Stroke หล บตาตลอด เเต ม กำล งเเขนขาหย บจ บ

การป้องกันอันตรายจากรังสี

การป้องกันอันตรายจากรังสี ในปัจจุบันนี้ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เข้ามามี บทบาทต่อชีวิตประจำวันและการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน แต่ในแง่หนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลยคือ ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีอย่างแท้จริง ทำให้การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ ขาดการควบคุมดูแลให้ถูกต้องและเหมาะสม จึงเป็นผลให้เกิดอันตรายได้ เช่นเดียวกันกับการนำเอาสารกัมมันตรังสีมาใช้ก็เช่นกันเพราะสารกัมมันตรังสีนั้นมีประโยชน์มากมาย แต่โทษที่อาจเกิดขึ้นจากรังสีนั้นก็มีมากและหลายระดับทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณ ชนิดและระยะเวลาที่ได้รับรังสี เช่น ถ้าได้รับรังสีปริมาณสูงแบบเฉียบพลันอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หรือการรับรังสีที่อวัยวะสืบพันธ์แล้วทำให้เป็นหมัน ก็ยังไม่น่ากลัวเท่ากับการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลให้ลูกหลานที่เกิดมาผิดปกติ ดังนั้น เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานทางด้านรังสีจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันอันตรายจากรังสีเป็นอย่างดี จึงจะสามารถใช้ประโยชน์จากรังสีได้อย่างคุ้มค่าและปลอดภัยที่สุด ที่มาของรังสี สารกัมมันตรังสี คือสารที่สลายตัวปลดปล่อยรังสีออกมา รังสี คืออนุภาคหรือคลื่นที่ปลดปล่อยออกมาจากอะตอมของกัมมันตรังสี สารกัมมันตรังสี จำแนกตามลักษณะการเกิดได้จาก 2 แหล่ง คือ 1. จากธรรมชาติ โดยสารกัมมันตรังสีจากธรรมชาติ เช่น ยูเรเนียม 235 , ยูเรเนียม 238,คาร์บอน 14 ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดของโลก 2. จากมนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเอง เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู (Nuclear reactor) หรือในเครื่องเร่งอนุภาค เช่น เครื่องเร่งอนุภาคนิวตรอน (Neutron generator) และซิลโครตรอน( Cyclotron generator) เป็นต้น สารกัมมันตรังสีที่ได้จากการผลิต เช่น โคบอลต์ 60, ไอโอดีน 131 , ซีเซียม 137, นิวตรอน สารกัมมันตรังสีทั้ง 2 กลุ่ม จะให้รังสีออกมา ได้แก่ รังสีแอลฟ่า , รังสีเบต้า , รังสีแกมมา นิวตรอน นอกจากนี้รังสีที่เป็นที่รู้จักกันดีและใช้กันอย่างกว้างขวางมีประโยชน์มากมาย ได้แก่ รังสีเอกซ์(X-ray) ซึ่งเกิดจากเครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์ ซึ่งใช้ระบบไฟฟ้าแรงสูงเร่งให้อิเลกตรอนวิ่งด้วยความเร็วสูงเข้าชนเป้าที่ทำด้วยโลหะหนักและเกิดเป็นรังสีขึ้น มีความสามารถทะลุทะลวงผ่านวัตถุต่าง ๆ ได้มากบ้าง น้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของวัตถุนั้น ๆ ประโยชน์ของรังสี รังสีที่กล่าวมาข้างต้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางการแพทย์ อุตสาหกรรม การเกษตรและงานวิจัยต่าง ๆ ดังนี้ รังสีแอลฟ่า ใช้เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์สายล่อฟ้า (Am-241 , Ra-226) ,อุปกรณ์กำจัดฝุ่นละอองในผลิตภัณฑ์ (Po-210) , เป็นส่วน ประกอบของอุปกรณ์ตรวจสอบควันไฟ (Am-241) รังสีเบต้า ใช้รักษาโรคต้อเนื้อ (Sr-90) , สารพรายน้ำ (H-3) , สารสะท้อนแสง/เรืองแสง (Pm-147) , ใช้ระงับอาการปวดของมะเร็งที่ลามไปกระดูก(Sm-153) รังสีแกมมา ใช้รักษาโรคมะเร็ง (Co-60) , การฆ่าเชื้อโรคในเวชภัณฑ์ (Co-60) ,การวินิจฉัยโรคและรักษาโรคต่อมไทรอยด์ (Co-60)(I-125 , I-131) , ตรวจสอบการทำงานของไต (I-131) , การตรวจสอบการทำงานของตับ/ทางเดินน้ำดี/ กล้ามเนื้อหัวใจ (Tc-99m) , ศึกษาการไหลเวียนของเลือดที่ปอด/สมอง (Tc-99m) รังสีเอกซ์ ใช้ในการถ่ายภาพอวัยวะต่าง ๆ , ตรวจจับวัตถุแปลกปลอม และสารกัมมันตรังสีที่มีบทบาทสำคัญตัวหนึ่งที่จะกล่าวถึงก็คือ โคบอลต์-60 ซึ่งเมื่อกุมภาพันธ์ 2543 ที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดกรณีตัวอย่างที่ทำให้เราได้เห็นโทษมหันต์ของรังสีที่เราไม่ควรมองข้ามเลย โคบอลต์-60 (Co-60) เป็นสารกัมมันตรังสีชนิดหนึ่งที่ไม่มีอยู่ในธรรมชาติ เกิดขึ้นได้จาการนำโคบอลต์-59 ซึ่งเป็นโลหะในธรรมชาติอาบอนุภาคนิวตรอน ในเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูเกิดเป็นโคบอลต์-60 ซึ่งมีค่าครึ่งชีวิต 5.26 ปี และสลายตัวให้รังสีแกมมาและเบต้า แต่รังสีที่นำมาใช้ประโยชน์มาก คือ รังสีแกมมา ซึ่งใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. ทางการเกษตร 1.1 การปรับปรุงพันธุ์พืช (Mutation Breeding) เช่น พันธุ์ข้าว กข 6 , กข 10 , กข 15 , ถั่วเหลืองพันธ์ดอยคำ , กล้วยหอมทอง KU1 1.2 การกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยการทำหมัน (Sterile Insect technique) เช่น กำจัดแมลงวันผลไม้บนดอยอ่างขาง จ.เชียงใหม่ 1.3 การถนอมอาหาร (Food Preservation) โดยศูนย์ฉายรังสีอาหารและผลิตผลการเกษตรของสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้ให้บริการ ดังนี้ ก. ยับยั้งการงอก : มันฝรั่ง , หอมใหญ่ , กระเทียม , ขิง ข. ชะลอการสุก : มะม่วง , มะละกอ ค. ชะลอการบาน : เห็ด ง. ทำลายพยาธิ : เนื้อหมู , แหนม จ. ลดแบคทีเรียและเชื้อรา : ปลาสด ,เนื้อสด , กุ้งแช่แข็ง , เครื่องเทศ ฉ. ควบคุมแมลง : ข้าว,ถั่วเขียว ,ผลไม้แห้ง ,ปลาแห้ง ,มะขามหวาน ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ผ่านการฉายรังสีมาแล้วนั้นจะไม่มีรังสีตกค้างอยู่เลย ทั้งนี้เนื่องจากรังสีแกมมาที่นำมาใช้ จะไม่แตกตัวและไม่ทำให้ตัวกลางกลายเป็นรังสีแต่อย่างใด ดังนั้นอาหารที่ผ่านการฉายรังสี จึงปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค 2. ทางอุตสาหกรรม ในประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 165 แห่ง ทีนำสารกัมมันตรังสี โคบอลต์-60 มาใช้ ดังนี้ 2.1 การวัดระดับ เช่น โรงงานทอผ้า , โรงงานพลาสติก 2.2 การวัดความหนา เช่น โรงงานโลหะ 2.3 การวัดความหนาแน่น เช่น โรงงานพลาสติก , โรงงานกระเบื้อง 2.4 การสำรวจหลุมเจาะ เพื่อเสาะหาแหล่งแร่ 2.5 การฉายรังสีเวชภัณฑ์ เช่น เข็มฉีดยา , ถุงมือ , มีดผ่าตัด และยารักษาโรค 3. ทางการแพทย์ ในประเทศไทยมีสถาบันทางการแพทย์และโรงพยาบาลทีมีเครื่องโคบอลต์-60 อยู่ 39 เครื่อง ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและในการตรวจต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว การจัดเก็บต้นกำเนิดรังสี ในทางปฏิบัติคนทั่วไปมักไม่ได้รับรังสีมากเกินไปจนเป็นอันตรายเพราะเนื่องจากในการปฏิบัติงานทางรังสีนั้นจำเป็นต้องใช้วัสดุมาหุ้มหรือกั้น เช่น คอนกรีต , โลหะหรือตะกั่ว เพื่อกำบังรังสีในทิศทางที่ไม่ได้ใช้งาน หรือในการเก็บรักษา เพื่อทำให้อัตราของรังสีลดลง และป้องกันการรั่วไหลของรังสี สารกัมมันตรังสี โคบอลต์-60 ที่ใช้อยู่ทั่วไปเป็นแบบปิดผนึก (Sealed Source) เมื่อนำมาใช้ในทางการแพทย์ต้นกำเนิดรังสีจะอยู่ในวัสดุกำบังรังสี เช่น ยูเรเนียม , ตะกั่ว เวลาใช้งานต้นกำเนิดรังสีจะถูกเคลื่อนออกมาทางช่องฉายรังสีด้วยระบบลม (Pneumatic) รังสีจะถูกฉายไปยังอวัยวะเป้าหมาย สำหรับในทางอุตสาหกรรมหรือการถ่ายภาพด้วยรังสี สารกัมมันตรังสีจะบรรจุอยู่ในโปรเจคเตอร์ ตัวต้นกำเนิดรังสีจะถูกขับเคลื่อนไปยังจุดที่ต้องการ ด้วยอุปกรณ์ควบคุมระยะไกลเพื่อฉายรังสี หน่วยวัดปริมาณรังสี ปริมาณรังสีมีหน่วยวัดเป็น เกร์ย ( Gray ), แรด( Rad ), ซีเวิร์ต ( Sievert ), แรม( Rem) โดย ปริมาณรังสี 1 เกร์ย = 1 ซีเวิร์ต = 100 แรด และ 1 แรด = 1 แรม อันตรายหรือโทษจากรังสี จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่ารังสี คือ อนุภาคหรือคลื่นที่ปลดปล่อยออกมาจากอะตอมจึงไม่มีสี กลิ่น หรือสิ่งที่ทำให้สังเกตเห็นได้ ทำให้ผู้ที่ได้รับไม่ทราบว่าตนเองได้รับรังสี ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องวัดรังสีที่ได้รับจากภายนอก มีประจำติดตัวไว้ทั้งนี้เพื่อวัดรังสีที่ได้รับว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด และในการตรวจวินิจฉัย รักษาผู้ป่วยด้วยรังสีเอกซ์ ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี จะได้รับรังสีได้ ดังนี้ - จากลำแสงเอกซเรย์จากหลอดเอกซเรย์โดยตรง - จากรังสีที่รั่ว ( leakage ) จากหลอด - จากรังสีกระเจิง ( scatter radiation ) ที่ไปกระทบผู้ป่วยนอกจากนี้สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับรังสีเพิ่มขึ้นเกินความจำเป็น ประกอบด้วย - การส่งตรวจทางรังสีโดยไม่จำเป็น - การถ่ายภาพรังสีซ้ำ - ใช้เทคนิคการถ่ายภาพที่ไม่เหมาะสม - เจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจ หรือไม่ตระหนักถึงหลักการป้องกันอันตรายจากรังสีและองค์ประกอบต่างๆ ที่สามารถลดปริมาณรังสีได้ การเกิดอันตรายจากรังสีต่อมนุษย์ อาจแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1. การได้รับรังสีจากแหล่งกำเนิดรังสีจากภายนอก ( External exposure ) ความรุนแรงของการบาดเจ็บ ขึ้นอยู่กับความแรงของแหล่งกำเนิดและระยะเวลาที่ได้รับรังสี แต่ตัวผู้ที่ได้รับอันตรายไม่ได้สารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกาย จึงไม่มีการแผ่รังสีไปทำอันตรายผู้อื่น 2. การได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย ( Internal exposure ) มักพบในกรณีมีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีที่เป็นก๊าซ ของเหลว หรือฝุ่นละอองจากแหล่งเก็บสารกัมมันตรังสี หรือที่เก็บกากสารกัมมันตรังสีจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เช่น ที่เชอร์โนบิล ประเทศรัสเซีย การระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ประทศญี่ปุ่น การกระจายของสารกัมมันตรังสีจะฟุ้งไปในอากาศ น้ำ มนุษย์อาจได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย ทางการหายใจฝุ่นละอองของรังสีเข้าไป , กินของที่เปรอะเปื้อนเข้าไป หรือการกิน, การฝั่งสารกัมมันตรังสีเพื่อการรักษา สารกัมมันตรังสีที่อยู่ในร่างกายจะแผ่รังสีออกมา ทำอันตรายต่อร่างกายเป็นระยะเวลานาน จนกว่าจะถูกกำจัดออกไปจากร่างกายจนหมด และยังสามารถแผ่รังสีไปทำอันตรายคนที่อยู่ใกล้เคียงได้ การได้รับรังสีอาจมีผลต่อร่างกายได้เป็น 2 แบบ คือ 1. เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีอาการป่วยทางรังสี ( Acute หรือ Deterministic Effect) เมื่อได้รับรังสีเป็นปริมาณมาก( สูงกว่า 10 แรด ในครั้งเดียว ) ทำให้เซลล์จำนวนมากบาดเจ็บ เสียหาย หรือตาย จะมีผลให้อวัยวะต่าง ๆที่ได้รับรังสี ไม่สามารถทำหน้าที่ของตนได้ อวัยวะสำคัญของร่างกายที่จะเปลี่ยนแปลงเมื่อได้รับรังสี คือ • ไขกระดูก เป็นอวัยวะที่ไวที่สุดและเปลี่ยนแปลงให้เห็นเร็วที่สุด เพราะเป็นอวัยวะที่มีการสร้างใหม่อยู่ตลอดเวลา • ทางเดินอาหาร นับเป็นอวัยวะที่มีความไวต่อรังสีรองลงมาจากไขกระดูก • ผิวหนัง ซึ่งจะพบได้ตั้งแต่ไม่มีแผล แต่รู้สึกแสบร้อน ผิวดำคล้ำ เหมือนตากแดด หรือได้รับปริมาณมาก ผิวหนังจะค่อย ๆ แดงขึ้น ต่อมาพองออกเป็นถุงน้ำใส เมื่อถุงน้ำแตกออกจะเห็นเป็นเนื้อแดงเหมือนถูกไฟไหม้ • อวัยวะสืบพันธ์ • ระบบสมองและประสาทส่วนกลาง เนื่องจากเซลล์ของระบบประสาทค่อนข้างดื้อต่อรังสี ทำให้การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองถูกทำลายมากกว่าเกิดการตายของเซลล์สมอง • ปอด อาการของผู้ป่วยที่ได้รับรังสี จะแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ( Initial Syndrome) เกิดตั้งแต่เริ่มได้รับรังสีหรือหลังได้รับเป็นชั่วโมง จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสีย มีไข้ มีอาการทางผิวหนัง อาการต่าง ๆ เหล่านี้อาจนานหลายวัน ระยะที่ 2 (Remission phase) เป็นช่วงที่อาการของระยะที่ 1 หายไป ระยะที่ 3 (Established acute radiation Syndrome) จะมีอาการและตรวจพบเนื่องจากอวัยวะนั้น ๆ ถูกทำลาย คือ • ไขกระดูก : เม็ดเลือดขาวค่อย ๆ ต่ำลง ทำให้ภูมิต้านทานลดลง เกิดการติดเชื้อได้ง่าย , เกล็ดเลือดลดลงทำให้มีเลือดออกง่ายและหยุดยาก • ทางเดินอาหาร : คลื่นไส้ , อาเจียน , ท้องเสีย • ระบบประสาทส่วนกลางและสมอง : สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อของร่างกาย , หายใจลำบาก ซึ่งถ้ามีอาการของระบบนี้ ผู้ป่วยจะเสียชีวิต 100 % • อาการทางปอด : เนื้อปอดบวม มักจะเป็นสาเหตุการตายของผู้ป่วยในสัปดาห์ที่ 3 – 4 และถ้าได้รับรังสีตลอดทั่วร่างกาย (Whole Body Exposure) จะทำให้เกิดอาการดังนี้ 1. ได้รับรังสี 3 – 5 เกรย์ ไขกระดูกไม่มีการสร้างเม็ดเลือดอาจเสียชีวิตถึง 50 % โดยอาจเสียชีวิตภายใน 30 – 60 วัน 2. ได้รับรังสี 5 – 15 เกรย์ มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาจเสียชีวิตภายใน 10 –20 วัน 3. ได้รับรังสีมากกว่า 15 เกรย์ มีผลต่อระบบประสาท อาจทำให้เสียชีวิตภายใน 1–5 วัน 2. มีผลระยะยาว ( Delayed หรือ Stochastic Effect) การที่ร่างกายได้รับรังสีปริมาณน้อย ๆ ถ้าเซลล์ตายร่างกายจะไม่เกิดอาการผิดปกติใด ๆ ถ้าเซลล์ไม่ตายก็อาจเกิดความผิดปกติของเซลล์นั้น ๆผลกระทบที่เกิดขึ้นภายหลังจากได้รับรังสี คือ การเป็นโรคมะเร็งและผลกระทบต่อพันธุกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับรังสี และความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งนั้นเกี่ยวข้องกับลักษณะการได้รับรังสีและปริมาณของรังสี ส่วนผลกระทบต่อพันธุกรรมของมนุษย์นั้น สรุปได้ดังนี้ (1) การก่อกลายพันธุ์ (Mutation) ที่เกิดจากรังสีมักจะเป็นอันตราย (2) ปริมาณรังสีใด ๆ ก็ตาม (ถึงแม้จะปริมาณน้อย) ก็มีบทบาททำให้เกิดความเสี่ยงทางพันธุกรรมในเซลล์สืบพันธุ์ (3) ความถี่ของการกลายพันธุ์ที่เกิดจากรังสี เป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณรังสี (4) ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากรังสีขึ้นกับอัตราการได้รับรังสีและระยะเวลาที่ได้รับรังสี (5) ลักษณะกลายพันธุ์ที่เกิดจากรังสีส่วนใหญ่ จะเป็นลักษณะด้อย ดังนั้นจะยังไม่มีการแสดงออกในหลายชั่วคน ทำให้มีประเด็นที่จะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เมื่อกล่าวถึงอันตรายจากรังสี คือ - ผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์และทารกในครรภ์ อาจทำให้เป็นหมัน หรือส่งผลถึงทารก ทำให้แท้ง , มีความพิการแต่กำเนิดและมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ตาราง แสดงผลกระทบของรังสีต่อการเป็นหมัน ตาราง แสดงผลกระทบของรังสีต่อทารกในครรภ์ ผลผลต่อการเกิดมะเร็ง ซึ่งต้องได้รับรังสีปริมาณมากในครั้งเดียว หรือหลาย ๆ ครั้ง ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน โดยจะแสดงผลเมื่อระยะเวลาผ่านไปหลายปี ตารางแสดงผลกระทบจากรังสีต่อร่างกาย โดย International Commission on Radiological Protection (ICRP) ซึ่งเป็นองค์การสากลในการป้องกันอันตรายจากรังสี ได้รวบรวมผลกระทบจากรังสีต่อร่างกายไว้ดังนี้ ตาราง แสดง ปริมาณรังสีที่จำกัดให้ประชาชนทั่วไปและผู้ปฏิบัติงานทางรังสีได้รับ ต่อปีตามเกณฑ์ ของ ICRP หมายเหตุ มิลลิซีเวิร์ตเป็นหน่วยวัดปริมาณรังสีที่ร่างกายได้รับ และโดยปกติใน 1 ปี แต่ละคนจะได้รับรังสีจากธรรมชาติประมาณ 2.23 มิลลิซีเวิร์ต ดังนี้ การป้องกันอันตรายจากรังสี สำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ควรปฏิบัติดังนี้ 1. ใช้เวลาปฏิบัติงานให้สั้นที่สุด เนื่องจากปริมาณรังสีที่ได้รับนั้นจะขึ้นกับเวลาของการได้รับรังสี และควรหลีกเลี่ยงการได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น 2. รักษาระยะทางให้ห่างจากต้นกำเนิดรังสีให้มากที่สุด การอยู่ห่างเท่ากับเป็นการอาศัยอากาศ เป็นกำแพงกำบังรังสีได้ ถ้าอยู่ที่ห่างจากเดิม 2 เท่า ปริมาณรังสีจะลดลงเหลือ 1 ใน 4 3. จัดให้มีเครื่องกำบังรังสี ให้เหมาะสมตามคุณสมบัติของรังสีแต่ละชนิด ได้แก่ - รังสีแอลฟ่าสามารถกั้นได้ด้วยแผ่นกระดาษแข็ง - รังสีเบต้าสามารถกั้นได้ด้วยวัสดุที่มีเลขมวลต่ำ เช่น แผ่นพลาสติกหนาๆ - รังสีแกมม่าหรือรังสีเอกซ์สามารถกั้นได้ด้วยวัสดุที่มีเลขมวลสูง เช่น ตะกั่ว , เหล็ก - รังสีนิวตรอน สามารถกั้นได้ด้วย คอนกรีต , ขี้ผึ้ง หรือพาราฟิน 4. การจำกัดขอบเขตของลำรังสีจะมีประโยชน์มากในการป้องกันการได้รับรังสีมากเกินความจำเป็น นั้นคือการเปิดขนาดของขอบเขตของลำรังสีตามขนาดของอวัยวะที่ต้องการตรวจ ที่ทำให้ได้รับรังสีน้อยที่สุดและภาพออกมากชัดเจน 5.ขณะถ่ายภาพรังสี เจ้าหน้าที่จะต้องมีฉากกั้นรังสีทุกครั้ง และไม่ยื่นส่วนใดออกมานอกฉาก โดยไม่จำเป็น 6. ถ้ามีความจำเป็นต้องจับตัวผู้ป่วยขณะถ่ายภาพรังสี ควรให้ญาติหรือผู้อื่นที่ไม่ได้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีเป็นผู้จับ และต้องสวมเสื้อและใส่ถุงมือกั้นรังสีทุกครั้ง 7. สภาพเครื่องมือ เครื่องใช้เกี่ยวกับรังสี ต้องได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและใช้งานได้ตลอดเวลา 8. ควรติดเครื่องมือวัดรังสีไว้ติดตัวตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน เพื่อตรวจสอบปริมาณ รังสีที่เราได้รับ 9. ผู้ปฏิบัติงานทางรังสีควรระมัดระวังการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสี เข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะเป็นทางการหายใจ การกิน หรือการสัมผัสทางผิวหนังหรือแผล 10. สารกัมมันตรังสีควรมีป้ายบอกชัดเจน ทั้งในเรื่องของ ชนิด ประเภท วันที่ ความแรงของสารกัมมันตรังสี สำหรับประชาชนทั่วไป 1. ไม่ควรเข้าใกล้บริเวณที่มีสารกัมมันตรังสี หรือในบริเวณที่มีการปฏิบัติงานทางรังสี ซึ่งโดยทั่วไปจะมีป้ายเตือนเป็นรูปใบพัดสามแฉกติดอยู่ 2. สตรีมีครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการตรวจหรือการรักษาที่ต้องใช้รังสี แต่หากมีความจำเป็น ควรปรึกษาแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด 3. หลีกเลี่ยงการถ่ายเอกซเรย์หลายครั้ง หรือถ่ายซ้ำโดยไม่จำเป็น 4. สำหรับผู้ป่วยเด็กที่จำเป็นต้องถ่ายเอกซเรย์ ควรมีเครื่องกำบังรังสีให้กับผู้ป่วย โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ 5. ห้ามสตรีมีครรภ์และเด็ก เข้าเยี่ยมผู้ป่วยที่ได้รับการฝังหรือสอดใส่สารกัมมันตรังสี 6. ผู้ป่วยที่ได้รับการฝังหรือสอดใส่สารกัมมันตรังสี ไม่ควรกลับบ้าน ก่อนได้รับความยินยอมจากแพทย์ เครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคล คือ อุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูล ปริมาณรังสีจากภายนอกร่างกายที่บุคคลนั้นได้รับ เพื่อใช้ในการประเมินระดับอันตรายจากการได้รับรังสี มีด้วยกัน 3 ชนิด คือ 1. Pocket dosimeter : ใช้กับผู้ที่ต้องเข้าไปในบริเวณที่มีรังสีค่อนข้างสูงในระยะเวลาสั้นๆ เมื่อออกจากบริเวณนั้นก็อ่านค่าปริมาณรังสีที่ได้รับได้ทันที 2. Film Badge : เป็นฟิล์มที่อยู่ในตลับ วัดได้ทั้งรังสีเอกซ์ , รังสีแกมม่า , เบต้าและนิวตรอน วัดปริมาณรังสีในช่วงกว้างและสามารถแยกได้ว่า ได้รับจากรังสีชนิดใดเป็นปริมาณเท่าไหร่ ส่วนด้านนอกของกระดาษห่อฟิล์ม จะมีชื่อ วันที่ที่เริ่มใช้และเลขประจำตัวของผู้ใช้พิมพ์ไว้ 3. TLD ( Thermolumine scene dosimeter ) : มีหลายชนิด ช่วงของการใช้งานต่างกัน สามารถวัดปริมาณรังสีที่น้อยกว่าและมีความแน่นอนกว่าฟิล์ม นอกจากนี้แล้วยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่มีราคาแพงกว่าฟิล์มและเก็บข้อมูลถาวรอย่างฟิล์มไม่ได้ ข้อควรระวังในการใช้เครื่องวัดรังสีประจำตัว 1. ห้ามยืมหรือแลกเปลี่ยนกันใช้งาน 2. ระวังไม่ให้เปียกน้ำ หรือได้รับความชื้น หรือแตกหัก เสียหาย 3. ระวังไม่ให้อยู่ใกล้ความร้อน หรือที่ที่ได้รับแสงแดดโดยตรง เช่น ในรถยนต์ 4. ใช้เครื่องวัดรังสีให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ 5. ส่งคืนเมื่อครบกำหนด เพื่อการประเมินผลการรับรังสี ( ฟิล์มและ TLD นำมาประเมิน ทุก 1-3 เดือน ) ที่มา รุ่งทิพย์ อุดมวิเศษสันต์ หน่วยรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

See More

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้