เขียนอีเมลฝึกงาน ภาษาอังกฤษ

                     🎓 How to เขียนอีเมล ขอฝึกงานยังไง ? ให้เตะตา HR 😍 นักศึกษาที่กำลังหาที่ฝึกงาน ส่งอีเมล์ไปตั้งนาน ยังไม่ได้รับการติดต่อกลับสักที เป็นเพราะอะไรนะ ?? Resume ส่งไปอย่างเดียวอาจไม่เวิร์ค ต้องมีวีธีเขียนอีเมล์ขอฝึกงานที่ดีด้วย มาดูว่าวิธีที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

ชื่อE-mail 📨

📧 ควรใช้ชื่อที่ดูเป็นทางการ ดูมีความน่าเชื่อถือและทางการสำหรับการติดต่อขอฝึกงานหรือติดต่อเรื่องอื่นๆ

หัวข้อ E-mail 📨

📧 ระบุไปว่าสมัครขอฝึกงานพร้อมตำแหน่ง อย่าเขียนว่าสมัครงานเฉยๆ ไม่งั้น HR อาจข้าม E-mail ของคุณไปเลยก็ได้ หรือทางบริษัทมีหัวข้อที่กำหนดไว้ ก็ทำตามนั้น

วิธีเขียนจดหมายขอฝึกงาน 📨

📧 บรรทัดแรกจะเป็นบอกถึงว่าจดหมายขอฝึกงาน ส่งไปถึงใครหรือที่ไหน เช่น เรียน คุณ….. , ถึง คุณ…. เริ่มย่อหน้าแรก จะเป็นการแนะนำตัวว่าเป็นใคร มาจากไหน มหาวิทยาลัยไหน สะดวกฝึกงานช่วงไหน เป้าหมายของการฝึกงานคืออะไรและบอกถึงตัวบริษัทว่าดียังไง ทำไมถึงอยากมาฝึกงานที่นี่

📧 ย่อหน้าที่สอง จะเป็นส่วนที่สำคัญมาก มันคือสิ่งที่ดึงดูด ว่าคุณเคยทำอะไร มีประสบการณ์อะไร ผ่านอะไรมาบ้าง หรือวิชาที่เรียน นอกจากจะเขียนในจดหมายขอฝึกงาน ส่วนนี้ก็เป็นส่วนสำคัญใน Resume

📧 ส่วนสุดท้ายของจดหมาย ควรที่จะบอกถึงข้อมูลเบอร์ติดต่อกลับ ใส่คำลงท้าย เช่น แสดงความนับถือ, ด้วยความเคารพและตามด้วยชื่อ - นามสกุลลงท้าย

ไฟล์แนบ 📨

📧 คิดให้ดีก่อนจะแนบไฟล์เพราะจะเป็นสิ่งๆแรกที่ HR จะเห็นก่อน และต้องเป็นไฟล์ PDF เพื่อป้องกันข้อมูลทีไม่สมบูรณ์ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากระบบที่ไม่เหมือนกัน และการตั้งชื่อไฟล์ที่ดูดีมีทางการ

รูปถ่าย 📨

📧 รูปถ่ายก็เป็นอีกอย่างที่จะดึดดูดมาก เพราะการถ่ายรูปหน้าตรง แต่งกายสุภาพเห็นหน้าชัดเจน เป็นเรื่องที่ดี รู้จักกาลเทศะ ไม่ควรใส่แว่น เอียงข้าง แต่งกายไม่สุภาพ เพราะจะดูไม่ออกว่าเป็นใคร

ในยุคดิจิตัลอย่างปัจจุบัน การส่งอีเมลไปขอฝึกงานนั้นเป็นเรื่องที่นิยมทำกันมากขึ้นเรื่อย ๆ บทความจากวิกิฮาวนี้จะช่วยให้คุณรู้ว่าควรจะเขียนอีเมลไปขอฝึกงานอย่างไร

  1. 1

    สร้างบัญชีอีเมลให้ดูเป็นงานเป็นการ. คุณควรใช้อีเมลที่ดูเป็นทางการและมีความชัดเจนเมื่อต้องติดต่อด้านหน้าที่การงาน หลีกเลี่ยงไม่ใช้ชื่อเล่นหรือการใส่สัญลักษณ์ที่ไม่จำเป็นรวมถึงตัวเลขลงไปอีเมลแล้วตั้งชื่อจากชื่อตัวเองน่าจะดีกว่า ตัวอย่างอีเมลเช่น ก็ถือว่าใช้ได้อยู่

    • ถ้าอีเมลปัจจุบันที่คุณใช้เชื่อมต่อกับบัญชีโซเชียลมีเดียที่มีเนื้อหาที่ดูไม่เป็นมืออาชีพ คุณควรสร้างและใช้อีเมลใหม่แล้วก็ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของโซเชียลมีเดียใหม่เสียด้วย

  2. 2

    หาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท. ก่อนที่คุณจะสมัครฝึกงาน หาข้อมูลของบริษัทที่คุณอยากทำงานด้วยเสียก่อน เข้าไปดูเว็บไซต์ของบริษัท อ่านบทความข่าวต่าง ๆ เกี่ยวกับบริษัท ถ้าบริษัทขายสินค้าที่คุณสามารถเข้าถึงได้ เช่น โซเชียลมีเดีย ก็ลองใช้สินค้านั้นดูสักอาทิตย์นึง ใช้ข้อมูลเชิงลึกที่คุณได้มาเพื่อช่วยเขียนจดหมายขอฝึกงาน นายจ้างที่มีวิสัยทัศน์จะชื่นชมผู้สมัครที่มีความรู้เกี่ยวกับบริษัทและสามารถแสดงความรู้นั้นออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม

  3. 3

    หาคนรู้จักในบริษัท. การที่รู้จักคนในบริษัทนั้นเป็นประโยชน์มาก ลองใช้โซเชียลมีเดียเช่นลิงค์อินหรือเฟสบุ๊คค้นหาคนที่ทำงานในบริษัทนั้น เมื่อชื่อขึ้นมาก็ดูว่าเขาทำงานตำแหน่งอะไร จากนั้นก็ติดต่อขอสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์หรือตัวต่อตัวอย่างสุภาพ ลองถามพวกเขาดูว่าพอจะมีคำแนะนำอะไรสำหรับการสมัครฝึกงานของคุณบ้างไหม

    • หากใช้ลิงค์อิน คุณจะสามารถทราบได้ว่าคนรู้จักของคุณคนใดทำงานที่บริษัทนี้บ้าง อย่าลังเลที่จะขอให้คนรู้จักช่วยแนะนำคนที่ทำงานให้ แต่ต้องรู้จักมีกาลเทศะด้วยการไม่ขอให้คน ๆ เดิมช่วยหลายครั้งเกินไปนะ
    • หลาย ๆ มหาวิทยาลัยจะเก็บฐานข้อมูลศิษย์เก่าไว้ คุณสามารถค้นหาคนที่ทำงานบางอย่างหรือบางที่ได้จากเว็บไซต์เหล่านี้ ศิษย์เก่าที่ให้ข้อมูลติดต่อของตัวเองไว้มักจะเป็นคนที่พร้อมตอบอีเมลหรือรับโทรศัพท์จากเหล่านักศึกษาเลยล่ะ
    • เมื่อพูดคุยเรื่องบริษัทกับคนในที่หาได้ บอกคน ๆ นั้นว่าคุณสนใจจะฝึกงานที่นั่นแล้วก็ลองถามเรื่องแผนผังองค์กรของบริษัท สภาพแวดล้อมในการทำงาน เป้าหมายในงานทำงาน ฯลฯ ด้วยล่ะ

  4. 4

    เจาะจงผู้รับอีเมล. ประกาศรับสมัครนักศึกษาฝึกงานได้ให้ชื่อของคนที่ต้องติดต่อไว้ไหม? ถ้ามีก็เขียนถึงชื่อนั้นและส่งอีเมลไปหา ถ้าไม่มีชื่อของคนที่ต้องติดต่อก็โทรไปที่บริษัทแล้วถามว่าใครมีหน้าที่ในการหาเด็กฝึกงาน ถ้าไม่มีใครก็ส่งอีเมลหาเจ้าหน้าที่อาวุโสในแผนกทรัพยากรบุคคลของบริษัท ถ้าคุณได้พูดคุยกับคนในบริษัทบ้างแล้วก็อ้างชื่อของคน ๆ นั้นไปตรงต้นอีเมลได้เลย

    • หากไม่สามารถหาชื่อของพนักงานคนใดได้เลย ให้เขียนขึ้นต้นอีเมลว่า "เรียน ผู้จัดการแผนกทรัพยากรบุคคล"

  5. 5

    เขียนหัวข้ออีเมลให้เฉพาะเจาะจง. อีเมลของคุณต้องดูโดดเด่นแม้จะอยู่ท่ามกลางอีเมลมหาศาล เช่น เขียนว่า "ใบสมัครฝึกงานบริษัท ก. นางสาวโจอานนา สมิธ" หรือหากทางบริษัทกำหนดว่าต้องเขียนหัวข้ออีเมลอย่างไรก็ปฏิบัติตามนั้น

    โฆษณา

  1. 1

    เขียนถึงผู้รับอย่างสุภาพ. ในบรรทัดแรก ให้เริ่มต้นอีเมลด้วยการเขียนว่า "ถึง คุณ..." โดยขึ้นอยู่กับชื่อ เพศและตำแหน่งของผู้รับ อย่าเขียนไปว่า "ว่าไง แมรี่"​ หรือ "หวัดดี" เชียวล่ะ เขียนอีเมลด้วยภาษาสุภาพพอ ๆ กับเวลาที่คุณเขียนจดหมายสมัครงานจริงๆ เลยนะ

    • หากคุณไม่สามารถรู้ได้ว่าบุคคลนั้นเพศอะไรให้เขียนชื่อเต็มของคนๆ นั้นไปเลย เช่น เขียนว่า "เรียน คุณ บ๊อบบี้ เรโนลด์"

  2. 2

    แนะนำตัวเอง. แนะนำแก่ผู้รับอีเมลว่าคุณชื่ออะไรและกำลังทำอะไรอยู่ (เช่น เป็นนักเรียนชั้นปีที่สาม สาขาชีววิทยาที่มหาวิทยาลัย ก.) อธิบายว่าคุณทราบเกี่ยวกับการฝึกงานนี้ได้อย่างไร เช่น เจอบนอินเตอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ หรือมีคนบอกมา หากคุณมีคนรู้จักทำงานในบริษัทก็ให้บอกเร็วเท่าที่ทำได้ เช่น คุณอาจจะเขียนว่า หัวหน้าผู้ดูแลโครงการ/อาจารย์/ฯลฯ (ตำแหน่งและชื่อ) แนะนำให้คุณติดต่อมา

  3. 3

    บอกว่าคุณสะดวกฝึกงานเมื่อไหร่. บอกไปว่าคุณสามารถเริ่มฝึกงานได้ตั้งแต่วันไหนถึงวันไหนและระยะเวลายืดหยุ่นได้หรือไม่ เช่น ถ้าคุณสามารถฝึกงานช่วงฤดูใบไม้ผลิและยังสามารถทำงานเต็มเวลาได้ในช่วงฤดูร้อนก็บอกไปด้วย ระบุจำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่คุณสามารถทำงานได้ไปด้วยล่ะ

  4. 4

    พูดถึงเป้าหมายของการฝึกงาน. คุณต้องฝึกงานเพื่อเก็บหน่วยกิตหรือเปล่า? ถ้าเป็นไปได้ก็เขียนบอกว่าคุณฝึกงานก็เพราะมีเป้าหมายหลักคือเพื่อสะสมประสบการณ์และคุณค่อนข้างยืดหยุ่นเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบและผลตอบแทน นอกจากนี้ก็เขียนไปด้วยว่าคุณคาดหวังจะได้เรียนรู้ทักษะอะไรจากการฝึกงานนี้

  5. 5

    เขียนว่าคุณชื่นชมอะไรเกี่ยวกับบริษัทนี้. เขียนอะไรที่คุณรู้หรือคิดว่าบริษัทให้ความสำคัญ หลีกเลี่ยงไม่พูดถึงข่าวแง่ลบ พยายามทำให้อีเมลสมัครงานฟังดูดี ตัวอย่างเช่น คุณอาจเขียนว่าบริษัทนี้มีชื่อเสียงถึงศักยภาพอันดีเลิศและคุณยังชื่นชมที่บริษัทให้เงินสนับสนุนช่วยเหลือสัตว์ถูกทอดทิ้ง เป็นต้น

    โฆษณา

  1. 1

    อธิบายถึงคุณสมบัติและประสบการณ์ของคุณ. เขียนเล่าถึงวิชาที่คุณเรียน ประสบการณ์ฝึกงานก่อนหน้านี้และบอกว่าคุณมีทักษะอะไรที่เกี่ยวข้องกับงาน แสดงให้เห็นว่าความรู้ของคุณจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทอย่างไร ให้ข้อมูลถึงเรื่องงานและกิจกรรรมอาสาสมัครที่คุณเคยทำและบอกไปว่าทำไมประสบการณ์ต่างๆ เหล่านี้ถึงได้ทำให้คุณกลายเป็นคนที่เหมาะสมกับงานนี้ เน้นย้ำว่าคุณจะทำอะไรให้กับบริษัทได้บ้าง ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้ว่าที่นายจ้างมีความเชื่อมั่นว่าคุณจะสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้นั่นเอง[1]

    • ใช้คำกิริยาที่แสดงความหนักแน่นเพื่ออธิบายถึงประสบการณ์การทำงานของคุณ แทนที่จะเขียนว่า "ผมเคยเป็นเด็กฝึกงานด้านการตลาดอยู่สองปี" ก็เขียนไปว่า "ตอนที่เป็นเด็กฝึกงานด้านการตลาด ผมได้ช่วยสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจ ช่วยออกแบบแผ่นพับทั้งแบบดิจิตัลและแบบตีพิมพ์และยังได้ช่วยดูแลเนื้อหาบนโซเชียลมีเดียให้กับบริษัทที่มีพนักงานจำนวนห้าสิบคน" แทน
    • ทักษะการทำงานอาจรวมไปถึงการใช้โซเชียลมีเดีย การจัดการกิจกรรมหรืออะไรต่าง ๆ ได้อีกมากมาย

  2. 2

    เขียนถึงความสำเร็จทางการศึกษาหรือกิจกรรมนอกหลักสูตร. เขียนถึงคุณสมบัติด้านการศึกษาของคุณไปเสียด้วย หากคุณเคยมีบทบาทเป็นหัวหน้าก็อธิบายหน้าที่และ/หรือความสำเร็จที่ได้รับ คุณเคยเป็นผู้นำสภานักศึกษาไหม? คุณเคยเป็นผู้ฝึกสอนทีมนักกีฬาไหม? อธิบายถึงกิจกรรมเหล่านี้สั้นๆ คนอ่านจะได้ไม่สูญเสียความสนใจไปเสียก่อน

    • แทนที่จะหาถ้อยคำมาอธิบายตัวตน คุณควรยกตัวอย่างที่เป็นชิ้นเป็นอันเพื่ออธิบายว่าคุณมีดีอย่างไร ตัวอย่างเช่น แทนที่จะบอกว่า "ดิฉันเป็นนักเรียนที่มุ่งมั่น" ก็เขียนไปว่า "ดิฉันมักมีผลการเรียนเป็นสิบเปอร์เซ็นต์แรกของชั้นเรียนเสมอ" แทน

    โฆษณา

  1. 1

    เขียนบอกว่าคุณจะติดต่อกลับมาเมื่อไหร่. อธิบายว่าคุณจะติดต่อกลับมายังผู้ว่าจ้างเมื่อไหร่และอย่างไรเพื่อติดตามสถานะใบสมัคร ให้ข้อมูลการติดต่อ เช่น ชื่อ อีเมล เบอร์โทรศัพท์และเวลาที่สะดวกไว้ เช่น คุณควรเขียนว่า "สามารถติดต่อผมได้ทางโทรศัพท์หรืออีเมล หากคุณไม่สามารถติดต่อกลับมาได้ ผมจะเป็นฝ่ายโทรไปในวันจันทร์หน้า" เป็นต้น

  2. 2

    จบอีเมล. การแสดงความขอบคุณผู้อ่านที่อุตส่าห์เสียเวลาพิจารณาเอกสารการสมัครนั้นเป็นเรื่องสุภาพ จบด้วยคำลงท้ายแสดงความนับถือ เช่น "ด้วยความเคารพ" หากคุณเคยพูดคุยกับคน ๆ นั้นทางโทรศัพท์หรือพบกันก่อนหน้านี้แล้ว คุณอาจจะลงท้ายได้ว่า "ขอแสดงความนับถือ" แต่อย่าลงท้ายแค่ว่า "ขอบคุณครับ/ค่ะ"​ แต่เพียงอย่างเดียวในการส่งอีเมลอย่างเป็นทางการ จากนั้นก็ลงท้ายด้วยชื่อเต็มของคุณ เช่น โจอานนา สมิธ ไม่ใช่แค่โจอานนาเฉย ๆ

  3. 3

    คิดให้ดีก่อนแนบเอกสาร. อย่าแนบเรซูเม่ไปในอีเมลขอฝึกงานในกรณีที่คุณเป็นฝ่ายติดต่อไปเอง บริษัทอาจจะไม่เปิดอ่านเอกสารที่แนบมาเลยก็ได้เว้นเสียแต่ว่าบริษัทนั้นๆ จะกำลังต้องการเด็กฝึกงานอย่างหนัก โดยเฉพาะถ้าบริษัทนั้นๆ มีนโยบายเรื่องการเปิดเอกสารแนบ หากประกาศรับสมัครขอเรซูเม่ด้วยก็แนบเอกสารไปเป็นแบบพีดีเอฟ (แทนที่จะแนบเอกสารเวิร์ดไปเพราะรูปแบบเอกสารอาจจะไม่สมบูรณ์หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเปิดจากระบบที่แตกต่างกัน)

    • ผู้ว่าจ้างบางรายอาจจะระบุไว้ว่าบริษัทไม่มีนโยบายเปิดเอกสารแนบ หากเป็นเช่นนั้น คุณควรใส่จดหมายแนะนำตัวและเรซูเม่ไปในตัวเนื้อหาอีเมลเลย โดยต้องแยกส่วนจากกันให้ชัดเจนเพื่อที่นายจ้างจะได้แยกเอกสารแต่ละอย่างได้ง่ายๆ

  4. 4

    ติดต่อกลับมาตามที่ได้บอกไว้. หากคุณไม่ได้ข่าวคราวจากบริษัทก็ส่งอีเมลไปหา หรือถ้าจะให้ดีก็โทรไปเลย คุณอาจเขียนว่า "เรียน ด็อกเตอร์ฮันเซน ดิฉันชื่อ (ชื่อคุณ) และที่ดิฉันเขียนมาหาก็เพราะต้องการทราบความคืบหน้าจากอีเมลที่ดิฉันส่งมาเพื่อขอฝึกงานในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ดิฉันจะรู้สึกซาบซึ้งมากหากได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณถึงตำแหน่งนี้ ขอบคุณค่ะ ด้วยความเคารพ โจอานนา สมิธ

    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การแนบจดหมายแนะนำตัวไปกับอีเมลนั้นจะเพิ่มความเป็นทางการขึ้นมา เพราะการส่งอีเมล์เป็นการสื่อสารที่ค่อนข้างสบาย ๆ หากคุณแนบจดหมายแนะนำตัวมากับอีเมล อีเมลของคุณควรจะกระชับและสุภาพนอบน้อม เริ่มจากการทักทายผู้ว่าจ้าง อธิบายว่าคุณเป็นใคร สมัครตำแหน่งอะไร และบอกว่าคุณแนบเรซูเม่กับจดหมายแนะนำตัวมาด้วยแล้วจากนั้นก็ลงชื่อและให้ข้อมูลติดต่อ
  • อย่าส่งอีเมลที่ดูเหมือนเขียนขึ้นตามแบบฟอร์ม ปรับเปลี่ยนทุกอีเมลที่คุณส่งไปเพื่อที่บริษัทจะได้ไม่รู้สึกว่าคุณแค่หาที่ฝึกงานแบบส่ง ๆ

โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 65,024 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้