ก นว ตาม นซ ก บกาแฟ ม ผลเส ยไหม

ในโลกใบนี้เต็มไปด้วยวิธีการชงกาแฟรูปแบบต่าง ๆ มากมาย แต่ ‘กาแฟแคปซูล’ (coffee capsule) กลับได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่มีการคิดค้นขึ้นเมื่อเกือบ 40 ปีที่แล้ว ทว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามมาในแบบคู่ขนานก็คือชื่อเสียงที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

‘เนสเพรสโซ’ (Nespresso) ถือเป็นบริษัทที่ปฏิวัติวิธีการชงกาแฟครั้งใหญ่ของโลกเลยก็ว่าได้ หลังจากเปิดตัวกาแฟแคปซูลพร้อมเครื่องชงเมื่อทศวรรษที่ 1990 และไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ก็ตาม นับจากเปิดตัวครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน เจ้าวิธีการชงกาแฟแบบซิงเกิลยูสประเภทนี้ก็ยิ่งโตวันโตคืน ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากคอกาแฟทั่วโลก โดยเฉพาะตามตามออฟฟิศและครัวเรือน

ตัวเลขยอดขายทั่วโลกของเซกเมนต์นี้ในปีค.ศ. 2021 มีมูลค่าถึง 16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีเนสเพรสโซ กับ ‘เคอริก’ (Keurig) เป็นผู้นำตลาดแถวหน้า

กาแฟแคปซูลผลิตออกมาเป็นครั้งแรกโดยเนสท์เล่ในปีค.ศ. 1986 มีเนสเพรสโซเป็นผู้ทำการตลาดและจัดจำหน่าย หลังจากนั้นในปีค.ศ.1998 เคอริก ก็เปิดตัวกาแฟพ็อดภายใต้แบรนด์ K-Cup ขึ้นมาทำตลาดในอเมริกาเหนือ ซึ่งกระแสความแรงของตลาดกาแฟแคปซูลนี้เอง ส่งผลให้ระดับบิ๊ก ๆ ของวงการธุรกิจกาแฟกระโดดเข้าร่วมวงไพบูลย์กันหลายเจ้า ขอมีส่วนแบ่งชิ้นเค้กในตลาดเครื่องชงและกาแฟแคปซูลไม่ทางใดอย่างก็ทางหนึ่งอย่าง อิลลี่, ลาวาซซา, สตาร์บัคส์ และคอสต้า คอฟฟี่ ฯลฯ

งานวิจัยชิ้นใหม่จากแคนาดาระบุว่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของกาแฟแต่ละแก้วขึ้นอยู่กับรูปแบบการชง (ภาพ : el_duderino123 จาก Pixabay)

แม้นำมาซึ่งความสะดวกสบายในการชงกาแฟ เพียงหย่อนแคปซูลที่บรรจุกาแฟคั่วบดใส่ลงในเครื่องชงที่ถูกออกแบบมาเป็นการเฉพาะ แล้วกดปุ่มเบา ๆ ระบบก็จะจัดการชงกาแฟให้เองโดยอัตโนัติ ใช้เวลาไม่กี่นาทีก็มีกาแฟหอมกรุ่นดื่มกันแล้ว

อย่างไรก็ตาม ความสะดวกสบายนี้ก็แลกมาด้วยผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับเพอร์เฟ็กต์สตรอม เนื่องจากแคปซูลกาแฟกลับกลายเป็น ‘ขยะพลาสติก’ จำนวนมหาศาล จนตกเป็น ‘จำเลยสังคม’

ผู้ผลิตเองก็โดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาตลอด ในท่วงทำนองว่า สร้างผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้(ณ ตอนนั้น) เป็นอันตรายต่อโลกที่เต็มไปด้วยปัญหาขยะมลพิษ ตามมาด้วยงานวิจัย,ข้อมูล และข่าวเป็นชุด ๆ ที่ระบุถึงผลกระทบของแคปซูลพลาสติกที่มีต่อโลกใบนี้ ลองเสิร์ชหาจากกูเกิ้ลก็จะพบว่าเรื่องนี้มีอยู่เยอะจริง ๆ

แคปซูลกาแฟ ตกเป็นเป้าโจมตีเรื่องสร้างขยะพลาสติกมาโดยตลอด (ภาพ : Jisu Han on Unsplash)

เว็บไซต์ข่าวออนไลน์ของสื่อยักษ์ในสหรัฐอเมริกาอย่างวอชิงตัน โพสต์ ได้นำเสนอข่าวเมื่อปีค.ศ. 2015 เป็นบทสัมภาษณ์ จอห์น ซิลแวน ผู้คิดค้นแคปซูลกาแฟ K-Cup ก่อนขายให้เคอริกในเวลาต่อมา พร้อมพาดหัวข่าวโดยโค้ดคำพูดตอนหนึ่งของซิลแวนที่เปิดใจว่า "บางครั้งผมก็รู้สึกแย่เอามาก ๆ ที่ทำมันขึ้นมา"

เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา เรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของกาแฟแคปซูลได้เกิดเป็นประเด็นขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากงานวิจัยใหม่จากมหาวิทยาลัยควิเบก (University of Quebec) ในแคนาดา ชี้ให้เห็นว่า วิธีการชงกาแฟแบบใช้แคปซูลอาจจะไม่ ‘สิ้นเปลือง’ และ ‘ปล่อยก๊าซเสีย’ ออกมามากเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการชงแบบอื่น ๆ อาทิ ‘กาแฟฟิลเตอร์’ และ ‘เฟรนช์เพรส’ ประมาณว่าไม่ได้เป็น ‘ผู้ร้าย’ อะไรมากมายอย่างที่หลายคนคิดและเข้าใจก่อนหน้านี้ กลับเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าวิธีการชงกาแฟบางประเภทเสียอีก จนได้รับฟีคแบ็คเชิงบวกจากผู้นิยมชมชอบกาแฟสไตล์ซิงเกิลยูสนี้

งานวิจัยใหม่ได้จัดอันดับวิธีการชงกาแฟตามผลกระทบต่อสภาพอากาศ ประเมินกันตั้งแต่การผลิตเมล็ดกาแฟไปจนถึงการชงกาแฟในแต่ละแก้ว เรียกว่าครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ โฟกัสไปที่การชงกาแฟยอดนิยม 4 ประเภทได้แก่ กาแฟอินสแตนท์, กาแฟฟิลเตอร์, กาแฟเฟรนช์เพรส และกาแฟแคปซูล กำหนดเกณฑ์การชงต่อปริมาณกาแฟในแต่ละครั้ง ดังนี้ กาแฟฟิลเตอร์ 25 กรัม, เฟรนช์เพรส 17 กรัม, กาแฟแคปซูล 14 กรัม และกาแฟอินสแตนท์ 12 กรัม ต่อปริมาณ 280 มิลลิลิตรในอัตราเท่า ๆ กัน จากนั้นนักวิจัยได้คำนวณหาค่าความต่างของการปล่อย ‘ก๊าซเรือนกระจก’ (GHG) ที่วิธีการชงกาแฟแต่ละชนิดผลิตออกมาทั้งหมด

กาแฟฟิลเตอร์หรือกาแฟดริปปล่อยก๊าซ CO2 มากที่สุดเมื่อเทียบกับการชงกาแฟอีก 3 แบบ (ภาพ : Tyler Nix on Unsplash)

ผลการจัดอันดับปรากฎว่า กาแฟฟิลเตอร์หรือกาแฟดริป ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเยอะสุด เนื่องจากเป็นวิธีการชงที่ใช้ปริมาณเมล็ดกาแฟมากสุด นอกจากนั้นยังมีการใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อต้มน้ำและเพื่อควบคุมอุณหภูมิของน้ำกาแฟ ถือว่ามีคาร์บอนฟุตพริ้นท์มากกว่าอีก 3 ประเภท

ขณะที่ เฟรนช์เพรส ปล่อยก๊าซ CO2 ตามมาเป็นอันดับ 2 ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า ใช้ปริมาณกาแฟมากทีเดียวในการชงกาแฟต่อแก้ว

ส่วน กาแฟแคปซูล รั้งอันดับ 3 เพราะปริมาณกาแฟในแคปซูลถูกควบคุมให้อยู่ระหว่าง 11-13 กรัม ช่วยไม่ให้บริโภคมากเกินไป

อันดับ 1 ตกเป็นของ กาแฟอินสแตนท์ เพราะใช้ปริมาณกาแฟน้อยกว่า และใช้พลังงานจากการต้มน้ำน้อยกว่ากาแฟฟิลเตอร์

เฟรนช์เพรส ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเป็นอันดับ 2 รองจากกาแฟฟิลเตอร์ (ภาพ : Rachel Brenner on Unsplash)

ไฮไลต์ของงานวิจัยใหม่นั้นอยู่ตรงที่ ใช้ปริมาณกาแฟและปริมาณพลังงานในการชงกาแฟแต่ละรูปแบบ เป็นตัวกำหนดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นต์หรือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมา ถ้าการชงวิธีไหนใช้กาแฟและพลังงานมาก ค่า GHG ก็จะเพิ่มตามไปด้วย

ดูเหมือนว่าประเด็นเกี่ยวกับ ‘ปริมาณกาแฟ’ นั้น งานวิจัยนี้จะเน้นความสำคัญมากทีเดียว เพราะได้บอกเอาไว้ว่า ผู้ดื่มกาแฟส่วนใหญ่ไม่ได้ชั่งกาแฟก่อนชง จึงมักใช้เกินปริมาณไปในราว 20% นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมกาแฟแคปซูลที่มีปริมาณกาแฟถูกควบคุมไว้คงที่ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อสภาวะอากาศมากเท่ารูปแบบการชงอื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่มีความเข้าใจกันว่าแคปซูลใส่กาแฟเป็นตัวสร้างปัญหาขยะ

ลูเซียโน โรดิเกวซ เวียน่า หนึ่งในสมาชิกทีมวิจัยบอกว่า การทำไร่ เป็นขั้นตอนที่สร้างมลภาวะมากที่สุด การเก็บเกี่ยวและการผลิตเมล็ดกาแฟทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึง 40% ถึง 80% เนื่องจากการปลูกกาแฟมีการใช้น้ำจำนวนมาก รวมไปถึงการใส่ปุ๋ย และการใช้ยาฆ่าแมลง

"ผมไม่ได้คิดว่ากาแฟแคปซูลเป็นการแก้ปัญหาที่วิเศษ แต่ก็ถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงความมีอคติทางปัญญา" ลูเซียโน ว่าไว้อย่างนี้

กาแฟอินสแตนท์ ใช้ปริมาณกาแฟและพลังงานน้อยในการชงต่อแก้ว (ภาพ : Amr Taha™ on Unsplash)

ลูเซียโน ยังแนะนำให้นักดื่มเลือกกาแฟที่มีปริมาณกาแฟน้อยต่อแก้ว เช่น เอสเพรสโซ 50 -100 มิลลิลิตร หรือไม่ก็ควรใช้ปริมาณกาแฟและน้ำเท่าที่จำเป็นจริง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ กระทั่งกาแฟแคปซูลก็ไม่ควรบริโภคเกินความจำเป็น แม้จะมีความสะดวกสบาย ส่วนตัวแคปซูล ถ้าใช้แบบรียูสในระยะยาว ก็จะช่วยลดปริมาณขยะลงได้

หนึ่งในสมาชิกทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยควิเบก ยังบอกว่า เราไม่ได้ทำงานวิจัยขึ้นมาเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเพิ่มการใช้กาแฟแคปซูล/กาแฟพ็อด (ที่เรายังแนะให้ใช้แคปซูลรียูส) หรือให้เลิกดื่มกาแฟกันไปเลย แต่เป้าหมายคือต้องการโฟกัสไปที่ปัญหาสำคัญด้านการบริโภคกาแฟใน ‘ระดับผู้บริโภค’

ในเวลาอันรวดเร็ว งานวิจัยชิ้นนี้ถูกนำมาเสนอเป็นข่าวลงตามเว็บไซต์ต่าง ๆ หลายแห่ง รวมไปถึงวอชิงตันโพสต์, บีบีซี และบิสซิเนสอินไซเดอร์ ฯลฯ ที่มีการพาดข่าวรวม ๆ ประมาณว่า กาแฟแคปซูลส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ‘น้อยกว่า’ วิธีชงรูปแบบอื่น ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด จนหลายคนอาจเกิดความรู้สึกคล้อยตามพลางคิดขึ้นมาว่า เอ...หรือหลังจากรับบท ‘ผู้ร้าย’ เรื่องสร้างขยะพลาสติกมานานนม กาแฟแคปซูลจะกลับกลายมาเป็น ‘พระเอก’ ในเรื่องที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมมากกว่าการชงสายสโลว์บาร์อย่างกาแฟฟิลเตอร์และเฟรนช์เพรส

ว่ากันตรง ๆ ผู้เขียนชอบใจข่าวของ ‘เดอะ การ์เดี้ยน’ ที่นอกจากนำงานวิจัยของมหาวิทยาลัยควิเบกมาลงเป็นข่าวแล้ว ยังเสนอ ‘ความเห็นแย้ง’ ที่พูดถึงปัญหาขยะพลาสติกที่เกิดจากเจ้าแคปซูลกาแฟ เรียงร้อยเป็นภาพโดยรวมของประเด็นสิ่งแวดล้อม ๆ ไม่ใช่หยิบมาเล่นเป็นข่าวเพียงช่วงบางตอนแล้วสรุปว่าเป็นของดีมีประโยชน์ นี่จึงเรียกว่าเป็นสื่อที่ให้ข้อมูลครบถ้วนและรอบด้าน

งานวิจัยชิ้นใหม่จากแคนาดายังระบุว่า กระบวนการผลิตเมล็ดกาแฟทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึง 40% ถึง 80% (ภาพ : Leonel Barreto จาก Pixabay)

แมทธิว อิเกลเซียส คอลัมนิสต์ของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก โพสต์ทวิตเตอร์สั้น ๆ หลังอ่านงานวิจัยดังกล่าวว่า "เป็นคำแก้ตัว"

เว็บไซต์ข่าวบางแห่งตั้งข้อสังเกตเอาแรง ๆ ว่า ปัญหาคือ มุมมองเชิงบวกต่อกาแฟแคปซูลและสภาพอากาศในงานวิจัย อาจไม่เป็น ‘ความจริง’ ส่วนหนึ่งเพราะงานวิจัยที่ถูกนำมาลงเป็นบทความในเว็บไซต์ข่าวต่าง ๆ ยังไม่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ ในสาขานี้ นอกจากนั้นแล้วเคยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ออกมาในปีค.ศ. 2021 ให้ข้อมูลย้อนแย้งกันเลยทีเดียว เพราะพบว่า กาแฟแคปซูลปล่อยมลภาวะมากกว่าวิธีชงกาแฟอื่น ๆ จากผลของการผลิตแพคเกจจิ้งใส่แคปซูลและการจัดการกับขยะพลาสติก

ศาสตราจารย์แม็กซ์ บอยค็อฟฟ์ แห่งคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ (University of Colorado Boulder) ให้สัมภาษณ์เดอะ การ์เดี้ยน ตอนหนึ่งว่า พาดหัวข่าวที่ระบุว่ากาแฟแคปซูลแบบใช้ครั้งเดียวอาจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น มีเสน่ห์จูงใจมากทีเดียว ประเด็นคือ เรื่องราวในสื่อประเภทนี้อาจทำให้เรา “หลงทาง” จากภาพใหญ่ของปัญหาสภาวะโลกร้อน และแหล่งสร้างมลพิษที่มีขนาดใหญ่กว่าถ้วยกาแฟของคุณ

ตัวเลขหนึ่งที่น่าสนใจจากคราฟต์ คอฟฟี่ สป็อท บริษัทให้บริการข้อมูลด้านกาแฟในรัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า มีการใช้แคปซูลกาแฟกันราว 60,000 ล้านชิ้นทุก ๆ ปีในยุโรปและอเมริกาเหนือ เป็นแคปซูลที่นำกลับมารีไซเคิลเพียง 27% นั่นหมายความว่า มีแคปซูลที่กลายเป็นขยะถึง 44,000 ล้านชิ้น

จากผู้ร้ายหรือจะกลายเป็นพระเอกเพียงชั่วข้ามคืน?....หากว่าไม่มี ‘อคติทางปัญญา’ จนเกินไป ถึงตอนนี้สำหรับผู้เขียนเองก็ยังจะขอพูดแบบเต็มปากเต็มคำต่อไปว่า กาแฟแคปซูลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงนับตั้งแต่เข้าสู่ตลาดในช่วงทศวรรษที่ 1990 เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการชงกาแฟรูปแบบอื่น ๆ

กินกาแฟกระป๋องทุกวัน อันตรายไหม

ส่วนใหญ่แล้วกาแฟกระป๋องที่วางขายทั่วไปนั้น มักจะใส่น้ำตาลเพื่อให้มีรสชาติที่อร่อยขึ้น แต่น้ำตาลในกาแฟกระป๋องในปริมาณดังกล่าวมานั้นหากดื่มวันละ 2-3 กระป๋องก็ถือว่าค่อนข้างมาก และอาจส่งผลต่อร่างกาย ทำให้มีน้ำหนักขึ้นหรือทำให้โรคเบาหวานที่มีอยู่ควบคุมไม่ได้ เป็นต้น

ใครบ้างที่ไม่ควรดื่มกาแฟ

ป่วยโรคไหนควรเลี่ยงกาแฟให้ไกล เพื่อความปลอดภัย อาการไม่กำเริบ.

1. โรคนอนไม่หลับ ... .

2. ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมอาการไม่ได้ ... .

3. ต้อหิน ... .

4. โรคไขมันในเลือดสูง ... .

5. โรคกระดูกพรุน ... .

6. ภาวะวัยทอง ... .

7. โรคกระเพาะอาหารที่อาการรุนแรง ... .

8. ลำไส้แปรปรวน.

กิน กาแฟ ตอน ท้อง ว่าง มี ผล อย่างไร

กาเฟอีนในกาแฟกระตุ้นหลั่งกรด กินตอนท้องว่างหลั่งกรดก็จะเพิ่มขึ้น หากสร้างเพิ่มขึ้นๆ มันอาจจะทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารนะ Tana Kam และคนอื่นๆ อีก 815 คน

กาแฟไม่ควรกินคู่กับอะไร

เพราะในกาแฟ ชา หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สารคาเฟอีนจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารซัลเฟอร์ในไข่ต้ม ซึ่งจะเกิดการขัดขวางการดูซึมธาตุเหล็กของร่างกาย ทำให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กในปริมาณที่น้อยลง หากอยากกินไข่คู่กับกาแฟ ควรเลือกเป็นไข่ดาว หรือไข่เจียวแทน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้