พระเจ้าลูกยาเธอ 4 พระองค์ มีใครบ้าง


พระราชกรณียกิจ
          - เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ในขณะที่ทรงมี พระชนมายุได้ ๒๒ พรรษา ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นลำดับที่ ๓ และทรงวางระเบียบศาลยุติธรรมโดยออกเป็นกฎเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม (พิจารณาความแพ่ง,พิจารณาอาญา ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๘) พระองค์ทรงจัดให้มีการสอนวิชากฎหมายขึ้นเป็นการแพร่หลาย ให้โอกาสบุคคลที่สนใจทั่วไป เข้าศึกษาได้ ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นมา 
          - เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ เป็นการเปิดการสอนกฎหมายครั้งแรก 
          - ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๔๒ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาพระอิสริยศักดิ์เป็นกรมหมื่น โดยมีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์
          - เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๓ ได้ทรงดำริจัดตั้งกรมพิมพ์ลายมือขึ้นที่กรงลหุโทษ และได้ทรงสอนวิธีตรวจเส้นลายมือและวิธีเก็บพิมพ์ลายมือ สำหรับตรวจพิมพ์ลายมือผู้ต้องหาในคดีอาญา
          - ครั้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๓ กรมหลวงราชบุรีฯ ทรงทำหนังสือกราบบังคมทูลว่าประชวร โดยมีอาการปวดพระเศียร คิดและทำอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น หมอไรเตอร์ตรวจพระอาการแล้วว่าต้องหยุดการทำงาน พักรักษาพระองค์
          - ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสร็จในกรม ฯ กลับรับราชการเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตรธิการตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๕๕  และทรงดำรงตำแหน่งเพียงปีเดียวก็ได้รับพระบรมราชโองการเลื่อนขึ้นเป็นพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ลงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๕๕

                     จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๖๒ เสด็จในกรมฯ ทรงประชวรด้วยพระวัณโรคที่พระวักกะ จึงทรงกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีเพื่อเปิดโอกาสให้ทรงเลือกสรรให้ผู้อื่นได้รับหน้าที่ต่อไป และได้เสด็จ ไปรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส แต่พระอาการก็หาทุเลาขึ้นไม่ จนกระทั่งในวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๓เวลา ๒๑.๐๐ น. พระองค์ก็เสด็จสิ้นพระชน ณ กรุงปารีส นับพระชนมายุได้ ๔๗ พรรษา อันนำความเศร้าโศกเสียใจมาสู่วงการนักกฎหมายไทยยิ่งนัก ด้วยเหตุที่ทรงมีพระคุณต่อประเทศชาติและนักกฎหมายทั้งปวงเป็นอเนกประการ ด้วยพระเกียรติคุณอันจะสุดพรรณนา ทำให้ประชาชนทั่วไป ถวาย พระสมญานามว่า "

พระบิดาและปรมาจารย์แห่งนักกฎหมายไทย"และเรียกวันที่ ๗ สิงหาคม ของทุกปี ว่าวัน "รพี" 

  คติพจน์ประจำพระองค

        คนเราควรจะให้ แต่ไม่ควรจะขออะไรจากผู้อื่น
ควรกินพอประมาณ  ไม่ควรจะมากเกินไปถึงกับท้องกาง
ควรช่วยเหลือคนอื่น ไม่ใช้เหยียบย่ำ
ควรจะรับใช้ ไม่ควรคิดเป็นนายคน

 *********************************

บรรณานุกรม
หนังสือ "รพี' 45-47" คณะกรรมการเนติบัณฑิต สมัยที่ 45 -47
สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา ( KPT 440 ร163 2545 – 2547 )
//www.law.tu.ac.th/lct/law/rapee/
//www.thethaibar.thaigov.net/RapeeDay.htm

รวบรวมโดย : นักศึกษาฝึกงาน คณะมนุษยศาสตร์ สาขาสารสนเทศ

| สมเด็จพระนเรศวรมหาราช | สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ | กรมหลวงชุมพรฯ | สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช |

 

สนเทศน่ารู้ 
ขึ้นด้านบน

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หมายถึง, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ คือ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ความหมาย, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ คืออะไร

พระประวัติ

           พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์     เป็นโอรสองค์ที่ ๑๔   ในสมเด็จพระปิยมหาราช  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 5  แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์  ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ ประสูติ ณ  เมื่อวันพุธ   ขึ้น ๑๑ ค่ำ   เดือน ๑๑ ปีจอ   ฉศก   จุลศักราช ๑๒๓๖   ตรงกับวันที่ ๒๑  ตุลาคม  พุทธศักราช  ๒๔๑๗  พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุล  รพีพัฒน์

          พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์   ทรงเข้าศึกษาภาษาไทยเป็นครั้งแรกในสำนักพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร)     เมื่อได้ทรงผ่านการศึกษาภาษาไทยเป็นเบื้องต้นแล้ว     ทรงเข้าศึกษาภาษาอังกฤษชั้นต้นในสำนักครูรามสามิ และในพุทธศักราช ๒๔๒๖    ทรงเข้าศึกษาภาษาไทยอยู่ในสำนักพระยา โอวาทวรกิจ(แก่น) เปรียญ   ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๒๗   ทรงเข้าศึกษาในโครงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ    โดยมีเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นครูสอน

          พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์   ทรงเข้าศึกษาชั้นมัธยมในกรุงลอนดอนเป็นเวลา ๓ ปี  เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม     แล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   โปรดเกล้าฯ  ให้พระองค์ศึกษาวิชาการฝ่ายพลเรือนพระองค์ทรงเลือกเรียนวิชากฎหมาย เหตุที่ทรงเลือกวิชากฏหมายก็เนื่องจากเมืองไทยในเวลานั้นมีศาลกงสุลฝรั่งชาวยุโรปและอเมริกามีอำนาจในประเทศไทย ซึ่งยากแก่การปกครอง จึงมีพระทัยตั้งมั่นที่จะพยายามขอเลิกอำนาจศาลกงศุลต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศของเรามีเอกราชทางการศาลอย่างแท้จริง ซึ่งทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายเพื่อ จะได้กลับมาพัฒนากฎหมายของบ้านเมือง กับพัฒนาผู้พิพากษาและราชการศาลยุติธรรมให้ดีขึ้นเพื่อต่างชาติจะได้ยอมรับนับถือ และยอมอยู่ใต้อำนาจของศาลเรา

          เสด็จในกรม ฯ ทรงมีพระสติปัญญาเฉลี่ยวฉลาดมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ทรงแสดงพระปรีชาสามารถ สอบผ่านเข้าเรียน ณ สำนักไครส์เชิร์ช มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดได้ เมื่อพระชันษาได้ ๑๗ พรรษา คราวแรกมหาวิทยาลัยไม่ยอมรับเข้าศึกษาอ้างระเบียนว่าพระองค์จะศึกษาได้ต้องมีพระชันษา ๑๘ พรรษา แต่ก็ต้องจำนนด้วยเหตุผลที่พระองค์ท่านดำรัสว่า “คนไทยนั้นเกิดง่ายตายเร็ว” ดังนั้นจึงทดลองให้พระองค์สอบไล่อีกครั้งหนึ่งซึ่งก็ทรงสอบไล่ได้ในที่สุด พระองค์ทรงพระอุตสาหะเอาพระทัยใส่เป็นอย่างมาก สอบไล่ผ่านทุกวิชา ได้รับปริญญา B.A. ชั้นเกียรตินิยม ภายในเวลา ๓ ปี เมื่อพระชันษาได้เพียง ๒๐ พรรษา ซึ่งบุคลธรรมดาต้องเรียนถึง ๔ ปี เป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงยิ่งนักถึงกับทรงเรียกเสด็จในกรมฯ ว่า “เฉลียวฉลาดรพี”

ผลงาน

          เนื่องจากโรงเรียนกฎหมาย ซึ่งเสด็จในกรมฯ    ได้ทรงจัดตั้งขึ้นมีการศึกษาเป็นปึกแผ่น     พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว    รัชการที่ ๖  ทรงพระกรุณา  โปรดเกล้าฯ เมื่อวันที  ๗ มิถุนายน  ๒๔๕๕   ให้ยกโรงเรียนกฎหมายขึ้นเป็นโรงเรียนหลวง   อยู่ในกระทรวงยุติธรรม   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงริเริ่มพระราชทานกำเนิด  เนติบัณฑิตยสภา  ขึ้นเมื่อ พ.ศ.  ๒๔๕๗  ต่อมามีพระบรมราชโองการ  ลงวันที่ ๗  สิงหาคม  ๒๔๖๗   ให้โรงเรียนกฎหมายอยู่ในความควบคุมของสภานิติศึกษา  จนกระทั่งสมัยเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พ.ศ. ๒๔๗๕  แล้ว  โรงเรียนกฎหมายได้โอนไปรวมกับแผนกรัฐศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖  อยู่ ๑ ปี  เรียกว่า แผนกนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์  พ.ศ. ๒๔๗๗    รัฐบาลจึงจัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้น  หรือที่เรียกในปัจจุบันว่า  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  จึงได้โอนแผนกนิติศาสตร์  และรัฐศาสตร์  จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปดำเนินการสอนในมหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นใหม่นี้แยกเป็นอิสระส่วนหนึ่งต่างหาก

          การศึกษาเล่าเรียนกฎหมายในสมัยนั้นเป็นไปในวงแคบ  ผู้ที่มีความรู้ในทางกฎหมายแทบจะนับตัวถ้วนซึ่งผู้ใดที่ใคร่จะมีความรู้ในทางกฎหมาย  ก็ต้องสมัครเข้าไปรับใช้การงานของท่านเสนาบดีบ้าง  ท่านผู้ใหญ่ในวงการกฎหมายบ้าง  เมื่อท่านเหล่านั้นเมตตาก็สั่งสอนให้ทีละเล็กทีละน้อยเสด็จในกรมฯ  ทรงดำริว่า  การที่จะรับราชการฝ่ายการศาลยุติธรรมให้เป็นไปด้วยดีนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีผู้รู้กฎหมายมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน    ซึ่งทางที่ดีที่สุดก็คือ เปิดให้มีการสอน    วิชากฎหมายขึ้นให้เป็นการแพร่หลายโดยให้โอกาสแก่บุคคลที่สนใจเข้าศึกษาได้  จึงได้ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐

          ครั้นต่อมาเมื่อเดือนพฤษภาคม  พ.ศ.๒๔๙๑  ทางเนติบัณฑิตยสภาได้จัดตั้งสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาขึ้น  เพื่ออบรมให้นักศึกษาในทางกฎหมายได้มีความชำนิชำนาญเพิ่มเติมจากที่ได้ศึกษามาแล้วจากมหาวิทยาลัยโดยเริ่มเปิดสอนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๔๙๑  การศึกษาในปีแรกเรียกว่า  การศึกษาสมัยที่ ๑  และมีผู้สอบสำเร็จความรู้ชั้นเนติบัณฑิตได้ ๖  ท่าน ในสมัยแรกซึ่งท่านศาสตราจารย์จำรัส  เขมะจารุ  สอบได้อันดับที่ ๑  ของสำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

          การศึกษาในทางวิชากฎหมายที่เป็นปึกแผ่นแน่นหนามาได้จนถึงทุกวันนี้  คงไม่มีใครโต้แย้งว่ามิใช่เป็นผลโดยตรงอันสืบเนื่องมาจากพระราชดำริ  และพระอุตสาหะวิริยะของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤกธิ์

          การศึกษาในทางวิชากฎหมายที่เป็นปึกแผ่นแน่นหนามาได้จนถึงทุกวันนี้  คงไม่มีใครโต้แย้งว่ามิใช่เป็นผลโดยตรงอันสืบเนื่องมาจากพระราชดำริ  และพระอุตสาหะวิริยะของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤกธิ์

          ด้วยพระเกียรติคุณอันจะพรรณนา  ที่มีต่อประเทศชาติและนักกฎหมายทั้งปวงเป็นอเนกประการทำให้ประชาชนทั่วไป  ขนานนามพระองค์ท่านว่า “พระบิดา  และปฐมาจารย์แห่งนักกฎหมายไทย”

คุณธรรมที่ควรเอาเป็นแบบอย่าง

          1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงเป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเห็นได้จากพระองค์สามารถผ่านการสอบสอบผ่านเข้าเรียน ณ สำนักไครส์เชิร์ช มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดได้ เมื่อพระชันษาได้ ๑๗ พรรษาและสามารถจบปริญญาโดยใช้เวลาศึกษาเพียง3ปี

          2.  พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงเป็นผู้ที่มีความรักชาติเห็นได้จากพระทัยตั้งมั่นที่จะพยายามขอเลิกอำนาจศาลกงสุลต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศของเรามีเอกราชทางการศาลอย่างแท้จริง ซึ่งทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายเพื่อ จะได้กลับมาพัฒนากฎหมายของบ้านเมือง กับพัฒนาผู้พิพากษาและราชการศาลยุติธรรมให้ดีขึ้นเพื่อต่างชาติจะได้ยอมรับนับถือ และยอมอยู่ใต้อำนาจของศาลเรา

          3. พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงเป็นผู้ที่มีความวิริยะอุตสาหะในการทำงานอย่างดีเมื่อพระยามานวรราชเสวี  ทูลว่า “ไม่เคยเห็นใครทำงานมากอย่างใต้ฝ่าพระบาทมีพระสงค์อย่างไร”  ทรงตอบว่า " รู้ไหมว่า My life is Service"(ชีวิตของฉันเกิดมาเพื่อรับใช้ประเทศชาติ)  และทรงยกคติพจน์ของชาวอังกฤษชื่อ Kingsley s ให้ท่านฟัง

          4.พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงเป็นผู้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่งยวดทรงถือว่าความซื่อสัตย์สุจริต เป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะสำหรับนักกฎหมาย และทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายและทรงเป็นผู้สอนวิชากฎหมายด้วยพระองค์เอง   เพื่อที่จะให้มีผู้รู้กฎหมายมากขึ้นทรงจัดวางระเบียบศาลยุติธรรมสู่ระบบใหม่ทรงรวบรวมกฎหมาย    และคำพิพากษา ฎีกาพร้อมแต่งตำราอธิบายกฎหมายต่าง ๆ มากมายการค้นคว้ารวบรวมและพระนิพนธ์ได้เป็นรากฐานก่อตั้งการศึกษานิติศาสตร์ขึ้นในประเทศไทยอันเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งแก่ประเทศชาติจึงทรงได้รับยกย่องให้เป็น"พระบิดาแห่งกฎหมายไทย"

ที่มา ชญานี แป้งพิมพ์  มณฑลี  ดวงสมร   www.pcccr.ac.th


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หมายถึง, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ คือ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ความหมาย, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้