กรมสรรพากร ถ ายอดขายต ำกว าท ปนะมาณการ ภงด.51 ม ผลอย างไร

A1 : แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 กำหนดให้นิติบุคคลที่รอบระยะเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือนมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ

Q2 : ใครมีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 A2 : ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ได้แก่ 1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ 2. บริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เสียภาษีจากกำไรสุทธิ(ขาดทุนสุทธิ) จริงในครึ่งปีแรก

Q3 : กำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 สำหรับรอบระยะเวลาสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม2561 เมื่อใด A3 : หากยื่นแบบฯ (ฉบับกระดาษ) ผ่านทางสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สามารถยื่นแบบได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2561 หากยื่นแบบฯ ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต สามารถยื่นแบบฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 ถึงวันที่ 10 กันยายน 2561

Q4 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ต้องแนบเอกสารหรือไม่ A4 : ไม่ต้องแนบเอกสาร เว้นแต่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 128) ซึ่งเสียภาษีจากกำไรสุทธิจริง จะต้องแนบงบแสดงสถานะทางการเงินและหนังสือของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี

Q5 : สามารถยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ต่างท้องที่ได้หรือไม่ A5 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 51 สามารถยื่นแบบฯ ได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่เป็นที่ตั้งของนิติบุคคลนั้น หรือยื่นแบบฯ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่ www.rd.go.th

Q6 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 หากมีภาษีที่ต้องชำระเพิ่มสามารถผ่อนชำระได้หรือไม่ A6 : ไม่ได้ ต้องชำระทั้งจำนวนในคราวเดียว

Q7 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 หากมีภาษีที่ชำระไว้เกินสามารถขอคืนได้หรือไม่ A7 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 มีภาษีที่ชำระไว้เกินหรือได้ชำระภาษีไว้ ให้ขอคืนหรือให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระปลายปี

Q8 : บริษัทมีกำไร (ขาดทุน) สุทธิทางบัญชี และทางภาษีอากรไม่เท่ากัน ในการประมาณการกำไรสุทธิ ตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ต้องใช้กำไร (ขาดทุน) สุทธิจากยอดใด A8 : การประมาณการกำไรสุทธิตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ต้องใช้กำไร (ขาดทุน) สุทธิทางภาษีอากร

Q9 : บริษัทจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 โดยรอบระยะเวลาบัญชีแรกไม่ถึง 12 เดือน ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 หรือไม่ A9 : ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 เนื่องจากรอบระยะเวลาบัญชีน้อยกว่า 12 เดือน

Q10 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ต้องแนบหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่ายด้วยหรือไม่ A10 : ไม่ต้องแนบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

Q11 : แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ต้องใส่ชื่อผู้สอบบัญชีหรือไม่ A11 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 แยกเป็น 2 กรณี ดังนี้คือ 1. ใส่ชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี กรณียื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 โดยคำนวณและชำระภาษีจากกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี 2. ไม่ต้องใส่ชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี กรณียื่นแบแสดงรายการ บ ภ.ง.ด.51 โดยคำนวณและชำระภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการ

Q12 : การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 หากประมาณการกำไรสุทธิไว้ต่ำไป มีความผิดหรือไม่ A12 : หากการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ

Q13 : บริษัทยื่นประมาณการกำไรสุทธิตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 บริษัทจะยื่นแบบฯ เพิ่มเติมต้องเสียเงินเพิ่มอย่างไร A13 : ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของเงินภาษีที่ชำระขาด หากบริษัทได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ โดยไม่ได้รับ คำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวน โดยตรงเป็นหนังสือ ให้ลดเงินเพิ่มได้ แต่ต้องเสียในอัตราและตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (ก) ถ้าชำระภายใน 2 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.10 ของเงินภาษี ที่ต้องชำระ (ข) ถ้าชำระภายหลัง 2 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้น กำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.50 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ

Q14 : บริษัทยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 โดยประมาณกำไรสุทธิไว้สูงไป บริษัทต้องรับผิดเงินเพิ่มหรือไม่ A14 : ไม่ต้องรับผิดเงินเพิ่ม

Q15 : มูลนิธิหรือสมาคม ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 หรือไม่ A15 : มูลนิธิหรือสมาคม ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 เนื่องจากมูลนิธิ/สมาคมเสียภาษีเงินได้จากยอดรายรับ จึงไม่ต้องประมาณการกำไรหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้

Q16 : กิจการร่วมค้า ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 หรือไม่ A16 : กิจการร่วมค้าถือเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ด้วย

Q17 : ขอทราบวิธีการคำนวณประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 A17 : ให้นำกำไรสุทธิจริง ลบด้วยประมาณการกำไรสุทธิได้เท่าไร นำผลลัพธ์คูณด้วย 100 หารด้วยกำไรสุทธิจริง มีดังนี้ ตัวอย่าง บริษัทประมาณการกำไรสุทธิไว้ 70,000 บาท ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้จำนวน 5,000 บาท แต่กำไรสุทธิที่บริษัทยื่นรายการตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 และชำระภาษีเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี 100,000 บาท ประมาณการกำไรสุทธิของบริษัทขาดเกินกว่าร้อยละ 25 หรือไม่ วิธีการคำนวณ กำไรสุทธิจริง 100,000 – ประมาณการกำไรสุทธิ 70,000 = ประมาณการขาด 30,000 กำไรสุทธิ 100 ประมาณการกำไรสุทธิขาดไป = 30,000*100/100,000 \= 30 ดังนั้น ถือว่าประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25

Q18 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 เกินกำหนด ต้องรับผิดอย่างไรบ้าง A18 : กรณียื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 เกินกำหนดเวลาต้องรับผิด 1. ค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภายในเวลาที่กำหนด 2. กรณีมีภาษีต้องชำระ ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ ทั้งนี้หากเป็นกรณีที่ผู้เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบโดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบเป็นหนังสือ ให้ลดเงินเพิ่ม ให้เสียอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษี ที่ต้องชำระ แต่ไม่เกินเงินเพิ่มตามที่กฎหมายกำหนด

Q19 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 กรณีใด ถือว่าเข้าเหตุอันสมควรตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.152/2558ฯ A19 : (1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว (2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำหรือจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ไม่น้อยกว่ากำไรสุทธิ ที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว แต่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปี ไว้น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว เนื่องจากได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษี

Q20 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 โดยกรอกรายการจำนวนเงินผิดทุกรายการ เนื่องจากนำข้อมูลของบริษัทอื่นมากรอก และไม่มีภาษีต้องชำระ จะต้องปรับปรุงรายการอย่างไร A20 : ให้ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 เพิ่มเติม โดยกรอกรายการต่าง ๆ ด้วยตัวเลขที่ถูกต้องและครบถ้วน ทุกรายการ

Q21 : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ผ่านอินเทอร์เน็ต หากมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติม จะชำระผ่านธนาคาร จะชำระผ่านช่องทางใดได้บ้าง A21 : หากได้ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ผ่านอินเทอร์เน็ต และมีภาษีต้องชำระเพิ่ม สามารถเลือกช่องทางธนาคาร สามารถเลือกช่องทางการชำระภาษี เช่น e-payment, Internet Banking และ เคาน์เตอร์ธนาคาร เป็นต้น

Q22 : หากยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ผ่านอินเทอร์เน็ต แล้ว แต่มิได้ชำระภาษีภายในวันที่ 10 กันยายน 2561 ต้องทำอย่างไร A22 : การยื่นแบบฯ หากมีภาษีต้องชำระ แต่มิได้ชำระภายในกำหนดเวลาถือว่าแบบแสดงรายการไม่สมบูรณ์ ดังนั้น จึงต้องทำการยื่นแบบฯ ใหม่ผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นสาขา พร้อมต้องชำระค่าปรับและเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20

Q23 : หากยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ผ่านอินเทอร์เน็ต คำนวณแล้วมีภาษีต้องชำระเพิ่มจำนวน 57,632.50 บาท เหตุใดในใบ pay-in slip จึงไม่มีเศษสตางค์ A23 : ในการชำระภาษีสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคล หากคำนวณภาษีแล้วมีเศษสตางค์ เมื่อชำระภาษีจะได้รับยกเว้นเศษของบาท ตามมาตรา 5 ของพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 10) ดังนั้น การชำระจึงไม่ต้องชำระเศษสตางค์

Q24 : ทำไมกิจการร่วมค้า จึงไม่ได้รับสิทธิการยกเว้นกำไรสุทธิจำนวน 300,000 บาท A24 : เนื่องจาก พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 603) ยกเว้นภาษีจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท (SMEs) และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30,000,000 บาท ซึ่งกิจการร่วมค้า ไม่มีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี จึงไม่ได้รับสิทธิยกเว้นกำไรสุทธิ

Q25 : หากยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ประมาณการไว้มีกำไรสุทธิ 1 ล้านบาท แต่ผลการประกอบกิจการเมื่อสิ้นปี ปรากฏว่ากิจการขาดทุน 2 ล้านบาท บริษัทต้องเสียเงินเพิ่มหรือไม่ A25 : การประมาณการว่าจะมีกำไรสุทธิ แต่เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ปรากฏว่าขาดทุน จึงไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม

ภงด.50 และ 51 คืออะไร

ภ.ง.ด.50 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนปลายปี ส่วน ภ.ง.ด.51 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนกลางปี

กิจการร่วมค้าต้องยื่นภงด.51ไหม

Q16 : กิจการร่วมค้า ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 หรือไม่ A16 : กิจการร่วมค้าถือเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ด้วย

ใครมีหน้าที่ยื่น ภงด.51

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีรอบระยะเวลาบัญชีครบ 12 เดือน มีหน้าที่ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด. 51 ภายใน 2 เดือน นับแต่วันสุดท้าย

ภงด.51 ขอคืนได้ไหม

คำตอบ : ไม่ได้ ต้องชำระทั้งจำนวนในคราวเดียว คำถาม : ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 หากมีภาษีที่ชำระไว้เกินสามารถขอคืนได้หรือไม่ คำตอบ : การยื่นแบบแสดงรายการ ภง.ด.51 มีภาษีที่ชำระไว้เกินหรือได้ชำระภาษีไว้ ให้ขอคืนหรือให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระปลายปี

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้