ข้อใดใช้ภาษาระดับปากมากที่สุด

แบบทดสอบรายวิชาภาษาไทย  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
ท 4.1   ม.4-6/3ใช้ภาษาเหมาะสมแก่โอกาส กาลเทศะ และบุคคล รวมทั้งคำราชาศัพท์อย่างเหมาะสม
           ม.4-6/5วิเคราะห์อิทธิพลของภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น

ขอให้นักเรียนกรอกข้อมูลของตนเองให้ถูกต้อง
คลิ๊กเลือกในช่องวงกลมหน้าข้อที่เห็นว่าคำตอบถูกต้องที่สุด

กรอกชั้น/ห้อง/เลขที่ *

ตัวอย่าง  ม.6/1/1

ข้อที่ 1 คำราชาศัพท์  เป็นคำที่ใช้ในระดับภาษาใด *

ข้อที่ 2 ข้อใดใช้ระดับภาษากึ่งทางการ *

ข้อที่ 3  ข้อใดเป็นวัฒนธรรมการใช้ภาษาของไทย *

มีคำให้เลือกใช้ได้อย่างหลากหลายทุกสถานการณ์

ควรคำนึงถึงฐานะของบุคคลและโอกาสที่สื่อสาร

คำที่ใช้มีสัมผัสคล้องจองทำให้จดจำได้ง่าย

เพศและฐานะทางสังคมเป็นสิ่งที่กำหนดการใช้ภาษา

ข้อที่ 4 การใช้ภาษาเพื่อใช้ในการเปิดประชุมรัฐสภา ควรใช้ ระดับภาษาใด *

ข้อที่ 5 ภาษาที่ใช้ในนิตยสารหรือวารสารทั่วๆ ไปมีลักษณะ ตรงกับข้อใด *

เขียนให้ถูกต้องตามหลักภาษาเป็นสำคัญ

ใช้ภาษาที่สร้างสัมพันธภาพใกล้ชิดกับผู้รับสาร

ควรเน้นภาษาที่ใช้เฉพาะกลุ่มเป็นหลัก

โครงสร้างประโยคต้องสมบูรณ์ สื่อความชัดเจน

ข้อที่ 6 ปัจจัยในข้อใดไม่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้ระดับภาษา *

ข้อที่ 7 คำใดไม่ใช่คำยืมภาษาชวา-มลายูในภาษาไทย *

ข้อที่ 8 เหตุใดภาษาไทยจึงต้องยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ใน ภาษาไทย *

เพราะใช้ในการติดต่อสื่อสาร

เพราะให้เห็นถึงความเจริญทางภาษา

เพราะต้องใช้ในการทำนุบำรุงศาสนา

เพราะต้องการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชาติอื่นๆ

ข้อที่ 9 ข้อใดเป็นคำภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทยที่ไม่ เกี่ยวข้องกับศาสนา *

ข้อที่ 10 คำในข้อใดเป็นคำยืมภาษาเขมรในภาษาไทยที่มีลักษณะ เป็นคำแผลง *

ข้อที่ 11 คำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยในข้อใด มีลักษณะ ต่างจากข้ออื่น *

ข้อที่ 12 ประโยคในข้อใดที่ใช้ภาษาต่างระดับกัน *

มวลน้ำจะเดินทางมาเยือนและท่วมพระนครเร็วๆ นี้

นักกีฬาวอลเลย์บอลทีมชาติไทยฝึกซ้อมอย่างหนัก

นักเรียนชอบปั่นจักรยานมาโรงเรียน

กระแสเคป๊อบ(K-pop) ยังอยู่ในหมู่วัยรุ่นไทย

ห้ามส่งรหัสผ่านใน Google ฟอร์ม

เรื่อง ระดับภาษา
สาระสำคัญ
ความรู้เกี่ยวกับระดับภาษาช่วยให้สามารถพูดและเขียนภาษาไทยได้ถูกต้องเหมาะสมกับสัมพันธ์ภาพของบุคคล โอกาส กาลเทศะ และประชุมชม เพื่อให้การสื่อสารเป็นที่เข้าใจและพอใจทั้งฝ่ายผู้ส่งสารและผู้รับสารและบังเกิดสัมฤทธิ์ผลสามความมุ่งหมาย
การแบ่งระดับภาษา
ภาษานอกจากจะใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารความรู้ ความคิด ความรู้สึก ทัศนคติแล้ว ยังใช้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ มนุษย์ใช้ภาษาโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกัน โอกาส กาลเทศะ และประชุมชน ภาษาจึงมีลักษณะแตกต่างกันเป็นหลายระดับ เพื่อใช้ให้สัมฤทธิ์ผลสมความมุ่งหมาย
ภาษาอาจแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ ได้หลายวิธี เช่น
ก. แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
ระดับที่เป็นทางการ ( แบบแผน )
ระดับที่ไม่เป็นทางการ ( ไม่เป็นแผน )
ข. แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
ระดับพิธีการ ( แบบแผน )
ระดับกึ่งพิธีการ ( กึ่งแบบแผน )
ระดับไม่เป็นพิธีการ ( ไม่เป็นแบบแผนหรือภาษาปาก )
ค. แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ
ระดับพิธีการ
ระดับทางการ
ระดับกึ่งทางการ
ระดับไม่เป็นทางการและระดับกันเอง
ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับภาษา
ระดับที่เป็นทางการ ( แบบแผน ) ระดับที่ไม่เป็นทางการ ( ไม่เป็นแบบแผน )
ระดับพิธีการ
( แบบแผน ) ระดับกึ่งพิธีการ
( กึ่งแบบแผน ) ระดับไม่เป็นพิธีการ
( ไม่เป็นแบบแผน )
ระดับพิธีการ ระดับทางการ ระดับกึ่งทางการ ระดับไม่เป็นทางการ ระดับกันเอง
1. ภาษาระดับพิธีการ
ใช้สื่อสารในที่ประชุม ซึ่งจัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ เช่น การกล่าวอวยพร การกล่าวคำปราศรัย
การกล่าวรายงาน การกล่าวเปิดประชุม ฯลฯ ผู้ส่งสารมักเป็นบุคคลสำคัญหรือมีตำแหน่งสูง ผู้รับสารส่วนมากเป็นบุคคลในวงการเดียวกันหรือเป็นชนกลุ่มใหญ่ สัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีต่อกันอย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่ผู้ส่งสารกล่าวฝ่ายเดียว ถ้ามีการกล่าวตอบก็กระทำอย่างเป็นทางการ สารทุกตอนมีลักษณะเป็นพิธีรีตอง ใช้ถ้อยคำที่ไพเราะกลั่นกรองมาล่วงหน้าแล้ว
2. ภาษาระดับทางการ
ใช้ในการบรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในการประชุมซึ่งต่อช่วงจากตอนที่เป็นพิธีการ
หรือใช้ในการเขียนข้อความที่จะปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ ในหนังสือที่ติดต่อกันทางราชการหรือในวงการธุรกิจ
ผู้ส่งสารและผู้รับสารมักจะเป็นบุคคลซึ่งมีหน้าที่และภารกิจโดยตรงในแต่ละด้าน ในวงการหรือวงอาชีพเดียวกัน สัมพันธภาพระหว่างทั้งสองฝ่ายจึงเป็นไปในด้านธุรกิจและการงาน
การใช้ภาษาระดับนี้มุ่งให้ได้ผลตามจุดประสงค์โดยเร็ว โดยประหยัดการใช้ถ้อยคำและเวลาให้มากที่สุด อาจใช้ศัพท์เฉพาะมากหรือน้อยแล้วแต่ลักษณะการประชุมและผู้รับสาร ในกรณีจำเป็น ผู้ส่งสารอาจต้องใช้คำอธิบายให้มากขึ้นก็ได้
3. ภาษาระดับกึ่งทางการ
ภาษาระดับนี้คล้ายกับระดับที่ 2 แต่ลดความเป็นการเป็นงานเป็นการลงบ้าง มักใช้ในการประชุม
กลุ่มที่เล็กกว่าการประชุมที่ต้องใช้ภาษาระดับทางการ เช่น ในการประชุมกลุ่มย่อย การบรรยายในห้องเรียน ข่าวและบทความในหนังสือพิมพ์ มักใช้ภาษาที่ทำให้รู้สึกคุ้นเคยมากกว่าภาษาในระดับที่ 2 และใช้ศัพท์เฉพาะเท่าที่จำเป็น
4. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
ใช้ในการสนทนาระหว่างบุคคลหรือกลุ่มไม่เกิน 4 – 5 คน ในสถานที่และโอกาสที่ไม่ใช่เป็นการ
ส่วนตัว เช่น ในการเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน การรายงานข่าว การเสนอบทความในหนังสือพิมพ์ เนื้อหาของสารอาจเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป ไม่จำกัดเฉพาะวิชาการ ภาษาที่ใช้อาจมีถ้อยคำที่เคยใช้กันเฉพาะกลุ่ม
5. ภาษาระดับกันเอง
ใช้ในวงจำกัดที่เป็นการส่วนตัว เช่น ภายในครอบครัว เพื่อนสนิท ที่บ้านหรือห้องที่เป็นสัดส่วนโดยเอกเทศ
เนื้อหาของสารเช่นเดียวกับระดับที่ 4 ภาษาที่ใช้มักเป็นภาษาพูดเท่านั้น ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากใช้ในนวนิยาย บทละคร หรือเรื่องสั้น อาจใช้คำสแลงหรือคำภาษาถิ่นปะปนบ้างก็ได้
ข้อควรสังเกตเกี่ยวกับการแบ่งระดับภาษา
1. การแบ่งระดับภาษาไม่เป็นการตายตัว ภาษาแต่ละระดับอาจมีการเหลื่อมล้ำคาบเกี่ยวกันบ้าง เช่น ระดับ 2 กับ 3 ระดับ 3 กับ 4 หรือ ระดับ 4 กับ 5
2. ภาษาทั้ง 5 ระดับ ไม่มีโอกาสใช้พร้อมกัน ระดับที่ใช้มาก คือ ระดับ 3 กับ 4 ส่วนระดับ 1 มีโอกาสใช้น้อย ส่วนระดับที่ 5 บางคนก็ไม่นิยมใช้
3. ภาษาบางระดับใช้แทนที่กันไม่ได้ เช่น ระดับที่ 1,2 หรือระดับที่ 2,3 จะใช้แทนระดับที่ 4, 5 ไม่ได้
4. การใช้ภาษาผิดระดับจะเป็นผลเสียแก่การสื่อสาร
ปัจจัยที่กำหนดระดับภาษา
ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดระดับของภาษา ได้แก่
1. โอกาสและสถานที่ เช่น การสื่อสารกับบุคคลกลุ่มใหญ่ในที่ประชุม ที่สาธารณะ ตลาดร้านค้า หรือที่บ้าน ย่อมใช้ระดับภาษาต่างกัน
2. สัมพันธภาพระหว่างบุคคล การเป็นเพื่อนสนิท ผู้เพิ่งรู้จัก ผู้ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนย่อมใช้ระดับภาษาต่างกัน แต่อย่างไรก็ดี ปัจจัยนี้ต้องขึ้นปัจจัยข้อที่ 1 เช่น บุคคลที่เป็นเพื่อนสนิทเมื่อพูดกันในที่ประชุมย่อมไม่อาจใช้ภาษาระดับเดียวกับที่เคยใช้เมื่อสนทนากันตามลำพัง
3. ลักษณะของเนื้อหา เนื้อหาของสารส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับโอกาสในการสื่อสารระดับภาษา ในบางกรณีเนื้อหาอย่างเดียวกันอาจใช้ภาษาต่าง ๆ กัน ได้ทั้ง 5 ระดับ
4. สื่อที่ใช้ส่งสาร เช่น จดหมายส่วนตัวผนึกซอง ไปรษณียบัตร การบอกต่อ ๆ กันไปด้วยปาก การพูดทางเครื่องขยายเสียง การพูดทางวิทยุกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ย่อมใช้ภาษาต่างระดับกัน
ลักษณะของภาษาระดับต่าง ๆ
ลักษณะของภาษาระดับต่าง ๆ แตกต่างกันดังนี้
1. การเรียบเรียง ภาษาระดับกันจำเป็นต้องใช้ความพิถีพิถันในการเรียบเรียงเกี่ยวกับลำดับหรือระเบียบของใจความแตกต่างกันไป เช่น ภาษาระดับพิธีการ และระดับทางการจะต้องใช้ข้อความที่ต่อเนื่องกลมกลืนกันมากกว่าภาษาระดับกึ่งทางการ ในการใช้ภาษาเขียนไม่ว่าในระดับใดจะต้องระมัดระวังในเรื่องลำดับข้อความมากกว่าภาษาพูด เพราะผู้อ่านไม่อาจถามได้
2. กลวิธีนำเสนอ ภาษาระดับพิธีการและระดับทางการนำเสนออย่างกลาง ๆ เป็นการส่งสารไปยังกลุ่มบุคคล และส่งในฐานะที่เป็นผู้แทนของกลุ่มบุคคลหรือในนามของตำแหน่ง ไม่เจาะจงบุคคลผู้รับหรือผู้ส่งสาร อย่างภาษาระดับไม่เป็นทางการและระดับกันเอง
3. ถ้อยคำที่ใช้ การใช้ถ้อยคำในภาษาจะเป็นต้องแตกต่างกันไปตามระดับต่าง ๆ กัน เช่น
3.1 คำสรรพนาม ภาษาระดับพิธีการ ระดับทางการและระดับกึ่งทางการ ย่อมใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 และบุรุษที่ 2 ต่างกับภาษาระดับไม่เป็นทางการและระดับกันเอง
3.2 คำนาม คำสามานยนามหลายคำใช้คำแตกต่างกันระหว่างระดับทางการขึ้นไปและระดับต่ำกว่าทางการ เช่น โรงหนัง – โรงภาพยนตร์ ใบขับขี่ – ใบอนุญาตขับรถยนต์ ใบรับรอง – หนังสือรับรอง
บัสเลน – ช่องเดินรถประจำทาง รถเมล์ – รถประจำทาง แสตมป์ – ดวงตราไปรษณียากร
งานแต่งงาน – งานมงคลสมรส
คำวิสามานยนามในภาษาระดับทางการขึ้นไปต้องใช้ชื่อเต็ม คำลักษณะนามในภาษาระดับทางการขึ้นไปจะต้องใช้ให้ถูกต้องตามแบบแผนพิเศษ
3.3 คำกริยา ใช้ต่างกันในระดับต่าง ๆ เช่นกริยา ตาย ใช้ต่าง ๆ กันตามฐานะของบุคคลและโอกาส คือ เสีย สิ้น ถึงแก่กรรม ถึงแก่อนิจกรรม ถึงแก่อสัญกรรม สิ้นชีพตักษัย สิ้นพระชนม์ สวรรคต มรณภาพ กริยาบางคำใช้ต่างกันระหว่างระดับทางการขึ้นไปกับระดับต่ำกว่าทางการ เช่น
ทิ้งจดหมาย - ส่งจดหมายทางไปรษณีย์
ตีตรา - ประทับตรา
เผาศพ - ฌาปนกิจศพ
ออกลูก - คลอดบุตร
รดน้ำแต่งงาน - หลั่งน้ำพระพุทธมนต์
แทงเรื่อง - ผ่านหนังสือไปตามลำดับขั้นโดยเขียนข้อความและชื่อกำกับไว้
3.4 คำวิเศษณ์ ภาษาระดับทางการขึ้นไปไม่นิยมใช้คำวิเศษณ์บอกลักษณะและวิเศษณ์บอกปริมาณ เช่น เปรี้ยวจี๊ด ขมปี๋ อ้วนฉุ ยุ่งจัง ยิ้มแฉ่ง จะมีใช้บ้างบางคำ เช่น มาก หรือ จัด
3.5 คำชนิดอื่น ๆ เช่น คำบุพบท คำสันธาน และคำสรรพนามที่เชื่อมความใช้ร่วมกันทุกระดับภาษา คำลงท้ายประโยค คะ ครับ ซิ นะ เถอะ ใช้เฉพาะในระดับไม่เป็นทางการ และระดับกันเอง
คำที่ใช้แตกต่างกันระหว่างระดับกึ่งทางการลงมากับระดับอื่น เช่น
ระดับกึ่งทางการลงมา ระดับอื่น
ยังงั้น อย่างนั้น
ยังงี้ อย่างนี้
ยังไง อย่างไร

การใช้ภาษาถูกระดับสื่อสารกระชับประทับใจ
ภาษา เป็นเครื่องมือในการสื่อสารความรู้ ความคิด ความรู้สึก ฯลฯ
ระดับภาษา เป็นเรื่องของความเหมาะสมในการใช้ภาษาตามสัมพันธภาพของบุคคล ตามโอกาสและกาลเทศะ เพื่อให้
สัมฤทธิ์ผลสมความมุ่งหมาย
ภาษาแบ่งออกเป็น 5 ระดับ
ภาษาระดับพิธีการ
การใช้ภาษาในระดับพิธีการมีข้อน่าสังเกต ดังนี้ :-
1. เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ เช่น การกล่าวคำปราศรัย การเปิดประชุมรัฐสภา การกล่าว
สดุดี การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตร เป็นต้น
2. ผู้ส่งสาร ต้องเป็นบุคคลสำคัญหรือตำแหน่งสูงในวงการ ส่วนผู้รับสารมักจะเป็นกลุ่มชน ส่วนใหญ่ผู้ส่งสารจะเป็นผู้กล่าว
ฝ่ายเดียว ไม่มีการโต้ตอบ
3. ลักษณะสารจะเลือกเฟ้นถ้อยคำที่ไพเราะเป็นคำศัพท์ เป็นสารที่เป็นทางการ
4. เป็นสารที่ต้องเตรียมล่วงหน้าและมีการส่งสารด้วยการอ่าน ผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ
ผู้เรียนสามารถดูตัวอย่างการใช้ภาษาระดับพิธีการ เช่น คำปราศรัยของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เนื่องในวันเด็กหรือวัน
สำคัญอื่น ๆ ซึ่งหนังสือพิมพ์จะนำมาตีพิมพ์ในช่วงเวลาของวันสำคัญนั้น ๆ
ภาษาระดับทางการ มีข้อสังเกต คือ
1. เป็นภาษาที่ใช้ในการบรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุมใหญ่ การรายงานทางวิชาการ, หนังสือราชการ
(จดหมายราชการ) หรือจดหมายที่ติดต่อในวงการธุรกิจ คำนำหนังสือ, ประกาศของทางราชการ ฯลฯ
2. การใช้ภาษา จะใช้อย่างเป็นทางการ มุ่งเข้าสู่จุดประสงค์ ที่ต้องการความรวดเร็ว สารชนิดนี้มีลักษณะตรงไปตรงมา
ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย ไม่เน้นความไพเราะของถ้อยคำ
ภาษาระดับกึ่งทางการ ข้อสังเกตคือ
1. เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารที่คล้ายกับระดับที่ 2 แต่ลดความเป็นการเป็นงานลงบ้าง การใช้ภาษาระดับนี้ มักใช้ในการประชุม
กลุ่มเล็ก การบรรยายในห้องเรียน ข่าวและบทความในหนังสือพิมพ์ โดยทั่วไปจะมีถ้อยคำ สำนวน ที่ทำให้รู้สึกคุ้นเคยมากกว่า
ในระดับที่ 2
2. เนื้อของสาร มักจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความรู้ทั่วไป หรือเป็นการแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการที่เกี่ยวกับการดำเนิน
ชีวิต หรือเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจ ใช้ศัพท์ทางวิชาการเท่าที่จำเป็น
ภาษาระดับสนทนา มีลักษณะที่สังเกตได้ดังนี้
1. เป็นภาษาที่มักใช้ในการสนทนาโต้ตอบกันของคนที่รู้จักมักคุ้นกัน อยู่ในสถานที่และกาละที่ไม่เป็นการส่วนตัว
2. ภาษาที่ใช้ อาจจะเป็นคำสแลงหรือเป็นคำที่เข้าใจความหมายตรงกันได้ในกลุ่มเท่านั้น
3. ต้องไม่เป็นคำหยาบ หรือคำไม่สุภาพ
ภาษาระดับกันเอง
1. เป็นภาษาที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องใกล้ชิดสนิทสนมกันอย่างมาก
2. ภาษาที่ใช้อาจเป็นคำหยาบคาย หรือภาษาถิ่น คำที่ใช้เฉพาะกลุ่ม
คำราชาศัพท์
ตามธรรมเนียมและวัฒนธรรมไทยนั้น จะต้องรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมแก่ฐานะของบุคคล ซึ่งจะแบ่งออกเป็น
5 ประเภท ผู้ใช้ภาษาจะต้องเลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับบุคคลทั้ง 5 ประเภท คือ
1. พระมหากษัตริย์
2. พระราชวงศ์ชั้นสูง
3. พระภิกษุ
4. ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
5. สุภาพชนทั่วไป
จึงสรุปได้ว่า คำราชาศัพท์ หมายถึง ศัพท์หรือถ้อยคำที่บุคคลทั่วไปใช้กับบุคคลที่ควรเคารพ คือ พระมหากษัตริย์
พระราชวงศ์ชั้นสูง พระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ และสุภาพชนทั่วไป

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้