Project based management ค ม อ กระทรวงว ทย

หลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อ “หลักสูตรแซนด์บ็อกซ์” กันมาสักพักแล้วใช่ไหม? ชวนมาอัปเดตและทบทวนกันหน่อยว่าหลักสูตรแซนด์บ็อกซ์คืออะไร ตอนนี้เป็นอย่างไร พัฒนาไปกี่หลักสูตรกันแล้ว

หลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ (Higher Education Sandbox) หรือการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา นับเป็นแนวทางสำคัญที่เปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาก้าวข้ามข้อจำกัดในการจัดการศึกษา สามารถออกแบบและจัดการศึกษารูปแบบใหม่ที่เป็นนวัตกรรมอุดมศึกษาได้ ซึ่งตอนนี้คลอดมาแล้วทั้งหมด 6 หลักสูตร โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ จะมีหลักสูตรอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

1. หลักสูตรการผลิตและพัฒนากำลังคนสาขาฉุกเฉินการแพทย์ นำโดยวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัย และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สถาบันพระบรมราชชนก ตั้งเป้าผลิตกำลังคนสาขาฉุกเฉินการแพทย์ ระดับผู้ประกอบโรคศิลปะ จำนวน 15,000 คน ภายใน 10 ปี เป็นหลักสูตรร่วมโดยเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาซึ่งครอบคลุมทั้งสถาบันที่มีการผลิตบัณฑิตฉุกเฉินการแพทย์อยู่แล้วและสถาบันที่ยังไม่เคยผลิตบัณฑิตฉุกเฉินการแพทย์มาก่อน รวมถึงองค์กรรับรองทางวิชาชีพ และสถาบันที่เกี่ยวข้อง เพื่อแบ่งปันทรัพยากรในการจัดการศึกษา ทำให้สามารถขยายจำนวนการผลิตกำลังคนในสาขาที่ขาดแคลนได้อย่างรวดเร็วและเพียงพอ

2. หลักสูตรการผลิตบุคลากร High-tech Entrepreneur นำโดย International School of Management (ISM) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับ Harbour.Space University ประเทศสเปน หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (Thaichamber) และบริษัทต่าง ๆ ตั้งเป้าผลิตกำลังคนที่มีความรู้ขั้นแนวหน้า (frontier knowledge) ด้านเทคโนโลยี จำนวน 400 คน ภายใน 7 ปี โดยอาจารย์ผู้สอนจะเป็นผู้มีประสบการณ์จริงในภาคธุรกิจและมีชื่อเสียงระดับโลก เน้นการทำโครงการ (Project-based) ร่วมกับภาคธุรกิจและเกิดเป็นธุรกิจ Startup ได้ นอกจากนี้เนื้อหาวิชาจะถูกทบทวน (revisit) จากนักธุรกิจชั้นนำตลอดทุกปี ทำให้อาจารย์ไทยและผู้เรียนก้าวทันองค์ความรู้สมัยใหม่

3. หลักสูตรการผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และดิจิทัล นำโดยมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล และสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยอีก 5 แห่ง ตั้งเป้าผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และดิจิทัล จำนวน 1,880 คน ภายใน 8 ปี เป็นหลักสูตรร่วมเฉพาะทางด้าน AI เน้นสมรรถนะผู้เรียน (Competency-based education) มีรูปแบบการเรียนรู้หลากหลายที่เหมาะกับศักยภาพผู้เรียนแต่ละคนด้วย Competency Tracking Platform สามารถเทียบโอนหน่วยกิตระหว่างมหาวิทยาลัยเครือข่ายได้รับทั้งปริญญาและประกาศนียบัตร ทำให้ก้าวข้ามข้อจำกัดของทรัพยากรในการจัดการศึกษา สามารถขยายจำนวนการผลิตกำลังคนในสาขาที่ขาดแคลนได้อย่างรวดเร็วและเพียงพอ รวมถึง Competency-based Education ทำให้บัณฑิตมีสมรรถนะที่ตอบโจทย์โลกยุคใหม่

4. หลักสูตรการผลิตกําลังคนศักยภาพสูงที่มีความรู้เชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์และแนวคิดเชิงนวัตกรรม นำโดยวิทยสถานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชวิทย์) ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และสถาบันอุดมศึกษาตั้งเป้าผลิตกําลังคนทักษะสูงที่มีความรู้เชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์และแนวคิดเชิงนวัตกรรม จำนวน 175 คน ภายใน 9 ปี เป็นหลักสูตรโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา เพื่อใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและองค์ความรู้ Frontier Science จากสถาบันวิจัย นักศึกษาปริญญาเอกจะได้ทำโครงการวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพื่อพัฒนา Deep Technology ที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจ

5. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งเป้าผลิตวิศวกรคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล จำนวน 1,200 คน โดยนิสิตจะได้ออกไปฝึกงานสม่ำเสมอทุกปี สามารถพัฒนาทักษะประกอบอาชีพได้ภายใน 2 ภาคเรียน สอบผ่านได้รับ Certificate และฝึกงานต่อทันทีในภาคฤดูร้อน นอกจากนี้ยังสามารถออกไปประกอบอาชีพระหว่างการศึกษาและกลับเข้ามาศึกษาต่อในหลักสูตรโดยสะสมหน่วยกิตไว้ในคลังหน่วยกิตได้ ซึ่ง อว. จะใช้เป็นหลักสูตรต้นแบบเพื่อขยายกำลังการผลิตกำลังคนด้านดิจิทัลซึ่งมีความต้องการบุคลากรมากกว่า 37,000 คน

6. หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบินนานาชาติ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ตั้งเป้าผลิตกำลังคนในกลุ่มพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (Flight Attendant) จำนวน 300 คน ในเวลา 5 ปี เป็นการจัดการศึกษาร่วมกับภาคผู้ใช้บัณฑิต (Co-creation) อย่างเข้มข้น ใช้ผู้สอนที่มีประสบการณ์ตรงในสายงาน และเป็นหลักสูตรมาตรฐานระดับสากลได้รับการรับรองจากองค์กรการบินนานาชาติ ICAO/IATA พร้อมรับประกาศนียบัตรทำงานได้ทันที เมื่อเรียนจบยังได้รับการจ้างงาน 100% และเปิดโอกาสให้นักศึกษาปี 3-4 จากหลักสูตรอื่นสามารถเข้าศึกษาและได้รับปริญญาใบที่สอง (Double Degree) ได้

ทั้ง 6 หลักสูตรข้างต้นหลักสูตร ไม่เพียงแต่ทำให้การขับเคลื่อนการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมเท่านั้น แต่ข้อเสนอการจัดการศึกษาฯ ทั้งหมด ยังสะท้อนให้เห็นนวัตกรรมการจัดการศึกษาที่เกิดขึ้นในหลายรูปแบบ ได้แก่

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้