังคมนั้น นักเรียนจะได้เรียนวิชาภาษาไทย และสังคมศึกษาอย่างอัดแน่น โดยจะเรียนตั้งแต่เรื่องสังคมศึกษา ศาสนา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วรรณคดี กฎหมาย และการเมือง เป็นต้น นักเรียนที่สนใจในการศึกษาต่อคณะนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ หรือสังคมสังเคราะห์นั้น ก็สามารถเลือกเรียนสายการเรียนนี้ได้เช่นกัน

นอกจากสายไทย-สังคมแล้ว ยังมีอีกหลายโรงเรียนที่ได้เปิดสายศิลป์อื่น ๆ ด้วย เช่น ศิลป์-อุตสาหกรรม ศิลป์-พลศึกษา ศิลป์-ออกแบบ และศิลป์-ธุรกิจ เป็นต้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับหลักสูตร และวิชาเรียนแขนงต่าง ๆ ที่โรงเรียนได้เปิดสอนนั่นเอง โดยสำหรับการเรียนในสายไทย-สังคมนั้น นักเรียนจะสามารถเลือกสอบเข้าคณะได้ดังต่อไปนี้

  • คณะอักษรศาสตร์
  • คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์
  • คณะโบราณคดี
  • คณะนิเทศศาสตร์
  • คณะวารสารศาสตร์
  • คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะรัฐศาสตร์
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • คณะวิจิตรศิลป์
  • คณะมัณฑนศิลป์
  • คณะจิตรกรรม
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  • คณะบริหารธุรกิจ
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • คณะวิทยาการจัดการ
  • คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการโรงแรม

 

 

5. สายการเรียนแบบใหม่

แน่นอนว่า เมื่อรูปแบบการเรียนการสอนสมัยใหม่เปลี่ยนไป นักเรียนไม่ได้ถูกจำกัดเพียงแค่เรียนในสายวิทย์-คณิต หรือศิลป์ต่าง ๆ เท่านั้น ปัจจุบันมีโรงเรียนหลายแห่ง ได้เปิดสายการเรียนการสอนแบบใหม่ ซึ่งจะเน้นให้นักเรียนได้เรียนตามความถนัดเฉพาะทาง ซึ่งจะเป็นเน้นตรงต่อสายวิชาที่จะเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยนั่นเอง โดยนักเรียนสามารถเลือกสายการเรียนที่ตรงต่อความต้องการได้มากกว่าเดิม

อย่างไรก็ตามสายการเรียนแบบใหม่ในประเทศไทยนั้น ยังเปิดเพียงแค่ไม่กี่โรงเรียน นักเรียนจึงควรศึกษาข้อมูล และหลักสูตรของแต่ละโรงเรียน ว่ามีแผนการเรียนแบบใหม่ด้วยหรือไม่ โดยส่วนหนึ่งของสายการเรียนแบบใหม่นั้น มีดังนี้

  • IP EP IEP GP วิทย์-เทคโนโลยี
  • เตรียมแพทย์-เภสัชฯ
  • เตรียมวิศวะ-สถาปัตย์
  • เตรียมนิเทศ-มนุษย์
  • เตรียมศิลปกรรม
  • เตรียมบริหารธุรกิจ-บัญชี
  • เตรียมวิทย์-คอม
  • เตรียมนิติ-รัฐศาสตร์
  • ฯลฯ

 

สายการเรียนทั้งหมด ที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้น เป็นเพียงสายการเรียนส่วนใหญ่ และสายการเรียนหลักที่โรงเรียนในประเทศไทยนั้นจัดการเรียนการสอน อย่างไรก็ตาม สำหรับการเลือกสายการเรียน ของการเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายนั้น นักเรียนควรจะหาข้อมูลของแต่ละสายเพิ่มเติม หรืออ่านหลักสูตร และรายวิชาของโรงเรียนที่ตนเองจะเรียนต่อด้วย เพื่อให้ตนเองได้ค้นหาว่าถนัดกับสายการเรียนไหนมากที่สุด และควรเลือกที่ตนเองชอบ และสนใจในสายนั้น ๆ เพื่อให้การเรียนของเราสอดคล้องกับความรู้ความสามารถ ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกคณะ สาขา และมหาวิทยาลัยในอนาคตอีกด้วย

 

บทความจากพันธมิตร

การศึกษา

รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!

การศึกษา

เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School

การศึกษา

มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ

การศึกษา

BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ดรอปเรียนดีไหม ไปต่อหรือพอแค่นี้ ?

ม.ปลายควรรู้! ประวัติส่วนตัวมีอะไรบ้าง ทำอย่างไรให้ Portfolio น่าสนใจ

โครงการเด็กดีมีที่เรียน ของ มศว. ต้องทำ portfolio แบบไหน ควรใส่อะไรในพอร์ตบ้าง

ที่มาข้อมูล : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้