จังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยน้อยที่สุดของประเทศไทยคือจังหวัดใด

30 พ.ค. 2021

รู้จักแม่ฮ่องสอน จังหวัดที่รายได้ต่อประชากรน้อยที่สุด / โดย ลงทุนแมน

“เมืองสามหมอก” ถูกตั้งให้เป็นฉายาของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เพราะจังหวัดเล็ก ๆ ติดชายแดนเมียนมาแห่งนี้ มีสภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาสูง
สลับซับซ้อน ขณะที่สภาพอากาศมีหมอกปกคลุมตลอดเวลา
จนกลายเป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากมายให้มาเยี่ยมเยือน โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว

แต่รู้หรือไม่ว่า แม่ฮ่องสอนถูกจัดให้เป็นจังหวัดที่มีอัตราความยากจนมากที่สุดในประเทศไทย..

เรื่องราวของแม่ฮ่องสอนเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมด 12,765 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของประเทศ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่กว่า 87% ของพื้นที่ทั้งหมดในจังหวัด
เป็นป่าไม้ และมีประชากรอยู่เพียง 284,000 คน

ในแง่เศรษฐกิจ ปี 2562 มูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) ของแม่ฮ่องสอน
อยู่ที่เพียง 15,021 ล้านบาท น้อยที่สุดในบรรดา 77 จังหวัดของประเทศไทย
และมีสัดส่วนไม่ถึง 1% ของมูลค่า GDP ทั้งประเทศ

โดยมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัด ณ ราคาตลาดปัจจุบัน ถ้าแบ่งตามสัดส่วนจะมาจาก
ภาคบริการ 68%
ภาคเกษตรกรรม 26%
ภาคอุตสาหกรรม 6%

แม้ว่าสัดส่วนของภาคเกษตรจะอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 4 ของมูลค่า GPP
แต่ประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดนั้นทำอาชีพภาคเกษตรเป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วนถึง 81% ของประชากรทั้งหมด

โดยผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่ของแม่ฮ่องสอนที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว กระเทียม ข้าวโพด กะหล่ำปลี และถั่วเหลือง

ปัญหาของชาวเกษตรกรที่แม่ฮ่องสอนประสบมักคล้ายๆ กับเกษตรกรไทยส่วนใหญ่นั่นคือ ความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะในช่วงที่ผลผลิตออกมาพร้อมกัน ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรมีความไม่แน่นอน จนส่งผลต่อการบริโภคของครัวเรือน

รวมทั้งเกษตรกรส่วนใหญ่ ไม่ได้มีพื้นที่ถือครองเพื่อทำการเกษตรของตนเอง ทำให้มีต้นทุนในการทำเกษตรกรรมที่สูง

อีกด้านหนึ่ง แม้ว่าภูมิประเทศของแม่ฮ่องสอนส่วนใหญ่เป็นธรรมชาติเหมาะกับการท่องเที่ยว และยังเคยได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 10 อันดับ จังหวัดท่องเที่ยวยอดนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวไทย

แต่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ก็นิยมเดินทางมาเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ หรือเพียงแค่ประมาณ 4 เดือนที่เป็นช่วง High Season เท่านั้น
ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวเดินทางมาที่อำเภอปายซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่า 61% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่เดินทางมาที่แม่ฮ่องสอน จึงทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวยังมีจำนวนน้อยและกระจุกตัวเพียงบางพื้นที่

เมื่อรายได้จากภาคเกษตรกรรมที่มีความไม่แน่นอนสูง ขณะที่รายได้จากการท่องเที่ยวมีเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ส่วนภาคอุตสาหกรรมมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปไม้ และแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร

จึงทำให้มูลค่าเศรษฐกิจและรายได้ของประชากรที่แม่ฮ่องสอนนั้นน้อย
สวนทางกับค่าใช้จ่ายและหนี้สิน

รายได้เฉลี่ยต่อคนของชาวแม่ฮ่องสอนเท่ากับ 63,370 บาทต่อปี อยู่อันดับที่ 74 ของประเทศไทย ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรายได้เฉลี่ยต่อคนของคนไทยทั้งประเทศที่ 243,787 บาท เกือบ 4 เท่า

รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนที่แม่ฮ่องสอนเท่ากับ 13,097 บาท ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนของประเทศ

และถึงแม้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือน 11,242 บาท ที่แม่ฮ่องสอนจะน้อยกว่าในจังหวัดอื่น แต่ก็คิดเป็นสัดส่วน 86% ของรายได้ต่อครัวเรือน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่เท่ากับ 77%

รวมไปถึงหนี้สินต่อครัวเรือนของชาวแม่ฮ่องสอนเท่ากับ 74,586 บาท สูงกว่ารายได้ต่อเดือนเกือบ 6 เท่า

พอเรื่องเป็นแบบนี้ แม่ฮ่องสอนจึงถูกจัดให้เป็นจังหวัดที่มีอัตราความยากจนมากที่สุด
ในประเทศไทย

อุปสรรคอย่างหนึ่งในการพัฒนาและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่และภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดแห่งนี้ คือ การที่มีสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูง ไม่เพียงแต่เป็นข้อจำกัดในการขนส่งสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นอุปสรรคสำหรับภาครัฐในการพัฒนาและลงทุนสาธารณูปโภคในแต่ละพื้นที่ เช่น ถนน ประปา ไฟฟ้า การศึกษา และสาธารณสุข

นั่นจึงทำให้แม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดเป้าหมายที่รัฐบาลให้ความสำคัญสูงในการแก้ไขปัญหาความยากจน ที่เป็นปัญหาเรื้อรังของประชาชนที่แม่ฮ่องสอนมานาน

ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐพยายามออกมาตรการหลายอย่างเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของแม่ฮ่องสอนให้เติบโตก้าวหน้าขึ้นจากปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น

การส่งเสริมประชาสัมพันธ์และเสนอจุดขายให้แก่นักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวเมืองรองอย่างแม่ฮ่องสอนมากขึ้น ทั้งทำการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวภายในจังหวัดได้มากขึ้น

มาตรการช่วยเหลือและปรับปรุงสินค้าเกษตรซึ่งถือเป็นอาชีพหลักของประชาชนที่นี่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรที่แม่ฮ่องสอนให้ดีขึ้น

พัฒนาเส้นทางคมนาคม เพื่อยกระดับด่านชายแดนแม่ฮ่องสอนกับเมียนมา ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการค้าและการลงทุนเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

ก็เป็นที่น่าติดตามว่า การพัฒนาต่าง ๆ จะช่วยยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของประชากรที่แม่ฮ่องสอนให้ดีขึ้นกว่าวันนี้ได้หรือไม่

แต่ที่น่าสนใจก็คือ แม้ว่าแม่ฮ่องสอนจะเป็นจังหวัดที่อัตราความยากจนมากที่สุด
แต่จังหวัดนี้เคยถูกสำรวจว่าเป็นจังหวัดที่ผู้คนมีความสุขมากที่สุดในประเทศไทย
จากการสำรวจของเอแบคโพล ในช่วงวันที่ 1-19 มีนาคม 2556

การสำรวจนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ
จำนวน 12,429 คน ผลการจัดอันดับค่าร้อยละของประชาชนที่อาศัยอยู่ในแต่ละจังหวัด
พบว่าจังหวัดที่ประชาชนอยู่แล้วมีความสุขมากที่สุด คือ แม่ฮ่องสอน ได้ร้อยละ 60.9

ทั้งนี้ก็เพราะว่า แม้ว่าประชาชนที่นี่จะมีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งทำให้มีประเพณี วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน แต่คนเหล่านั้นก็สามารถอาศัยอยู่ด้วยกันได้อย่างกลมเกลียว
มีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน คดีอาชญากรรมต่ำ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูง
อีกทั้งยังแวดล้อมไปด้วยธรรมชาติที่เงียบสงบนั่นเอง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้