ผู้ใดเป็นประธานอนุกรรมการ

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​คณะกรรมการ ก.ล.ต.​

​คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (คณะกรรมการ ก.ล.ต.) มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลตลาดทุนในภาพรวม ตลอดจนวางนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนา โดยภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โครงสร้างของคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะมีความเป็นสากล โปร่งใส และเป็นอิสระ โดยกฎหมายได้แบ่งแยกบทบาทหน้าที่ระหว่างประธานกรรมการและผู้บริหารสูงสุด (เลขาธิการ ก.ล.ต.) ออกจากกันอย่างชัดเจน ทั้งนี้ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จะประกอบด้วย  

       ประธานกรรมการ  ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีตามคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

       กรรมการโดยตำแหน่งจากภาครัฐ ได้แก่

1. ปลัดกระทรวงการคลัง

2. ปลัดกระทรวงพาณิชย์

3. ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

       กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่น้อยกว่า 4 คนแต่ไม่เกิน 6 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยต้องผ่านกระบวนการคัดเลือกของคณะกรรมการคัดเลือกที่ได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นอกจากนี้ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด และต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย การบัญชีและการเงิน ด้านละ 1 คนเป็นอย่างน้อย

       เลขาธิการ ก.ล.ต. เป็นกรรมการและเลขานุการ

ทั้งนี้ ประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และเลขาธิการ ก.ล.ต. ที่ได้รับการแต่งตั้งจะมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี และเมื่อพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งได้อีก แต่ไม่สามารถดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้เกิน 2 วาระ

ปัจจุบัน คณะกรรมการ ..ประกอบด้วยกรรมการ ดังนี้

​​​



​​



​​
​​




​​

สำหรับรายชื่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในอดีตสามารถเรียกดูได้ที่ 

รายชื่อคณะกรรมการ ก.ล.ต.​

คณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการ ก.ล.ต. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน ในจำนวนนี้ต้องเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ก.ล.ต. ไม่น้อยกว่า 2 คน โดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. แต่งตั้งกรรมการตรวจสอบคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการตรวจสอบ และกรรมการตรวจสอบที่ได้รับการแต่งตั้งควรประกอบด้วยกรรมการที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านบัญชี ด้านการเงิน ด้านตลาดทุน ด้านการบริหารความเสี่ยง ด้านการควบคุมภายใน ด้านการตรวจสอบภายใน ด้านกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง หรือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยอย่างน้อย 1 คนต้องมีความรู้ความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ด้านการเงิน การบัญชี หรือด้านการตรวจสอบภายใน​

คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ตามที่กำหนดตามมาตรา 14/2 และกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการในการกำกับดูแลและตรวจสอบการบริหารงานของสำนักงาน ตลอดจนให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน อาทิเช่น นโยบาย ก.ล.ต. องค์กรปลอดคอร์รัปชัน เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ความเชื่อมั่นว่าการดำเนินงานของสำนักงาน ก.ล.ต. จะเป็นไปอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

กฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ

ปัจจุบันคณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยกรรมการ ดังนี้

- นายไกรฤทธิ์  อุชุกานนท์ชัย​    ประธานกรรมการ

​- นายวิพุธ อ่องสกุล​                 กรรมการ

- นายพรชัย ชุนหจินดา             กรรมการ

​​

คณะอนุกรรมการด้านธรรมาภิบาลและค่าตอบแทน 

เป็นคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. แต่งตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแนวทางพัฒนาธรรมาภิบาลขององค์กร รวมทั้งแนวทางหรือหลักเกณฑ์ในการสรรหา การกำหนดค่าตอบแทน และการประเมินผลงาน คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกำกับตลาดทุน คณะอนุกรรมการ และเลขาธิการ 

ปัจจุบันคณะอนุกรรมการด้านธรรมาภิบาลและค่าตอบแทน ประกอบด้วย กรรมการ ก.ล.ต. ดังนี้

นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค ​     ประธานอนุกรรมการ 

นายวิพุธ อ่องสกุล              อนุกรรมการ 

นายพรชัย ชุนหจินดา          อนุกรรมการ


      คณะกรรมการคัดเลือ​​ก เป็นคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามมาตรา 31/3  เพื่อทำหน้าที่คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่จะทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรมการ ก.ล.ต. หรือในคณะกรรมการ ก.ต.ท. ​

    คณะกรรมการคัดเลือก ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 7 คน ซึ่งเป็นบุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ* ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือผู้เคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ก.ล.ต.  ทั้งนี้ ไม่เกินตำแหน่งละ 1 คน

    คณะกรรมการคัดเลือก ต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา และไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียอย่างมีนัยสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่​

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------​

* หมายความรวมถึงบุคคลซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด้วย​

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้