Traditional heritage ภ ม ป ญญาท เป นมรดกทางว ฒนธรรม

คณะกรรมการจากยูเนสโกกำลังพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกรายการใหม่ที่มอริเชียส ล่าสุดมีการประกาศให้ ‘ซีรึม’ (Ssirum/Ssireum) ศิลปะการต่อสู้มวยปล้ำแบบฉบับเกาหลี ขึ้นทะเบียนเป็น ‘มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม’ ในปีนี้ ซีรึมเป็นกีฬาพื้นบ้านของชาวเกาหลีมานานหลายร้อยปี เป็นศิลปะการต่อสู้ที่คล้ายคลึงกับกีฬามวยปล้ำซูโม่ของญี่ปุ่น ...

3 กันยายน 2018

โขนเป็นของใคร ไทยหรือเขมร หรือควรจะเลิกเถียงกันได้แล้ว

ถ้ามองในระดับปรากฏการณ์ทั้งกัมพูชาและไทย รวมถึงอีกหลายประเทศในอุษาคเนย์กำลังเผชิญชะตากรรมคล้ายกันคือความขัดแย้งที่เกิดจากมรดกของยุคอาณานิคมและอาณานิคมใหม่ภายใต้นาม ‘มรดกโลก’ เรื่องโขนที่ไทยกำลังดราม่ากับกัมพูชาซึ่งคนไทยเถียงกันว่าใครเป็นเจ้าของที่แท้จริงนี้ไม่ใช่เป็นกรณีแรกของปัญหาที่มาจาก ‘Intangible Cultural Heritage’ หรือวัฒนธรรมที...

31 สิงหาคม 2018

มรดกโลกของไทยมีอะไรบ้าง

ยูเนสโก (UNESCO) ถือเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญของสหประชาชาติที่ทำหน้าที่ในการพิจารณาและขึ้นทะเบียนสถานที่สำคัญ โบราณวัตถุ รวมถึงภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ให้เป็นแหล่งมรดกโลก ความทรงจำแห่งโลก รวมถึงมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้วทั้งหมด 5 แห่ง โดย ป่...

หนังสือ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ: บทเรียนจากเพื่อนบ้าน Heritage of the Nations : lessons learned from the neighboring countries) จัดพิมพ์ขึ้นโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ หนังสือ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ: บทเรียนจากเพื่อนบ้าน (Heritage of the Nations : lessons learned from the neighboring countries) จัดพิมพ์ขึ้นโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” (Intangible Cultural Heritage) ตาม “อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” พ.ศ.2546 (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage, 2003) ขององค์การยูเนสโก หรือองค์การสหประชาชาติเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization-UNESCO) ซึ่งประเทศไทยได้ดำรงสถานะเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาฯ โดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2559 ภายหลังจากยื่นหนังสือการให้สัตยาบันไปเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2559

หนังสือ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ: บทเรียนจากเพื่อนบ้าน ประกอบด้วยเนื้อหาสองส่วน คือ บทนำ ที่จะให้ภาพรวมของความเป็นมาเชิงประวัติของอนุสัญญาฯ นับตั้งแต่ที่มาและพัฒนาการภายใต้การดำเนินขององค์การยูเนสโกรวมถึงความเป็นมาและการดำเนินงานของประเทศไทยภายใต้กระทรวงวัฒนธรรมที่นำไปสู่การออก “พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559” ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับอนุสัญญาฯของยูเนสโกอย่างใกล้ชิด

อ่านบทนำได้ที่นี่

ในส่วนที่สอง ประกอบด้วยบทความแปลจำนวน 6 บทที่ให้ภาพทั้งในทางกว้างและทางลึกอันเนื่องด้วยหลักการและข้อปฏิบัติของอนุสัญญาฯ ผ่านกรณีตัวอย่างของประเทศเพื่อนบ้านและจากประเทศในภูมิภาคอื่นๆ โดยคาดหวังว่า จะช่วยขยายความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กระบวนการ ข้อปฏิบัติรวมถึงข้อถกเถียงที่เกี่ยวเนื่องกับ “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ” (Intangible Cultural Heritage) ที่เกิดขึ้นในบริบททางสังคมที่หลากหลายซึ่งน่าจะเป็นบทเรียนที่จำเป็นในฐานะที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสมาชิกโดยสมบูรณ์ของอนุสัญญาฯ ได้แก่

  1. “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม วัฒนธรรมที่มีชีวิตของกลุ่มชน”

โดย เฟรเดอริโก เลนเซอรินี แปลโดย อิสระ ชูศรี

อ่านได้ที่นี่

2. “ของฉัน ของเธอ หรือของเรา: ความขัดแย้งระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซียเหนือมรดกวัฒนธรรมร่วม”

โดย จิน วิน ชอง แปลโดย เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์

อ่านได้ที่นี่

3. “เมื่อไม่มีผลงานชิ้นเอก: ผลกระทบอันแจ้งชัดและมรดกวัฒนธรรมที่มิใช่กายภาพในโลกที่มีพรมแดน”

โดย เคธี่ โฟลีย์ แปลโดย สุดแดน วิสุทธิลักษณ์

อ่านได้ที่นี่

4. จากรูปแบบของพิธีกรรมสู่จุดดึงดูดนักท่องเที่ยว: การต่อรองการแปลงรูปแบบนาฏศิลป์ดั้งเดิมของกัมพูชาในโลกที่เปลี่ยนแปลง โดย เซเลีย ทุขแมน-รอสตา แปลโดย อิสระ ชูศรี

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม[ หรือ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (อังกฤษ: intangible cultural heritage, ย่อ: ICH) ได้รับการสนับสนุนจากยูเนสโก โดยมุ่งเน้นไปยังวัฒนธรรมส่วนที่ในทางกายภาพนั้นจับต้องไม่ได้

ใน พ.ศ. 2544 ยูเนสโกได้ทำการสำรวจเพื่อพยายามให้นิยามและจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) จนแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2546 เพื่อการคุ้มครองและสนับสนุนวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

ปัจจุบัน (ธันวาคม 2564) ยูเนสโกขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้แล้วทั้งสิ้น 629 รายการ ใน 139 ประเทศทั่วโลก

ตามอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2546 คำว่า "มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage)" นิยาม ดังนี้

“มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” หมายถึง การปฏิบัติ การเป็นตัวแทน การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมอันเป็นผลจากสิ่งเหล่านั้น ซึ่งชุมชน กลุ่มชน และในบางกรณีปัจเจกบุคคลยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของตน มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้นี้ซึ่งถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งเป็นสิ่งซึ่งชุมชนและกลุ่มชนสร้างขึ้นใหม่อย่างสม่ำเสมอเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน เป็นปฏิสัมพันธ์ของพวกเขาที่มีต่อธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของตน และทำให้คนเหล่านั้นเกิดความรู้สึกมีอัตลักษณ์และความต่อเนื่อง ดังนั้นจึงก่อให้เกิดความเคารพต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เพื่อให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของอนุสัญญาฉบับนี้ จะมีการพิจารณาเฉพาะมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้เท่าที่สอดคล้องกับบทบัญญัติที่มีอยู่ด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเท่านั้น รวมทั้งข้อกำหนดให้มีการเคารพซึ่งกันและกันระหว่างชุมชนทั้งหลาย กลุ่มชน และปัจเจกบุคคล และต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ในประเทศไทย นิยามศัพท์ของคำว่า "Intangible Cultural Heritage" ในบริบทของประเทศไทยมีผู้นิยามไว้หลากหลาย เช่น มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่ใช่กายภาพ และมรดกวัฒนธรรมทางจิตใจ เป็นต้น

ความสับสนของการนิยามความหมายของ "Intangible Cultural Heritage" ในประเทศไทยดังกล่าว ก่อให้เกิดการถกเถียงเป็นวงกว้าง กระทรวงวัฒนธรรมในฐานะผู้รับผิดชอบจึงได้หาบทสรุปโดยการเปิดเวทีรับความคิดเห็น และมีมติให้ใช้คำว่า "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" แทนคำว่า "มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้" ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 อย่างไรก็ตาม การนิยามความหมายของคำว่า "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาฯ ที่ทางการไทยจัดทำ และคำว่า "Intangible Cultural Heritage" ใน อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2546 ที่ยูเนสโกจัดทำ มีความแตกต่างกันบางประการ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้