เหตุใดพระพุทธศาสนาจึงมี 2 นิกาย

      อันที่จริง โยคาจารเห็นด้วยกับมาธยมิกะเฉพาะเรื่องความไม่มีอยู่จริงของวัตถุหรืออารมณ์ภายนอก แต่เรื่องที่เห็นว่าจิตไม่มีจริงหรือไม่มีอยู่จริงนั้น โยคาจารไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งเพราะถือว่าทรรศนะของมาธยมิกะที่ปฏิเสธว่าสูญทั้งหมดเท่ากับเป็นความเห็นผิดอย่างไม่น่าให้อภัย เพราะโยคาจารเชื่อว่าอย่างน้อยที่สุดเราต้องยอมรับว่าจิตเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ทั้งนี้เพื่อให้ความคิดที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ จิตซึ่งประกอบด้วยกระแสแห่งความคิดชนิดต่างๆ (เจตสิก) เป็นสิ่งแท้จริงเพียงประการเดียว ดังนั้นหากจะกล่าวไปแล้ว ก็คงถือได้ว่านิกายโยคาจารจัดว่าเป็นปรัชญาคำสอนฝ่ายอภิธรรมของมหายานที่ดูจะใกล้เคียงกับหลักคำสอนในการปฏิบัติของฝ่ายเถรวาทมากที่สุด โดยเฉพาะข้อความในคัมภีร์ฝ่ายเถรวาทที่ว่า "โลกอันจิตนำไป อันจิตย่อมเสือกไสไป โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอย่างเดียว คือจิต"

ทำไมศาสนาพุทธมีหลายนิกาย เช่น เถรวาทกับมหายาน แม้ในเมืองไทยนิกายเถรวาทยังแบ่งเป็นธรรมยุตกับมหานิกาย อะไรคือนิกายที่เป็นคำสอนจริงแท้จากพระพุทธเจ้าสมณโคดมครับ

ตอบ

การที่พระพุทธศาสนามีหลายนิกายนั้น เป็นเพราะมีความเห็นในเรื่องของพระธรรมวินัยไม่ตรงกัน โดยเฉพาะเรื่องปลีกย่อยและวัตรปฏิบัติที่ปรับไปตามยุคสมัยและสภาพภูมิประเทศ แต่ก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือพระนิพพาน

ผลเสียของการมีหลายนิกายคือ ไม่สามารถที่จะรวมพลังให้มีความเข้มแข็งมั่นคงเป็นหนึ่งเดียวได้ แต่ละนิกายต่างก็ดำเนินไปในแนวทางที่เห็นว่าเหมาะสมและถูกต้องตามความเชื่อของตน จึงทำให้ขาดพลัง เหมือนกับสายน้ำที่ไหลลงจากภูเขา ต่างที่ก็ต่างไหลไปสู่ที่ลุ่มตามภูมิประเทศนั้น ๆ แต่หากสายน้ำเหล่านั้นไหลรวมเป็นสายเดียวย่อมมีพลังมหาศาลแต่ก็มีผลดีเหมือนกันคือ มีอิสระในการประพฤติปฏิบัติตามจริตนิสัยและพื้นเพของแต่ละกลุ่ม สามารถประกาศสัจธรรมไปสู่ประชาชนได้หลายมิติ

แม้นิกายและความคิดเห็นแตกต่างกัน แต่ก็ไม่เคยมีปัญหาทะเลาะวิวาทถึงกับเข่นฆ่ากันเอง ถือเป็นความงดงามของพระพุทธศาสนาซึ่งต่างก็ยึดคำสอนของพระพุทธองค์ที่แท้จริง คือการเดินทางไปสู่ความพ้นทุกข์ กล่าวคือพระนิพพานนั่นเอง

อาทิตย์ที่แล้วเล่าเรื่องพระเมืองโกสัมพีทะเลาะกันครั้งแรกและครั้งยิ่งใหญ่ จนแทบจะเอาไม่อยู่ แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามี “ควันหลง” คือไม่มีการแตกแยกนิกาย

ความขัดแย้งกันทางความคิด ก่อรูปก่อร่างขึ้นอีกสมัยสังคายนาครั้งที่ 1 คือ เมื่อพระมหากัสสปะรวบรวมพระอรหันต์สาวก 500 รูป ประชุมทำการสังคายนาครั้งที่หนึ่งนั้น พระอานนท์ผู้ใกล้ชิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สุด และโดยเสด็จมาตลอดในวาระสุดท้ายของพระพุทธองค์ได้เล่าเรื่องต่างๆ ที่พระพุทธองค์ตรัสกับท่านให้พระสงฆ์ฟัง

หนึ่งในหลายเรื่องที่เล่าคือพระพุทธองค์ตรัสว่า “ต่อไปภายหน้าถ้าสงฆ์ปรารถนาจะยกเลิกสิกขาบทเล็กน้อยบ้างก็ได้”

ที่ประชุมสงฆ์ซักถามพระอานนท์ว่า สิกขาบทเล็กน้อยคือข้อใดพระพุทธองค์ตรัสบอกไหม พระอานนท์ตอบว่า มิได้บอก ที่ประชุมซักอีกว่า แล้วทำไมท่านไม่ทูลถาม พระอานนท์กล่าวว่าตอนนั้นมัวแต่กังวลใจว่าพระพุทธองค์จะจากเราไปแล้ว จะทำอย่างไร เลยไม่มีกะจิตกะใจจะซักถามเรื่องต่างๆ

ที่ประชุมสงฆ์เลยตำหนิว่าพระอานนท์ไม่รอบคอบ ไม่ตำหนิเปล่าถึงขั้นปรับอาบัติทุกกฎแน่ะครับ

เมื่อไม่ได้ความกระจ่าง พระสงฆ์ก็เลยแสดงความคิดเห็นแตกต่างกัน แบ่งเป็นกลุ่มได้ 2 กลุ่ม

กลุ่มหนึ่งเห็นว่า ยกเว้นปาราชิก 4 และสังฆาทิเสส 13 นอกนั้นนับเป็นสิกขาบทเกี่ยวกับมรรยาทต่างๆ เท่านั้น เป็นสิกขาบทเล็กน้อย

เมื่อความคิดเห็นไม่ลงรอยกัน พระมหากัสสปะประธานที่ประชุมจึงขอมติที่ประชุมว่าจะยกเลิกหรือไม่ เสียงข้างมากบอกว่าไม่ยกเลิก มติเสียงข้างมากนี้เรียกว่า “เถรวาท” (วาทะ หรือข้อตกลงของพระเถระทั้งหลายในที่ประชุมนั้น) ต่อมาคำนี้กลายมาเป็นชื่อนิกายหนึ่ง หลังจากมีนิกายแล้ว

เมื่อเสียงข้างมากออกมาอย่างนี้ ฝ่ายเสียงข้างน้อยก็ต้องยอมรับไม่มีปฏิกิริยาอะไร

แต่ก็มี “ควันหลง” จนได้

 

ควันหลงนี้มิได้มาจากพระเถระที่เข้าประชุม มาจากพระผู้เฒ่ารูปหนึ่งนามว่า พระปุราณะ

พระปุราณะมิได้ถูกเลือกให้เข้าประชุมกับเขา ได้รับทราบมติที่ประชุมดังนั้นก็กล่าวว่า ในส่วนของตัวท่านเห็นว่า เมื่อพระพุทธองค์ทรงมีพระพุทธาธิบาย (คือมีพุทธประสงค์) เช่นนี้ ก็ต้องยกเลิกได้สิ

ดังเช่นสมัยพุทธกาลเมื่อเกิดข้าวยากมากแพงขึ้น พระพุทธองค์ยังทรงยกเลิกสิกขาบทบางข้อ เช่น อนุญาตให้พระสะสมอาหาร หรือหุงต้มฉันเองได้

เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าได้ฟังมาจากพระพุทธองค์อย่างไร ก็จะยึดถือตามนั้น ไม่เชื่อมติที่ประชุม ว่าอย่างนั้นเถอะ

แต่ก็ยังไม่เกิดนิกาย มีเพียง “เค้า” ว่าจะเกิดเท่านั้น เวลาผ่านไป 100 ปี มีกลุ่มพระวัชชีบุตรเสนอให้แก้ไขสิกขาบท 10 ข้อ อันเรียกว่า

“วัตถุ 10 ประการ” คือ

1. ตะวันบ่ายคล้อยไปประมาณ 2 องคุลี ฉันอาหารได้ (เทียบประมาณบ่าย 2 โมง)

2. เก็บเกลือไว้แล้วนำมาผสมกับอาหารอื่นฉันได้

3. ฉันอาหารในวัดแล้วเข้าบ้าน เขาถวายอีกฉันอีกได้

4. วัดใหญ่มีพระสงฆ์มาก จะแยกกันทำอุโบสถก็ได้

5. เวลาทำอุโบสถ แม้ยังไม่นำฉันทะของพระรูปที่ไม่เข้าประชุมมา สงฆ์จะทำอุโบสถก่อนก็ได้

6. ข้อปฏิบัติที่อุปัชฌาย์อาจารย์เคยประพฤติปฏิบัติมา แม้จะผิดก็ควรทำตาม

7. ฉันนมสดที่ยังไม่แปรเป็นนมส้มได้

8. ฉันสุราอ่อนๆ ได้

9. ผ้านิสีทนะ (ผ้าปูนั่ง) ไม่มีชายใช้ได้

10. รับเงินและทองได้

พระสงฆ์จำนวน 100 รูป ได้ประชุมสังคายนา นำเสนอข้อทั้ง 10 ประการนั้นเข้าวินิจฉัย มติส่วนมากไม่ยอมรับ แต่กลุ่มภิกษุวัชชีบุตรไม่ยอมรับมติที่ประชุม คือแพ้แต่ไม่ยอมแพ้ จะให้มีการแก้ไขสิกขาบทตามที่พวกตนเสนอให้ได้ จึงแยกตัวออกไป แสวงหาสมัครพรรคพวกได้จำนวนมากกว่าเดิมอีก ตั้งนิกายใหม่ชื่อว่า “มหาสังฆิกะ” มีจุดยืนว่า สิกขาบทใดๆ ที่ไม่เหมาะสมกับยุคสมัยสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้

เมื่อเกิดมีนิกายมหาสังฆิกะ พระสงฆ์ดั้งเดิม ก็กลายเป็นนิกายหนึ่งนามว่า “เถรวาท” มีจุดยืนว่าสิกขาบทใดๆ ที่ตราไว้โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องไม่แก้ไข ต้องรักษาไว้ตามเดิม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้