การท งระเบ ดน วเคล ยร ท ฮ โรช ม าและนางาซาก

ผลของระเบิดนิวเคลียร์ทำให้เมืองฮิโรชิมา มีผู้เสียชีวิตทันทีจากการระเบิด ประมาณ 70,000 คน มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตภายหลังในปีเดียวกันอีกราว 70,000 คน และผู้ที่เสียชีวิตภายหลังนี้ต้องได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสก่อน เสียชีวิต จากแผลไฟลวก และผลจากกัมมันตภาพรังสี และประมาณอีก 60,000 คนเสียชีวิตในอีก 6 ปี ถัดมา ส่วนใหญ่เป็นผลจากกัมมันตภาพรังสี รวมแล้วมีผู้เสียชีวิตกว่า 200,000 คน

4

เมื่อวันที่ 6 และ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา ประเทศญี่ปุ่นจัดพิธีรำลึกครบรอบ 75 ปี เหตุการณ์สหรัฐฯ ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์โจมตีเมืองฮิโรชิมา กับเมืองนางาซากิ ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับแสนราย และกล่าวกันว่า เป็นเหตุผลที่ทำให้ญี่ปุ่นตัดสินใจประกาศยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2

แต่กว่าญี่ปุ่นจะยอมแพ้ พวกเขาใช้เวลาตัดสินใจหลายวัน ซึ่งในระหว่างนั้น เหล่านายพลของกองทัพสหรัฐฯ ต่างพยายามผลักดันเพื่อทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ลูกที่ 3 ใส่ญี่ปุ่น และมันเกือบจะเกิดขึ้นมากกว่าที่หลายคนคิด แต่แล้วสงครามก็จบลง โดยที่อาวุธมหาประลัยลูกนั้น ไม่มีโอกาสถูกนำมาใช้อีกเลย มันเกิดอะไรขึ้นในตอนนั้นกันแน่

ควันจากระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมา

สหรัฐฯ คิดใช้ระเบิดปรมาณูมากว่า 2 ลูกตั้งแต่แรก

ระเบิดปรมาณูถูกสร้างภายใต้ ‘โปรเจกต์ แมนฮัตตัน’ โครงการลับสุดยอดที่เริ่มตั้งแต่ปลายปี 1942 และเป้าหมายเดียวคือการพัฒนาอาวุธชนิดใหม่ แต่ส่วนที่ยากของการสร้างระเบิดปรมาณูคือ การผลิตเชื้อเพลิงสำหรับระเบิด หรือการเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมกับพลูโตเนียม ซึ่งต้องใช้ค่าใช้จ่ายกับกำลังคนเกือบทั้งหมดของโครงการ

ในเดือนกรกฎาคม 1945 ปีสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯ ผลิตเชื้อเพลงเพียงพอใช้กับระเบิดแค่ 3 ลูกเท่านั้น คือ ‘แกดเจ็ต’ (Gadget), ‘ลิตเติล บอย’ (Little Boy) และ ‘แฟต แมน’ (Fat Man) ขณะที่เหลือพลูโตเนียมเกือบจะพอสำหรับลูกที่ 4 เบื้องต้น โรงงานของโครงการแมนฮัตตันสามารถผลิตเชื้อเพลิงเพียงพอต่อระเบิด 3 ลูกต่อเดือนเท่านั้น แต่ในภายหลังทีมนักวิทยาศาสตร์ก็พบทางออกด้วยการเปลี่ยนแบบของระเบิด ทำให้พวกเขาสามารถผลิตระเบิดได้มากขึ้น

ห้องควบคุมในศูนย์ K-25 ที่เมืองโอ็ค ริดจ์ รัฐเทนเนสซี ซึ่งถูกเรียกว่าเมืองลับ เพราะถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์วิจัยอาวุธในโครงการแมนฮัตตัน

สหรัฐฯ ใช้ระเบิด แกดเจ็ต ในการทดสอบ ‘ทรินิตี้’ (Trinity) เมื่อ 16 ก.ค. 1945 ที่ทะเลทรายในรัฐนิวเม็กซิโก ผลคือประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ระเบิดรุนแรงกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดไว้หลายเท่า ซึ่งในตอนนั้น พลตรี เลสลี อาร์. โกรฟส์ หัวหน้าโครงการแมนฮัตตัน บอกกับ ดร.เจ. โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของโครงการว่า สหรัฐฯ อาจต้องใช้ระเบิดปรมาณู 3 ลูก “ตามแผนเดิม” หรืออาจต้องใช้ถึง 4

มุมมองของนายพลโกรฟส์ไม่ใช่เรื่องเกินความคาดหมาย เนื่องจากในตอนนั้น สหรัฐฯ ไม่เคยคิดเลยว่า ระเบิดปรมาณู 2 ลูกจะสามารถยุติสงครามได้ แต่เชื่อว่าต้องใช้ยุทธศาสตร์นิวเคลียร์ควบคู่กับการบุกโจมตี เพราะคาดเดาไม่ได้ว่า ระเบิดปรมาณูจะส่งผลต่อใจสู้ของฝ่ายญี่ปุ่นมากแค่ไหน เนื่องจากนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 1945 ถึงเดือนกรกฎาคม สหรัฐฯ ทิ้งระเบิดโจมตีเมืองญี่ปุ่นจนพังราบไปกว่า 60 เมือง แต่ฝ่ายทหารของญี่ปุ่นยังไม่มีทีท่าจะยอมแพ้เลย

พลตรี เลสลี อาร์. โกรฟส์

การเลือกเป้าหมาย

เนื่องจากระเบิดปรมาณูมีจำกัด สหรัฐฯ จึงจัดการประชุมเพื่อเลือกเป้าหมายในการโจมตี ที่จะสามารถแสดงเจตจำนงของพวกเขาได้อย่างชัดเจนที่สุด ซึ่งรายชื่อเป้าหมายสุดท้ายก็เสร็จสมบูรณ์ในการสื่อสารลับระหว่างรัฐมนตรีกระทรวงสงคราม เฮนรี สติมสัน ที่กำลังร่วมประชุม ‘พอตส์ดาม’ ของ 3 ผู้นำโลกคือสหรัฐฯ, อังกฤษ และสหภาพโซเวียต ที่เกิดขึ้นหลังการทดสอบทรินิตี กับพลตรีโกรฟส์ ซึ่งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

นายพลโกรฟส์ กำหนดเป้าหมายการโจมตีเอาไว้ 4 เมืองคือ เมืองฮิโรชิมา, เมืองโคคุระ, เมืองนางาซากิ และเมืองนีงาตะ ก่อนที่ร่างรายชื่อเป้าหมายนี้จะถูกส่งให้ประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมน ดู และได้รับการอนุมัติจากรัฐมนตรีสติมสันกับพลเอก จอร์จ มาร์แชล หัวหน้าคณะเสนาธิการกองทัพสหรัฐฯ และออกเป็นคำสั่งในวันที่ 25 ก.ค. ส่งจากพลโท โธมัส แฮนดี รองหัวหน้าคณะเสนาธิการกองทัพสหรัฐฯ ไปยังพลเอก คาร์ล สแปตซ์ ผู้บัญชาการกองกำลังยุทธศาสตร์ทางอากาศของสหรัฐฯ

คำสั่งดังกล่าวระบุว่า หลังจากวันที่ 3 ส.ค. 1945 กองทัพอากาศที่ 20 จะทิ้ง ‘ระเบิดพิเศษ’ ลูกแรกที่เมือง ฮิโรชิมา, โคคุระ, นีงาตะ หรือ นางาซากิ โดยต้องกำหนดเป้าหมายด้วยตา ไม่ใช่เรดาร์ ยิ่งกว่านั้น ระเบิดลูกอื่นๆ จะถูกส่งไปเหนือเป้าหมายอื่นๆ ทันทีที่พร้อม และจะมีการเลือกเป้าหมายใหม่ หลังจาก 4 เป้าหมายแรกถูกทำลายแล้ว จะเห็นได้ว่า นี่ไม่ใช่คำสั่งทิ้งระเบิดปรมาณูเพียงลูกเดียว แต่เป็นคำสั่งที่อนุญาตให้ทิ้งระเบิดได้มากเท่าที่มีหรือทันทีเมื่อพร้อม

ระเบิดปรมาณู ‘ลิตเติล บอย’

ระเบิดปรมาณูโจมตีครั้งที่ 1

สหรัฐฯ ใช้เกาะทีเนียน ของหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา ในมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นฐานโจมตีญี่ปุ่นมาตลอด หลังจากยึดเกาะแห่งนี้ได้ในปี 1944 และพวกเขาคิดจะใช้ทีเนียน เป็นฐานสำหรับส่งระเบิดนิวเคลียร์โจมตีแดนอาทิตย์อุทัยด้วย โดยเริ่มสร้างโรงงานสำหรับประกอบระเบิดปรมาณูในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 1945 เวลาเดียวกับที่กองทัพเริ่มประชุมกำหนดเป้าหมายโจมตีพอดี

ในวันที่ 16 ก.ค. วันเดียวกับการทดสอบทรินิตี กองทัพสหรัฐฯ ก็เริ่มส่งส่วนประกอบของระเบิด ลิตเติล บอย ไปยังเกาะทีเนียนแล้ว และไปถึงครบทั้งหมดในวันที่ 29 ก.ค. ซึ่งระเบิดจะพร้อมใช้งานในช่วงสิ้นเดือน ขณะที่ ส่วนประกอบของ แฟต แมน เดินทางไปถึงในวันที่ 2 ส.ค. ก่อนที่การประกอบจะเสร็จสิ้นในวันที่ 7 เดือนเดียวกัน

แต่เพราะคำสั่งที่บอกว่า ต้องกำหนดเป้าหมายด้วยตาเท่านั้น ทำให้กองทัพต้องรอหลายวันเพื่อให้สภาพอากาศเอื้ออำนวย จนกระทั่งวันที่ 6 ส.ค. เมฆเหนือเมืองฮิโรชิมา เบาบางลง เครื่องบินทิ้งระเบิด บี-29 ชื่อ ‘เอโนลา เกย์’ ก็ออกปฏิบัติการ และทิ้งระเบิด ลิตเติล บอย ลงสู่เมืองฮิโรชิมา ปล่อยพลังระเบิดขนาด 15,000 ตันทีเอ็นที ทำลายเมืองไปพร้อมกับประชาชนหลายหมื่นชีวิตภายในเวลาไม่กี่นาที

ระเบิดปรมาณู ‘แฟต แมน’

ระเบิดปรมาณูโจมตีครั้งที่ 2

เหตุการณ์โจมตีที่ฮิโรชิมา กลายเป็นข่าวไปทั่วโลกรวมทั้งในญี่ปุ่น แต่ในขณะที่กองทัพแดนอาทิตย์อุทัยกำลังพยายามยืนยันว่าเกิดอะไรขึ้นที่ฮิโรชิมา ภารกิจการโจมตีครั้งต่อไปของสหรัฐฯ ก็เริ่มขึ้นแล้ว โดยในวัน 8 ส.ค. พยากรณ์อากาศของสหรัฐฯ ก็พยากรณ์ว่า สภาพอากาศในวันที่ 10 ส.ค. ซึ่งกำหนดเป็นวันโจมตีครั้งที่ 2 จะไม่เอื้ออำนวย แต่แทนที่จะปรึกษากับทางวอชิงตัน เจ้าหน้าที่บนเกาะทีเนียน กลับตัดสินใจตามอำนาจของคำสั่งโจมตี ดำเนินการประกอบแฟต แมน จนเสร็จ และโหลดขึ้นเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-19 อีกลำที่ชื่อ ‘บ็อคสการ์’ แล้วส่งออกไปในวันที่ 9 ส.ค. เพื่อโจมตีเมืองโคคุระ เมืองคลังแสงของญี่ปุ่น

เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นอีก เมื่อทัศนวิสัยบนเกาะคิวชู ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองโคคุระแย่มาก บ็อคสการ์ ใช้เวลาค้นหาอยู่ 45 นาที ก็ไม่เป็นผล จึงตัดสินใจเปลี่ยนเป้าหมายไปที่เมืองนางาซากิ และในเวลา 11:02 น. แฟต แมน ก็ถูกจุดระเบิดเหนือเมืองท่าแห่งนี้ สร้างแรงระเบิดถึง 21,000 ตันทีเอ็นที สังหารผู้คนไปกว่า 70,000 ชีวิต

ในเวลาเดียวกันนั้น กองบัญชาการสูงสุดของญี่ปุ่นกำลังประชุมเพื่อหารือเรื่องสหภาพโซเวียตประกาศสงครามกับพวกเขาอย่างเป็นทางการ และผลกระทบจากการบุกแมนจูเรีย ก่อนที่ข่าวการโจมตีที่นางาซากิจะถูกส่งมาถึง ซึ่งดับความหวังทุกอย่างของแดนอาทิตย์อุทัยที่จะเชื่อว่า สหรัฐฯ มีระเบิดปรมาณูเพียงลูกเดียว แต่การประกาศสงครามของโซเวียตกับระเบิดปรมาณูลูกที่ 2 ยังไม่เพียงพอให้พวกเขายอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไข ในวันที่ 10 ส.ค. ทางการญี่ปุ่นยื่นข้อเสนอยอมแพ้ต่อสหรัฐฯ แบบมีเงื่อนไขคือ ต้องรักษาบทบาทและอำนาจของจักรพรรดิเอาไว้

เมืองนางาซากิถูกทำลายราบ

ผู้นำสหรัฐฯ เบรกใช้นิวเคลียร์

ด้านกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ของสหรัฐฯ ปั่นป่วนอย่างหนัก ประธานาธิบดีทรูแมนกับคณะรัฐมนตรีของเขากำลังพิจารณาข้อเสนอขอยอมแพ้แบบมีเงื่อนไขของญี่ปุ่นอย่างละเอียด ขณะที่นายพลโกรฟส์ ส่งจดหมายถึงนายพลมาร์แชล เพื่อแจ้งว่า ระเบิดลูกต่อไปอาจจะพร้อมใช้งานเร็วกว่าที่คิด โดยส่วนประกอบระเบิดส่วนสุดท้ายจะถูกส่งไปยังเกาะทีเนียนในวันที่ 12-13 ส.ค. และจะพร้อมโจมตีเมืองของญี่ปุ่นอีกแห่งภายใน 1 สัปดาห์

ทว่า ประธานาธิบดีทรูแมนได้รับแจ้งเรื่องนี้ และดำเนินการตอบสนองทันที โดยพลเอกมาร์แชลส่งจดหมายตอบนายพลโกรฟส์ว่า ระเบิดปรมาณูจะไม่ถูกปล่อยใส่ญี่ปุ่นหากไม่ได้รับอำนาจจากประธานาธิบดี ทรูแมน ผู้ที่นายพลโกรฟส์ ระบุในภายหลังว่า ไม่มีส่วนร่วมกับคำสั่งใช้อาวุธนิวเคลียร์มากนัก แต่มีบทบาทโดยตรงในการหยุดไม่ให้ระเบิดถูกใช้ไปมากกว่านี้

แฮร์รี ทรูแมน ประธานาธิบดีคนที่ 33 ของสหรัฐฯ

แต่เหตุใด ประธานาธิบดีทรูแมน ที่ประกาศว่าการโจมตีที่ฮิโรชิมาเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ กลับตัดสินใจหยุดการโจมตี? ตามบันทึกของนาย เฮนรี วอลเลซ เลขาธิการด้านการพาณิชย์ของนายทรูแมนและอดีตรองประธานาธิบดี นายทรูแมนบอกกับรัฐสภาในเช้าวันที่ 11 ส.ค. ว่า เขาสั่งให้หยุดการใช้ระเบิดลูกที่ 3 เพราะความคิดที่ว่า การทำลายล้างคนอีก 100,000 ชีวิตเป็นเรื่องเลวร้ายเกินไป และเขาไม่ชอบความคิดเรื่องการสังหารเด็กๆ เหล่านั้น

ไม่ว่านายทรูแมนจะคิดอย่างไรก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าเขากำลังพยายามชิงสิทธิ์ควบคุมคืนมา หลังจากคำสั่งของเขาอาจทำให้กองทัพคิดว่า ตัวเองมีอำนาจเด็ดขาดในการใช้อาวุธใหม่ชนิดนี้ เห็นได้จากการโจมตีที่นางาซากิ ซึ่งกว่านายทรูแมนจะรู้เรื่องก็หลังการโจมตีเกิดขึ้นไปแล้ว

สภาพเมืองฮิโรชิมา หลังถูกโจมตีด้วยระเบิดปรมาณู

ระเบิดปรมาณูโจมตีครั้งที่ 3?

แม้จะสั่งหยุดการใช้ระเบิดปรมาณู แต่ประธานาธิบดีทรูแมนกับคณะรัฐมนตรี ต้องการให้ญี่ปุ่นยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น ทว่าหลังจากรอมาหลายวัน (10-14 ส.ค.) ก็ยังไม่มีคำตอบจากฝ่ายญี่ปุ่น กองทัพกับสื่อในสหรัฐฯ ต่างตั้งคำถามว่า จะมีการทิ้งนิวเคลียร์โจมตีแดนอาทิตย์อุทัยเป็นครั้งที่ 3 หรือไม่

ผู้นำกองทัพอากาศสหรัฐฯ หลายคนยังคิดว่าจำเป็นต้องใช้ระเบิดปรมาณูมากกว่านี้เพื่อให้ญี่ปุ่นยอมแพ้ แม้จะถูกเบรกเอาไว้ ในวันที่ 10 ส.ค. นายพล สแปตซ์ ส่งโทรเลขหาพลเอก ลอริส นอร์สตาด หัวหน้าหน่วยกำหนดเป้าหมายโจมตีของกองทัพอากาศ เพื่อเสนออย่างจริงจังเรื่องการใช้อาวุธชนิดนี้โจมตีกรุงโตเกียว เพื่อสร้างผลกระทบทางจิตใจต่อรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งเขาได้รับแจ้งว่า ข้อเสนอของเขากำลังได้รับการพิจารณาจากเบื้องบน และจะมีคำตอบสุดท้ายภายใน 2 วัน

พื้นที่โล่งในรัฐ นิว เม็กซิโก ที่สหรัฐฯ ใช้เป็นสถานที่ทดสอบระเบิดปรมาณูลูกแรก หรือการทดสอบ ทรินิตี

ในวันที่ 13 ส.ค. รัฐมนตรีสติมสัน ออกมากล่าวว่า อาจเริ่มการขนส่งองค์ประกอบระเบิดนิวเคลียร์ไปยังเกาะทีเนียนอีกครั้ง วันต่อมา นายพลสแปตซ์ยังคงผลักดันเรื่องการทิ้งระเบิดปรมาณูใส่กรุงโตเกียวเป็นเป้าหมายถัดไป แต่คำตอบยังคงเดิมคือ “กำลังพิจารณา” ขณะที่นายพลโกรฟส์ ได้รับรายงานว่า การตัดสินใจว่าจะใช้ระเบิดปรมาณูหรือไม่นั้น จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ หรือ 15 ส.ค.

ต่อมาในช่วงบ่ายวันที่ 14 ส.ค. ประธานาธิบดีทรูแมนได้พบกับเอกอัครราชทูตอังกฤษและกล่าวว่า ในเมื่อญี่ปุ่นดูเหมือนจะไม่มีความตั้งใจที่จะยอมแพ้แบบไม่มีเงื่อนไข เขาก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจาก สั่งทิ้งระเบิดปรมาณูใส่กรุงโตเกียว ซึ่งหากนายทรูแมนออกคำสั่ง ปฏิบัติการโจมตีจะเกิดขึ้นภายในไม่กี่วันข้างหน้า

นายกรัฐมนตรี ชินโสะ อาเบะ แห่งญี่ปุ่น วางพวงหรีดไว้อาลัยที่สวนสาธารณะสันติภาพนางาซากิ เมื่อ 9 ส.ค. 2563 เนื่องในวันครบรอบ 75 ปี สหรัฐฯ ใช้ระเบิดปรมาณูโจมตีญี่ปุ่น

และแล้วสงครามก็จบลง

โชคดีที่นายทรูแมนยังไม่ทันได้สั่งการใดๆ เพราะไม่นานหลังจากเขาคุยกับทูตอังกฤษ ในวันเดียวกันนั้น วันที่ 14 ส.ค. 1945 ญี่ปุ่นก็ประกาศยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไข จนถึงปัจจุบันนี้ นักประวัติศาสตร์ยังถกเถียงกันอยู่เลยว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนใจกันแน่ จะเป็นเพราะระเบิดปรมาณู, การประกาศสงครามของโซเวียต, ปัญหาภายในกองทัพญี่ปุ่น หรืออาจจะเป็นเพราะทุกเหตุผลที่กล่าวมารวมกันก็เป็นได้

แต่ไม่ว่าญี่ปุ่นจะยอมแพ้ด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม ระเบิดปรมาณูของสหรัฐฯ ได้เปลี่ยนรูปแบบการทำสงครามไปตลอดกาล และสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศญี่ปุ่น ที่พวกเขาและโลกจะไม่มีวันลืมเลยว่า อาวุธมหาประลัยชนิดนี้ สามารถสร้างความหายนะได้มากมายเพียงไร

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้