ต วแปรท ม ผลต อประส ทธ ภาพการฉ ดลาก

สถานะตลาด Closed

ข้อมูลล่าสุด 07 ธ.ค. 2566 03:04:56

ดัชนี ล่าสุด เปลี่ยนแปลง ปริมาณ ('000 หุ้น)1 มูลค่า (ลบ.)1

SET

1,389.55

+6.01 11,983,547 38,636.74

SET50

857.44

+1.74 980,911 24,946.47

SET100

1,901.56

+5.56 1,389,358 29,294.30

sSET

865.15

+13.55 948,563 3,019.58

SETCLMV

852.34

+3.48 506,423 15,993.36

SETHD

1,100.01

+1.29 612,480 10,222.22

SETESG

908.54

+2.72 1,258,904 25,931.55

SETWB

819.28

+3.64 348,743 9,436.81

ดัชนี ล่าสุด เปลี่ยนแปลง SETTRI

10,035.18

+23.63 (+0.24%)

ข้อมูล ณ วันที่ 04 ธ.ค. 2566

ข้อมูล ณ วันที่ 06 ธ.ค. 2566

สรุปมูลค่าการซื้อขายสิ้นวัน

นักลงทุน ซื้อ (ล้านบาท) ขาย (ล้านบาท) สุทธิ สถาบัน 3,461.60 2,855.17 +606.42 บัญชีบล. 3,198.87 3,234.59 -35.72 ต่างประเทศ 21,555.09 22,009.30 -454.20 ในประเทศ 10,415.94 10,532.44 -116.50

ข้อมูล ณ วันที่ 06 ธ.ค. 2566

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทยและภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น คำเมือง, อีสาน, ภาษาไทยใต้, มลายูปัตตานี เป็นต้น ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ

อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง

ภาษาไทยมีเลขไทยเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้ตัวเลขอาหรับเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน

ประวัติและวิวัฒนาการ[แก้]

วิวัฒนาการอักษรไทย

ราว พ.ศ. 400 ไทยได้อพยพจากถิ่นเดิมมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ใกล้อาณาเขตมอญ ซึ่งกำลังเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น เริ่มแรกคงเริ่มเลียนแบบตัวอักษรมาจากมอญ ต่อมาราว พ.ศ. 1500 เมื่อขอมขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนของคนไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยม และได้ปกครองเมืองเชรียงและเมืองสุโขทัย ไทยก็เริ่มดัดแปลงอักษรที่มีอยู่เดิมให้คล้ายกับอักษรขอมหวัด

อักษรมอญและอักษรขอมที่ไทยนำมาดัดแปลงใช้นั้นล้วนเป็นอักษรที่รับและแปลงรูปมาจากอักษรพราหมี ของพวกพราหมณ์ซึ่งแพร่หลายในอินเดียตอนเหนือ และอักษรสันสกฤตในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ซึ่งแพร่หลายบริเวณอินเดียตอนใต้ อักษรอินเดียทั้งคู่นี้ต่างก็รับแบบมาจากอักษรฟินิเชียนอีกชั้นหนึ่ง อักษรเฟนีเซียนับได้ว่าเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นแม่แบบตัวอักษรของชาติต่างๆ ทั้งในเอเชียและยุโรป

ราว พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น[ใครกล่าว?] ซึ่งได้เค้ารูปมาจากอักษรมอญและอักษรขอมที่มีอยู่เดิม ทำให้อักษรไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรทั้งสอง แม้บางตัวจะไม่คล้ายกัน แต่ก็สามารถรู้ได้ว่าดัดแปลงมาจากอักษรตัวไหน

อักษรไทยมีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ในสมัยพญาฦๅไทราว พ.ศ. 1900 มีการแก้ไขตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะการเพิ่มเชิงที่ตัว ญ ซึ่งใช้ติดต่อเรื่อยมาจนทุกวันนี้ คาดว่าน่าจะเอาอย่างมาจากเขมร ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ. 2223 ตัวอักษรเริ่มมีทรวดทรงดีขึ้นแต่ก็ไม่ทิ้งเค้าเดิม มีบางตัวเท่านั้นที่แก้ไขผิดไปจากเดิม คือตัว ฎ และ ธ ซึ่งเหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวอักษรและการใช้งานมีความคล้ายคลึงกับในปัจจุบันมากที่สุด

อักษรไทย[แก้]

อักษรไทย รูปพยัญชนะ ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ รูปสระ ะ –ั า –ํ –ิ ' " –ุ –ู เ โ ใ ไ –็ อ ว ย ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ รูปวรรณยุกต์ –่ –้ –๊ –๋ เครื่องหมายอื่น ๆ –์ –๎ –ฺ เครื่องหมายวรรคตอน ฯ ฯลฯ ๆ ๏ ๚ ๛ ┼

พยัญชนะ[แก้]

พยัญชนะไทยมี 44 รูป แต่ละตัวมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ สามารถแบ่งตามฐานที่ใช้ในการออกเสียงเป็นวรรค เสียงอ่านที่กำกับไว้คือเสียงเมื่อเป็นพยัญชนะต้น

วรรค ฐานกรณ์ กักสิถิล กักธนิตหรือเสียดแทรก นาสิก วรรค กะ เพดานอ่อน ก ไก่ [k]ข ไข่ [kʰ]ฃ ขวด¹ [kʰ]ค ควาย [kʰ]ฅ คน¹ [kʰ]ฆ ระฆัง [kʰ]ง งู [ŋ]วรรค จะ เพดานแข็ง จ จาน [t͡ɕ]ฉ ฉิ่ง [t͡ɕʰ]ช ช้าง [t͡ɕʰ]ซ โซ่ [s]ฌ เฌอ [t͡ɕʰ]ญ หญิง [ɲ]²วรรค ฏะ ปุ่มเหงือก ฎ ชฎา [d]ฏ ปฏัก [t]ฐ ฐาน [tʰ]ฑ มณโฑ [tʰ]/[d]ฒ ผู้เฒ่า [tʰ]ณ เณร [n]วรรค ตะ ด เด็ก [d]ต เต่า [t]ถ ถุง [tʰ]ท ทหาร [tʰ]ธ ธง [tʰ]น หนู [n]วรรค ปะ ริมฝีปาก บ ใบไม้ [b]ป ปลา [p]ผ ผึ้ง [pʰ]ฝ ฝา [f]พ พาน [pʰ]ฟ ฟัน [f]ภ สำเภา [pʰ]ม ม้า [m]ไตรยางศ์ กลาง สูง ต่ำ วรรค เปิดหรือรัว เสียดแทรก เปิดข้างลิ้น ปุ่มเหงือก กัก เส้นเสียง เสียดแทรก เส้นเสียง เศษวรรค ย ยักษ์ [j]ร เรือ [r]ล ลิง [l]ว แหวน [w]ศ ศาลา [s]ษ ฤๅษี [s]ส เสือ [s]ห หีบ [h]ฬ จุฬา [l]อ อ่าง³ [ʔ]ฮ นกฮูก [h]ไตรยางศ์ ต่ำ สูง ต่ำ กลาง ต่ำ

  1. ฃ และ ฅ เป็นอักษรที่ในปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
  2. ในปัจจุบันเสียงนี้ถูกแทนที่ด้วย /j/ ในภาษาไทยกลาง แต่ยังคงพบได้ในภาษาไทยถิ่นอื่นๆ เช่น ภาษาไทยอีสาน เป็นต้น
  3. อ ถือว่าเป็นเสียงว่างให้รูปสระมาเกาะได้

พยัญชนะไทยยังแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย

  • อักษรสูง 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
  • อักษรกลาง 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
  • อักษรต่ำ 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

ความถี่ของพยัญชนะไทย พยัญชนะไทยที่ใช้บ่อยที่สุดคือ น และที่ใช้น้อยที่สุดคือ ฅ ความถี่ที่แสดงในตารางอาจแตกต่างกันในทางปฏิบัติตามประเภทของข้อความ (ผู้อ่านสามารถทดลองเปิดหน้าข่าว หรือเปิดหนังสือ ebook สักเล่มแล้วลอง ค้นหา(search) อักษรโดดๆ เช่น ก ข ค ... จะพบว่าพยัญชนะไทยที่ใช้มากที่สุดในเอกสารนั้นคือ น (นอ หนู) หรืออาจจะเป็นตัวพยัญชนะ ร อ บ้างในบางเอกสารเท่านั้น)

ยูนิโคด ชื่อตัวอักษร พยัญชนะไทย ความถี่ TNC v.1 ความถี่ LEXiTRON Data 2.0 ความถี่ พจนานุกรมราชบัณฑิตฯ 2554 0E19 NO NU น 9.68% 8.61% 8.29% 0E23 RO RUA ร 7.47% 9.17% 9.04% 0E2D O ANG อ 7.44% 6.61% 6.42% 0E01 KO KAI ก 7.35% 7.54% 7.79% 0E07 NGO NGU ง 6.90% 6.26% 5.66% 0E21 MO MA ม 6.24% 5.77% 5.78% 0E22 YO YAK ย 4.90% 4.90% 5.18% 0E27 WO WAEN ว 4.80% 4.71% 4.56% 0E25 LO LING ล 3.97% 4.26% 4.85% 0E14 DO DEK ด 3.96% 3.89% 3.60% 0E17 THO THAHAN ท 3.75% 2.89% 2.73% 0E2B HO HIP ห 3.59% 3.26% 3.67% 0E15 TO TAO ต 3.31% 3.81% 3.93% 0E04 KHO KHWAI ค 3.09% 3.35% 2.47% 0E2A SO SUA ส 3.07% 3.84% 4.13% 0E1B PO PLA ป 2.90% 2.60% 2.76% 0E1A BO BAIMAI บ 2.88% 3.06% 3.06% 0E08 CHO CHAN จ 2.69% 2.05% 1.98% 0E02 KHO KHAI ข 2.13% 1.78% 1.88% 0E1E PHO PHAN พ 1.95% 2.27% 2.43% 0E0A CHO CHANG ช 1.56% 1.73% 1.75% 0E1C PHO PHUNG ผ 0.86% 0.87% 0.72% 0E16 THO THUNG ถ 0.79% 0.79% 0.73% 0E13 NO NEN ณ 0.64% 0.65% 0.80% 0E28 SO SALA ศ 0.60% 0.89% 0.90% 0E18 THO THONG ธ 0.56% 0.63% 0.78% 0E29 SO RUSI ษ 0.47% 0.56% 0.60% 0E0D YO YING ญ 0.46% 0.57% 0.57% 0E20 PHO SAMPHAO ภ 0.44% 0.61% 0.70% 0E0B SO SO ซ 0.42% 0.45% 0.43% 0E09 CHO CHING ฉ 0.25% 0.29% 0.36% 0E10 THO THAN ฐ 0.20% 0.15% 0.20% 0E1F FO FAN ฟ 0.18% 0.44% 0.33% 0E1D FO FA ฝ 0.13% 0.24% 0.20% 0E0F TO PATAK ฏ 0.08% 0.08% 0.14% 0E0E DO CHADA ฎ 0.08% 0.08% 0.08% 0E12 THO PHUTHAO ฒ 0.07% 0.04% 0.04% 0E2E HO NOKHUK ฮ 0.06% 0.10% 0.12% 0E11 THO NANGMONTHO ฑ 0.03% 0.11% 0.14% 0E06 KHO RAKHANG ฆ 0.03% 0.07% 0.12% 0E2C LO CHULA ฬ 0.02% 0.03% 0.07% 0E0C CHO CHOE ฌ 0.003% 0.01% 0.03% 0E03 KHO KHUAT ฃ 0.001% 0% 0% 0E05 KHO KHON ฅ 0.0003% 0% 0%

1นับความถี่จาก Thai National Corpus (1st version on CQPweb) จำนวน 34,782,267 โทเค็น

2 2017-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

3นับความถี่จากฐานข้อมูล พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ จำนวนคำศัพท์ในพจนานุกรม 39,191 คำ (db.version 2018.07.24)

สระ[แก้]

สระในภาษาไทยมี 21 รูป ซึ่งรูปสระเหล่านี้จะนำไปประกอบเป็นรูปสระที่ใช้จริงอีกต่อหนึ่ง (ดูที่ ภาษาไทย)

  • ะ วิสรรชนีย์ นมนางทั้งคู่
  • ั ไม้หันอากาศ หางกังหัน ไม้ผัด
  • ็ ไม้ไต่คู้ ไม้ตายคู้
  • า ลากข้าง
  • ิ พินทุ์อิ พินทุอิ
  • ่ ฝนทอง
  • ํ นิคหิต นฤคหิต หยาดน้ำค้าง
  • " ฟันหนู, มูสิกทันต์
  • ุ ตีนเหยียด ลากตีน
  • ู ตีนคู้
  • เ ไม้หน้า
  • ใ ไม้ม้วน
  • ไ ไม้มลาย
  • โ ไม้โอ
  • อ ตัวออ
  • ย ตัวยอ
  • ว ตัววอ
  • ฤ ตัวรึ
  • ฤๅ ตัวรือ
  • ฦ ตัวลึ
  • ฦๅ ตัวลือ

วรรณยุกต์[แก้]

วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 4 รูป 5 เสียง

เสียงวรรณยุกต์ไทยตามหลักภาษาศาสตร์ แบ่งได้ดังนี้

  • เสียงสามัญ (ระดับเสียงกึ่งสูง-กลาง)
  • เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ)
  • เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ)
  • เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง)
  • เสียงจัตวา (ระดับเสียงต่ำ-กึ่งสูง)

รูปวรรณยุกต์[แก้]

เครื่องหมายวรรณยุกต์ในภาษาไทย มี 4 รูป ดังนี้

ไม้เอก (-่) ไม้โท (-้) ไม้ตรี (-๊) และ ไม้จัตวา (-๋)

อย่างไรก็ตาม ในจารึกสมัยโบราณ เช่น ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มีเครื่องหมายวรรณยุกต์เพียง 2 รูป คือ ไม้เอก (-่) และไม้โท (-๋)[ต้องการอ้างอิง] เช่น น๋อง (น้อง), ห๋า (ห้า)

การผันเสียงวรรณยุกต์[แก้]

โดยทั่วไปเสียงพยางค์หนึ่งในภาษาไทย สามารถผันได้ ๕ เสียงวรรณยุกต์ แต่ในภาษาเขียน จะมีกฎเกณฑ์การผันที่ตายตัว ดังนี้

หมู่อักษร-คำเป็นคำตาย เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา อักษรกลาง คำเป็นกาก่า ก้า ก๊า ก๋า อักษรกลาง คำตาย สระสั้น -กะก้ะ ก๊ะ ก๋ะ อักษรกลาง คำตาย สระยาว -กาบก้าบ ก๊าบ ก๋าบ อักษรสูง คำเป็น - ข่า ข้า -ขาอักษรสูง คำตาย สระสั้น -ขะข้ะ - - อักษรสูง คำตาย สระยาว -ขาบข้าบ - - อักษรต่ำ คำเป็นคา- ค่า ค้า - อักษรต่ำ คำตาย สระสั้น - - ค่ะคะค๋ะ อักษรต่ำ คำตาย สระยาว - -คาบค้าบ ค๋าบ

คำตายของอักษรกลางและอักษรสูง ไม่ว่าสระจะเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ผันวรรณยุกต์ตามรูปแบบเดียวกัน เว้นแต่คำตายของอักษรต่ำ เมื่อเป็นสระเสียงสั้นหรือเสียงยาวจะผันคนละแบบ

อักษรต่ำและอักษรสูงไม่สามารถผันให้ครบ ๕ เสียงได้ จึงมักจะใช้อักษรเสียงเดียวกันจากอีกหมู่หนึ่งมาใช้เป็นอักษรนำ โดยมีอักษรสูงนำ (ยกเว้นอักษร อ ซึ่งเป็นอักษรกลาง สามารถนำ อักษร ย ได้) เช่น นา หน่า น่า น้า หนา, มี หมี่ มี่ มี้ หมี

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้