Set ทำ tapping เคร องม อท ใช ม อะไรบ าง

ในการทำเกลียวในจะต้องเจาะรูที่ชิ้นงานก่อน ถ้ารูที่เจาะมีขนาดใหญ่เกินไป ฟันเกลียวที่เกิดขึ้นจะไม่เต็ม แต่ถ้ารูมีขนาดเล็กเกินไปจะต้องใช้แรงบิดแท็ปมาก แท็ปอาจจะหักได้ ดอกสว่านที่ใช้เจาะรูก่อนที่จะทำเกลียวในเรียกว่า แท็ปดริล (Tap drill) จะสังเกตได้ว่าขนาดของรูที่เจาะจะต้องเล็กกว่าขนาดโตที่สุดของดอกแท็ป (outside diameter) ซึ่งต้องมีขนาดเล็กเพียงพอที่ชิ้นงานนั้นจะถูกทำให้เกิดเป็นเกลียวได้อย่างสมบูรณ์ และขนาดของรูจะมีขนาดใหญ่กว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของโคนเกลียวเล็กน้อยทั้งนี้ก็เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างสะดวก และช่วยประหยัดเวลาในการทำงาน ขนาดของดอกสว่านที่ใช้เจาะรูเพื่อทำเกลียวใน (Tap drill size) จะหาได้จากตารางในหนังสือแคตตาลอคแผนผัง (chart) ทางช่างกลโรงงาน

ในกรณีที่ไม่สามารถหาตารางเพื่อมาดูขนาดของรูที่ต้องเจาะทำเกลียวในได้ ก็อาจจะใช้วิธีการคำนวณหาแทน ซึ่งสูตรจากการคำนวณข้างล่างนี้ ได้มาจากความชำนาญการปฏิบัติงานตามที่ได้เคยบอกไว้แล้วว่า ขนาดของรูที่เจาะจะต้องไม่ใหญ่กว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางด้านนอกของเกลียว และจะต้องไม่เล็กกว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของโคนเกลียวขนาดของรูที่เจาะเพื่อทำเกลียวในนั้น ควรเจาะรูให้มีเนื้อที่ของส่วนที่เป็นเกลียวของชิ้นงานเหลืออยู่ 75 % ของเนื้อที่ส่วนที่ต้องเป็นเกลียวทั้งหมด

การหาขนาดรูที่เจาะเพื่อทำเกลียวในอาจหาได้จากการคำนวณได้ดังนี้คือ

ก. เกลียวอเมริกัน หาได้จากสูตร

ขนาดของรูที่เจาะเพื่อทำเกลียว = เส้นผ่านศูนย์กลางนอกของเกลียว – (1/จำนวนเกลียวต่อนิ้ว)

ข. เกลียวเมตริกหาได้จากสูตร

ขนาดของรูที่เจาะเพื่อทำเกลียว = เส้นผ่านศูนย์กลางนอกของเกลียว – ระยะพิต (pitch)

ค. เกลียวอังกฤษหาได้จากสูตร

ขนาดของรูที่เจาะเพื่อทำเกลียว = เส้นผ่านศูนย์กลางนอกของเกลียว – (2เท่าของความลึกของเกลียว) + ระยะเผื่อ

ระยะเผื่อ = 2 x ? ความลึกของเกลียว

ตัวอย่างที่ 1

ต้องการทำเกลียวในขนาด 5/8 -11 UNC จะต้องใช้ดอกสว่านเจาะรูขนาดเท่าไร

ขนาดของรูที่เจาะเพื่อทำเกลียวใน = เส้นผ่านศูนย์กลางนอกของเกลียว – (1/จำนวนเกลียวต่อนิ้ว)

\= 5/8 - 1/11

\= 0.625 – 0.091

\= 0.534 นิ้ว

ค่าที่อยู่ใกล้เคียงกับ 0.534 นิ้ว คือ 0.531 นิ้ว (17/32 นิ้ว) ดังนั้นขนาด 17/32 นิ้ว คือ ขนาดของรูที่เจาะเพื่อทำเกลียว 5/8 - 11 UNC

ตัวอย่างที่ 2

ต้องการทำเกลียวขนาด M 12 x 1.75 จะต้องใช้ดอกสว่านเจาะรูขนาดเท่าไร

ขนาดของรูที่เจาะเพื่อทำเกลียว = เส้นผ่านศูนย์กลางนอกของเกลียว – ระยะพิต

\= 12 – 1.75

\= 10.25 มิลลิเมตร

นั่นคือต้องใช้ดอกสว่านขนาด 10.25 มิลลิเมตร เพื่อทำเกลียวขนาด M 12 x 1.75

ตัวอย่างที่ 3

ต้องการทำเกลียวขนาด 1/4 -12 BSW จะต้องใช้ดอกสว่านเจาะรูขนาดเท่าไร

ระยะพิตของเกลียว = 1/12 = 0.083 นิ้ว

ความลึกของเกลียว = 0.64 x P

\= 0.64 x 0.083

\= 0.53 นิ้ว

ขนาดของรูที่เจาะเพื่อทำเกลียว = เส้นผ่านศูนย์กลางนอกของเกลียว – (2เท่าของความลึกของ

เกลียว) + ระยะเผื่อ

ระยะเผื่อ = 2 x 1/4 ความลึกของเกลียว

\= 2 x 1/4(0.053)

\= 0.0265 นิ้ว

ขนาดของรูที่เจาะเพื่อทำเกลียว = 0.5 – 2(0.053) + 0.0265

\= 0.4105 นิ้ว

นั่นคือ ต้องใช้ดอกสว่านขนาด 0.420 หรือ 27/64 นิ้ว (ค่าใกล้เคียง 0.4105 นิ้ว) เจาะเพื่อทำเกลียวขนาด 1/4-12 BSW

สกรูเกลียวปล่อย (Self Tapping Screw) เป็นอุปกรณ์งานช่างที่ใช้สำหรับเจาะและยึดวัสดุชนิดต่างๆจำนวนสองชิ้นเข้าด้วยกันอย่างแน่นหนา เช่น งานไม้ งานพลาสติก หรืองานโลหะแผ่นบางเป็นหลัก โดยสามารถใช้ไขควงธรรมดา สว่านไฟฟ้า และประแจทำการไขและคลายที่หัวสกรูได้ทันทีไม่จำเป็นต้องใช้น็อตตัวเมียยึดที่ปลายเกลียว ซึ่งลักษณะเด่นของสกรูเกลียวปล่อยคือ ส่วนเกลียวจะมีความคม สัดส่วนเท่ากัน และเป็นปลายแหลม ทำให้สามารถเจาะเข้าเนื้อของวัสดุได้ง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากปัจจุบันได้มีการพัฒนาสกรูเกลียวปล่อยออกมาหลากหลายรูปแบบ เช่น วัสดุของสกรู, รูปแบบของหัวสกรู, แฉกสกรู, ลักษณะส่วนปลายของสกรู และความยาวของเกลียว ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีคุณสมบัติการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงควรเลือกใช้สกรูเกลียวปล่อยให้เหมาะสมกับงานเพื่อการเจาะและยึดวัสดุได้อย่างมั่นคงแข็งแรง

เลือกซื้อ สกรูเกลียวปล่อย

เลือกตามแบรนด์

สกรูเกลียวปล่อย - หัวกลม36 ฿
สอบถาม • ขนาดคือ M3 ถึง M5 จัดส่งตั้งแต่ 1 ชิ้นขึ้นไปได้ตามต้องการ • รูปทรงพื้นฐาน : มาตรฐาน (แบบกลม) • รูปทรงปลาย : ปลายกรวย

สกรูเกลียวปล่อย - หัว T36 ฿
สอบถาม • ขนาดคือ M3 ถึง M5 จัดส่งตั้งแต่ 1 ชิ้นขึ้นไปได้ตามต้องการ • รูปทรงพื้นฐาน : มาตรฐาน (แบบกลม) • รูปทรงปลาย : ปลายกรวย

สกรูเกลียวปล่อย - หัวแบน36 ฿
สอบถาม • ขนาดคือ M3 ถึง M5 จัดส่งตั้งแต่ 1 ชิ้นขึ้นไปได้ตามต้องการ • รูปทรงพื้นฐาน : มาตรฐาน (แบบกลม) • รูปทรงปลาย : ปลายกรวย

สกรูหัวแบน【8-300 ชิ้นต่อแพ็คเกจ】154 ฿
สอบถาม • สกรูนี้สำหรับใช้กับแผ่นเหล็ก • มีหัวเทเปอร์และสามารถจับยึดได้ง่ายด้วยรูร่อง • ไม่จำเป็นต้องต๊าปรูเกลียวหรือใช้น็อต

YAMASHINA Evatite หัวเทเปอร์ แบบฝังข้ามหัว5 ฿

สอบถาม • สมบูรณ์แบบสำหรับการทำงานต่อเนื่องเนื่องจาก แรงบิด ต่ำที่จำเป็นในการยึดเข้าที่ • ไม่ทำงานหลวมได้ง่ายมีความทนการสั่นสะเทือนสูง • ต้านทานการแตกเมื่อถูกทำให้แน่น ข้อต่อลดความกังวลเกี่ยวกับปัญหาไฟฟ้า

*โปรดตรวจสอบข้อมูลปัจจุบันของ สเปค ราคา และวันจัดส่งจากหน้าสินค้าอีกครั้ง

หาสินค้าไม่เจอใช่ไหม

เลือกซื้อสินค้าอุตสาหกรรมจากหมวดอื่นๆ

เรายังมีสกรูเกลียวปล่อยจากแบรนด์อื่นๆ อีกมากมายให้เลือก

รายละเอียดสินค้า สกรูเกลียวปล่อย

ประเภทของสกรูเกลียวปล่อย

  • สกรูเกลียวปล่อยหัวเตเปอร์ (Flat Head Tapping Screw) เหมาะสำหรับใช้เจาะและยึดเข้ากับผิวชิ้นงานพลาสติก ไม้อัด และ แผ่นโลหะบางด้วยไขควงแฉกได้แนบสนิท
  • สกรูเกลียวปล่อยหัวกลมนูน (Pan Head Tapping Screw) เหมาะสำหรับยึดแปสำเร็จรูปด้วยสว่านไฟฟ้าโดยไม่ต้องเจาะรูนำร่อง
  • สกรูเกลียวปล่อยหัวกระทะ (Truss Head Tapping Screw) ใช้ยึดแผ่นเหล็ก ป้ายโฆษณา โครงหลังคารถกระบะ รั้วบ้าน และงานก่อสร้างอาคารบ้านเรือนทั่วไป โดยใช้ไขควงแฉกหรือสว่านไฟฟ้า
  • สกรูเกลียวปล่อยหัวกลม (Round Head Tapping Screw) นิยมใช้ในงานช่างทั่วไป เช่น งานประกอบเฟอร์นิเจอร์ งานไม้ DIY งานแม่พิมพ์โลหะ สำหรับภาคครัวเรือนจนถึงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
  • สกรูเกลียวปล่อยหัวกระดุม (Button Head Tapping Screw) เหมาะสำหรับใช้เจาะยึดเข้ากับวัสดุประเภทอะลูมิเนียม เหล็ก หรือไม้ได้เป็นอย่างดี
  • สกรูเกลียวปล่อยหัวเหลี่ยม (Hex Head Tapping Screw) เหมาะสำหรับยึดโครงสร้างงานก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์, เครื่องจักรกล, เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
  • สกรูเกลียวปล่อยหัวเหลี่ยมติดแหวน (Hex Flange Tapping Screw) เหมาะสำหรับยึดติดตั้งเสาอากาศ, จานดาวเทียม, โครงสร้างเหล็ก, งานเฟอร์นิเจอร์ไม้ เป็นต้น

สกรูเกลียวปล่อยหัวเตเปอร์ (Flat Head Tapping Screw)

สกรูเกลียวปล่อยหัวเตเปอร์ (Flat Head Tapping Screw) หรือ หัว F มีลักษณะเด่นคือ หัวสกรูเป็นหน้าตัดเรียบแบนแบบหัวแฉก (+) ส่วนปลายของสกรูจะแหลมคม ไม่งอง่าย เนื่องจากผลิตจากเหล็กชุบพิเศษอย่างดี มีความแข็งแรง ทนทานต่อการกัดกร่อนสูง รองรับแรงบิดได้ดี เพียงแค่ใช้ไขควงแฉกหมุนส่วนหัวสกรูฝังเข้ากับผิวชิ้นงานประเภทพลาสติก ไม้อัด และแผ่นโลหะบางให้แนบสนิทกันก็จะสามารถเก็บงานได้เรียบร้อยและสวยงาม

สกรูเกลียวปล่อยหัวกลมนูน (Pan Head Tapping Screw)

สกรูเกลียวปล่อยหัวกลมนูน (Pan Head Tapping Screw) หรือ หัว P มีลักษณะเด่นคือ หัวสกรูเป็นรูปทรงวงกลมนูนแบบหัวแฉก (+) ส่วนปลายของสกรูจะแหลมคม สามารถเจาะฝังเข้าไปในเนื้อวัสดุไม้ เหล็ก ปูนได้ลึก ผลิตจากวัสดุลวดเคลือบสารป้องกันสนิมอย่างดี จึงมีความแข็งแรง ทนทานต่อกรด สามารถยึดเกาะได้แน่น ไม่หลุดง่าย จึงเป็นประเภทที่เหมาะสำหรับยึดแปสำเร็จรูปด้วยสว่านไฟฟ้าโดยไม่ต้องเจาะรูนำร่อง

สกรูเกลียวปล่อยหัวกระทะ (Truss Head Tapping Screw)

สกรูเกลียวปล่อยหัวกระทะ (Truss Head Tapping Screw) หรือ หัว T มีลักษณะเด่นคือ หัวสกรูมีรูปทรงคล้ายกับก้นกระทะมนแนวคว่ำแบบหัวแฉก (+) และส่วนปลายของสกรูจะมีทั้งแบบเกลียวปล่อยและแบบปลายสว่านแหลมคม ผลิตจากวัสดุเหล็กหรือสเเตนเลสชุบที่มีคุณสมบัติพิเศษทนน้ำ ทนน้ำมันได้ดี สามารถยึดเข้ากับวัสดุชิ้นงานต่างๆ ได้แนบสนิทโดยใช้ไขควงแฉกหรือสว่านไฟฟ้า และไม่ต้องใช้สว่านเจาะรูนำ จึงเหมาะนำมาใช้ยึดแผ่นเหล็ก ป้ายโฆษณา โครงหลังคารถกระบะ รั้วบ้าน และงานก่อสร้างอาคารบ้านเรือนทั่วไป

สกรูเกลียวปล่อยหัวกลม (Round Head Tapping Screw)

สกรูเกลียวปล่อยหัวกลม (Round Head Tapping Screw) มีลักษณะเด่นคือ หัวสกรูเป็นรูปทรงวงกลมแบบหัวผ่า (-) และส่วนปลายของสกรูเกลียวปล่อยจะมีความแหลมคม แข็งแกร่งทนทาน ติดตั้งง่าย โดยใช้ไขควงหรือสว่านไฟฟ้าหมุนเป็นวงกลมเคลื่อนเจาะทะลุเข้ากับวัสดุก็จะสามารถยึดงานสองชิ้นให้ติดกันได้อย่างง่ายดาย จึงนิยมใช้ในงานช่างทั่วไป เช่น งานประกอบเฟอร์นิเจอร์ งานไม้ DIY งานแม่พิมพ์โลหะ สำหรับภาคครัวเรือนจนถึงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

สกรูเกลียวปล่อยหัวกระดุม (Button Head Tapping Screw)

สกรูเกลียวปล่อยหัวกระดุม (Button Head Tapping Screw) มีลักษณะเด่นคือ หัวสกรูมีรูปทรงคล้ายหมวกแบบหัวจมกลมลึกลงไป และลำตัวของสกรูจะเป็นเกลียวตลอดทำให้ส่วนปลายสกรูจะทื่อไม่แหลมคม ผลิตจากเหล็กหรือสเเตนเลสชุบผิวทั้งแบบชุบดำ, ชุบซิงค์ขาว และชุบรุ้งให้เลือกใช้งาน โดยสามารถนำมายึดเข้ากับวัสดุประเภทต่างๆ ของชิ้นงานได้เป็นอย่างดี เช่น อะลูมิเนียม เหล็ก หรือไม้ เป็นต้น

สกรูเกลียวปล่อยหัวเหลี่ยม (Hex Head Tapping Screw)

สกรูเกลียวปล่อยหัวเหลี่ยม (Hex Head Tapping Screw) มีลักษณะเด่นตรงหัวสกรูเป็นรูปหกเหลี่ยมแบบตัน และลำตัวของสกรูจะเป็นเกลียวปล่อยที่มีปลายแหลมคมสามารถยึดวัสดุชนิดต่างๆ เช่น ไม้ เหล็ก อะลูมิเนียม สเเตนเลส และปูนซีเมนต์ได้แข็งแรง ทนทานต่อการกัดกร่อน และไม่เป็นสนิม เนื่องจากผลิตจากวัสดุเหล็กหรือสเเตนเลสชุบแข็งเกรดพิเศษ สามารถไขหรือคลายหัวสกรูได้ง่ายด้วยซ็อกเก็ตหัวกล่องหรือประแจโดยไม่ทำให้หัวสกรูเสียหาย จึงนิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบยึดโครงสร้างงานก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์, เครื่องจักรกล, เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

สกรูเกลียวปล่อยหัวเหลี่ยมติดแหวน (Hex Flange Tapping Screw)

สกรูเกลียวปล่อยหัวเหลี่ยมติดแหวน (Hex Flange Tapping Screw) หรือ สกรูหัวเหลี่ยมติดจาน มีลักษณะเด่นคือ หัวสกรูเป็นรูปทรงหกเหลี่ยมทั้งแบบหัวตันและแบบหัวผ่า (-) ที่ประกอบด้วยแหวนรองอยู่ด้านล่างหัวสกรู ซึ่งให้คุณสมบัติพิเศษในการยึดวัสดุได้แน่นหนา ทนทานต่อการผุกร่อนและช่วยป้องกันการจมของหัวสกรูเข้ากับวัสดุชิ้นงานได้เป็นอย่างดี โดยทั่วไปสกรูประเภทนี้จะใช้ร่วมกับสว่านหัวลูกบล็อคในการขันเพื่อให้ใช้งานได้สะดวกและแน่นหนาขึ้น ซึ่งเหมาะสำหรับยึดติดตั้งเสาอากาศ, จานดาวเทียม, โครงสร้างเหล็ก, งานเฟอร์นิเจอร์ไม้ เป็นต้น

การใช้งานสกรูเกลียวปล่อย

สกรูประเภทนี้สามารถทำเกลียวต๊าปเองได้ การยึดสกรูสามารถทำได้โดยใช้รูนำศูนย์เพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องใช้ดอกต๊าปหรือน็อต

สกรูเกลียวปล่อยหัวกลม

ตัวอย่างทั่วไปของสกรูเกลียวปล่อย

สกรูเกลียวปล่อยหัวแบน

ส่วนหัวแบนของสกรูจะถูกฝังเข้าไปจนมิด จำเป็นต้องเจาะรูนำศูนย์สำหรับตำแหน่งที่ต้องการฝังหัวสกรู

สกรูเกลียวปล่อยหัวร่ม

เนื่องจากหัวสกรูมีขนาดใหญ่ จึงเหมาะกับงานที่ต้องการขันยึดอย่างแน่นหนา

คุณสมบัติ

ไขควงไฟฟ้าเหมาะสำหรับการขันแน่น

ข้อควรระวัง

สกรูเกลียวปล่อยต้องมีรูนำศูนย์ หมายเหตุ สกรูประเภทนี้แตกต่างจากสกรูปลายสว่าน โดยไม่ต้องการใช้รูนำศูนย์

การใช้งาน

  • ตรวจสอบเส้นผ่านศูนย์กลางของสกรู (มม.)
  • ตรวจสอบความยาวคอสกรู
  • ตรวจสอบวัสดุ
  • สกรูเกลียวปล่อยหัวกลม
  • สกรูเกลียวปล่อยหัวร่ม
  • เส้นผ่านศูนย์กลางสกรู
  • ความยาวคอสกรู
  • สกรูเกลียวปล่อยหัวแบน
  • เส้นผ่านศูนย์กลางสกรู
  • ความยาวคอสกรู

เจาะร่องโดยใช้เครื่องตอก

เจาะรูที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของสกรูเล็กน้อย

เจาะรูสำหรับฝังหัวสกรูโดยใช้ดอกสว่านที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับหัวสกรูดังกล่าว

ขันสกรูให้แน่น

แบบเกลียวปล่อย 1 (แบบ A)

วัสดุที่ใช้ร่วมกันได้

แผ่นเหล็กกล้า (1.2 มม. หรือน้อยกว่า), ฮาร์ดบอร์ด, ไม้, แร่ใยหิน

แบบเกลียวปล่อย 4 (แบบ AB)

วัสดุที่ใช้ร่วมกันได้

แผ่นเหล็กกล้าหนา (5 มม. หรือน้อยกว่า), โลหะนอกกลุ่มเหล็ก, เรซิ่น, แร่ใยหิน, ยางแข็ง

แบบเกลียวปล่อย 2 (B-0)

วัสดุที่ใช้ร่วมกันได้

แผ่นเหล็กกล้าหนา (5 มม. หรือน้อยกว่า), โลหะนอกกลุ่มเหล็ก, เรซิ่น, แร่ใยหิน, ยางแข็ง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้