เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 1 จึงย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะเหตุใดจึงมีการย้ายเมืองหลวงจากฝั่งธนบุรีมายังฝั่งกรุงเทพฯ การย้ายเมืองหลวงจากธนบุรีมากรุงเทพเกิดขึ้นในสมัยใด ประเทศใดเป็นเมืองประเทศราชในสมัยรัชกาลที่ 1 เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 1 จึงทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 1 จึงทรงเลือกทำเลบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นที่ตั้งราชธานีแห่งใหม่ ราชธานีใหม่มีชื่อเรียกว่าอะไร ราชธานีใหม่ที่ย้ายมาจากกรุงธนบุรี ที่ตั้งในการสร้างราชธานีใหม่นั้น เดิมเคยเป็นอะไรมาก่อน

เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 1 จึงทรงย้ายเมืองหลวงจากฝั่งตะวันตกมายังฝั่งตะวันออก

Advertisement

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบจลาจลภายในกรุงธนบุรีและสร้างความมั่นคงภายในประเทศแล้ว พระองค์ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและตั้งชื่อใหม่ว่ากรุงเทพฯ ทั้งนี้เนื่องด้วยสาเหตุหลายประการ คือ

  1. พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบอยู่ทั้ง 2 ด้าน คือ วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) ทำให้ไม่สามารถขยายอาณาเขตของพระราชวังให้กว้างขวางขึ้นได้
  2. พระองค์ไม่ทรงเห็นด้วยที่จะให้พระนครแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลางเป็นเสมือนเมืองอกแตก ดังเช่น เมืองพิษณุโลก สุพรรณบุรี เพราะหากข้าศึกยกทัพมาตามลำน้ำ ก็สามารถบุกตีใจกลางเมืองหลวงได้ ทำให้ยากแก่การป้องกันพระนคร ครั้นจะสร้างป้อมปราการทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำ ก็จะเป็นการสิ้นเปลืองเงินทองมาก ทำให้ยากแก่การเคลื่อนพลจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งเป็นการยากลำบากมาก ดังนั้นพระองค์จึงย้ายพระนครมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเพียงแห่งเดียว โดยมีแม่น้ำเป็นคูเมืองทางด้านตะวันตก และใต้ ส่วนทางด้านตะวันออกและทางด้านเหนือ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองขึ้นเพื่อเป็นคูเมืองป้องกันพระนคร
  3. พื้นที่ทางฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม สามารถขยายเมืองให้กว้างขวางออกไปได้เรื่อยๆ ตรงบริเวณที่ตั้งพระนครพื้นที่เป็นแหลม โดยมีแม่น้ำเป็นกำแพงกั้นอยู่เกือบครึ่งเมือง
  4. ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่เป็นท้องคุ้ง น้ำกัดเซาะตลิ่งพังทลายอยู่เสมอ จึงไม่เหมาะแก่การสร้างอาคารหรือถาวรวัตถุใดๆ ไว้ริมฝั่งแม่น้ำ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีรับสั่งให้สร้างเมืองใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่บริเวณหัวโค้งแม่น้ำเจ้าพระยา คือ บริเวณพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน พระราชทานนามเมืองใหม่นี้ว่า “กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธนา มหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถานอมรพิมาน อวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนจากคำว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์”

ในการสร้างพระมหาบรมราชวัง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นภายในด้วย คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว แล้วให้อัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นประดิษฐาน ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร” เพื่อเป็นสิริมงคลแก่กรุงเทพฯ

ขอบคุณที่มาเนื้อหาจาก บ้านจอมยุทธ

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡


กษัตริย์อาร์เธอร์ กับอัศวินโต๊ะกลม
เปิดอ่าน 32,606 ครั้ง


ความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่
เปิดอ่าน 12,560 ครั้ง


เกร็ดประวัติวัดโพธิ์
เปิดอ่าน 21,540 ครั้ง


สังคหวัตถุ 4
เปิดอ่าน 34,150 ครั้ง


พี่น้องร่วมสาบาน
เปิดอ่าน 15,362 ครั้ง


หูสั้นอายุสั้นหูยาวอายุยืน...จริงหรือ?
เปิดอ่าน 14,724 ครั้ง


ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทย
เปิดอ่าน 49,070 ครั้ง


เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของอาเซียน
เปิดอ่าน 172,392 ครั้ง


ความหมายของวัฒนธรรม
เปิดอ่าน 69,082 ครั้ง


พระศิวะ
เปิดอ่าน 14,685 ครั้ง


รู้จักเพื่อนบ้านอาเซียน
เปิดอ่าน 16,700 ครั้ง


หน้าที่ชาวพุทธ
เปิดอ่าน 1,289 ครั้ง


ธรรมคุณ 6
เปิดอ่าน 125,482 ครั้ง


140 ที่สุดในโลก
เปิดอ่าน 38,467 ครั้ง


ความรู้ ความเชื่อ และการปฏิบัติ
เปิดอ่าน 18,551 ครั้ง

เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 1 จึงย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา

พระราชกรณียกิจประการแรกที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงจัดทำเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ คือการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีใหม่ ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา แทนกรุงธนบุรี ด้วยเหตุผลทางด้านยุทธศาสตร์ เนื่องจากกรุงธนบุรีตั้งอยู่บนสองฝั่งแม่น้ำ ทำให้การลำเลียงอาวุธยุทธภัณฑ์ และการรักษา ...

เพราะเหตุใดจึงมีการย้ายเมืองหลวงจากฝั่งธนบุรีมายังฝั่งกรุงเทพฯ

1.พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบอยู่ทั้ง 2 ด้าน คือ วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และวัดโมฬีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) จึงยากแก่การขยายพระราชวัง 2.ความไม่เหมาะสมด้านภูมิประเทศ เนื่องจากฝั่งตะวันตก หรือราชธานีเดิมเป็นท้องคุ้ง อาจถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังได้ง่าย แต่ฝั่งตะวันออก (กรุงเทพฯ) เป็นแหลมพื้นดินจะงอกขึ้นเรื่อยๆ

การย้ายเมืองหลวงจากธนบุรีมากรุงเทพเกิดขึ้นในสมัยใด

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ทรงย้ายราชธานีจากฝั่งตะวันตกมายังตะวันออก สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นบนพื้นที่ที่ชาวจีนตั้งถิ่นฐานอยู่เดิม โดยโปรดให้ย้ายบ้านเรือนไปตั้งที่บริเวณใกล้วัดสามปลื้มและวัดสำเพ็ง (ปัจจุบันคือบริเวณวัดจักรวรรดิราชาวาสถึงวัดประทุมคงคา) มีการสร้างกำแพงเมือง ป้อม ปราการ ...

ประเทศใดเป็นเมืองประเทศราชในสมัยรัชกาลที่ 1

รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่1 เมื่อเสร็จจากสงครามเก้าทัพแล้ว ไทยจึงมีโอกาสยก ทัพไปตีเมืองปัตตานีใน พ.ศ. 2328 แล้วตั้งชาวพื้นเมืองเป็นสุลต่าน ปกครองในฐานะเมืองประเทศราช บรรดาหัวเมืองมลายูที่เหลือคือ ไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู เกิดความเกรงกลัวจึงพากันแต่ง เครื่องราชบรรณาการมาถวายยอมอ่อนน้อม ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้