เพราะเหตุใดเมื่อออกกำลังกายอย่างหนักจะมีอาการหน้าแดงเหงื่อออกมากและหายใจถี่และแรงขึ้น

เมื่อไรที่หัวใจเต้นเร็วจนผิดปกติไม่ควรชะล่าใจ เพราะอาจบ่งบอกว่าร่างกายของคุณกำลังผิดปกติ หรือเป็นโรคต่าง ๆ ได้ ดังนั้นควรรู้เท่าทันและพบอายุรแพทย์หัวใจโดยเร็ว จะได้ดูแลรักษาให้ถูกวิธีก่อนสายเกินไป


รู้จักกับหัวใจเต้นเร็ว

หัวใจเต้นเร็วเป็นอาการที่หัวใจมีอัตราการเต้นเร็วกว่าปกติ โดยปกติหัวใจจะมีอัตราการเต้นอยู่ที่  60 – 100 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อหัวใจมีอัตราการเต้นมากกว่า 100 ครั้งต่อนาทีขึ้นไปจะถือว่าหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ โดยสิ่งที่ต้องสังเกตร่วมด้วยคือ ลักษณะการเต้นของหัวใจจะมีจังหวะสม่ำเสมอ หากเต้นเร็วบ้างช้าบ้างก็อาจบ่งบอกว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะได้

ปัจจัยที่ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว

ปัจจัยที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วแบ่งออกเป็น

  1.  ปัจจัยภายนอกหัวใจและหลอดเลือด เช่น 
    • ภาวะขาดน้ำ (Dehydration)
    • ภาวะการสูญเสียเลือดเป็นจำนวนมากจนเกิดภาวะซีด 
    • การพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก นอนน้อย
    • การติดเชื้อ มีไข้สูง
    • ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism)
    • ท้องเสีย ถ่ายเหลวปริมาณมาก 
    • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea – OSA)
    • การรับประทานยาบางชนิด
    • การใช้สารเสพติดที่มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ
    • การดื่มเครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นหัวใจ เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ
  2. ปัจจัยภายในหัวใจและหลอดเลือด เช่น
    • โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
    • ผนังกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ
    • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
    • โรคลิ้นหัวใจ
    • โรคความดันโลหิตสูง
    • ภาวะที่เกิดจากไฟฟ้าหัวใจลัดวงจร เช่น Supraventricular Tachycardia – SVT หรือ Wolff Parkinson White Syndrome – WPW และ Atrial Fibrillation – AF เป็นต้น

หัวใจเต้นเร็วบ่งบอกหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การที่หัวใจเต้นเร็วสามารถบ่งบอกว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmia) ได้ หากมีอัตราการเต้นของหัวใจเกิน 100 ครั้งต่อนาที และ/หรือมีการเต้นผิดจังหวะร่วมด้วย ได้แก่

  •  หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะที่หัวใจห้องบน (Supraventricular Tachycardia – SVT) จากความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่หัวใจห้องบน ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่อัตราการเต้นของหัวใจมักจะมากกว่าหรือเท่ากับ 150 ครั้งต่อนาที
  • หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะที่หัวใจห้องล่าง (Ventricular Tachycardia – VT)จากความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่หัวใจห้องล่าง ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
  • หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (Sinus Tachycardia) จากการที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจมีความเร็วมากกว่าปกติ ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่อัตราการเต้นหัวใจมักจะไม่เกิน 150 ครั้งต่อนาที

สังเกตอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • ใจสั่นมากผิดปกติ
  • เวียนศีรษะ หน้ามืด วูบ เป็นลม หมดสติ
  • เจ็บแน่นหน้าอก 
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก
  • เดิน ๆ แล้วรู้สึกคล้ายตกหลุมอากาศ 

ตรวจวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การตรวจวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจจะทำการซักประวัติผู้ป่วยโดยละเอียด จากนั้นจะทำการตรวจร่างกายผู้ป่วย เจาะเลือดตรวจหาความผิดปกติ และใช้เครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อผลการตรวจที่ชัดเจน ได้แก่

  1.  การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (12-Lead Electrocardiography, ECG or EKG) เป็นการตรวจมาตรฐานของหัวใจ โดยวัดการทำงานของไฟฟ้าในหัวใจ สามารถตรวจได้ทันที เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะมานานพอก่อนมาถึงโรงพยาบาล และสามารถตรวจสุขภาพหัวใจประจำปีในผู้ที่ไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ได้ด้วย
  2. เครื่องบันทึกการเต้นของหัวใจต่อเนื่อง 24 – 48 ชั่วโมง (Holter Monitoring) เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 – 48 ชั่วโมง โดยผู้ป่วยจะติดเครื่องบันทึกไว้ติดตัวตลอดเวลา เครื่องจะสามารถตรวจพบความผิดปกติของการเต้นของหัวใจได้แม้ไม่มีอาการ เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะทุกวันหรือเกือบทุกวันในช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่นาน ก่อนมาถึงโรงพยาบาล
  3. เครื่องบันทึกการเต้นของหัวใจชนิดพกพา (Event Recorder) เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่มีลักษณะคล้ายโทรศัพท์มือถือสามารถพกพาไปที่ต่าง ๆ ได้ เมื่อผู้ป่วยมีอาการให้นำเครื่องมาทาบที่หน้าอกแล้วกดปุ่มบันทึก เครื่องจะบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะที่มีอาการแล้วส่งข้อมูลผ่านโทรศัพท์พื้นฐานที่บ้านมายังโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยโดยละเอียด วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะไม่บ่อย เดือนละประมาณ 2 – 3 ครั้ง มีข้อจำกัดคือผู้ป่วยที่เป็นลมหมดสติกรณีที่เป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะจะไม่สามารถตรวจด้วยวิธีนี้ได้
  4. เครื่องบันทึกการเต้นของหัวใจชนิดฝังใต้ผิวหนัง (Implantable Loop Recorder, ILR) มีขนาดเล็กลักษณะคล้าย USB Flash Drive แพทย์จะฝังไว้ใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอกด้านซ้าย จากนั้นเครื่องจะบันทึกการเต้นของหัวใจอย่างต่อเนื่อง โดยเก็บคลื่นไฟฟ้าหัวใจเฉพาะช่วงเวลาที่หัวใจเต้นผิดจังหวะตามที่ได้โปรแกรมไว้ก่อนหน้าหรือเมื่อผู้ป่วยต้องการเท่านั้น เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะนาน ๆ ครั้ง แต่อาการค่อนข้างรุนแรง อาทิ ผู้ป่วยหมดสติแบบไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น
  5. การตรวจวัดสมรรถภาพหัวใจโดยการเดินสายพาน (EST: Exercise Stress Test) เป็นการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังด้วยการเดินบนสายพานเลื่อน (Treadmill) เพื่อกระตุ้นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะขณะออกแรง เหมาะกับการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย หรือใจสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ และยังช่วยตรวจวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ด้วย 
  6. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) สามารถตรวจดูความผิดปกติทางโครงสร้างของหัวใจ ทั้งขนาด รูปร่าง ลักษณะการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ เพื่อตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของหัวใจ เช่น ผนังกั้นหัวใจหนาตัวผิดปกติ ห้องหัวใจโต ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่วผิดปกติ ผนังกั้นหัวใจรั่ว เป็นต้น
  7. การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology Study) เป็นการตรวจการนำไฟฟ้าของหัวใจเพื่อหาความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ โดยแพทย์จะตรวจการทำงานของระบบไฟฟ้าในหัวใจและกระตุ้นให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะขึ้นเพื่อให้ทราบสาเหตุที่แท้จริง วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถตรวจหาความผิดปกติด้วยวิธีอื่น ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นได้

การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หลังจากได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจเป็นที่เรียบร้อยแล้วแพทย์จะประเมินทางเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายได้แก่

  1. การใช้ยาเพื่อปรับจังหวะและอัตราการเต้นของหัวใจ (Antiarrhythmic Drug) ให้ใกล้เคียงระดับปกติ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ ลดภาวะแทรกซ้อน และลดความรุนแรงที่จะนำไปสู่การเสียชีวิต
  2. การช็อกหัวใจด้วยกระแสไฟฟ้า (Electrical Cardioversion) เพื่อปรับจังหวะการเต้นของหัวใจให้กลับมาเต้นในอัตราที่ปกติ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน และลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
  3. การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยการจี้ด้วยคลื่นวิทยุ (Radiofrequency Catheter Ablation, RFCA) แพทย์จะใช้สายสวนหัวใจตรวจหาตำแหน่งความผิดปกติภายในหัวใจ จากนั้นจะทำการจี้ด้วยคลื่นวิทยุที่เปลี่ยนจากพลังงานไฟฟ้าไปเป็นพลังงานความร้อนเข้าไปตัดวงจรไฟฟ้าที่ผิดปกติในหัวใจ ปัจจุบันมักใช้ร่วมกับระบบสามมิติ (3D Mapping) เพื่อให้มองเห็นตำแหน่งได้ชัดเจน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ช่วยเพิ่มโอกาสและความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ ซึ่งวิธีนี้มีโอกาสรักษาสำเร็จสูงมากกว่า 90% โดยจะต้องรักษากับแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจที่มีความชำนาญการ
  4. การผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร (Permanent Pacemaker) แพทย์จะฝังเครื่องที่ใต้ผิวหนังบริเวณใต้ไหปลาร้า เพื่อช่วยให้การเต้นของหัวใจสม่ำเสมอ ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดียิ่งขึ้น วิธีนี้ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติ หรือหัวใจหยุดเต้นเป็นช่วง ๆ 
  5. การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดถาวร (Automated Implantable Cardioverter – Defibrillator, AICD) แพทย์จะฝังเครื่องบริเวณหน้าอกเพื่อช่วยตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าหัวใจและช็อกไฟฟ้าหัวใจทันทีที่ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดจังหวะเพื่อให้จังหวะการเต้นของหัวใจกลับมาเป็นปกติโดยเร็ว  วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนกำลัง และผู้ป่วยที่มีหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดจังหวะ
  6. การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและช่วยการบีบตัวของหัวใจ(Cardiac Resynchronization Therapy – CRT) เพื่อกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจห้องล่างซ้ายและขวาให้บีบตัวได้สอดคล้องกัน ช่วยให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่มีการบีบตัวของหัวใจน้อยและมีความเสี่ยงหัวใจล้มเหลว

การป้องกันหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีและตรวจเช็กหัวใจตามคำแนะนำของแพทย์
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ 
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ดื่มน้ำให้ได้ปริมาณที่เพียงพอกับร่างกายในแต่ละวัน 
  • หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ฯลฯ ควรจะต้องรับประทานยาสม่ำเสมอและมีการตรวจติดตามอาการกับแพทย์เป็นประจำ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีและผู้ที่มีโรคประจำตัว ดังนั้นควรหมั่นสังเกตอาการ หากใจสั่นผิดปกติ วูบ หน้ามืด เวียนศีรษะ เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย คล้ายจะเป็นลม ให้รีบพบอายุรแพทย์โรคหัวใจทันทีเพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างเหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาทิ อัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้ 

ทำไมออกกำลังกายแล้วหน้าแดง

สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากการที่คุณร้อนเท่านั้นเอง การออกกำลังกายจะขยายหลอดเลือด และการออกกำลังกายอย่างหนักทำให้เกิดความร้อน ร่างกายจะส่งเลือดที่มีออกซิเจนไปยังผิวชั้นนอกของผิวหนังจึงทำให้เกิดความแดง หากคุณมีผิวหนังที่ไวต่อสิ่งต่างๆ คุณก็อาจได้รับผลจากสิ่งนี้นานกว่าคนอื่น โดยอาการนี้อาจดีขึ้นได้เมื่อระดับฟิตของร่างกายเพิ่ม ...

ทำไมออกกำลังกายถึงหอบ

โดยปกติแล้วการหายใจไม่ถูกต้องหรือผิดจังหวะในช่วงเล่นกีฬาหรือในระหว่างการออกกำลังกายและการหายใจที่ถี่เร็วเกินไป ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยและได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากการที่เราต้องพยายามหายใจถี่ๆ ส่งผลให้มีอาการหอบต้องหายใจทางปาก ในบางคนอาจมีอาการหน้ามืด หรือวูบร่วมด้วย

ทำไมออกกำลังกายแล้วตัวสั่น

ยกหรือเล่นเวทหนักเกินไปกว่าที่รับไหว ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้า กล้ามเนื้อกระตุก เนื่องมาจากกรดแลกติก (Lactic Acid) ของเสียในกระบวนการเผาผลาญพลังงานถูกสะสมมากขึ้นในกล้ามเนื้อขณะออกกำลัง ทำให้เกิดการกระตุกหรือสั่นตามส่วนที่เรากำลังเล่นอยู่

การขับเหงื่อออกมาในปริมาณมากมีผลต่อร่างกายอย่างไร

ถ้าร่างกายขับเหงื่อออกมาปริมาณมากจะทำ ให้เกิดการสูญเสียความร้อน น้ำ และแร่ธาตุ บางชนิดออกมาพร้อมกับเหงื่อมากเกินไป ตัวอย่างแร่ธาต เช่น โซเดียม โพแทสเซียม ร่างกายไม่สามารถรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิและสารดังกล่าวได้ อาจทำ ให้เกิด อันตรายแก่ชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการทดแทนเข้าไป

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้