การเต ม s es ies หล งค ากร ยา ประถม

การเติม s es ที่คำกริยา ก็คล้ายกันกับการเติม s es ที่ท้ายคำนาม เพื่อทำคำนามให้เป็นนามพหูพจน์ทุกประการ ยกเว้นท้ายกริยาที่ลงท้ายด้วย o เท่านั้นที่แตกต่างนิดหนึ่ง เพราะกริยาที่ลงท้ายด้วย o ให้เติม es อย่างเดียว ไม่เหมือนคำนามที่เติม s บ้าง es บ้าง

หากประธานเป็นเอกพจน์ กริยาเติม s,es ส่วนประธานพหูพจน์ไม่ต้องเติมนะครับ หลักการเติมมีดังนี้

1. เติม s หลังคำกริยาปกติทั่วๆ ไป เช่น

คำเดิมคำอ่านเติม sคำอ่านคำแปลcomeคัมcomesคัมสมาcutคัทcutsคัทสตัดdrinkดริงคdrinksดริงคสดื่มfeelฟีลfeelsฟีลสรู้สึกeatอีทeatsอีทสกินswimสวิมswimsสวิมสว่ายน้ำ

2. เติม es หลังคำกริยาที่ลงท้ายด้วย s, sh, ch, x, z และ o เช่น

คำเดิมคำอ่านเติม sคำอ่านคำแปลcatchแค็ทชcatchesแค็ชเช็สจับkissคิสkissesคิสเส็สจูบmissมิสmissesมิสเส็สคิดถึงteachทีชteachesทีชเช็สสอนwashวอชwashesวอชเช็สล้างbuzzบัสbuzzesบัสเส็สส่งเสียงหึ่งๆfixฟิกสfixesฟิกเซ็สซ่อมmixมิกสmixesมิกเซ็สผสมgoโกgoesโกสไปdoดูdoesดัสทำ

  • ถ้าลงท้ายด้วย -shes ให้ออกเสียง เช็ส ต่อท้าย แต่ ช ช้างออกเสียงคล้ายไล่ไก่
  • ถ้าลงท้ายด้วย -ches ให้ออกเสียง เช็ส ต่อท้าย และช ช้างออกเสียงเหมือน ช ช้างของไทย
  • ถ้าลงท้ายด้วย -ses ให้ออกเสียง เซ็ส ต่อท้าย
  • ถ้าลงท้ายด้วย -zes ให้ออกเสียง เส็ส ต่อท้าย แต่ต้องทำเสียงสั่น ๆ ในลำคอหน่อย

3. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย y มี 2 ประการดังนี้

หน้า y เป็นสระ ( a , e , i , o , u ) ให้เติม s ได้เลย เช่น

คำเดิมคำอ่านเติม sคำอ่านคำแปลbuyบายbuysบายสซื้อplayพเลplaysพเลสเล่นsayเซsaysเซสพูดpayเพpaysเพสจ่ายstayสเตstaysสเตสพักobeyเชื่อฟังobeysโอเบสเชื่อฟังsurveyเซอเว๊surveysเซอเว๊สสำรวจenjoyอินจ๊อยenjoysอินจ๊อยสสนุกdestroyดิสตร๊อยdestroysดิสตร๊อยสทำลาย

แต่หน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es เช่น

คำเดิมคำอ่านเติม sคำอ่านคำแปลflyฟลายfliesฟลายสบินcryครายcriesครายสร้องไห้studyสตัดดิstudiesสตัดดิสเรียนtryทรายtriesทรายสพยายามfryฟรายfriesฟรายสทอดcopyค๊อพพิcopiesค๊อพพิสคัดลอกmodifyม๊อดดิฟายแก้ไขม๊อดดิฟายสแก้ไข

ครับ….สำหรับหลักการเติม s es หลังคำกริยาทั้ง 3 ข้อก็มีด้วยประการะ…ฉะนี้แล…

ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่ เว็บไซต์ "ภาษาอังกฤษออนไลน์" อันดับ 1 ของเมืองไทย แหล่งเรียนรู้บนโลกออนไลน์ ที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ และเก่งได้ด้วยตนเอง กล้ารับรองว่านี่คือคลังแห่งการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ดีที่สุดในเมืองไทย

เพื่อนๆกำลังสงสัยกันอยู่ใช่ไหมว่าทำไมเราต้องเติม s และ es หลังกริยาด้วยวันนี้ แอดมินจากเพจ Engduo Thailand จะมาไขข้อสงสัยกันว่าทำไมถึงต้องเติม s และ es หลังกริยา ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจเบื้องต้นกันก่อนว่า

Photograph: Grammar Monster

นามทั้งหมดมี 2 ประเภทได้แก่ นามที่นับได้(countable noun) และ และนามที่นับไม่ได้(uncountable noun) เรามาดูกันว่านามทั้ง 2 ประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร

นามนับได้ (countable noun) คือ

คำนามที่นับได้ ก็คือเราสามารถนับได้จริงๆ นับเป็นชิ้นๆ อันๆ มองเห็นได้ชัดเจน เช่น apple นี่ก็เป็นนามนับได้ เพราะเราเห็นเป็นผลหนึ่งผลเลย pen ก็นับได้เพราะเราเห็นเป็นแท่งๆ

นามนับไม่ได้ (uncountable noun) คือ

คำนามที่เราไม่รู้จะนับยังไงเพราะเรามองไม่เห็นความชัดเจนจากมันเช่น water – เพราะมันเป็นของเหลว เรานับไม่ได้แน่นอน เราจะนับได้ก็ต่อเมื่อมันอยู่ในกล่องบรรจุภัณฑ์เช่น A bottle of water – นำ 1 ขวด นอกจากนั้นนามนับได้จะมีพวกนามธรรมที่เรามองไม่เห็นเช่น honesty (ความซื่อสัตย์) ที่เราไม่รู้ว่ามันหน้าตาเป็นยังไง

หากนักเรียนเข้าใจเรื่องคำนามนับได้ – ไม่ได้แล้ว ทีนี้เราก็จะมาแต่งประโยคกัน ในภาษาไทยนั้น ไม่ว่าประธานจะเป็นอะไร เราก็ใช้กริยาเหมือนกันหมดเช่น

  • ฉันกิน
  • เขากิน
  • หล่อนกิน

เราใช้คำว่า “กิน” หมดเลยในภาษาไทย แต่!!!! มันไม่ใช่แบบนี้กับภาษาอังกฤษ ถ้าเหตุการณ์ที่เราจะพูด มันเกิดขึ้นในปัจจุบัน หรืออะไรก็ได้ที่มันเป็นความจริง เป็นนิสัย กิจวัตรต่างๆ เราจะใช้ tense ที่เรียกว่า “Present Simple Tense” ก็คือ ใส่ประธาน + กริยาช่อง 1 ไปเลย

ความงงของคนไทยคือ แล้วทำไมบางทีกริยาต้องเติม s ด้วยหล่ะ!! คือกฏมันมีแบบนี้ครับนักเรียน ไม่ต้องเครียดไป ก่อนจะเริ่มกันเรามาทบทวนความรู้กันหน่อย

ทบทวนความรู้

คำกริยารูป เอกพจน์ ได้แก่ is, does, has, คำกริยารูปที่ เติม s/es คำกริยารูป พหูพจน์ ได้แก่ are, do, have, คำกริยารูปที่ ไม่ได้เติม s/es

ใน present simple tense เราจะใช้คำกริยารูปเอกพจน์ กับคำนามเอกพจน์ เช่น

  • Tim walks to school every day.

และจะใช้คำกริยารูปพหูพจน์ กับคำนามพหูพจน์ เช่น

  • My friends walk to school every day

ถ้าประธานมี 1 คน(เรียกว่า ประธานเอกพจน์)นะครับนักเรียน (1 คน/สิ่งเท่านั้นนะครับ) เราจะต้องเอากริยามาเติม s/ es เช่น

  • Aof loves to eat Thai food. – ออฟชอบกินอาหารไทย ไม่ใช่
  • Jane love to eat Thai food. ตรงนี้ผิด เพราะ love ไม่เติม s

หรือถ้าเป็น verb to be เราก็จะใช้ is/was นะครับ หรือถ้าเป็น verb to have เราจะใช้ has นะครับ

  • John is happy because he works out every day.
  • Jimmy has a lot of money so he goes shopping every week.
  • The baby is crying now.
  • My cat has been sick for four days.

1. เติม s หลังคำกริยาได้ทั่วๆไปเลย

  • eat eats
  • walk walks
  • stay stays

2. ถ้าคำกริยาลงท้ายด้วย s, sh, ch, x, z และ o เราต้องเติม es หลังกริยานั้นๆ

  • miss misses
  • wish wishes
  • watch watches
  • fix fixes
  • buzz buzzes
  • go goes

ประเด็นคือ ให้เราฝึกฟอร์มประโยคบ่อยๆ เพราะเวลาใช้จริงๆ จะได้ไม่ลืม!

  • Tom goes to school every day.
  • Jack cooks dinner for his wife twice a week.
  • She has to work every Sunday.

Engduo Thailand

คอร์สเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ตัวต่อตัว พูดได้ชัวร์ ใช้ได้จริง

ถ้าประธานมีมากกว่า 1 คน (นามพหูพจน์) รวมถึง you ด้วยนะครับเราไม่ต้องเติม s ที่กริยานะครับ ปล่อยมันไปเลยครับ เช่น

  • Jack and Tom want to eat out tonight. แจ็คและทอมอยากออกไปทานข้าวข้างนอกคืนนี้
  • We have to study hard. พวกเราต้องเรียนให้หนักๆ

ถ้าเป็น verb to be เราก็จะใช้ are/were นะครับ ถ้าเป็น verb to have เราจะใช้ have นะครับ

คำที่ไม่เข้าพวกหน่อยก็คือ “I” นี่แหละครับ “I” (ฉัน) ดูเหมือนว่าจะมีคนเดียว เอ๊ะเติม s ที่กริยาป่าวนะ? “I” ให้ใช้กริยาที่ไม่เติม s นะครับ เช่น

  • I drive my car to work every day.
  • I have a lot of friends.

ข้อควรระวัง

อย่าสับสนระหว่างพจน์ของคำนามและพจน์ของคำกริยา คำนามเอกพจน์ คือคำนามที่ไม่ได้เติม s/es อย่างเช่น student, cat, table คำนามพหูพจน์ คือคำนามที่เติม s/es อย่างเช่น students, cats, tables

สรุป

คำกริยาเอกพจน์ คือคำกริยาที่เติม s/es อย่างเช่น eats, walks, goes คำกริยาพหูพจน์ คือคำกริยาที่ไม่ได้เติม s/es อย่างเช่น eat, walk, go

เวลาใช้ เราจะต้องใช้คำนามเอกพจน์ กับคำกริยาเอกพจน์ และใช้คำนามพหูพจน์กับคำกริยาพหูพจน์ หรือถ้าจะจำแบบง่ายๆก็คือ เราจะเติม s/es คำนามและคำกริยาสลับกัน ถ้าคำนามเติม s/es คำกริยาก็ไม่ต้องเติม แต่ถ้าคำนามไม่ได้เติม s/es คำกริยาก็จะต้องเติม แทน ยกตัวอย่างเช่น

  • My cat eats very fast. (แมวของฉันกินเร็วมาก)
  • My cats eat very fast. (บรรดาแมวๆของฉันนั้นกินเร็วมาก)

(จริงๆแล้ว คำนามพหูพจน์บางคำก็ไม่ได้ลงท้ายด้วย s/es หลักการนี้ใช้เพื่อให้จำได้ง่ายเท่านั้น)

อย่าลืมนะครับ ภาษาอังกฤษยิ่งฝึกฝนยิ่งหัดพูด อ่าน ฟัง และ เขียนทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้ไวขึ้นแอดมินหวังว่าบทความนี้จะช่วยเพื่อนๆได้ไม่มากก็น้อย แรกๆในการฝึกอาจจะไม่ชินและอาจจะลืมเติม s ได้ แต่ต้องฝึกต่อไปเรื่อยๆนะครับ ทำไปเรื่อยๆ ให้มันเป็นนิสัย สุดท้ายมันจะได้เองครับ ทางสถาบัน Engduo Thailand ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้