Cs-137 ม ระยะเวลาคร งช ว ตเป นเวลาเท าไร

ทำความรู้จัก “ซีเซียม-137” (Cesium-137) อันตราย การคงอยู่ คำถามที่หน่วยงานราชการไทยยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน รวมถึงบทเรียนที่ควรนำไปปรับใช้จากมุมมองของ "ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์" ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ผ่านการสนทนากับ "ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์"

"ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์" ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Cesium-137 คืออะไร :

Cesium-137 หรือ Cs-137 คือ ธาตุกัมมันตรังสี ที่มีการแผ่รังสีแอลฟา รังสีบีตา และรังสีแกมมา ออกมา ซึ่งการแผ่รังสีที่ว่านี้ เรียกว่า ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน (Nuclear Fission) และเมื่อแผ่รังสีออกมาเป็นพลังงานแล้ว มวลของมันจะลดลงไปครึ่งหนึ่ง หรือ ที่เรียกว่า Half-Life ซึ่งกระบวนการนี้จะใช้ระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 30.17 ปี

Half-Life คืออะไร :

“ผมขอยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ แบบนี้นะ Half-Life ของ Cs-137 ที่ว่านี้หมายถึง สมมติว่า Cs-137 มีมวลอยู่ที่ 10 จาก 10 เมื่อแผ่รังสีออกมา จนมวลลดลงครึ่งหนึ่งเหลือ 5 จะใช้เวลาประมาณ 30.17 ปี และจาก 5 ลดลงเหลือ 2.5 จะใช้เวลาอีกประมาณ 30.17 ปี รวมกันเป็น 60 กว่าปีแล้วนะ และจาก 2.5 ลดลงเหลือ 1.25 ก็จะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 30.17 ปี ซึ่งรวมกันเป็น 90 กว่าปีแล้วถูกไหม และนี่คือ นิยามแบบเข้าใจง่ายของ Half-Life ที่ว่านี้”

อันตรายของ Cs-137 :

“ให้เข้าใจง่ายๆ แบบนี้ ความอันตรายของ Cs-137 จะสัมพันธ์กับระดับความเข้มข้นของมวลที่มันมีอยู่แต่แรก เอาล่ะทีนี้ ให้กลับไปนึกทบทวนถึงที่ผมอธิบายไว้ตั้งแต่แรกเรื่อง Half-Life ของ Cs-137 โดยหากมวลความเข้มข้นตั้งต้นของ Cs-137 ไม่ใช่แค่ 10 แต่เป็น 1,000 ล่ะ ลองคิดดูสิว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง?”

ดังนั้นคำถามที่สำคัญในเหตุการณ์ Cs-137 สูญหายไปจากโรงงานไฟฟ้าใน อ.ศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี คือ ข้อที่ 1. มีใครสามารถบอกได้หรือไม่ว่า Cs-137 เจ้าปัญหาที่ว่านี้ มีระดับความเข้มข้นตั้งต้นก่อนที่มันจะหายไปอยู่ที่เท่าไร?

คำถามที่ 2. คือ ระดับความเข้มข้นที่อยู่ในวัตถุ Cs-137 ที่ถูกหลอมอยู่ที่เท่าไร?

คำถามที่ 3. คือ ระดับความเข้มข้นที่อยู่ในเศษโลหะสีแดงอยู่ที่เท่าไร?

และคำถามที่ 4. คำถามสุดท้าย คือ ระดับความเข้มข้นที่อยู่หลุดไปในอากาศจากการที่ แท่งวัตถุ Cs-137 ถูกหลอมอยู่ที่เท่าไร และแท่งวัตถุที่อ้างว่าถูกหลอมไปบางส่วนนั้น ส่วนที่เหลือตอนนี้อยู่ที่ไหน และเหลือมวลความเข้มข้นอยู่ในนั้นเท่าไร?

อย่างไรก็ดี สำหรับคำถามแรกคือ Cs-137 มีระดับความเข้มข้นตั้งต้นก่อนที่มันจะหายไปอยู่ที่เท่าไร นั้น คำตอบไม่น่าจะหายากเพราะบริษัทโรงงานไฟฟ้า น่าจะเป็นผู้ให้คำตอบที่ว่านี้ได้เป็นอย่างดี แต่กับอีก 3 คำถามที่เหลือ โดยเฉพาะคำถามที่ 4. ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนมากที่สุดนั้น ดูเหมือนว่าจะยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน จากหน่วยงานราชการที่เข้ามาแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้แต่อย่างใด

“ขณะเดียวกันสิ่งที่น่าตั้งข้อสังเกตหลังการแถลงล่าสุดจากหน่วยงานราชการไทย คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด เกิดขึ้นภายใต้ระบบปิด 100% จริงหรือไม่ เพราะการหลอม แท่งวัตถุ Cs-137 ที่เกิดขึ้นนั้นใช้อุณหภูมิสูงมากกว่า 1,000 องศาเซลเซียส ฉะนั้นตามทฤษฎีแล้วส่วนที่ถูกหลอมละลายก็น่าจะระเหยขึ้นไปในอากาศหมดแล้ว ซึ่งส่วนนี้เป็นสิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดเสียด้วย”

Cs-137 ที่ระเหยออกไปในอากาศฟุ้งกระจายได้ไกลขนาดไหน :

“คำถามนี้ตอบยาก เอาเป็นว่าแบบนี้แล้วกัน เมื่อถูกหลอมด้วยอุณหภูมิที่สูงขนาดนั้น ตามหลักการแล้ว เมื่อมวลอากาศมันร้อนมันย่อมยกตัวขึ้นสูงอยู่แล้ว ส่วนจะไปได้ไกลขนาดนั้น มันก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่น ข้อที่ 1. ความเร็วลมที่อยู่เหนือบริเวณปล่องหลอม ณ เวลานั้นว่าอยู่ที่เท่าไร ข้อที่ 2. ขึ้นอยู่กับ Particle Size Distribution หรือ การกระจายของขนาดอนุภาค ที่จะมีการฟุ้งกระจายแตกต่างกันไปตามขนาดของอนุภาค”

อันตรายของ Cs-137 เมื่อลอยอยู่ในอากาศ :

“ผมขออธิบายง่ายๆ แบบนี้แล้วกัน Cs-137 ที่ลอยอยู่ในอากาศสามารถถูกชะล้างได้จาก ข้อที่ 1.ถูกชะล้างด้วยฝน หิมะ หรือ ลูกเห็บ (Wet Deposition) และข้อที่ 2. ถูกชะล้างด้วยแรงโน้มถ่วงโลกดึงลงมา (Dry Deposition)

อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่ากังวล คือ เมื่อมันถูกดึงให้ลงมาอยู่บนพื้นดินแล้ว กว่าที่มันจะย่อยสลายไปตามหลักการ Half-Life นั้น มันใช้เวลานานมากๆ ฉะนั้นมันจึงมีความเสี่ยงสูงที่มันจะหลุดเข้าไปสะสมอยู่ในห่วงโซ่อาหาร จนกระทั่งในท้ายที่สุดมันอาจจะเข้ามาอยู่ในร่างกายของมนุษย์ ผ่านการกินเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรต่างๆ”

Cs-137 กับ PM 2.5 :

“หากถามว่า Cs-137 สามารถเข้าไปอยู่ใน PM 2.5 ได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้สิครับ! ทำไมจะไม่ได้ ที่ผ่านมาผมเน้นย้ำมาตลอดว่า สารก่อมะเร็ง สารกลายพันธุ์ และโลหะหนัก สามารถเข้าไปอยู่ใน PM 2.5 ได้มาตลอด เพียงแต่ที่ไม่ค่อยพูดถึงสารกัมมันตรังสีเพราะกรณีแบบที่เกิดขึ้นในจังหวัดปราจีนบุรี มันไม่ค่อยเกิดบ่อยในประเทศไทยเท่านั้นเอง”

ความอันตรายของ Cs-137 ที่ จังหวัดปราจีนบุรี :

“ผมขอตอบแบบนี้แล้วกัน หากอ้างอิงจากที่ฝ่ายราชการไทยแถลงจนถึงเวลานี้ (21มีค.66) ซึ่งระบุว่า ระดับความเข้มข้นของ Cs-137 ที่ จังหวัดปราจีนบุรี น้อยกว่าเหตุการณ์หายนะโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิล ประมาณ 50 ล้านเท่า เพราะหากจำไม่ผิด ที่ฝ่ายราชการไทยแถลงน่าจะอยู่ที่ประมาณ 0.0005 กรัม เท่านั้น ซึ่งน้อยมากๆ ในขณะที่เหตุการณ์เชอร์โนบิล นั้น ระดับความเข้มข้นของ Cs-137 อยู่ที่ 27 กิโลกรัม ซึ่งเรียกได้ว่าคนละเรื่องเลยทีเดียว”

อีกทั้งหากเทียบกันแล้วในกรณีเชอร์โนบิลนั้น ถือเป็น “อุบัติเหตุ” (Accident) จึงทำให้มีระดับความรุนแรงของเหตุการณ์สูง แต่ในกรณีที่เกิดขึ้นที่จังหวัดปราจีนบุรี นั้น ยังเป็นเพียงระดับ “เหตุการณ์” (Incident) เท่านั้น ขอบเขตของระดับความรุนแรงจึงไม่สูงมากนักด้วย

ระดับกัมมันตรังสีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ :

“ในประเทศสหรัฐฯ มีข้อกำหนดเบื้องต้นว่า สำหรับบุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกัมมันตรังสี จะต้องมีระดับกัมมันตรังสีในร่างกายเฉลี่ยไม่เกิน 100 Millirem (mrem) ต่อปี ส่วนบุคคลทั่วไป จะต้องมีระดับกัมมันตรังสีในร่างกายเฉลี่ยไม่เกิน 4 mrem ต่อปี

ส่วนค่าเฉลี่ยสำหรับการปนเปื้อนกัมมันตรังสีในน้ำดื่มจะต้องไม่เกิน 200 Picocurie ต่อ ลิตร (pCi/L)”

บทเรียน Cs-137 จังหวัดปราจีนบุรี :

“สิ่งที่ต้องเรียนรู้จากเหตุการณ์นี้ในประเด็นแรกเลยคือ มันหลุดออกไปได้อย่างไร และใครที่เป็นผู้นำมันออกไป รวมถึง ผู้ที่ต้องรับผิดชอบจากเหตุการณ์นี้คือใครกันแน่? ซึ่งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องตอบคำถามนี้จากสังคมให้ได้ เพราะหากยังตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้ ก็อย่าไปฝันเรื่องการมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์กันเลย เพราะแค่ Cs-137 ยังปล่อยให้หลุดออกมาได้ ยังฝันจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กันอีกหรือ?”

นอกจากนี้ สิ่งที่อยากทิ้งท้ายและอยากให้หน่วยงานราชการไทยใช้บทเรียนจากเรื่องนี้ไปปรับใช้อีกเรื่องคือ เท่าที่ส่วนตัวได้รับข้อมูลมา ทราบว่ามีการแอบลักลอบนำกากอุตสาหกรรมที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากต่างประเทศใส่ตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อนำเข้ามาทิ้งในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง

ซึ่งหากข้อมูลนี้เป็นจริง ต้องถือว่าเป็นเรื่องอันตรายต่อประชาชนมากเสียยิ่งกว่า เหตุการณ์ Cs-137 ที่จังหวัดปราจีนบุรีเสียอีก ตนเองจึงอยากเรียกร้องให้หน่วยงานราชการไทยเร่งตรวจสอบข้อมูลนี้โดยด่วนที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อประชาชนในวงกว้างต่อไปในอนาคต

ซีเซียม 137 อยู่ได้นานแค่ไหน

ซีเซียม-137 (Cs-137) เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุซีเซียม ซึ่งเป็นผลผลิตฟิชชันที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ซีเซียม-137 มีครึ่งชีวิต 30.17 ปี ประมาณ 95% สลายตัวโดยการปลดปล่อยรังสีบีต้าแล้วกลายเป็นแบเรียม-137m (barium-137m) ซึ่งเป็นไอโซโทปกึ่งเสถียร (metastable) หรือไอโซเมอร์ของแบเรียม-137 (137mBa, Ba-137m) ส่วน ...

ซีเซียม 137 กระจายได้กี่กิโล

สอดคล้องกับข้อมูลของ นพ.สมรส พงศ์ละไม แพทย์ประจำศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา โพสต์เฟซบุ๊ก Somros MD Phonglamai ว่า ถ้าซีเซียม-137 ถูกหลอมเผาไหม้ และกลายเป็นไอ สามารถออกไปได้เป็นหลักร้อยถึงพันกิโลเมตรขึ้นกับลม (เหตุการณ์ที่ Chernobyl พบว่า ซีเซียม-137 ปลิวไปถึงสวีเดน 1,000 กิโลเมตร) และทำร้ายสิ่งมีชีวิตได้ ...

ซีเซียม 137 หน้าตาเป็นอย่างไร

ซีเซียม 137 คืออะไร สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ระบุว่า ซีเซียม-137 (Caesium-137) มีค่าครึ่งชีวิต 30.08 ปี มีลักษณะเป็นของแข็งคล้ายผงเกลือ สามารถฟุ้งกระจายได้เมื่อแตกออกจากแคปซูลที่ห่อหุ้มไว้ โดยมีกลไกการสลายตัวแบบบีตา และแกมมาก่อนกลายสภาพไปเป็นธาตุแบเรียม-137 (Ba-137)

ซีเซียม 137 อันตรายไหม

อันตรายจากการได้รับรังสีจากซีเซียม-137 จะเกิดได้เมื่อได้รับรังสีในปริมาณที่สูงพอ โดยมีหลายกลุ่มอาการที่เกิดได้ ระยะแรก จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ซึ่งจะเกิดตั้งแต่ 1ชั่วโมงถึง 2 วันหลังได้รับรังสี หากปนเปื้อนที่ผิวหนังจะเกิดการอักเสบ แดง มีการหลุดลอกของผมหรือขนจะหลุดล่วง ร่วมกับมีถุงน้ำและแผลอักเสบ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้