นักวิเคราะห์ระบบคือใคร มีบทบาท สําคัญต่อธุรกิจอย่างไร

คำว่า วิเคราะห์มาจากคำว่า พิเคราะห์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยน พ เป็น ว ในภาษาไทย ซึ่งแปลความหมายได้ว่า การพินิจพิเคราะห์ การพิจารณา การใคร่ครวญ การไต่สวนความหรือเรื่องราว ส่วนในภาษาอังกฤษก็ได้ให้ความหมายใกล้เคียงกันคือ Determine, Examine และ Investigate ซึ่งคำว่าวิเคราพชะห์นี้สามารถนำไปใช้กับวิชาการต่างๆ ได้มากมาย เช่น การวิเคราะห์โครงสร้าง การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ การวิเคราะห์ปัญหา เป็นต้น

คำว่า “วิเคราะห์” ที่ใช้กับการวิเคราะห์ระบบนั้น ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Analysis” ซึ่งแปลว่า การแยกสิ่งที่ประกอบกันออกเป็นส่วนๆ เช่น การแยกระบบใหญ่ออกเป็นส่วนย่อยๆ

คือ เป็นการแยกปัญหาออกเป็นส่วนๆ  เพื่อสะดวกในการพิจารณาหรือตัดสินใจ  จากความความหมายของคำว่าวิเคราะห์ดังกล่าวนี้  จะเห็นว่า  การวิเคราะห์ระบบงานไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากหรือเรื่องที่สลับซับซ้อนแต่ประการใด

        การพิจารณาใคร่ครวญในปัญหาต่างๆ ของคนเรานั้น  มีวิธีการใหญ่ๆ อยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ

        1.1   วิธีธรรมดา (Natural Determination) เป็นวิธีที่คนส่วนมากใช้กันเป็นปกติธรรมดาโดยอาศัยประสบการณ์และสามัญสำนึกของแต่ละบุคคลเป็นหลัก  คนที่มีวิจารณญาณสูงๆ อาจจะสามารถพิจารณาตัดสินใจในปัญหาต่างๆ  ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วไม่แพ้นักวิชาการทางด้านวิเคราะห์ระบบ  อย่างไรก็ตาม  การพิจารณาใคร่ครวญและตัดสินใจด้วยวิธีการนี้โอกาสที่จะผิดพลาดย่อมมีสูง ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการสูญเสียแก่ธุรกิจเป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน ดังนั้น ถ้าเป็นงานสำคัญๆ ทางธุรกิจแล้วไม่ควรใช้วิธีนี้เป็นอย่างยิ่ง

        1.2   วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Methodology Determination หรือ System Analysis) เป็นวิธีการพิจารณาใคร่ครวญและตัดสินใจโดยอาศัยระบบทางวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ เข้าช่วยผู้ที่จะทำการวิเคราะห์จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในวิชาการแขนงต่างๆ  ที่จะใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน  จึงได้มีการจัดให้สอนในสถาบันการศึกษาต่างๆ ขึ้น

นอกจากนี้ยังมีคำที่ใกล้เคียงกันหรือคล้ายคลึงกันกับคำว่า  “วิเคราะห์”  ที่ควรจะทำความเข้าใจเพื่อป้องกันการสับสนในการใช้ เช่น คำว่า การวิจัย การค้นคว้า การค้นคิด เป็นต้น ซึ่งความจริงแล้วการวิเคราะห์กับการวิจัยเป็นละเรื่อง คนละความมุ่งหมายกัน  แต่มีความใกล้เคียงกันมาก การวิจัยนั้นมุ่งในการค้นหาข้อเท็จจริง  หรือความถูกต้องที่สุดของปัญหาเช่น การวิจัยภาวะของผู้มีรายได้น้อย คือ การค้นหาสภาพของผู้มีรายได้น้อย เป็นการหาสาเหตุว่า เป็นเพราะอะไรที่ทำให้คนเหล่านี้มีรายได้น้อย  และเขาเหล่านี้มีความเป็นอยู่กันอย่างไร มีความเดือดร้อนในเรื่องอะไรบ้าง เหล่านี้เป็นต้น  ส่วนการวิเคราะห์นั้นจะเป็นการมุ่งหาสาเหตุเพื่อทำการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นให้ดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุดเท่าที่จะทำได้ การแก้ปัญหาที่ได้จากการวิคราะห์ระบบนั้นอาจไม่ใช่ทางที่ถูกต้องที่สุด แต่เป็นทางทางที่ดีที่สุดที่ควรจะกระทำเท่านั้น ทั้งนี้เพราะการแก้ไขปัญหาของนักวิเคราะห์ระบบเป็นการประนีประนอมกับบุคคลในหลายๆฝ่ายที่จะต้องทำงาน ร่วมกันเพื่อให้การทำงานของระบบมีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง

การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) หมายถึง วิธีการวิเคราะห์ระบบใดระบบหนึ่งโดยมรการคาดหมายและจุดมุ่งหมายที่จะมีการปรับปรุงและแก้ไขระบบนั้น การวิเคราะห์นั้นจะต้องทำการแยกแยะปัญหาออกมาให้ได้ แล้วกำหนดปัญหาเป็นหัวข้อเพื่อทำการศึกษา และหาวิธีแก้ไขในที่สุด

การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design) หมายถึง วิธีที่ใช้ในการสร้างระบบสารสนเทศขึ้นมาใหม่ในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง หรือในระบบย่อยของธุรกิจ นอกจากการสร้างระบบสารสนเทศใหม่แล้วการวิเคราะห์ระบบช่วยในการแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นด้วยก็ได้ การวิเคราะห์ระบบ คือ การหาความต้องการ (Requirements) ของระบบสารสนเทศว่าคืออะไร หรือต้องการเพิ่มเติมอะไรเข้ามาในระบบ

2. การออกแบบระบบงาน

        การออกแบบ หมายถึง การนำเอาความต้องการของระบบมาเป็นแบบแผนหรือเรียกว่า พิมพ์เขียวในการสร้างระบบสารสนเทศให้ใช้งานได้จริง

        ความต้องการของระบบ เช่น สามารถติดตามยอดขายได้เป็นระยะ เพื่อให้ฝ่ายบริหารสามารถปรับปรุงการขายได้ทันท่วงที

นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)

        เมื่อได้ทำความรู้จักและเข้าใจถึงความหมายของการวิเคราะห์และออกแบบระบบแล้วก็ต้องมาทำความรู้จักกับผู้ที่จะมาทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบที่ได้กล่าวมาตั้งแต่ต้นให้ดีก่อนที่จะไปเริ่มการทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบต่อไป

        นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) คือ บุคคลที่ศึกษาปัญหาซับซ้อนที่เกิดขึ้นในระบบและแยกแยะปัญหาเหล่านั้นอย่างมีหลักเกณฑ์ นักวิเคราะห์ระบบหรือที่เราเรียกกันว่า SA จะทำหน้าที่หาวิธีการแก้ไขปํญหาที่แยกแยะเหล่านั้น พร้อมทั้งให้เหตุผลด้วยการวิเคราะห์ระบบนั้น นักวิเคราะห์ระบบจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายในการวิเคราะห์นั้นด้วย นอกจากนี้ยังต้องทำความเข้าใจโครงสร้างลักษณะขององค์การนั้นในด้านต่างๆ

        นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) คือ บุคคลที่มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบ ซึ่งปกติแล้วนักวิเคราะห์ระบบควรจะอยู่ในทีมระบบสารสนเทศขององค์กรหรือของธุรกิจนั้นๆ

        นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) คือ บุคคลที่มีหน้าที่ออกแบบและพัฒนาระบบงานในระบบประมวลผลข้อมูล ด้วยระบบและวิธีการต่างๆ เพื่อให้ระบบงานบรรลุเป้าหมายตามต้องการของผู้ใช้ระบบ เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ระบบข้อมูล การสร้างขั้นตอนปฏิบัติงาน การพัฒนาโปรแกรม และการเขียนเอกสารต่างๆประกอบการปฏิบัติงานระบบ

        จากความหมายข้างต้น จะเห็นได้ว่านักวิเคราะห์ระบบงานในการวิเคราะห์และออกแบบระบบการประมวลผล นอกจากนั้นนักวิเคราะห์ระบบยังต้องรับผิดชอบในส่วนงานที่เกี่ยวกับการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ผู้ที่จะใช้ระบบแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลต่างๆ รวมทั้งข้อมูลที่จะเข้าสู่ระบบ

        อีกสิ่งหนึ่งที่จะต้องศึกษา คือ ลักษณะโครงสร้างข้อมูลที่มีอยู่ในการทำงานของระบบที่ทำการวิเคราะห์นั้น และที่สำคัญที่นักวิเคราะห์ระบบจะมองข้ามไปไม่ได้ นั่นคือ คนหรือบุคลากรที่ทำงานอยู่กับระบบที่ทำการวิเคราะห์ ต้องทำการศึกษาว่าคนเกี่ยวข้องกับระบบอย่างไร เกี่ยวข้องตรงไหน ทำอะไร เพราะคนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ถ้าขาดความร่วมมือจากบุคลากรที่ทำงานอยู่ในระบบที่จะศึกษา ก็ถือว่าล้มเหลวไปแล้วครั้งหนึ่ง ดังนั้นจะมองข้ามไปไม่ได้

ความแตกต่างระหว่างโปรแกรมเมอร์และนักวิเคราะห์ระบบ

        โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ สิ่งที่เขาจะเชื่อมโยง ได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) หรือแม้กระทั่งภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น COBOL,BASIC, C++, PASCAL เป็นต้น งานของโปรแกรมเมอร์จะเป็นไปตามลักษณะที่มีขอบเขตการทำงานที่แน่นอน คือ จะเขียนโปรแกรมให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ตามที่ได้มีการวิเคราะห์ขึ้นมาแล้ว ซึ่งจะทำงานเกี่ยวข้องกับคนจำนวนน้อย เช่น ทำงานกับโปรกรมเมอร์ด้วยกันเองหรือกับนักวิเคราะห์ระบบที่เป็นผู้วางแนวทางของระบบงานให้แก่ เขา     

        แต่งานของนักวิเคราะห์ระบบไม่ได้อยู่ในลักษณะที่แน่นอนแบบโปรแกรมเมอร์(Programmer) ไม่มีคำตอบที่แน่นอนจากระบบที่วางไว้ว่าผิดหรือถูก แต่งานที่ทำเกิดจากการประนีประนอมและผสมผสานของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบงาน (Application System) งานของนักวิเคราะห์ระบบจึงมักจะต้องเกี่ยวข้องกับคนหลายระดับ ตั้งแต่ลูกค้าหรือผู้ใช้ นักธุรกิจโปรแกรมเมอร์ ผู้ตรวจสอบบัญชีหรือแม้กระทั่งเซลล์แมนที่ขายระบบงานข้อมูล

แม้ว่างานของนักวิเคราะห์ระบบจะดูเป็นงานที่ยุ่งยากและสลับสับซ้อน แต่งานลักษณะนี้ก้อเป็นงานที่สร้างความท้าทายให้กับบุคคลืที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีความคิดที่กว้างไกลเข้ามาอยู่เสมอ ทำให้รู้สึกมีความภาคภูมิใจที่ได้วางระบบงานออกมาเป็นรูปเป็นร่างและสามารถใช้ปฏิบัติงานได้จริง

คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ

        ผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นนักวิเคราะห์ระบบได้จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

ความรู้ทางด้านกาเขียนโปรแกรม เพื่อจะได้สื่อสารกับโปรแกรมเมอร์ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ นักวิเคราะห์จะต้องเข้าใจว่าสิ่งใดที่จะเขียนโปรแกรมได้ หรือเขียนไม่ได้

      1.นักวิเคราะห์ระบบเปรียบเทียบเหมือนผู้จัดการทั่วไป จะเป็นผู้ที่ตัดสินใจในการออกแบบระบบทั้งหมด

      2.นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเป็นผู้ที่ให้คะแนนนำด้านเทคนิคที่ควรจะเป็นให้แก่โปรแกรมเมอร์ ผู้ออกแบบรายการแบบต่างๆ และวิศวกร

นักวิเคราะห์ระบบจะต้องให้คะแนนเข้าใจระบบที่จะทำการออกแบบและคนที่อยู่ในระบบนั้นๆ

     3.นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ที่เป็นสื่อกลางหรือล่ามระหว่างนักธุรกิจผู้ต้องการให้ออกแบบระบบกับโปรแกรมเมอร์หรือผู้ใช้ระบบ

    4.นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความรู้ทางด้านภาษาชั้นสูง (High-Level Language) อย่างน้อย 1 ภาษา หรือความรู้ทางด้าน Fourth Generation Prototyping Language

    5.นักวิเคราะห์ระบบจะเป็นผู้ที่ติดตามประมวลผลระบบที่ออกแบบและติดตั้ง ว่าได้รับผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้แต่ต้นหรือเปล่า รวมทั้งการประเมินออกมาเป็นตัวเลข เพื่อชี้แจงให้ผู้ที่ออกแบบระบบเข้าใจ

    6.นักวิเคราะห์ระบบควรจะมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบจะต้องเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับในองค์กร รวมถึงระบบปฏิบัติการ ช่างเทคนิค พนักงานบัญชี เลขานุการ พนักงานธุรการ ซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุด

    7.นักวิเคราะห์ระบบที่ดี ควรจะมีประสบการณ์ทางด้านออกแบบระบบพอสมควรโดยในช่วงแรกอาจจะเริ่มต้นจากการเป็นโปรแกรมเมอร์ และการออกแบบเล็กๆ น้อยๆ ในระบบ เช่น การออกแบบรายงานง่ายๆ การออกแบบหน้าจอ (Screen Design) เป็นต้น

กิจกรรมต่างๆ ของระบบการประมวลผลข้อมูล

กิจกรรมที่นักวิเคราะห์ระบบ จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็นประเด็นใหญ่ๆ ได้ 6ประเด็น ได้แก่

      1.เป็นผู้ที่ทำวิเคราะห์ระบบงาน เพื่อค้นหาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นของระบบซึ่งจะต้องทำการแก้ไขปรับปรุงให้ปัญหานั้นๆหมดไป หรือเป็นการกำหนดปัญหาต่างๆ ของระบบที่กำลังเกิดอยู่ ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ปัญหาใดเป็นปัญหาสำคัญและเร่งด่วนซึ่งจะต้องทำการแก้ไขก่อน หรือเพื่อเป็นป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของระบบ

     2.เป็นผู้สร้างวิธีการที่เห็นว่าดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุดในการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น หรือเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานอันสูงสุด เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายตามที่ผู้ใช้ระบบต้องการ ด้วยการออกแบบระบบขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนระบบเดิมที่มีปัญหาอยู่ การปฏิบัติงานตามระบบที่ได้ออกแบบมาใหม่  ที่เป็นการแก้ไขของระบบเดิมให้หมดไปนั่นเอง แต่ถ้าได้ออกแบบระบบใหม่ขึ้นมาแล้วไม่ได้ปฏิบัติตาม ก็คงแก้ปัญหาต่างๆ นั้นๆ ไม่ได้ แต่ถ้าได้ปฏิบัติตามระบบใหม่ที่ได้ออกแบบไว้แล้ว ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ หรือปัญหายังไม่หมด ย่อมแสดงว่าการวิเคราะห์ระบบไม่พอดี ไม่เป็นการครอบคลุมการแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ส่วนมากมักจะเกิดจากการไม่ได้ปฏิบัติไปตามระบบที่ออกมาใหม่ หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระบบใม่ที่ออกใหม่มากกว่า

      3.นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำการพัฒนาระบบที่ได้ออกแบบระบบไว้ ตามข้อ2ให้เป็นการสมบูรณ์ เพื่อพร้อมที่จะนำไปปฏิบัติงานต่อไป เช่น การออกแบบฟอร์มต่างๆสำหรับการบันทึกข้อมูล ทั้งที่จะต้องใช้เป็น Input หรือ Output การพัฒนาและการเขียนโปรแกรมสำหรับคอมพิวเตอร์ การสร้างขั้นตอนการปกบัติงานและการประมวลผลข้อมูลตลอดจนการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปณ์กรสำหรับการประมวลผล และการเขียนเอกสารสำหรับการปฏิบัติงานตามระบบใหม่เหล่านี้ เป็นต้น

     4.นักวิเคราะห์ระบบงานจะต้องทำการทดสอบระบบที่ได้ออกแบบขึ้นมาใหม่ให้มีความถูกต้อง หรือเพื่อให้แน่ใจว่าถูกต้องตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ การทดสอบนี้อาจจะต้องใช้เวลานานพอสมควร เพื่อเป็นการทดสอบความถูกต้องในการทำงานของระบบ หรือเพื่อเป็นการดูผลว่าเป็นการแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องหรือไม่ และเพื่อเป็นการแน่ใจว่าผู้ที่จะนำระบบไปใช้ได้มีความเข้าใจและปฏิบัติงานตามระบบที่ได้ออกมาใหม่นั้นถูกต้องแล้วจริงๆ

     5.นักวิเคราะห์ระบบงานจะเป็นผู้ที่มีบทบาทในการติดตั้งระบบใหม่ คือ หลังจากได้ทำการทดลองระบบใหม่จนแน่ใจว่าถูกต้องหรือดีพอที่จะนำไปใช้งานได้แล้ว จะได้ทำการติดตั้งระบบนั้นเพื่อการปฏิบัติงานต่อไปจริงๆ ต่อไป ในงานขั้นนี้จะเป็นการทำทุกสิ่งทุกอย่างค้างอยู่ เพื่องานออกแบบระบบสมบูรณ์ พอที่จะทำการหมอบหมายให้กับผู้ใช้ระบบต่อไป งานขั้นนี้ของนักวิเคราะห์และออกแบบระบบที่จะต้องทำต่อ คือ การติดตั้งระบบ การทดสอบระบบขั้นสุดท้าย การฝึกอบรมให้กับผู้ใช้ระบบ การจัดทำและตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารการปฏิบัติงาน เป็นต้น

      6.ท้ายสุดนักวิเคราะห์ระบบงานจะต้องติดตามผลงานปฏิบัติงานของระบบที่ได้ติดตั้งไว้ และวางแผนในการบำรุงรักษาระบบ(System Follow Up and Maintenance) ไประบบใหม่ไว้ใหม่แล้ว หน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบจะยังไม่่สิ้นสุดลงเท่านี้ จะต้องคอยติดตามการปฏิบัติงานของระบบนั้นไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อทำการปรับปรุงแก้ไขหรือเพื่อบำรุงรักษาระบบ ซึ่งมักจะเกิดมรการเปลี่ยนแปลง หรือมีความต้องการที่จะขอปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือทำการแก้ไข เพื่อเป็นความเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมอยู่เสมอ งานขั้นนี้ เจ้าของระบบมักจะไม่สนใจและไม่ทราบว่าจะมีปัญหาเกิดขึ้นตามมาในภายหลัง จึงมักไม่ได้มีการตกลงกันไว้ในสัญญาการทำงานการวิเคราะห์และออกแบบระบบ เพื่อให้นักวิเคราะห์ระบบได้เตรียมงานสำหรับเรื่องนี้ไว้เพื่อ เพราะเกรงว่าจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์และออกแบบระบบเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นและถ้านักวิเคราะห์ระบบไม่ได้เตรียมไว้สำหรับงานขั้นนี้ไว้ในขั้นตอนของการออกแบบระบบด้วยแล้ว เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นมาจริงๆ เจ้าของระบบมักจะขอร้องให้นักวิเคราะห์ระบบกลับเข้าไปช่วยทำการแก้ไขปรับปรุงระบบใหม่ ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ นักวิเคราะห์ระบบงานอาจต้องทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบกันใหม่ตั้งแต่ต้นก็ได้ ซึ่งจะทำให้เสียค่าใช่จ่ายเพิ่มมากขึ้น

รายละเอียดหน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบ

นักวิเคราะห์ระบบ มีรายละเอียดหน้าที่การทำงานที่กำหนดโดยทั่วไปเป็นมาตรฐานของตำแหน่งนักวิเคราะห์ระบบ ตาม Job Description ดังนี้

ตำแหน่งนักวิเคราะห์ระบบรายละเอียดของงาน

      1. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบงานข้อมูล (Information System) รับผิดชอบในการศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของธุรกิจ เพื่อที่จะหาทางนำเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ วิธีการทางธุรกิจ รวมถึงบุคลากรต่างๆ มาใช้ในการพัฒนาเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาและบรรลุถึงความต้องการของธุรกิจนั้นๆ

     2.ออกแบบและจัดการระบบฐานข้อมูล รวมทั้งการติดตั้งด้วย

     3.ให้คำแนะนำและอบรมทั้งทางด้านเอกสารและการพบปะพูดจา หรือการสัมมนาในหัวข้อของระบบงานความรับผิดชอบ

    4.วิเคราะห์และประเมินผล เพื่อหาความเป็นไปได้ของระบบ (Feasibility Study)

    5.วิเคราะห์ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบธุรกิจที่เป็นอยู่

    6.แจกแจงถึงสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นจะต้องพัฒนาขึ้นจากธุรกิจที่เป็นอยู่

    7.กำหนดทางเลือกต่างๆ ืี่เป็นไปได้

    8.เลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ตามความเหมาะสม

    9.ออกแบบและวางระบบงานให้มีความสอดคล้องกัน

   10.ให้คำแนะนำต่างๆ เมื่อระบบงานถูกนำมาใช้จริง

   12.กำหนดแผนงานและระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาระบบงาน

   13.ดำเนินการสัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบงาน

   14.จัดทำเอกสารและวิเคราะห์ระบบงานของธุรกิจในปัจุบัน

   15.พัฒนาระบบงานโดยใช้เทคโนโลยีปัจจุบันเพื่อแก้ปัญหาให้แก่ธุกิจ

   16.วิเคราะห์ถึงความเหมาะสมต่างๆ ของเทคโนโลยี การปฏิบัติการ และฐานะทางเศรษฐกิจ

   17.ทบทวนและยื่นข้อเสนอของระบบงานเพื่อพิจรณาอัตโนมัติ

   18.ออกแบบและตรวจสอบความถูกต้องของระบบงาน

   19.ออกแบบแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลและโครงสร้างงบต่างๆ ที่ใช้ในระบบ

   20.ออกแบบลักษณะการติดต่อระหว่างผู้ใช้ระบบกับระบบงานคอมพิวเตอร์ (User Interfaes) เช่น ข้อความต่างๆ ที่ปรากฏบนจอมอนิเตอร์ในขณะป้อนข้อมูล

   21.ออกแบบวิถธีการเก็บข้อมูล

   22.ออกแบบระบบรักษาความปลอดภัย (Security) และการควบคุม (Control) ระบบ

   23ให้คำแนะนำทางด้านการเขียนโปรแกรมเพื่อให้ระบบดำเนินไปได้ตามเป้าหมาย

   24.วางแผนงานต่างๆ เพื่อให้ระบบที่พัฒนาขึ้นใหม่ถูกนำมาใช้แทนระบบเดิมโดยให้มีความยุ่งยากน้อยที่สุด

นักวิเคราะห์ระบบ จะเป็นผู้ที่ศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของธุรกิจ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยการนำปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ คน (People) วิธีการ (Method) และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology) มาใช้ปรับปรุงหรือแก้ปัยหาให้กับธุรกิจ

เมื่อได้มีการนำเอาพัฒนาการทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ นักวิเคราะห์ระบบ จะต้องรับผิดชอบถึงการกำหนดลักษณะของข้อมูล (Data) ที่จะจัดเก็บเข้าสู่ระบบงานคอมพิวเตอร์ การหมุนเวียน การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลและระบยะเวลาเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้หรือธุรกิจ (Ensiness Users)

นักวิเคราะห์ระบบไม่ได้เพียงแต่วิเคราะห์หรือออกแบบระบบงานเท่านั้น หากแต่ยังขายบริการทางด้านระบบงานข้อมูล โดยนำเอาประโยชน์จากเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้ควบคู่กันไปด้วย

นักวิเคราะห์ระบบมีหน้าที่ที่สามารถแบ่งออกได้อย่างเด่นชัดอยู่ 4 ประการด้วยกัน คือ

          1.เป็นผู้อยู่กลางระหว่างนักวิชาการคอมพิวเตอร์ที่ขาดความรู้และประสบการณ์ทางด้านการบริหารธุรกิจ กับนักวิชาการแขนงอื่นๆ ของระบบธุรกิจที่ไปทำการวิเคราะห์ เช่น นักบริหารระดับสูง นักเศรษฐศาสตร์ นักการบัญชีและนักการเงิน ที่ขาดความรู้และประสบการณ์ทางด้านระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ถึงแม้ว่านักวิชาการทางด้านการบริหารธุรกิจจะเป็นผู้มีความรู้ความสาสรถทางด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบ สามารถทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบด้วยตนเองก็ตาม การวิเคราะห์และออกแบบระบบดังกล่าว ก็ยังเป็นงานที่ต้องอยู่ระระหว่างการบริหารธุรกิจกับระบบงานคอมพิวเตอร์อยู่นั่นเอง คือ จะต้องอาศัยความรู้และประสบการที่จะต้องทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถช่วยงานทางด้านธุรกิจให้เป็นประโยชน์มากที่สุดและนักบริหารหรือผู้ใช้ระบบไม่จำเป็นต้องศึกษาหรือมีประสบการณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์มากนัก

          2.นอกจากจะมีความรู้และประสบการณทางด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบแล้วจะต้องมีความสามารถในการเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ ระหว่างการบริหารธุรกิจและระบบคอมพิวเตอร์ โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการมองปัญหาได้กว้างไกล รอบคอบและมีความสามารถในการเสนอแนะทางแก้ปัญหาให้แก่นักบริหารได้สมเหตุสมผล เป็นที่เชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของนักบริหารธุกิจ

         3.จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการออกแบบระบบงานให้เป็นที่พอใจมากที่สุดจนเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายในระบบธุรกิจนั้นๆ นอกจากนี้ยังต้องมีความสามารถในการประสานความร่วมมือและแก้ข้อขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบให้ดีที่สุด ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เป็นระบบที่ดีที่สุดหรือเปฌนระบบที่ถูกที่สุด แต่จะต้องเป็นระบบที่เหมาะสมที่สุดกับธุรกิจนั้น ด้วยวิธีการประนีประนอมให้เป็นที่ยอมรับกันของทุกฝ่าย การออกแบบระบบงานอย่างนี้เสมือนกับเป็นการหาเลข ค.ร.น. หรือเลข ห.ร.ม. ที่เลขตัวอื่นๆ จะหารได้ลงตัว

        4.จะต้องทำการออกแบบระบบงานขึ้นมาใหม่ และให้ระบบงานที่ออกมาใหม่นั้นดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในระบบเก่าจะต้องหมดไป และระบบใหม่ก็จะต้องไม่มีปัญหาใหม่ๆ เกืดขึ้นตามมาอีกด้วย นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเป็นผู้แก้ปัญหาไม่ใช่เป็นผู้สร้างปัญหาเสียเอง

        จากบทบาทของนักวิเคราะห์ระบบที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่านักวิเคราะห์ระบบเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารธุกิจมากทีเดียว คือ เป็นทั้งผู้ออกแบบระบบงานที่สามารถแก้ปัญหาระบบงาน หรือเป็นผู้ออกแบบระบบงานที่สร้างปัญหาต่างๆ ให้เกิดมาดยิ่งขึ้นก็เป็นได้ ทั้งนี้ทำให้นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความรู้ทั้งทางด้านธุรกิจและทางด้านคอมพิวเตอร์ควบคู่กันไปนักวิเคราะห์ระบบโดยส่วนใหญ่สามารถจะออกแบบระบบงานและเขียนโปรแกรมขึ้นได้ด้วยตนเองส่วนนี้เองทำให้บุคคลภายนอกเกิดความสับสนระหว่างโปรแกรมเมอร์กับนักวิเคราะห์ระบบ

การเตรียมตัวเป็นนักวิเคราะห์ระบบ

นักวิเคราะห์ระบบจะต้องจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณทางด้านวิชาการคอมพิวเตอร์และด้านธุรกิจในแขนงต่างๆ โดยเฉพาะในงานด้านที่ตนจะต้องเข้าไปทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบนั้นๆ และสามรถที่จะพัฒนาระบบเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้หรือธุรกิจอย่างมีเทคนิคและแบบแผน ผู้ที่จะเป็นนักวิเคราะห์ระบบที่ดีจะต้องมีการเตรียมตัวศึกษาและหาประสบการณ์ในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

    1.มีความรู้และประสบณ์การทางด้านเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี ซึ่งอาจจำแนกย่อยออกเป็น

        1.1 ด้าน Hardware คือ ด้านระบบของตัวเครื่องคอมะพิวเตอร์ซึ่งเป็นรูปธรรมที่เกี่ยวกับชนิดและประเภทของเครื่อง ความสามารถเข้าใจการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องในยุคปัจจุบันที่กำลังทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบอยู่

        1.2 ด้าน Sof twere คือ โปรแกรมต่างๆที่เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่อง เช่น PC-DOS , MS-DOS , OS/2 M และ WINDOWS ในเวอร์ชั่นต่างๆนอกจากนี้

นักวิเคราะห์ระบบไม่จำเป็นจะต้องเขียนโปรแกรมเป็นหรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นทุกเครื่อง แต่จะต้องมีความรู้และประสบการณ์ทางด้านนี้มามากเพียงพอที่จะทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบได้ เช่น ต้องรู้ว่าธุรกิจแห่งนั้นใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ระบบอะไร ซึ่งเหมาะสมกับธุรกจนั้นหรือไม่ ถ้าไม่เหมาะสมก็ควรจะแนะนำให้ใช้ระบบอะไรแทนหรือถ้าจะเปลี่ยนแปลงจขากระบบเดิมไปใช้ระบบใหม่ จะต้องออกแบบระบบใหม่ให้ได้ใช้อย่างถูกต้องตามความต้องการและความเหมาะสมของผู้ใช้ระบบ เป็นต้น

นักวิเคราะห์ระบบควรมีความรับผิดชอบและหน้าที่อย่างไร

ความรับผิดชอบ 1. วิเคราะห์และประเมินผล เพื่อหาความเป็นไปได้ของระบบ (Feasibility Study) 2. วิเคราะห์ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบธุรกิจที่เป็นอยู่ 3. แจกแจงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นจะต้องพัฒนาขึ้น เพื่อใช้หรือทดแทนระบบเดิม 4. กำหนดทางเลือกต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ (Alternative Solution) ในการแก้ปัญหา

การวิเคราะห์ระบบมีความสําคัญอย่างไร

การวิเคราะห์ระบบและการออกแบบ System Analysis and Design (ซิสเต็ม อนาชิส แอน ดีไช) คือ วิธีการที่ใช้ในการสร้างระบบสารสนเทศขึ้นมาใหม่ในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งหรือระบบย่อยของธุรกิจ นอกจากการสร้างระบบสารสนเทศใหม่แล้ว การวิเคราะห์ระบบ ช่วยในการแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นด้วยก็ได้

นักวิเคราะห์ระบบมีขอบเขตงานอย่างไร

นักวิเคราะห์ระบบ คือผู้ที่ทำหน้าที่ศึกษาปัญหาและความต้องการขององค์กรในการกำหนดบุคคล ข้อมูล การประมวลผล การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ว่าจะจัดการหรือปรับปรุงอย่างไรเพื่อสามารถพัฒนาระบบธุรกิจไปสู่ความสำเร็จได้

นักเขียนโปรแกรมนักวิเคราะห์ระบบคือระบบอะไร

นักเขียนโปรแกรม ( Programmer) นักเขียนโปรแกรม ( Programmer) เมื่อนักวิเคราะห์ระบบทำการวิเคราะห์ระบบงานเสร็จสิ้น ก็จะส่งต่อมายังผู้ที่ชำนาญในเรื่องของการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะเพื่อสร้างระบบงานนั้นให้ออกมาใช้งานได้จริง ๆ เราเรียกบุคคลกลุ่มนี้ว่า นักเขียนโปรแกรม หรือ programmer นั่นเอง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้