ค าเง นเพ ม 1.5 ภงด.50 น บเด อนย งไง

Q 4 : การลงลายมือชื่อในช่องคำรับรองของกรรมการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้จัดการ หากกรรมการเดินทางไปต่างประเทศยังไม่กลับ จะให้ผู้จัดการฝ่ายบัญชีลงชื่อแทนได้หรือไม่ A 4 : บทบัญญัติของประมวลรัษฎากร มาตรา 7 บรรดารายการ รายงาน หรือเอกสารอื่นซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องทำยื่นนั้น ให้กรรมการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้จัดการเป็นผู้ลงลายมือชื่อ

Q 5 : บริษัทเปลี่ยนกรรมการใหม่ เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ใครเป็นผู้ลงนามในงบดุล A 5 : ผู้ลงนามในงบดุล คือ ผู้มีอำนาจลงนามตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท

Q 6 : ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาบริษัทไม่มีรายได้ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 หรือไม่ A 6 : บริษัทยังมีหน้าที่ต้องจัดทำงบการเงิน และต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 แม้ไม่มีรายได้ในการประกอบกิจการ

Q 7 : บริษัทมีรอบระยะเวลาสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 จะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ภายในวันที่เท่าใด A 7 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 จะต้องยื่นแบบฯ ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 วันสุดท้ายของการยื่นแบบตรงกับวันที่ 30 พฤษภาคม 2561

Q 8 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ช่องทางอินเทอร์เน็ต สามารถยื่นแบบได้ถึงเมื่อใด A 8 : สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ผ่านอินเทอร์เน็ต วันสุดท้ายของการยื่นแบบ ตรงกับวันที่ 7 มิถุนายน 2561

Q 9 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 จำเป็นต้องยื่นงบการเงินพร้อมกันหรือไม่ A 9 : ไม่จำเป็นต้องยื่นพร้อมกัน

Q 10 : กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.50 แล้วมีภาษีที่ชำระไว้เกิน (ขอคืนภาษี) แต่ไม่ได้ลงชื่อประสงค์ขอคืนภาษีต้องทำอย่างไร A 10 : หากมีความประสงค์ขอคืน ให้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรด้วย แบบ ค.10 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

Q 11 : งบการเงินของบริษัทจำกัด สามารถให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) ตรวจสอบและรับรองได้หรือไม่ A 11 : ไม่ได้ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) ตรวจสอบและรับรองได้เฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีทุนจดทะเบียน ไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท

Q 12 : ปี 2559 หจก. มีรายได้เกิน 30 ล้านบาท รายงานผู้สอบเป็น CPA ในปี 2560 หจก. มีรายได้ไม่ถึง 30 ล้านบาท ต้องใช้ CPA ตลอดไป หรือ ใช้ TA ได้ ในปีที่รายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท A 12 : ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ผู้สอบบัญชีภาษีอากรและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตสามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีได้

Q 13 : สำเนางบการเงิน กรรมการต้องลงลายมือชื่อทุกแผ่นหรือไม่ A 13 : ต้องลงลายมือชื่อทุกแผ่น

Q 14 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 หากผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีไม่มีสำนักงานบัญชี (ผู้ตรวจสอบอิสระ) ต้องกรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (13 หลัก) ของสำนักงานสอบบัญชีอย่างไร A 14 : กรณีผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีไม่มีสำนักงานบัญชี ให้ระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของ ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี

Q 15 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 หากผู้ทำบัญชีไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของสำนักงานทำบัญชีต้องระบุเลขใด A 15 : ให้ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของบริษัทที่ยื่นแบบ

Q 16 : กิจการจัดตั้งมาโดยมีรอบระยะเวลาบัญชีไม่ถึง 12 เดือน ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 หรือไม่ A 16 : ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ถึงแม้จะมีรอบระยะเวลาไม่ถึง 12 เดือนก็ตาม

Q 17 : ต้นทุนทางการเงินของแบบ ภ.ง.ด.50 รายการที่ 7 กับรายการที่ 8 แตกต่างอย่างไร A 17 : รายการที่ 7 หมายถึง ค่าธรรมเนียม หรือดอกเบี้ยจ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบการกิจการ เช่น ค้ำประกันให้บริษัทอื่น รายการที่ 8 หมายถึง ค่าธรรมเนียม หรือดอกเบี้ยจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโดยตรง เช่น บริษัทกู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการประกอบกิจการ

Q 18 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2559 แต่ไม่ได้นำผลขาดทุน 5 รอบระยะเวลาบัญชีมาใช้สิทธิ จะต้องทำอย่างไร A 18 : หากมิได้ใช้สิทธินำผลขาดทุนสะสมไปกรอกแบบในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา ต้องทำการยื่นแบบปรับปรุง โดยนำผลขาดทุนมากรอกให้ครบถ้วนและถูกต้อง

Q 19 : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 หากมีภาษีที่ต้องชำระเพิ่ม สามารถผ่อนชำระได้หรือไม่ A 19 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 หากมีภาษีต้องชำระเพิ่ม ไม่สามารถผ่อนชำระได้

Q 20 : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เพิ่มเติม ต้องแนบงบการเงินด้วยหรือไม่ A 20 : กรณีมีการปรับปรุงรายการในงบการเงิน ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เพิ่มเติม ต้องแนบงบการเงิน และมีผู้สอบบัญชีลงลายมือชื่อรับรองงบการเงินดังกล่าว ทั้งนี้ ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เพิ่มเติม ให้กรอกรายการต่างๆ ด้วยตัวเลขที่ถูกต้อง และครบถ้วนทุกรายการ

Q 21 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สามารถยื่นแบบต่างท้องที่ได้หรือไม่ A 21 : ไม่ได้ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่

Q 22 : มิได้ประกอบกิจการแล้ว แต่ยังไม่จดทะเบียนเลิกกิจการจะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 อีกหรือไม่ A 22 : จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีจนกว่าจะจดทะเบียนเลิกกิจการ และเสร็จสิ้นการชำระบัญชี

Q 23 : ในโปรแกรม ภ.ง.ด.50 การระบุวันที่แบบแจ้งข้อความของกรรมการหรือผู้มีหุ้นส่วนผู้จัดการ ต้องระบุวันที่ใด A 23 : การระบุวันที่ในแบบแจ้งข้อความ ให้ระบุตามวันที่ที่ได้ทำรายการหรือน้อยกว่าวันที่บันทึกใน โปรแกรม ภ.ง.ด.50

Q 24 : กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.50 หรือ ภ.ง.ด.51 สามารถชำระได้วิธีใดบ้าง A 24 : สามารถชำระภาษีได้ 4 วิธี ดังต่อไปนี้ 1. ชำระเป็นเงินสด 2. ชำระเป็นบัตรภาษี ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ - ต้องเป็นบัตรที่ระบุชื่อผู้เสียภาษี - ห้ามใช้บัตรที่มีจำนวนเงินสูงกว่าจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระ เว้นแต่ ผู้เสียภาษี (มีชื่อในบัตรภาษี) ยอมสละสิทธิในจำนวนเงินส่วนที่เกินนั้น โดยผู้เสียภาษีได้บันทึก และลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานในแบบแสดงรายการภาษี 3. ชำระเป็นเช็ค หรือดราฟต์ 4. ชำระด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ TAX SMART CARD บัตรเครดิต และบัตรเดบิตโดยผู้เสียภาษีเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม

Q 25 : การสั่งจ่ายเช็คหรือดร๊าฟต์ ชำระภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.50 หรือ ภ.ง.ด.51 ขีดคร่อม และสั่งจ่ายใคร A 25 : การสั่งจ่ายเช็คหรือดร๊าฟต์ให้ขีดคร่อม และสั่งจ่าย ดังต่อไปนี้ 1. กรณีหน่วยจัดเก็บเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารชื่อ “บัญชีกรมสรรพากรเพื่อนำส่งคลังของ ...... (ชื่อหน่วยจัดเก็บ) ......” ไม่ว่าเป็นเช็คประเภทใด ให้สั่งจ่ายแก่ “กรมสรรพากร” 2. กรณีหน่วยจัดเก็บที่ไม่ได้เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อนำส่งคลัง - ถ้าเป็นเช็คประเภท ก. ข. ค. ให้สั่งจ่ายแก่ “กระทรวงการคลังผ่านสำนักงานคลังจังหวัด........” - ถ้าเป็นเช็คประเภท ง. ให้สั่งจ่ายแก่ “กรมสรรพากร” 3. กรณีชำระภาษีที่ธนาคาร เช็คหรือดร๊าฟต์ให้สั่งจ่าย “สรรพากรพื้นที่สาขา....... (ระบุชื่ออำเภอ)” กับขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” และ หรือ “ตามคำสั่ง” ออก

Q 26 : ต้องการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เพิ่มเติมย้อนหลังหลายปีจะต้องให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตคนเดียวกัน ตรวจสอบ และรับรองบัญชีหรือไม่ A 26 : สามารถให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตคนปัจจุบันตรวจสอบและรับรองบัญชีได้ เนื่องจากบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรมิได้กำหนดไว้ ให้ถ่ายงบการเงินจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์มาแนบแบบ ภ.ง.ด.50 ในแต่ละปีด้วย​

Q 27 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 รอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีทั่วไปเป็นอัตราเท่าไร A 27 : อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีทั่วไป คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 20 ทั้งจำนวน

Q 28 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 รอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีกิจการเป็น SMEs เสียภาษีในอัตราเท่าใด A 28 : กรณีบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5,000,000 บาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 30,000,000 บาท รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป (1) ยกเว้น กำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท (2) ร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท (3) ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 3,000,000 บาทขึ้นไป

Q 29 : กิจการร่วมค้ามีรายได้จากการขายสินค้า และให้บริการไม่เกิน 30 ล้าน มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท จะได้รับสิทธิยกเว้นกำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 หรือไม่ A 29 : ไม่ได้รับสิทธิยกเว้น 300,000 บาท และต้องคำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 20 ทั้งจำนวน เนื่องจาก กิจการร่วมค้า ไม่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ถือเป็นนิติบุคคลทั่วไป

Q 30 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 รอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเป็นกิจการ SMEs และได้มี การจดแจ้งขอเป็นผู้ประกอบการบัญชีชุดเดียว เสียภาษีในอัตราเท่าไร A 30 : กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีใด ไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้า และการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีใด ไม่เกิน 30 ล้านบาท และได้จดแจ้งเป็นผู้ประกอบการตามกฎหมายว่าด้วยการยกเว้นและ สนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร กำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2560 - เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาทแรก ได้รับยกเว้น - ส่วนที่เกิน 300,000 บาท เสียภาษีในอัตราร้อยละ 10

Q 31 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ต้องรับผิดชำระภาษี และค่าปรับอย่างไรบ้าง A 31 : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เกินกำหนดเวลาต้องรับผิด ดังนี้ 1. ค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภายในเวลาที่กำหนด 2. กรณีมีภาษีต้องชำระ ต้องเสียเงินเพิ่มอีกอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษี ที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบฯ จนถึงวันที่ยื่นแบบฯ และหากยื่นงบการเงินเกินกำหนดเวลา ถือเป็นความผิดต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท อีกกระทงหนึ่ง

Q 32 : หากยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2560 เกินกำหนดเวลาโดยได้ไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในวันที่ 1 มิถุนายน 2561 มีภาษีต้องชำระเพิ่ม จะต้องรับผิดอะไรบ้าง A 32 : ต้องรับผิดโทษปรับ ดังนี้ 1. ต้องรับผิดค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท 2. ต้องชำระภาษี พร้อมเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของภาษีที่ต้องชำระ (คำนวณเงินเพิ่ม 1 เดือน) การคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการหรือนำส่งภาษี แต่ในการนับระยะเวลาจำนวนเดือนเพื่อคำนวณเงินเพิ่ม ไม่มีกำหนดไว้ใน ประมวลรัษฎากร ดังนั้น จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/5 มาใช้บังคับ กรณีตามข้อเท็จจริง มีการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม กับวันที่ 1 มิถุนายน การคำนวณเงินเพิ่ม จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม (วันที่ 30 พฤษภาคม เป็นวันสุดท้ายของการยื่นแบบ) และสิ้นสุดลงในวันที่ 30 มิถุนายน เป็น 1 เดือน การยื่นแบบฯ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม กับวันที่ 1 มิถุนายน จึงต้องเสียเงินเพิ่มเพียง 1 เดือน เนื่องจากเศษของเดือนให้ถือเป็น 1 เดือน

Q 33 : หากได้ยื่นงบการเงินกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว จะต้องยื่นงบการเงินกับกรมสรรพากรอีกหรือไม่ A 33 : หากยื่นงบการเงินกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว ไม่ต้องยื่นกับกรมสรรพากรอีก ซึ่งกรมสรรพากรร่วมมือกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลงบการเงิน สำหรับผู้ประกอบการที่นำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Filing) เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องยื่นงบการเงินทั้ง 2 หน่วยงาน

Q 34 : แบบ บ.ช.1 คืออะไร นิติบุคคลต้องยื่น แบบ บ.ช.1 ทุกรายหรือไม่ A 34 : แบบ บ.ช.1 กำหนดให้บุคคล หรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยสัญญามีมูลค่าตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องจัดทำบัญชีแสดงรายรับรายจ่าย และยื่นต่อกรมสรรพากร ดังนั้น หากไม่ได้เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ บ.ช.1

Q 35 : แบบ บ.ช.1 จะต้องยื่นพร้อมแบบ ภ.ง.ด.50 ในวันเดียวกันหรือไม่ A 35 : ไม่จำเป็น แต่จะต้องยื่นแบบภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

Q 36 : แบบ บ.ช.1 จะนำไปยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาได้หรือไม่ A 36 : แบบ บ.ช.1 จะต้องยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตเท่านั้น

Q 37 : หากไม่ยื่นแบบ บ.ช.1 ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดจะต้องชำระค่าปรับอย่างไร A 37 : ไม่ต้องชำระค่าปรับ แต่ถือว่าขาดคุณสมบัติที่จะเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ

Q 38 : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ผ่านอินเทอร์เน็ต ได้ทำรายการยื่นแบบไว้แล้วและมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติม ปรากฏว่า ยังไม่ได้ชำระเงินภายในวันที่ 7 มิถุนายน 2561 ต้องทำอย่างไร A 38 : หากไม่ได้ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะเป็นผลให้รายการยื่นแบบของท่านไม่สมบูรณ์ และไม่ถือว่าเป็นการยื่นแบบที่มีผลสำเร็จ ทำให้ท่านต้องไปยื่นแบบที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา และต้องชำระค่าปรับพร้อมทั้งภาษีและเงินเพิ่มเพิ่มเติมตามที่กรมสรรพากรกำหนดไว้

Q 39 : อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560 ใช้อัตราใดบ้าง A 39 : อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2560 มีดังนี้

ยื่น ภ ง ด 50 ออนไลน์ ได้ถึงวันไหน

Deadline ในการยื่นแบบภาษีเงินได้ประจำปี ภงด50 กรณีที่มีรอบบัญชีปกติ 1 มค – 31 ธค. ยื่นภาษีแบบกระดาษ ภายในวันที่ 30 พฤษภาคม ของปีถัดไป และยื่นแบบออนไลน์ ภายในวันที่ 7 มิถุนายน ของปีถัดไป

ยื่นภงด.50 ออนไลน์ย้อนหลังได้กี่ปี

ขอคืนภาษีย้อนหลังได้กี่ปี นับย้อนหลังยังไง ขอคืนยังไงได้บ้าง และถ้าไม่เคยยื่นภาษีมาก่อน ยื่นตอนนี้จะถูกตรวจสอบย้อนหลังไหม ตอบคำถามสุดฮิตเรื่องภาษีในคลิปนี้ครับ อันดับแรก คือ ขอคืนภาษี ถ้าให้ตอบสั้นๆ คือ ย้อนหลังได้ 3 ปี เพราะกฎหมายบอกไว้ว่า เราสามารถยื่นขอคืนภาษีย้อนหลังได้สูงสุดถึง 3 ปี นับจากวันสุดท้ายของกำหนดเวลา ...

ภ.ง.ด.51 คำนวณยังไง

การยื่น ภ.ง.ด.51 เป็นการยื่นประมาณการกำไรสุทธิของบริษัททั้งปี โดยดูจากผลประกอบการจริงเดือน มกราคม – กรกฎาคม บวกด้วย ประมาณการกำไรสุทธิ เดือนสิงหาคม – ธันวาคม ก็จะได้ประมาณการของทั้งรอบระยะเวลาบัญชี จากนั้นหารด้วย 2 เพื่อให้ได้ตัวเลขมาคำนวณภาษีครึ่งปี

ภ.ง.ด.50 ใช้เกณฑ์อะไร

1. เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท 2.เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาทและจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้