Sinderella นางซ น.ฟ น.ปล น.ปร ม

ซินเดอเรลล่า ฉบับภาพยนตร์ (Cinderella) เตรียมสะกดมนต์ให้แฟนๆทั่วโลกได้ยลโฉมความงดงามแห่งความฝันและพรวิเศษ ซึ่งเป็นเรื่องราวอมตะสุดคลาสสิคที่ยาวนานและถูกสร้างมาแล้วหลายเวอร์ชั่น แต่ใครจะรู้ว่าในนิทานเทพนิยายเรื่องที่ทุกคนรู้จักกันดีนี้ยังมีอีกหลายสิ่งที่เราไม่รู้ วันนี้เราจะพามารู้จักกับ 5 สิ่งที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับ ซินเดอเรลล่า

1.ซินเดอเรลล่า คลาสสิคยาวนานมากกว่า 318 ปี

ซินเดอเรลล่า เป็นเทพนิยายปรัมปราที่ได้รับความนิยมสูงสุด โดยเริ่มแรกเป็นวรรณกรรมซึ่งฉบับที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ ชาร์ลส แปร์โรลต์ ในปี ค.ศ. 1697 ซึ่งถ้านับรวมมาถึงตอนนี้ก็ประมา 318 ปี นอกจากนี้ซินเดอเรลล่ายังปรากฎในบันทึกอียิปต์โบราณเกี่ยวกับฟาโรห์หนุ่มผู้ตกหลุมรักสาวที่สวมรองเท้าได้พอดีอีกด้วย รวมถึงปรากฎในเทพนิยายต่างๆทั่วโลกที่มีแก่นเรื่องคล้ายๆกัน ทำให้มีนักประวัติศาสตร์ได้ตั้งข้อสันนิษฐานที่เชื่อว่าโครงเรื่องของซินเดอเรลล่าอาจจะมีมานานกว่า 600 ปีก่อนคริสตกาล เพียงแต่เปลี่ยนชื่อตัวละครเท่านั้นเอง

2.Cinderella เคยคว้า3ออสก้าร์ ถูกสร้างมากกว่า 25 ครั้ง !

ซินเดอเรลล่า เคยถูกสร้างในรูปแบบภาพยนตร์มากกว่า 25 ครั้ง เริ่มตั้งแต่ปี 1899 แต่เวอร์ชั่นที่ทั่วโลกรู้จักกันมากที่สุดคือฉบับการ์ตูนของวอลท์ ดิสนีย์ในปี 1950 ซึ่งในปีนี้จะมีอายุครบ 65 ปี โดยผลงานของดิสนีย์ได้สร้างความสะเทือนวงการหนังในยุคนั้นเพราะสามารถกวาดรางวัลออสการ์ได้ทีเดียวถึง 3 รางวัล ได้แก่ Best Sound, Original Music Score และ Best Song ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นการ์ตูนดิสนีย์สุดคลาสสิคที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดจนต้องสร้างต่ออีก 2 ภาค

3. ชื่อจริงของนางซิน คือ แอลล่า

ซินเดอเรลล่า มีชื่อจริงตามนิยายของ ชาร์ลส แปร์โรลต์ ว่า เอลล่า Ella แต่นางกลับถูกแม่เลี้ยงและพี่สาวใจ้ายเรียกว่า ซินเดอเรลล่า ซึ่งหมายถึง "เอลลาผู้มอมแมม" ซึ่งเธอมีอายุเพียง 19 ปี (ตามเวอร์ชั่นดิสนีย์) โดยในซินเดอเรลล่าภาค 3 ของดิสนีย์ระบุไว้ว่า รองเท้าแก้วที่เธอสวมใส่คือไซส์ 4 หรือประมาณไซส์36-37 นอกจากนี้ยังมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอีกว่า เจ้าชายของซินเดอเรลล่าไม่เคยมีชื่อจริงเลย แต่ถูกเรียกกันว่า ปริ๊นซ์ชาร์มมิ่ง

4.ฉากหลังของเรื่องอยู่ในฝรั่งเศส

ด้วยความที่ดิสนีย์สร้างซินเดอเรลล่ามาจากนิยายฉบับของ ชาร์ลส แปร์โรลต์ ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศสทำให้มีฉากหลังเป็นฝรั่งเศสด้วยนั่นเอง โดยในเพลง Bibbidi-Bobbidi-Boo ในเวอร์ชั่นการ์ตูนที่นางฟ้าแม่ทูนหัว ได้มีการเอาภาษาฝรั่งเศสเข้ามาร่วมในเนื้อเพลงด้วย นอกจากนางซินแล้วยังมี เบลล์ แห่ง Beauty and the beast ที่ใช้ฉากหลังในประเทศฝรั่งเศส ด้วย

5.ซินเดอเรลล่าประเทศไทย คือ ปลาบู่ทอง

ปลาบู่ทอง ถูกยกให้เป็นนิทานพื้นบ้านที่มีความใกล้เคียงเรื่องราวของซินเดอเรลล่ามากที่สุด เรื่องราวของนางเอื้อย ลูกเลี้ยงที่ถูกแม่เลี้ยงและพี่เลี้ยงใจร้ายรังแกจนต้องตกระกำลำบากแต่สุดท้ายได้ตกล่องปล่องชิ้นกับเจ้าชาย กลายเป็นเจ้าหญิงสวยงาม โดยมีนักวิชาการเคยอธิบายความเป็นมาเป็นไปของนิทานเรื่องนี้ว่า น่าจะมาจากนิทานพื้นบ้านของจีนในมณฑลกวางสี ซึ่งมีโครงเรื่องคล้ายกับซินเดอเรลล่ามากทำให้โครงเรื่องนี้แผ่กระจายไปทั่วทวีปเอเชียน ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งประเทศญี่ปุ่น

เอาข้อมูลที่คุณอาจจะยังไม่รู้มาไให้อ่านกันแล้ว แทบจะอดใจรอไม่ไหว แล้วอย่าลืมไปพบกับซินเดอเรลล่า ฉบับภาพยนตร์ วันนี้ทุกโรงหนังในเครือเมเจอร์ใกล้บ้านคุณ

ซินเดอเรลล่า เป็นนิทานพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในโลกนี้มีนิทานที่เกี่ยวข้องกับ 1.หญิงสาวแสนสวยจิตใจดี 2.ถูกรังแกจากสังคมรอบข้าง 3.ได้พบรักกับเจ้าชายโดยมีรองเท้าเป็นสื่อกลาง มากมายหลายเวอร์ชั่น ซึ่งถ้าจะนับกันจริงๆ เรื่องราวเกี่ยวกับซินเดอเรลล่าที่เก่าที่สุด อาจสืบย้อนไปได้ไกลถึงยุคอียิปต์โบราณ นิทานเรื่องนี้มีชื่อว่าโรโดพิซ กล่าวถึงสตรีชาวกรีกที่ถูกขายเป็นทาสในอียิปต์ เจ้านายของโรโดพิซเป็นคนแก่จิตใจดี แต่ไม่มีเวลาสอดส่องข้าทาสบริวารมากนัก ทำให้โรโดพิซซึ่งเป็นเด็กใหม่ แถมมีรูปลักษณ์แตกต่างจากชาวพื้นเมืองถูกรังเกียจจากบรรดาเพื่อนร่วมงาน

โรโดพิซ ตำนานซินเดอเรลล่าเวอร์ชั่นอียิปต์ที่อาจมีต้นฉบับมาจากกรีกอีกที

โรโดพิซมีเส้นผมสีทอง ในขณะที่สาวอียิปต์มีเส้นผมสีเข้ม โรโดพิซมีดวงตาสีเขียว แต่ผู้หญิงอียิปต์มีดวงตาสีน้ำตาลค่อนไปทางดำ โรโดพิซมีผิวสีขาวสว่าง แสงแดดเพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดรอยไหม้ แต่สาวอียิปต์มีผิวสีน้ำผึ้งเรียบเนียนเสมอ ด้วยรูปลักษณ์และที่มาที่แตกต่าง ทำให้โรโดพิซถูกรุมใช้งานจากบรรดาสาวใช้รุ่นพี่ โรโดพิซไม่มีเพื่อนที่เป็นมนุษย์ แต่กลับผูกพันกับสัตว์น้อยใหญ่ เธอสอนลิงให้ปีนมานั่งบนไหล่ สอนให้นกบินมาเกาะที่มือเพื่อรับอาหาร แม้แต่สัตว์ใหญ่อย่างฮิปโป ก็ยังอยากอยู่ใกล้หญิงสาวผู้งดงามและจิตใจดี

ทุกวันหลังเลิกงาน หากโรโดพิซมีเวลาอยู่บ้าง เธอจะเดินไปลำธารเพื่อร้องเพลงและเต้นรำกับบรรดาสัตว์น้อยใหญ่ เธอเต้นรำได้ดีมากกระทั่งเท้าแทบจะไม่แตะพื้น วันหนึ่งเจ้านายของโรโดพิซแอบมานอนหลับใกล้ลำธาร เขาเห็นสาวใช้ของตนเต้นรำได้สวยงามก็เกิดถูกใจ ซื้อรองเท้าสีแดงคู่ใหม่ให้เป็นของขวัญ กล่าวว่าผู้หญิงที่เต้นรำได้งดงามเช่นนี้ ไม่สมควรจะเดินเท้าเปล่า

บรรดาสาวใช้คนอื่นเห็นโรโดพิซมีรองเท้าสวยงาม ก็ยิ่งทวีความเกลียดชัง วันหนึ่งเมื่อฟาโรห์แห่งอียิปต์จัดงานเต้นรำในเมมฟิส พระองค์เชิญประชาชนจากทั่วทุกสารทิศให้มาร่วมงาน บรรดาสาวใช้ใจดำจึงวางแผนมอบหมายงานมากมายให้โรโดพิซจนเธอไม่สามารถเดินทางไปร่วมงานเพื่อเป็นการกลั่นแกล้ง

โรโดพิซเสียใจเป็นอย่างมาก แบกผ้าสกปรกเดินไปที่ลำธารเพื่อซักล้าง เธอถอดรองเท้าสีแดงไว้ข้างกัน แต่แล้วเหยี่ยวตัวใหญ่กลับบินลงมา โฉบเอารองเท้าหนึ่งข้างจากไปทั้งอย่างนั้น โรโดพิซตกใจ เธอทราบว่าเหยี่ยวเป็นสัญลักษณ์ของเทพเจ้าฮอรัส ดังนั้นจึงรีบกลับบ้าน เก็บรองเท้าอีกข้างไว้เป็นอย่างดี

ตัดภาพไปยังฝั่งฟาโรห์ พระองค์กำลังเบื่อหน่ายกับงานเต้นรำที่ไม่มีสิ่งไหนน่าสนใจ แต่แล้วนกเหยี่ยวตัวใหญ่ก็บินโฉบลงมา วางรองเท้าสีแดงแสนสวยลงบนตัก ฟาโรห์เข้าใจในทันทีว่าเทพเจ้าฮอรัสวางแผนยิ่งใหญ่ให้พระองค์ จึงระดมสรรพกำลังเพื่อออกตามหาเจ้าของรองเท้า เมื่อขบวนของฟาโรห์มาถึงบ้านของโรโดพิซ สาวใช้คนอื่นรู้ในทันทีว่าเจ้าของรองเท้าข้างนี้คือหญิงสาวที่พวกเธอเกลียดชัง ดังนั้นจึงพยายามกีดกันไม่ให้โรโดพิซได้ลองสวมรองเท้า

อย่างไรก็ดี ทหารของฟาโรห์พบโรโดพิซเข้า ขอให้เธอสวมรองเท้าและพบว่าสามารถใส่ได้พอดี โรโดพิซหยิบรองเท้าอีกข้างขึ้นมา พิสูจน์ว่าเธอเองคือเจ้าของรองเท้าที่แท้จริง ฟาโรห์แห่งอียิปต์เมื่อได้เห็นหญิงสาว ก็ตีความว่าเทพเจ้าฮอรัสคงมีประสงค์ให้พระองค์เลือกสตรีผู้นี้เป็นราชินีแห่งอียิปต์ บรรดาสาวใช้ผู้มีจิตริษยา กล่าวว่าโรโดพิซไม่มีความเหมาะสม เธอเป็นแค่นางทาส แถมไม่มีสายเลือดอียิปต์แม้แต่น้อย ฟาโรห์กล่าว สาวคนนี้เหมาะสมมากที่สุด ดวงตาของเธอเป็นสีเขียวเหมือนแม่น้ำไนล์ เส้นผมเป็นสีทองเหมือนกระดาษปาปิรุส ผิวสีชมพูเป็นดังกลีบบัว

โรโดพิซอภิเษกกับฟาโรห์ และได้ใช้ชีวิตแบบเจ้าหญิงดิสนีย์ คือมีความสุขชั่วนิรันดร์

หากพิจารณาองค์ประกอบหลักจากนิทานโรโดพิซ จะพบว่าเรื่องราวในทำนองนี้ มีความใกล้เคียงกับตำนานพื้นบ้านในหลายพื้นที่ ในประเทศจีนมีเรื่องราวเกี่ยวกับเย่เซี่ยน เด็กสาวใจงามที่มีชีวิตรันทดเพราะแม่เลี้ยงใจร้าย เธอมีเพื่อนเป็นปลาแต่กลับถูกแม่เลี้ยงผู้มีจิตริษยาฆ่าปลาจนตาย ชายชราบอกให้เด็กสาวเก็บกระดูกปลาเพื่อขอพร เธอขอให้มีโอกาสเข้าร่วมงานเต้นรำฤดูใบไม้ผลิ วิญญาณของปลามอบรองเท้าสีทองและชุดแสนสวยให้เย่เซี่ยน เธอทำรองเท้าข้างหนึ่งตกไว้ในงาน ฮ่องเต้ติดตามหาเจ้าของจนทั้งสองได้สมรสกัน

ในเวอร์ชั่นของสองพี่น้องตระกูลกริมม์ (ตีพิมพ์ในปี 1812) เรื่องราวของซินเดอเรลล่ามีชื่อว่า Aschenputtel หรือแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Ash Girl เธอปลูกต้นไม้เหนือหลุมศพแม่แท้ๆ ที่จากไปทำให้มีนกวิเศษคอยช่วยเหลือจนหญิงสาวได้สมรสกับเจ้าชายรูปงาม ตอนจบของเรื่องนี้ดูจะโหดร้ายกว่าเวอร์ชั่นก่อนหน้าเพราะนกตัวนี้ลงโทษแม่เลี้ยงใจร้ายและลูกสาวสองคนโดยการจิกให้ตาของพวกเธอมืดบอดในตอนท้าย

Aschenputtel ในเวอร์ชั่นของพี่น้องกริมม์ มีนกวิเศษแต่ไม่มีนางฟ้าแม่ทูนหัว

ในประเทศไทย เรื่องราวเกี่ยวกับหญิงงามจิตใจดีที่ถูกรังแกโดยแม่เลี้ยงใจร้าย มีความคล้ายกับนิทานแม่ปลาบู่ ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกามีการเรียกรวมพล็อตเรื่องแบบนี้ว่า ‘Cinderella Story’ หมายถึงเรื่องดีๆ จะเกิดกับผู้มีจิตใจดีงาม ซึ่งในทัศนะแบบอเมริกัน ซินเดอเรลล่านั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเพศหญิงเสมอไปเพราะเคยมีการตีความใหม่ให้ซินเดอเรลล่าเป็นผู้ชายในภาพยนตร์ใบ้เรื่อง The Cinderella Man (1917) ในเรื่องนี้หญิงสาวมั่งมีปลอมตัวเป็นคนจนเพื่อพิสูจน์ใจของชายหนุ่มที่จะสมรสมาเป็นสามี

ดิสนีย์กับซินเดอเรลล่า ว่าด้วยตำนานสาวผู้แสนดีกับโลกใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

เมื่อดิสนีย์ตัดสินใจนำนิทานซินเดอเรลล่ามาปรับเป็นแอนิเมชั่น พวกเขาเลือกหยิบเอาเวอร์ชั่นที่เขียนขึ้นโดยนายชาร์ล แปร์โรลต์ (Charles Perrault) มาเป็นต้นแบบ ชาร์ล แปร์โรลต์เขียนนิทานเรื่องซินเดอเรลล่า (หรือในภาษาฝรั่งเศสใช้ชื่อว่า Cendrillon ou La petite pantoufle de verre แปลเป็นภาษาอังกฤษคือ Cinderella, or the Little Glass Slipper) ในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 ถือเป็นยุคร่วมสมัยกับกษัตริย์หลุยส์ที่ 14 โดยเห็นได้ว่าดิสนีย์นำองค์ประกอบหลายอย่างมาจากเวอร์ชั่นนี้ ยกตัวอย่างเช่น การปรากฏตัวของนางฟ้าแม่ทูนหัว ซึ่งไม่มีในเวอร์ชั่นสองพี่น้องตระกูลกริมม์ การเสกฟักทองให้เป็นราชรถ การกำหนดเวลาให้เวทย์มนตร์เสื่อมลงหลังเที่ยงคืน รวมไปถึงการเลือกให้รองเท้าคู่สำคัญทำมาจากแก้ว (ในเวอร์ชั่นของสองพี่น้องตระกูลกริมม์ รองเท้าของซินเดอเรลล่าทำมาจากทองคำประดับด้วยผ้าไหมและแร่เงิน)

แม้ว่าซินเดอเรลล่าในเวอร์ชั่นของนายชาร์ล แปร์โรลต์จะมีท้องเรื่องอยู่ในประเทศฝรั่งเศส แต่แอนิเมชั่นของดิสนีย์กลับไม่ได้อ้างอิงวัฒนธรรมฝรั่งเศสมากนัก แถมไม่ได้เลือกเครื่องแต่งกายของตัวละครให้อยู่ในยุคสมัยที่วรรณกรรมถูกเขียนขึ้น

ซินเดอเรลล่าฉบับดิสนีย์มีการใช้แฟชั่นต้นฉบับที่ปะปนกันระหว่างแฟชั่นยุควิกตอเรียนกับแฟชั่นร่วมสมัย

ชุดของสองพี่เลี้ยงใจร้าย-ดริเซลล่ากับอนาสตาเซียอ้างอิงจากชุดยุควิกตอเรียนช่วงปี 1870s ซึ่งมีการเสริมเน้นชายกระโปรงด้านหลัง ในขณะที่ชุดของแม่เลี้ยงใจร้าย เป็นแฟชั่นในยุคปลายวิกตอเรียน ราวช่วงปี 1890s

ตัวอย่างชุดแบบมีหางของสองพี่เลี้ยงใจร้าย

ชุดของซินเดอเรลล่าในวัยเด็ก เป็นชุดที่ค่อนข้างอ้างอิงแฟชั่นยุควิกตอเรียนแทบทั้งหมด เด็กผู้หญิงในยุคนั้นนิยมสวมกระโปรงบาน ชายกระโปรงยาวไม่ถึงพื้น ตกแต่งด้วยโบและระบาย อย่างไรก็ดีชุดที่นางเอกของเราสวมไปงานเต้นรำ กลับดูเหมือนแฟชั่นร่วมสมัย อ้างอิงจากชุดราตรีของ Dior คอลเลกชั่นปี 1947 (Dior New Look) ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเนื่องจากซินเดอเรลล่าของดิสนีย์ออกฉายในปี 1950 จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ทีมงานอาจนำแรงบันดาลใจมาจากแฟชั่นที่ประสบความสำเร็จในยุคนั้น วรรณกรรมของนายชาร์ล แปร์โรลต์กล่าวว่า นางฟ้าแม่ทูนหัวเสกชุดให้ซินเดอเรลล่าเป็นภูษาเงินและทองคำ (cloth of gold and silver) แต่ในเวอร์ชั่นของดิสนีย์เลือกให้ชุดของซินเดอเรลล่าเป็นสีเงิน เข้ากันกับรองเท้าแก้วซึ่งเป็นวัตถุสำคัญภายในเรื่อง

ตัวอย่างชุดของเด็กในยุควิกตอเรียน

ซินเดอเรลล่าของดิสนีย์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแอนิเมชั่นเรื่องนี้ปล่อยออกมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพิ่งจบลงเพียง 5 ปี กระแสหวนกลับสู่ช่วงเวลาเก่าอันแสนรุ่งเรืองของยุโรปกำลังได้รับความนิยม แม้แต่ Dior New Look ก็ได้แรงบันดาลใจในการออกแบบเสื้อผ้ามาจากแฟชั่นเก่ายุควิกตอเรียน แต่นำมาปรับให้เหมาะสมกับยุคสมัย

หนึ่งในภาพยนตร์ที่นำแนวคิดแบบ Cinderella Story มาใช้ แล้วประสบความสำเร็จอีกเช่นกันคือภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เรื่อง Sissi (1956) นำเสนอเรื่องราวของบุคคลจริงในประวัติศาสตร์คือจักรพรรดินีซีซี่แห่งออสเตรีย (พระนามเต็มจักรพรรดินีเอลิซาเบธแห่งออสเตรีย) กับพระสวามีคือจักรพรรดิฟรานซ์​ โจเซ็ฟ แต่ปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สวยงามดั่งเทพนิยาย

ฟรานซ์ โจเซ็ฟจักรพรรดิหนุ่มเดินทางตามหาเจ้าสาวจนมาพบซีซี่ เจ้าหญิงจากแคว้นบาวาเรียที่มีชีวิตเรียบง่ายอิสระท่ามกลางป่าเขา เขาตกหลุมรักเธอในทันที ทั้งคู่เข้าสู่ประตูวิวาห์และใช้ชีวิตต่อมาในปราสาทหลังใหญ่ แน่นอนว่าตอนจบของเรื่องจริงไม่สวยงามเหมือนซินเดอเรลล่า แต่จุดเริ่มต้นและบุคลิกของซีซี่ ทำให้ชาวออสเตรียเชื่อมโยงจักรรพรรดินีเข้ากับตำนานพื้นบ้านได้ง่าย

ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ราชสำนักออสเตรียรุ่งเรืองหรูหราเหมาะกับการหลีกหนีความจริงของโลกหลังสงครามแสนวุ่นวาย ที่สำคัญ เวียนนาในยุคนั้นปราศจากกอิทธิพลเยอรมัน สลัดภาพลักษณ์ของออสเตรียช่วงหลังสงครามซึ่งอยู่ในสถานะก้ำกึ่งเป็นทั้งเหยื่อและผู้สมรู้ร่วมคิดของนาซี

ซินเดอเรลล่ากับบริบททางประวัติศาสตร์ เรื่องราวที่สวยงามดั่งนิยาย ซ่อนความหมายแบบไหนในระหว่างบรรทัด

แม่เลี้ยงใจร้าย – การแย่งชิงมรดก

นิทานพื้นบ้านยุโรปจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นซินเดอเรลล่า สโนไวท์ หรือแม้แต่ฮันเซลกับเกรเทล จุดเริ่มต้นของปัญหาและความยากลำบากของตัวละครหลัก มักมาจากแม่เลี้ยงใจร้ายซึ่งเป็นภรรยาคนใหม่ของพ่อ ปัญหาเรื่องการแต่งงานใหม่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในยุโรป เนื่องจากสตรีจำนวนมากมักเสียชีวิตในระหว่างการคลอดบุตร การแต่งงานใหม่และการมาถึงของแม่เลี้ยงจึงถือเป็นเรื่องแสนธรรมดา แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาคือการจัดสรรทรัพยากรของครอบครัวรวมไปถึงเรื่องมรดก ลูกเลี้ยงอย่างสโนไวท์และซินเดอเรลล่า เป็นตัวแทนของภรรยาคนก่อน โดยหากภรรยาที่จากไปมาจากตระกูลมั่งคั่ง ก็อาจทิ้งทรัพย์สมบัติจำนวนมากให้กับลูกสาว ดังนั้นแม่เลี้ยงที่เป็นคนมาทีหลัง จึงต้องแย่งชิงพื้นที่ในบ้านแข่งกับลูกของอดีตภรรยา การแย่งชิงที่ว่านี้ไม่ได้มีแค่เรื่องความรัก แต่รวมไปถึงอำนาจการตัดสินใจ และการจัดการทรัพย์สินในกรณีที่สามีอาจจากโลกไปก่อนลูกเลี้ยงจะบรรลุนิติภาวะ

รองเท้า – สัญลักษณ์ทางเพศ

การที่ตำนานซินเดอเรลล่ามักมีรองเท้าเป็นส่วนประกอบ นักประวัติศาสตร์บางส่วนกล่าวว่ารองเท้าเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงช่องคลอดของสตรี เจ้าชายตามหาสตรีที่สามารถสวมใส่รองเท้าเข้าไปได้พอดี มีสัญลักษณ์สื่อถึงเรื่องทางเพศ นักวิชาการบางท่านตั้งข้อสังเกตว่ารองเท้าในต้นฉบับของนายชาร์ล แปร์โรลต์ อาจไม่ใช่รองเท้าแก้ว แต่เป็น รองเท้าขน ซึ่งเป็นการอุปมาถึงช่องคลอด อย่างไรก็ดี การที่เจ้าของผลงานเปลี่ยนรองเท้าของซินเดอเรลล่าให้เป็นแก้ว อาจเพื่อสื่อถึงคุณสมบัติสูงส่งของซินเดอเรลล่า เนื่องจากวัตถุที่ทำจากแก้วในศตวรรษที่ 17 เป็นของหายากราคาแพง มีแต่สตรีที่สูงส่ง เหมาะสมกับการเป็นเจ้าหญิงเท่านั้นจึงสามารถเดินและเต้นรำบนรองเท้าแก้วได้

การสมรสของสตรี – โอกาสที่ดีกว่า

การแต่งงานดูจะเป็นทางออกของทุกปัญหาในนิทานซินเดอเรลล่า เนื่องจากสถานะในครอบครัวของเธอถูกทำลายจากการมาถึงของแม่เลี้ยงใจร้ายและการตายของบิดา ซินเดอเรลล่าจำเป็นต้องหาสถานะใหม่ในสังคม แต่ผู้หญิงในยุคก่อน จะสามารถลืมตาอ้าปากได้อีกครั้งก็ด้วยการแต่งงานที่มาพร้อมผลประโยชน์เพียงเท่านั้น ดังนั้นหากเราจะพูดถึงคติสอนใจที่ได้จากนิทาน ซินเดอเรลล่าเพียงสอนว่าเราต้องเป็นคนดี และถ้าหน้าตาของเราก็ดีด้วย ความสวยจากภายนอกและภายในจะนำมาซึ่งสิ่งดีๆ

แนวคิดนี้เข้ากันได้ดีกับสังคมอเมริกันช่วงทศวรรษที่ 1950s ซึ่งมีแนวคิดแบบอเมริกันดรีม (American Dream) ความฝันของสตรีในยุคนั้นคือการสมรสเพื่อเป็นภรรยา การแบ่งหน้าที่ของบุรุษ/สตรี แม้แต่ของเล่นที่มีการแบ่งเพศชายหญิงอย่างเด็ดขาด ถูกทำขึ้นภายใต้แนวคิดผู้หญิงที่ดีต้องพร้อมเป็นแม่และภรรยา กระทั่งสหภาพโซเวียตซึ่งเป็นศัตรูคู่แข่งของสหรัฐอเมริกา ถึงขั้นล้อเลียนว่าสังคมอเมริกันต้องการล่ามโซ่ผู้หญิงไว้ในห้องครัว ต่างกับแนวคิดแบบสังคมนิยมที่ให้โอกาสผู้หญิงให้สามารถก้าวหน้าในหน้าที่การงานไม่ต่างจากบุรุษ

Cinderella Story อะไรทำให้พล็อตเรื่องแบบนี้ขายดีมาจนถึงปัจจุบัน?

ในโลกนี้มีนิทานพื้นบ้านที่มีพล็อตเรื่องคล้ายกับซินเดอเรลล่ามากกว่า 500 เวอร์ชั่น ไม่รับภาพยนตร์ ละครเพลง แอนิเมชั่น หรือสื่อร่วมสมัยอื่นๆ ที่ใช้นิทานซินเดอเรลล่ามาเป็นแรงบันดาลใจ เหตุผลหลักที่ซินเดอเรลล่าได้ใจประชาชนทั่วโลกมาอย่างยาวนาน เป็นเพราะนิทานเรื่องนี้มีความเป็นสากล หลายคนโตมากับเรื่องนี้แนวนี้ และมีตำนานท้องถิ่นที่บอกเล่าเรื่องราวใกล้เคียงกัน

ซินเดอเรลล่ายังเป็นพล็อตหนังที่มีช่องว่างให้ตีความมาก ในเวอร์ชั่นของพี่น้องตระกูลกริมม์ แม่แท้ๆ ของซินเดอเรลล่าได้กล่าวกับลูกสาวก่อนสิ้นใจ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ก็ขอให้เด็กสาวยึดมั่นในความดี เพราะเรื่องดีๆ จะเกิดกับผู้มีจิตใจดีอยู่เสมอ ผู้อ่านหลายท่านอาจตีความจิตใจที่ดีของซินเดอเรลล่าว่าเป็นเรื่องโง่เขลา บางคนเห็นว่าซินเดอเรลล่าน่าจะออกจากบ้านไปซะ หรือทำไมไม่ยืนหยัดเพื่อสิทธิ์ของตนเอง ประเด็นขัดใจคนดูเหล่านี้ น่าสนใจว่ากลายเป็นหมุดหมายให้ซินเดอเรลล่าในแต่ละเวอร์ชั่น พยายามหาคำอธิบายแบบใหม่เพื่อครองใจคนดู ในบางครั้งบุคลิกของซินเดอเรลล่าถูกตีความเป็นหญิงสาวแสนฉลาด และอดทน รอคอยเวลาที่เหมาะสมเพื่อทวงคืนสิทธิ์ที่เป็นของเธอ

อีกหนึ่งประเด็นที่ซินเดอเรลล่าครองใจผู้ชมทุกวัย เป็นเพราะเรื่องราวในนิทาน แม้จะน้ำเน่าแต่ก็กล่าวถึงความหวัง ซินเดอเรลล่าพาเรากลับไปหาคุณงามความดีทั้งปวงซึ่งเป็นแกนหลักของคำสอนแทบทุกศาสนา คือการมีจิตใจเมตตา เอื้ออารีต่อผู้อื่น ในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายซับซ้อน เราอาจคาดหวังให้เรื่องดีๆ เกิดขึ้นกับคนที่คู่ควร ไม่ต่างกับละครสอนใจที่ได้รับความนิยมในสื่อยุคใหม่ ซินเดอเรลล่าอาจเป็นพล็อตละครที่ทำให้เราได้ย้อนกลับไปเห็นจิตใจที่สวยงามของเพื่อนมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญล้ำค่าไม่ว่าจะอยู่ในยุคไหนหรือสมัยใด

References:

//sites.pitt.edu/~dash/grimm021.html?fbclid=IwAR2FrLn9_p5PztKCpj_U2_w4929szSP8geJR36b1qOhh2QTaP4ladhpBsjA

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้