สมองส่วนใดทําหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ําในเลือด

กลไกการรักษาดุลยภาพของเซลล์
          การรักษาดุลยภาพของร่างกาย (homeostasis) เป็นการปรับตัวของระบบและกลไกต่าง ๆ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อระบบในร่างกาย
          สิ่งมีชีวิตต้องอาศัยการทำงานประสานกันของเซลล์จำนวนมาก เซลล์หลาย ๆ เซลล์รวมกลุ่มกันเป็น เนื้อเยื่อ (tissue) เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เนื้อเยื่อหลาย ๆ ชนิดรวมกันเป็น อวัยวะ (organ) อวัยวะหลาย ๆ อวัยวะทำหน้าที่ประสานกันและรวมกลุ่มกันเป็น ระบบอวัยวะ (organ system) ระบบอวัยวะทุกระบบจะทำงานประสานกันเป็นร่างกาย ซึ่งแต่ละอวัยวะจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ต้องมีการปรับตัวเพื่อรักษาดุลยภาพในร่างกายเพื่อให้ร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลอยู่เสมอ

ตอนที่ 2 รักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
สาระสำคัญ
          1. เมื่อพืชได้รับน้ำมากเกินความต้องการ พืชจะคายน้ำออกทางปากใบ และเมื่อพืชสูญเสียน้ำมาก ปากใบจะปิดเพื่อลดการคายน้ำควบคู่กับการดูดซับน้ำของรากเพื่อลำเลียงน้ำไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช
          2. หน่วยไตของคนทำหน้าที่ในการกรองของเสียในเลือดตรงบริเวณที่เรียกว่า โบว์แมนแคปซูล
          3. สารที่เป็นประโยชน์บางส่วนที่ถูกกรองผ่านโบว์แมนแคปซูลจะถูกดูดเข้าสู่กระแสเลือดอีกครั้งที่ท่อหน่วยไต
          4. ไตจะทำงานร่วมกับสมองส่วนไฮโพทาลามัสเพื่อรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย
          5. ร่างกายหายใจออกเพื่อกำจัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งทำให้ค่าความเป็นกรด-เบสในร่างกายสมดุล
          6. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น พารามีเซียมมีโครงสร้างภายในเซลล์ที่เรียกว่า คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล ซึ่งทำหน้า ที่กำจัดน้ำและของเสียต่าง ๆ ออกนอกเซลล์เพื่อรักษาสมดุลของสารภายในเซลล์
          7. ปัสสาวะของปลาน้ำจืดจะเจือจางมากเนื่องจากได้รับน้ำจากสภาพแวดล้อมในปริมาณมาก ส่วนการลำเลียงแร่ธาตุเข้าร่างกายต้องใช้การลำเลียงแบบใช้พลังงานเพราะสภาพแวดล้อมมีปริมาณแร่ธาตุน้อย
          8. ปัสสาวะของปลาทะเลจะเข้มข้นมากเนื่องจากต้องรักษาน้ำในร่างกายไม่ให้แพร่ออกสู่สภาพแวดล้อมส่วนการลำเลียงแร่ธาตุออกนอกร่างกายต้องใช้การลำเลียงแบบใช้พลังงานเพื่อกำจัดแร่ธาตุที่มีปริมาณมากเกินความต้องการของร่างกาย
          9. นกทะเลใช้ต่อมเกลือในการกำจัดเกลือและแร่ธาตุที่มีปริมาณเกินความต้องการของร่างกาย
          10. สมองส่วนไฮโพทาลามัสจะควบคุมดุลยภาพของน้ำและสารต่าง ๆ ในร่างกาย โดยการสั่งต่อมใต้สมองให้กระตุ้นหรือยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน ADH เพื่อควบคุมปริมาณน้ำและสารต่าง ๆ ให้อยู่ในภาวะสมดุล
          11. สัตว์เลือดอุ่นสามารถควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทำให้ร่างกายสามารถ ดำรงชีวิตอยู่ได้ตามปกติ
          12. สัตว์เลือดเย็นเป็นสัตว์ที่มีอุณหภูมิในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมได้ตลอดเวลา จึงทำ
ให้การทำงานของร่างกายไม่คงที่

Key word
          โบว์แมนแคปซูล : กระเปาะที่อยู่บริเวณปลายของท่อหน่วยไต
          โกลเมอรูลัส : กลุ่มของหลอดเลือดฝอยที่อยู่ภายในโบว์แมนแคปซูล
          เมแทบอลิซึม : กระบวนการที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ ประกอบด้วยกระบวนการสังเคราะห์พลังงานจากอาหาร และกระบวนการสลายเพื่อให้ได้พลังงาน
          ADH : ฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนท้าย
          การจำศีล : ภาวะหยุดนิ่งเพื่อถนอมพลังงานไว้

การรักษาดุลยภาพของน้ำในพืช
          พืชจะมีการคายน้ำออกทางปากใบ (stoma) โดยใช้ เซลล์คุม (guard cell) เป็นเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว 2 เซลล์ประกบกัน ทำหน้าที่ควบคุมการเปิด–ปิดของปากใบ เพื่อรักษาดุลภาพภายในเซลล์ไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากเกินไป

การรักษาดุลยภาพของน้ำและสารต่าง ๆ ในร่างกาย
          ร่างกายจำเป็นต้องรักษาสมดุลของน้ำและแร่ธาตุต่าง ๆ เพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ ซึ่งอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำและสารต่าง ๆ ในร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติ คือ ไต (kidney) ต่อจากไตทั้ง 2 ข้างมีท่อไต (ureter) ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำปัสสาวะจากไตไปเก็บไว้ชั่วคราวที่กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) ก่อนขับออกนอกร่างกายทางท่อปัสสาวะ (urethra)
          เมื่อผ่าไตตามยาว จะพบ กรวยไต (pelvis) ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำปัสสาวะต่อไปยังท่อไต ภายในเนื้อเยื่อของไตประกอบด้วยหน่วยเล็ก ๆ เรียกว่า หน่วยไต (nephron) ซึ่งมีประมาณข้างละ 1 ล้านหน่วย แต่ละหน่วยมีลักษณะเป็นท่อ ปลายข้างหนึ่งเป็นกระเปาะเรียกว่า โบว์แมนแคปซูล (Bowman’s capsule) ภายในกระเปาะมีกลุ่มหลอดเลือดฝอยเรียกว่า โกลเมอรูลัส (glomerulus) ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งเชื่อมต่อกับส่วนของท่อไต

          เมื่อน้ำเลือดไหลเข้าสู่ไต โกลเมอรูลัสซึ่งมีสมบัติเป็นเยื่อเลือกซึมผ่านจะทำหน้าที่กรองสารบางอย่างที่มีโมเลกุลขนาดเล็กออกจากน้ำเลือด จากนั้นสารที่กรองได้จะไหลจากหลอดเลือดเข้าสู่ท่อหน่วยไต โดยสารที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ น้ำ กลูโคส และกรดแอมิโนต่าง ๆ จะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่กระแสเลือดอีกครั้งหนึ่งที่บริเวณท่อหน่วยไตเพื่อนำไปใช้ต่อ ส่วนสารที่เป็นของเสีย ได้แก่ ยูเรีย กรดยูริก และสารพิษอื่น ๆ รวมทั้งน้ำบางส่วน จะถูกขับผ่านท่อหน่วยไตไปยังท่อปัสสาวะ และกำจัดออกในรูปของน้ำปัสสาวะ

          ไตสามารถกรองสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายกลับเข้าสู่กระแสเลือด และขับของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการ เช่น โซเดียมไอออน และคลอไรด์ไอออนที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึม (metabolism) ออกนอกร่างกาย กลไกควบคุมสมดุลของน้ำในเลือดของร่างกายจะทำงานร่วมกับสมองส่วนไฮโพทาลามัส (hypothalamus) เมื่อปริมาณน้ำในเลือดน้อย เลือดมีความเข้มข้นสูง ความดันเลือดจะลดต่ำลง ทำให้สมองส่วนไฮโพทาลามัสส่งกระแสประสาทไปกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนท้ายให้หลั่งฮอร์โมนวาโซเปรสซิน (vasopressin) หรือ ADH (antidiuretic hormone) เพื่อกระตุ้นท่อหน่วยไตให้ดูดน้ำกลับเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ปริมาณน้ำในเลือดสูงขึ้น และเมื่อปริมาณน้ำในเลือดสูงขึ้น เลือดจะเจือจางลง ความดันเลือดจะเพิ่มสูงขึ้น สมองส่วนไฮโพทาลามัสจะไปยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน ADH ให้หลั่งออกมาน้อยลง หน่วยไตจึงดูดน้ำกลับได้น้อยลง ปริมาณน้ำในร่างกายจึงอยู่ในภาวะสมดุล

การรักษาดุลยภาพของกรด–เบสในร่างกาย
          เอนไซม์เป็นตัวควบคุมปฏิกิริยาต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งอัตราการทำงานของเอนไซม์ขึ้นอยู่กับระดับความเป็นกรด-เบส หรือค่า pH ที่เหมาะสมกับชนิดของเอนไซม์นั้น ๆ เช่น การควบคุมความเป็นกรด-เบสที่อยู่ในเลือดเป็นกระบวนการนำออกซิเจนไปสลายสารอาหารแล้วให้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งถูกกำจัดออกนอกเซลล์โดยส่งเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อรวมตัวกับน้ำ (H2O) ในเลือดจะเกิดกรดคาร์บอนิก (H2CO3) จากนั้นจะแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน (H+) กับไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน (HCO3)

          เลือดที่มีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูง จะมีการสร้าง H+ ปริมาณมาก ค่าความเป็นกรดในเลือดจึงสูง ร่างกายจะปรับสมดุลโดยการส่งสัญญาณเพื่อกระตุ้นสมองส่วนเมดัลลาออบลองกาตา (medullaoblongata) ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อกะบังลมและซี่โครงให้ทำงานมากขึ้น ส่งผลให้มีการหายใจออกเพื่อกำจัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดลดต่ำลง ค่าความเป็นกรดในเลือดจึงลดลง เมื่อปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดต่ำลง สมองส่วนเมดัลลาออบลองกาตาจะไปยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อกะบังลมและซี่โครงให้ทำงานลดลง เพื่อทำให้ปริมาณแก๊สออกซิเจนในเลือดสูงขึ้น ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายจึงอยู่ในภาวะสมดุล
กลไกทางเคมีอื่น ๆ ของร่างกายที่ช่วยในการปรับสมดุลของกรด–เบสในร่างกาย เช่น เฮโมโกลบินสามารถรวมตัวกับไฮโดรเจนไอออนเพื่อป้องกันการลดลงของ pH ในกระแสเลือดได้

การรักษาดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุในสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
          สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ในน้ำ
                    อะมีบาและพารามีเซียมมีการปรับสมดุลของน้ำและแร่ธาตุภายในเซลล์ โดยใช้โครงสร้างภายในเซลล์ที่เรียกว่า คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล (contractile vacuole) ซึ่งทำหน้าที่กำจัดน้ำและของเสียต่าง ๆ ออกจากเซลล์ และป้องกันการเต่งของเซลล์จนอาจทำให้เซลล์แตกได้เมื่อน้ำแพร่เข้าสู่เซลล์
          ปลาน้ำจืด
                    มีวิธีการรักษาดุลยภาพของน้ำในร่างกาย โดยน้ำจะเข้าสู่ร่างกายโดยกระบวนการออสโมซิส เนื่องจากแหล่งน้ำมีความเข้มข้นของสารละลายต่ำกว่าในเซลล์ของปลาน้ำจืด น้ำจึงแพร่เข้าสู่เซลล์ของปลาตลอดเวลา จึงมีน้ำในร่างกายมากเกินความต้องการ ปลาจึงมีการควบคุมน้ำในร่างกาย โดยน้ำจะเข้าสู่ตัวปลาผ่านทางปาก ส่วนแร่ธาตุที่เข้าไปพร้อมกับน้ำจะผ่านไปยังบริเวณเหงือก และน้ำจะถูกขับออกเป็นปัสสาวะ

          ปลาทะเล
                    น้ำทะเลมีความเข้มข้นของสารละลายสูงกว่าน้ำจืด ปลาน้ำเค็มจึงมีการแพร่และการสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย ปลาทะเลจึงต้องควบคุมระดับน้ำในร่างกายเพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำ โดยบริเวณผิวหนังและเกล็ดทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำและแร่ธาตุซึมผ่านเข้าหรือออกจากร่างกาย และที่บริเวณเหงือกจะมีกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่ขับแร่ธาตุที่มากเกินความต้องการออกจากร่างกายโดยการลำเลียงแบบใช้พลังงาน นอกจากนี้อาหารที่มีแร่ธาตุ จะไม่มีการดูดเข้าสู่เซลล์ และถูกกำจัดออกทางทวารหนัก ส่วนน้ำถูกขับออกที่บริเวณไตในรูปปัสสาวะซึ่งมีความเข้มข้นสูง

          นกทะเล
                    นกจะใช้อวัยวะพิเศษที่อยู่บริเวณส่วนหัวที่เรียกว่า ต่อมเกลือ (salt gland) ทำหน้าที่ขับเกลือและแร่ธาตุต่าง ๆ ออกมาในรูปน้ำเกลือผ่านทางจมูก

การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิในร่างกาย
          อุณหภูมิจะส่งผลต่อการทำงานของเอนไซม์ในร่างกาย โดยอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติจะทำลายเอนไซม์ได้ และอุณหภูมิที่ต่ำเอนไซม์ก็จะทำงานได้ช้าลง ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง ร่างกายจะปรับดุลยภาพของอุณหภูมิในร่างกาย โดยการกระตุ้นสมองส่วนไฮโพทาลามัสให้ลดอัตราการเผาผลาญอาหารภายในเซลล์เพื่อลดอุณหภูมิของเลือด หลอดเลือดบริเวณผิวหนังจะขยายตัว ต่อมเหงื่อผลิตเหงื่อให้ระบายออกสู่สิ่งแวดล้อมมากขึ้น กล้ามเนื้อยึดเส้นขนบริเวณผิวหนังจะคลายตัว เส้นขนที่ผิวหนังจะเอนราบ ช่วยให้สามารถถ่ายเทความร้อนในร่างกายออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกได้มากขึ้น แต่หากร่างกายอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำ ร่างกายจะปรับสมดุลของอุณหภูมิในร่างกายโดยกระตุ้นให้สมองส่วนไฮโพทาลามัสเพิ่มอัตราการเผาผลาญภายในเซลล์ หลอดเลือดบริเวณผิวหนังจะหดตัว ต่อมเหงื่อหยุดการสร้างเหงื่อ กล้ามเนื้อยึดเส้นขนบริเวณผิวหนังหดตัว ดึงเส้นขนบริเวณผิวหนังให้ตั้งขึ้น เรียกว่า ขนลุก อากาศจะไม่ผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย ช่วยลดการถ่ายเทความร้อนในร่างกายออกสู่สิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น

          การรักษาอุณหภูมิของร่างกายในสัตว์เลือดอุ่น
                    สัตว์เลือดอุ่น (homoeothermic animal) เช่น สัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม รวมทั้งมนุษย์ เป็นสัตว์ที่สามารถควบคุมและรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในระดับที่ค่อนข้างคงที่ ในสภาพแวดล้อมบางแห่งที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสูง สัตว์ที่อาศัยบริเวณนั้นจึงต้องมีการปรับพฤติกรรมเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ในลักษณะที่แตกต่างกันตามโครงสร้างของร่างกายของสัตว์แต่ละชนิด เช่น เมื่ออากาศร้อนจัด สุนัขจะหอบและหลั่งน้ำลายเพื่อระบายความร้อน เป็นต้น
          การรักษาอุณหภูมิของร่างกายในสัตว์เลือดเย็น
                    สัตว์เลือดเย็น (poikilothermic animal) เช่น สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และสัตว์น้ำจำพวกปลา เป็นสัตว์ที่อุณหภูมิในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมได้ตลอดเวลา ดังนั้นในช่วงฤดูหนาว ปลาบางชนิดจะมีการย้ายถิ่นฐานไปในบริเวณมหาสมุทรที่มีกระแสน้ำอุ่น หรือกบและงูจะหยุดการกินอาหารและไม่เคลื่อนไหวเพื่อถนอมพลังงาน และซ่อนตัวอยู่ในรูใต้ดินเพื่อปรับอุณหภูมิในร่างกาย อัตราการหายใจและการเต้นของหัวใจก็จะลดลงเช่นกัน เรียกสภาพดังกล่าวนี้ว่า การจำศีล (estivation)

ที่มา สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th

SelectionFile type iconFile nameDescriptionSizeRevisionUser

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้