เพราะเหตุใด นาฏศิลป์และการละครจึงไม่สูญหายไปจากคนไทย

ใช้เป็นวิชาชีพ ผู้ที่ศึกษาวิชานาฏศิลป์ อย่างจัดเจน ชำนิชำนาญ สามารถยึดเป็นอาชีพได้ เพราะในกิจกรรมต่าง ๆ วิชานาฏศิลป์เข้าไปมีส่วนร่วมอยู่เสมอ

2. เป็นการบริหารร่างกายให้มีสุขภาพสมบูรณ์ โดยเฉพาะวิชานาฏศิลป์นั้น ในขณะฝึกหัดนัยว่าเป็นการออกกำลังกายอย่างดีเยี่ยม ได้บริหารร่างกายทั่วทุกส่วน


·         ประโยชน์ทางอ้อม

1. นาฏศิลป์ช่วยให้ผู้เรียนมีจิตใจอ่อนโยน มีสติ และมีสมาธิที่ มั่นคง ไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งรอบข้าง ซึ่งทำให้ผู้นั้นมีความสามารถในขณะปฏิบัติงานต่าง ๆ ได้ผลมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นช่วยผ่อนคลายและความเครียดของจิตใจ ดังจะเห็นได้ว่า ศิลปินในแขนงนี้มีอายุยืนยาว มีสุขภาพดีเป็นส่วนมาก

2. ช่วยปรับปรุงบุคลิกภาพให้งดงามยิ่งขึ้น ผู้ที่เรียนนาฏศิลป์จะมีลักษณะพิเศษเห็นได้เด่นชัด อาทิ ขณะเวลานั่ง หรือ ยืน จะสง่างาม เพราะได้รับการฝึกฝนวิธีการนั่งยืนมาเป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันเป็นผู้ที่รู้จักควบคุมอารมณ์ไม่ตื่นตระหนก และกล้าที่จะแสดงออก สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นผลจากประสบการณ์ในการแสดงทั้งสิ้น



ที่มารูป : //sites.google.com/site/nangsawkalyasukhci/prayochn-khxng-natsilp




แนวทางการอนุรักษ์นาฏศิลป์

 ๑. การค้นคว้าวิจัย ควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาของไทยในด้านต่างๆ  ของท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค และประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาที่เป็น  ภูมิปัญญาของท้องถิ่น มุ่งศึกษาให้รู้ความเป็นมาในอดีต และสภาพการณ์ในปัจจุบัน 

 ๒. การอนุรักษ์ โดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและ ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและ  วัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์  ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือ  พิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความ  รู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นด้วย 

 ๓. การฟื้นฟู โดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหาย หรือที่สูญหายไปแล้วมา  ทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทาง  จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม 

 ๔. การพัฒนา ควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพควรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหาร ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 

๕. การถ่ายทอด โดยการนำภูมิปัญญาที่ผ่านมาเลือกสรรกลั่นกรองด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบและรอบด้าน แล้วไปถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ 

๖. ส่งเสริมกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง 

๗. การเผยแพร่แลกเปลี่ยน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง โดยให้มีการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ ด้วยสื่อและวิธีการต่างๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก 

๘. การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้าน ผู้ดำเนินงานให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญา ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ มีการยกย่อง

มีนิยายเรื่อง นามาโนห์รา เป็นนิยายของพวกไต หรือคนไทย ในสมัยน่านเจ้าที่มีปรากฏอยู่ ก่อนหน้านี้คือ การแสดงจำพวกระบำ เช่นระบำหมาก ระบำนกยุง

2. สมัยสุโขทัย

พบหลักฐาน การละครและฟ้อนรำ ปรากฏอยู่ในศิลาจาลึก ของพ่อขุนรามคำแหง กล่าว่า เมื่อจักเข้ามาเรียงกันแต่อรัญญิกพู้นเท้าหัวลานด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื้อน เสียงขับ ใครจักมักเหล้น เหล้นใครจักมักหัว หัวใครจักมักเลื้อน เลื้อน

จึงทำให้รับวัฒนธรรมของอินเดีย ผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นใหม่ เพื่อนใช้เรียกศิลปะการแสดงของไทย ว่า โขน ละคร ฟ้อนรำ

3.สมัยอยุธยา

มีการแสดงละครชาตรี ละครนอก ละครใน แต่เดิม ที่เล่นเป็นละครเร่ จะแสดงตามพื้นที่ว่างโดยไม่ต้องมีโรงละคร เรียกว่า ละครชาตรี ต่อมาได้มีการวิวัฒนาการ เป็นละครรำ เรียกว่า ละครใน ละครนอก โดยปรับปรุงรูปแบบ ให้มีการแต่งการที่ประณีตงดงามมากขึ้น มีดนตรีและบทร้อง และมีการสร้างโรงแสดง

ละครในแสดงในพระราชวัง จะใช้ผู้หญิงล้วน ห้ามไม่ให้ชาวบ้านเล่น เรื่องที่นิยมมาแสดงมี 3 เรื่องคือ อิเหนา รามเกียรติ์ อุณรุท ส่วนละครนอก ชาวบ้านจะแสดง ใช้ผู้ชายล้วนดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว

สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 เป็นสมัยที่โขนเจริญรุ่งเรื่องเป็นอย่างมาก มีละครเรื่องใหญ่ๆ อยู่ 4 เรื่อง คือ อิเหนา รามเกียรติ์ อุณรุท ดาหลัง

4. สมัยธนบุรี

สมัยนี้บทละครในสมัยอยุธยาได้สูญหายไป สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงรวบรวมศิลปิน บทละคร ที่เหลือมาทรงพระราชนิพนธ์บทละคร เรื่อง รามเกียรติ์ อีก 5 ตอนได้แก่

1.ตอนอนุมานเกี้ยวนางวานริน

2.ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ

3.ตอนทศกันฐ์ตั้งพิธีทรายกรด

4.ตอนพระลักษมณ์ถูกหอกกบิลพัท

5.ตอนปล่อนม้าอุปการ

นอกจากทรงพระราชนิพนธ์ บทละครในเรื่องรามเกียรติ์ด้วยพระองค์เองแล้ว พระองค์ยังทรง ฝึกซ้อม ด้วยพระองค์เองอีกด้วย

5. สมัยรัตนโกสินทร์

    5.1 พระบาทสมเด็กพระพุทฑยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช(รัชกาลที่1)

สมัยนี้ได้ฟื้นฟูและรวบรวม สิ่งที่สูญหายให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นและรวบรวม ตำราการฟ้อนรำ ไว้เป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุดในประวัตืศาสตร์ พระองค์ทรงพัฒนาโขน โดยให้ผู้แสดงเปิดหน้าและสวมมงกุฎ หรือชฏา ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก

    5.2 พระบาทสมเด็กพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่2)

สมัยนี้วรรณคดี และละครเจริญถึงขีดสุด พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงการแต่งกาย ให้เป็นการแต่งยืนเครื่อง แบบในละครใน ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนา ซึ่งเป็นละครที่ได้รับการยกย่องจาก วรรณคดีสโมสร ว่าเป็นยอดของบทละครรำ คือแสดงได้ครบองค์ 5 คือ ตัวละครงาม รำงาม ร้องเพราะ พิณพาทย์เพราะ และกลอนเพราะ เมื่อปี พ.ศ.2511 ยูเนสโก ได้ถวายพระเกียรติคุณแด่พระองค์ ให้ในฐานะบุคคลสำคัญ ที่มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ระดับโลก

    5.3 พระบาทสมเด็กพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่3)

สมัยนี้พระองค์ ให้ยกเลิกละครหลวง พระบรมวงศานุวงศ์ จึงพากันฝึกหัดโขนละคร คณะละครที่มีแบบแผนในเชิงฝึกหัดและแสดง ทางโขน ละครถือเป็นแบบแผนในการปฏิบัติสืบต่อมา ถึงปัจจุบันได้แก่

1.ละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักขณาคุณ

2.ละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์

3.ละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ

4.ละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษ์เทเวศร์

5.ละครของพระเข้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทรนกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์

6.ละครของเจ้าพระยาบดินทรเดชา

7.ละครของเจ้าจอมมารดาอัมพา

8.ละครเจ้ากรับ

    5.4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่4)

ได้ฟื้นฟูละครหลวง ขึ้นใหม่อนุญาตให้ราษฎรฝึกละครในได้ ซึ่งแต่เดิมละครในจะแสดงได้แต่เฉพาะในพระราชวังเท่านั้น ด้วยเหตุที่ละครแพร่หลายไปสู้ประชาชนมากขึ้น จึงมีการบัญญัติข้อห้ามในการแสดงลำครที่มิใช่ละครหลวง ดังต่อไปนี้

1.ห้ามฉุดบุตรชาย-หญิง ผู้อื่นมาฝึกละคร

2.ห้ามใช้รัดเกล้ายอดเป็นเครื่องประดับศีรษะ

3.ห้ามใช้เครื่องประกอบการแสดงที่เป็นพานทอง หีบทอง

4.ห้ามใช้เครื่องประดับลงยา

5.ห้ามเป่าแตรสังข์

6.หัวช้างที่เป็นอุปกรณ์ในการแสดงห้ามใช้สีเผือก ยกเว้นช้างเอราวัณ

    5.5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่5)

ในสมัยนี้สถาพบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า และขยายตัวอย่างรวดร็ว เพราะได้รับวัฒนธรรมจากตะวันตก ทำให้ศิลปะการแสดงละครได้มีวิวัฒนาการขึ้นอีกรูปแบบหนึ่ง นอกจากนี้ ยังกำเนิดละครดึกดำบรรพ์ และละครพันทางอีกด้วย นอกจากพระองค์ทรงส่งเสริมให้เอกชนตั้งคณะละครอย่างแพร่หลายแล้ว ละครคณะใดที่มีชื่อเสียงแสดงได้ดี พระองค์ทรงเสด็จมาทอดพระเนตร และโปรดเกล้าฯ ให้แสดงในพระราชฐานเพื่อเป็นการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองอีกด้วย

    5.6พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่6)

ในสมัยนี้เป็นสมัยที่โขน ละคร ดนตรี ปี่พาทย์เจริญถึงขีดสุด พระองค์ทรงเป็นราชาแห่งศิลปิน แม้ว่าจะมีประสมการณ์ด้านละครพูดแบบตะวันตก แต่ก็ทรงมีพระราชปณิธานอันแรงกล้า ที่จะทรงไว้ซึ่ง “ความเป็นไทย “ และดนตรีปี่พาทย์ ทั้งยังทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้แก่ศิลปินโขนที่มีฝีมือให้เป็นขุนนาง เช่น พระยานัฏกานุรักษ์ พระยาพรหมาภิบาล เป็นต้น

    5.7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(ราชกาลที่7)

สมัยนี้ประสมภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การเมืองเกิดการคับขัน จึงได้มีการปรับปรุงระบบบริหาร ราชการกระทรวงวังครั้งใหญ่ ให้โอนงานช่างกองวังนอก และกองมหรสพไปอยู่ในสังกัดของกรมศิลปากร และการช่างจึงย้ายมาอยู่ในสังกัดของกรมศิลปากร ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2478 โขนกรมมหรสพ กระทรวงวังจึงกลายเป็น โขนกรมศิลปากร มาแต่ครั้งนั้น ในสมัยนี้มีละครแนวใหม่เกิดขึ้น ที่เรียกว่า ละครเพลง หรือที่รู้จักกันว่า ละครจันทโรภาส

    5.8พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล(รัชกาลที่8)

ในสมัยนี้การแสดงนาฎศิลป์ โขน ละคร จัดอยู่ในการกำกับดูแลของกรมศิลปากร หลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีคนแรกของกรมศิลปากรได้ฟื้นฟู เปลี่ยนแปลงการแสดงโขน ละครในรูปแบบใหม่ โดยจัดตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ขึ้น เพื่อให้การศึกษาทั้งด้านศิลปะและสามัญ และเพื่อยกระดับศิลปินให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ในสมัยนี้ได้เกิดละครรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า ละครหลวงวิจิตรวาทการ เป็นละครที่มีแนวคิดปลุกใจให้รักชาติ บางเรื่องเป็นละครพูด เช่น เรื่องราชมนู เรื่องศึกถลาง เรื่องพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นต้น

    5.9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช(รัชกาลที่9)

ในสมัยนี้พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้บันทึกภาพยนตร์สีส่วนพระองค์ บันทึกท่ารำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ท่ารำเพลงหน้าพาทย์ของพระ นาง ยักษ์ ลิง และโปรดเกล้าฯ ให้จักพิธีไหว้ครู อีกทั้งยังมีการปลูกฝังจิตสำนึกในการร่วมกันอนุรักษ์ สืบสาน สืบทอด และพัฒนาศิลปะการแสดงของชาติผ่านการเรียนการสอนในระดับการศึกษาทุกระดับ มีสถาบันที่เปิดสอนวิชาการละครเพิ่มมากขึ้นทั้งของรัฐและเอกชน มีรูปแบบในการแสดงลำครไทยที่หลากหลายให้เลือกชม เช่น ละครเวที ละครพูด ละครร้อง ละครรำ เป็นต้น

เพราะเหตุใดนาฏศิลป์และการละครจึงอยู่คู่กับคนไทย

เพราะเหตุใดนาฏศิลป์และการละครจึงยังคงอยู่คู่กับคนไทย เพราะคนไทยตระหนักในคุณค่าจึงมีการถ่ายทอดนาฏศิลป์และการละครสืบต่อมา เพราะผู้มีฐานะบางรายนียมลงทุนจ้างนาฏศิลป์และการละครไปแสดง เพราะชาวต่างชาติเห็นคุณค่าและชื่นชมการแสดงนาฏศิลป์และการละคร เพราะมีกฎหมายบังคับให้มีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาวิชานาฏศิลป์และการละครขึ้น

เพราะเหตุใดจึงมีความเชื่อว่านาฏศิลป์ไทยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย

อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้สันนิษฐานว่า อารยธรรมทางศิลปะด้านนาฎศิลป์ของอินเดียนี้ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทจยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยาตามประวัติการสร้างเทวาลัยศิวะนาฎราชที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1800 ซึ่งเป็นระที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย ดังนั้นที่รำไทยที่ดัดแปลงมาจากอินเดียในครั้งแรกจึง ...

ข้อใดคือบทบาทของนาฏศิลป์และการละครกับชีวิตมนุษย์

ความสาคัญของนาฏศิลป์ และการละคร - เป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อจิตใจของมนุษย์ - เป็นเครื่องโน้มน้าวอารมณ์โดยเฉพาะการแสดง ละครเป็นสิ่งที่ช่วยในการกล่อมเกลาจิตใจ - ให้แง่คิดและให้กาลังใจในการที่จะสร้างความ เจริญรุ่งเรืองในชาติสืบต่อไป แสดงถึงความเป็นอารยประเทศ ความสาคัญของนาฏศิลป์และการละคร

ข้อใดคือการส่งเสริมและอนุรักนาฏศิลป์ไทยที่ถูกต้อง

ข้อใดคือการส่งเสริมและอนุรักนาฏศิลป์ไทยที่ถูกต้อง ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย ส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา ส่งเสริมให้มีการจัดการแสดงและเวทีสาธารณะเพื่อการประชาสัมพันธ์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้