การ บริหาร ลูกน้อง ที่ ดี

อยากให้ลูกน้องทำงานอย่างเต็มความสามารถ สู้งานหนักแบบไม่ย่อท้อ ทำตามคำสั่งของเราแบบ 100% โดยไม่โต้แย้ง

ไม่ดื้อเงียบหรือรับคำสั่งแล้วไม่ทำ อยากให้ลูกน้องเข้ามาปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากเราทันทีที่เกิดปัญหา ฯลฯ

เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่หัวหน้างาน ผู้จัดการ และผู้นำหลายคน ‘อยาก’ ให้คนอื่นทำในสิ่งที่เราต้องการ

แม้จะดูยากเย็นขนาดไหน แต่หัวหน้างาน ผู้นำทีมทุกคนสามารถเพิ่มโอกาสในการได้ในสิ่งที่ต้องการทั้งหมดนั้น ขอแค่มีวิธีคิด และวิธีการที่ไม่ได้เริ่มต้นจากการโฟกัสที่ความต้องการของตัวเอง!

====

        ดูเป็นเรื่องที่เหมือนจะย้อนแย้งกันเอง เพราะเราทุกคนมีสิ่งที่ปรารถนาให้คนอื่นทำตาม หรือ ทำในสิ่งที่เราอยากได้ แต่เรากลับต้องเริ่มต้นจากการละวางความต้องการส่วนตัวเหล่านั้นลงก่อน

จากประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรมากมายมานานหลายปี ผมและบรรดาผู้นำ ผู้จัดการ และหัวหน้างานหลายร้อยชีวิตได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเองว่านี่คือวิธีการหลักวิธีเดียวในการที่จะเพิ่มโอกาสให้ลูกน้องของเราร่วมมือกับเราอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนครับ

====

    เพราะอะไรการละวาง ‘ความต้องการ’ ของตัวเองจึงเวิร์ค

        ลองคิดถึงใครสักคนที่มีอำนาจเหนือคุณดูสิครับ จะเป็นหัวหน้า ผู้บริหาร เจ้าของกิจการ หรือ  ลูกค้ารายใหญ่ที่มีอำนาจต่อรอง ฯลฯ คน ๆ นั้นเข้ามาพูด บอก หรือ สั่งให้คุณทำบางสิ่งที่คุณไม่ได้รู้สึกอยากทำ เขาใช้อำนาจจากตำแหน่ง จากบทบาทที่เหนือกว่าในการบีบบังคับให้คุณทำตาม ซึ่งคุณก็อาจจะต้องยอมเขาในที่สุด

        แต่เกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น ในใจของคุณจะรู้สึกแย่กับคน ๆ นั้นมากขึ้นหลายร้อยเท่าใช่ไหม คุณคงหงุดหงิด โมโห ไม่พอใจเขา ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟัง ไม่อยากติดต่อ ไม่อยากร่วมงานกับเขา และถ้าเขาเป็นลูกค้าคุณก็อาจจะไม่อยากทำธุรกิจกับเขาอีกต่อไปเลยก็ได้

        สถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่คนๆ นั้น ‘ได้’ ในสิ่งที่เขาต้องการ ณ ขณะนั้นก็คือ ทุกฝ่ายต้อง ‘สูญเสีย’ สิ่งที่สำคัญมากกว่าอย่าง ความสัมพันธ์ ความไว้วางใจ ความเคารพ ความเชื่อมั่น  ความรู้สึกที่อยากร่วมงานด้วย และความรู้สึกดีดีอีกมากมายไปตลอดกาล

====

     แล้วเราควรทำอย่างไร

        ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่ไม่อยากได้แค่สิ่งที่ต้องการชั่วคราวแล้วสูญเสียหลายสิ่งที่ยิ่งใหญ่ไปตลอดกาลแบบนั้น คุณต้องเริ่มต้นจากการปลูกฝัง Mindset ให้ถูกเสียก่อน

        ในการทำงานร่วมกันนั้น มีทัศนคติ หรือ Mindset ชุดหนึ่งที่ได้รับการค้นคว้าจากทีมนักวิจัยเรื่องการทำงานในโลกยุคใหม่ซึ่งพัฒนามาเป็นทัศนคติแห่งการร่วมมือร่วมใจที่โด่งดังระดับโลก

ทัศนคติชุดนั้นเรียกว่า Outward Mindset หรือ ทัศนคติแห่งการมองโลกด้วยเลนส์ที่คำนึงถึงคนอื่นก่อน

        ในอดีตที่ผ่านมาเราอาจมีทัศนคติหรือเลนส์ในการมองโลกแบบ Inward Mindset หรือ การคิดถึงแต่ความต้องการของตัวเองเท่านั้น และนั่นก็ทำให้เราไม่สามารถโน้มน้าว จูงใจ หรือทำให้ใครร่วมมือกับเราได้อย่างแท้จริง แม้ว่าเราจะมีอำนาจ มีตำแหน่งที่ยิ่งใหญ่แค่ไหนก็ตาม

        ขณะที่ Outward Mindset เปรียบเหมือนเลนส์หรือแว่นอันใหม่ที่จะช่วยให้คุณมองโลก และมองคนอื่นแบบกลับด้าน นั่นคือการคำนึงถึงความต้องการของคนอื่นก่อน คำนึงถึงความต้องการของลูกน้อง เป้าหมาย ความกังวล และปัจจัยแวดล้อมของพวกเขา รวมถึงเป้าหมายขององค์กรด้วย

====

        Outward Mindset in Action การนำทัศนคติแห่งการมองออกนอกตัวมาปรับใช้ในการทำงานจริงสำหรับหัวหน้างาน ผู้จัดการ และผู้นำองค์กร

  1. ให้ความสำคัญกับเป้าหมายของคนทำงานเท่า ๆ กับเป้าหมายขององค์กร

องค์กรทุกองค์กรมีเป้าหมายที่ต้องบรรลุ นี่คือสิ่งที่ผู้บริหารและหัวหน้างานอย่างเรารับรู้กันดี แต่สิ่งที่หัวหน้าทีมอาจจะคำนึงถึงน้อยไปสักนิดก็คือ ลูกน้อง คนในทีม และเพื่อนร่วมงานของเราทุกคนต่างก็มี ‘ความต้องการ’ และ ‘เป้าหมาย’ ส่วนตัวด้วยเช่นกัน

ถ้าคุณใช้อำนาจบีบบังคับให้ลูกน้องทำทุกอย่างเพื่อทีมและบริษัท โดยไม่คำนึงถึงเป้าหมายและความต้องการของพวกเขาก็ไม่ต่างอะไรกับการเข็นรถคันใหญ่ขึ้นภูเขาที่ลาดชัน การทำงานระหว่างคุณกับลูกน้องจะเต็มไปด้วยความเหน็ดเหนื่อย และสูญเสียแรงมากกว่าปกติเพราะมีแรงต้านลึก ๆ ที่เกิดจากลูกน้องนั่นเอง

แต่ถ้าคุณให้เวลาในการสนทนาพูดคุยเพื่อรับรู้ความต้องการและเป้าหมายลึก ๆ ของลูกน้องแต่ละคน และพยายามเชื่อมโยงเป้าหมายของแต่ละคนเข้ากับเป้าหมายของทีม และเป้าหมายของบริษัท ฉายภาพให้ทุกคนเห็นว่าทุกสิ่งที่เขาทำกำลังตอบสนองเป้าหมายส่วนตัวและเป้าหมายของบริษัทไปพร้อม ๆ กัน พวกเขาจะร่วมมือกับคุณมากขึ้น และรถคันนี้ก็จะมีแรงส่งในการพุ่งทะยานขึ้นสู่ทางชันที่มากขึ้นนั่นเอง

====

2. ทีมของเราทุกคนมีความสามารถและมีศักยภาพที่พัฒนาได้

บางทีการที่ใครสักคนไม่ยอมร่วมมือและไม่อยากร่วมงานกับคุณอาจจะเป็นเพราะว่าเขารับรู้ได้ว่าในใจลึก ๆ ของคุณไม่ได้มองว่าเขามีคุณค่า คุณอาจมีอคติที่สื่อแสดงออกมาว่าเขาเป็นคนไม่เก่ง ไม่ฉลาด ไม่ได้เรื่องอยู่ก็ได้

ลองถามตัวเองอย่างตรงไปตรงมาว่าคุณมองเห็นคุณค่าของคนในทีมแต่ละคนจริง ๆ หรือเปล่า ลองระบุสิ่งที่ดี จุดแข็ง ทั้งในด้านทักษะการทำงานและอุปนิสัยของลูกน้องแต่ละคนออกมาให้ชัดเจน จากนั้นสื่อสารให้พวกเขารู้ว่าคุณมองเห็นคุณค่าและศักยภาพของพวกเขาด้วย

สุดท้ายลองพูดคุยกับพวกเขาว่ามีทักษะไหนที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตในหน้าที่การงานของลูกน้องแต่ละคนบ้าง จากนั้นลองปรึกษากับเขาว่าถ้าสามารถพัฒนาทักษะนั้น ๆ ให้ดียิ่งขึ้นมันจะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตการทำงานของพวกเขาอย่างไร แล้วจึงหาวิธีช่วยพัฒนาทักษะนั้นให้แก่พวกเขา

====

 3. สร้างวัฒนธรรมการทำงานในองค์กรแบบมีส่วนร่วม

สุดท้ายในฐานะหัวหน้างานหรือผู้นำทีม คุณสามารถเป็นผู้นำในการสร้างวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมในการทำงานขึ้นได้ โดยสร้างพื้นที่ในการพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงแบบไม่ใข่การโฟกัสหาคนผิดหรือทำโทษใคร แต่เป็นการเชิญชวนให้ทุกคนคิดหาวิธีแก้ไขและป้องกันปัญหานั้น

คุณควรเริ่มต้นที่ตัวเอง โดยระบุวิธีการรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้น แม้ว่ามันอาจจะไม่ใช่สิ่งที่คุณก่อขึ้นมาโดยตรงก็ตาม แต่ในฐานะส่วนหนึ่งของทีม คุณต้องแสดงให้ทุกคนเห็นว่าคุณก็มีส่วนรับผิดชอบต่อปัญหานั้นด้วย จากนั้นค่อยขอคำแนะนำหรือขอไอเดียจากคนอื่น ๆ ในทีม แล้วสรุปวิธีการแก้ไขปัญหานั้นออกมาเป็นรูปธรรม และมอบหมายให้ทุกคนมีส่วนในการปฏิบัติอย่างเหมาะสมและเท่าเทียม ไม่ใช่ให้เป็นภาระของคนที่เสนอไอเดียขึ้นมา เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นอาจจะไม่มีใครอยากนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ อีกต่อไปในอนาคตก็ได้

        ทั้งหมดนี้คือแนวทางการนำ Outward Mindset หรือ ทัศนคติแห่งการคำนึงถึงความต้องการของผู้อื่นและสร้างการมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้ในการทำงานเป็นทีม คุณจะเห็นว่าวิธีการทั้งหมดแตกต่างจากที่คุณคุ้นชิน ไม่ว่าสิ่งที่คุณเคยทำหรือเคยมีใครทำกับคุณมาตลอดทั้งชีวิตอย่างสิ้นเชิง

เมื่อปรับ Mindset ของตัวเองและลูกทีมได้แล้ว คุณน่าจะต้องการวิธีพัฒนาความสัมพันธ์ภายในทีมให้แข็งแกร่ง อ่าน 6 วิธีสร้างความสัมพันธ์ในทีมให้แข็งแกร่ง คลิกที่นี่

        แม้ว่าวิธีเหล่านี้อาจจะไม่ได้ทำให้เกิดผลที่คุณต้องการในทันที แต่มันคือจุดเริ่มต้นและหนทางไปต่อในการสร้างความร่วมมือร่วมใจที่ออกมาจากใจจริงของบรรดาลูกทีมของคุณอย่างแน่นอน

====

การสร้างความร่วมมือร่วมใจในการทำงานเป็นทีมมี  Mindset และทักษะมากมายที่คุณจำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝน ขอแนะนำหลักสูตร High Impact Coaching and Feedback  คลิกอ่านรายละเอียดที่นี่

บทความโดย

อ.อรรณพ นิยมเดชา

วิทยากร และนักจิตวิทยาองค์กรผู้ใช้แนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อปลุกศักยภาพคนทำงานให้มีเป้าหมายที่ชัดเจนและสร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้