ข้อ ใด คือ ประเภท ของ สมมติฐาน การวิจัย

กระบวนการต่าง ๆ ภายใต้การวิจัยนับได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก สมมติฐานการวิจัยก็เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากเป็นการคาดการณ์ความสัมพันธ์หรือความแตกต่างของตัวแปรอย่างมีหลักการ ร่วมกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และประสบการณ์ที่จะช่วยให้ผู้ทำการวิจัยสามารถตอบคำถามในหัวข้อวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สมมติฐานการวิจัยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ถูกตั้งขึ้นชั่วคราว สำหรับเป็นแนวทางในการค้นคว้าเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ทำการวิจัยสามารถกำหนดขอบเขตการวิจัย เช่น วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล หรือการออกแบบสอบถาม เพื่อทดสอบสมมุติฐานการวิจัยได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น

ประเภทของสมมติฐาน

สมมติฐานการวิจัย คือ สมมติฐานที่อยู่ในลักษณะข้อความเฉพาะตัวที่สอดคล้องกับหัวข้อการวิจัย สมมติฐานการวิจัยเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญของการวิจัยตลาด เนื่องจากจะเป็นตัวกำหนดส่วนต่างๆ ภายในงานวิจัย ไม่ว่าจะเป็น การสุ่มตัวอย่าง ประเภทของแบบสอบถาม หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

สมมติฐานการวิจัยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ

  • สมมติฐานมีทิศทาง (Directional Hypothesis) : เป็นสมมติฐานที่มีการกำหนดความแตกต่าง หรือทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอย่างชัดเจน ซึ่งมักจะบอกในลักษณะมากกว่า น้อยกว่า สูงกว่า ต่ำกว่า เป็นต้น
  • สมมติฐานไม่มีทิศทาง (Non – Directional Hypothesis) : เป็นสมมติฐานที่ไม่มีการกำหนดความแตกต่าง หรือทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา ตัวอย่างเช่น แตกต่างกันหรือมีความสัมพันธ์กัน

สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)

สมมติฐานทางสถิติ คือ สมมติฐานที่มีรูปแบบของโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ มักจะเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนพารามิเตอร์และระเบียบวิธีทางสถิติ เนื่องจากเป็นรูปแบบที่นำมาทดสอบโดยใช้วิธีการทางสถิติ ที่จะช่วยทราบได้ว่าค่าสถิติที่นำมาวิเคราะห์นั้น ให้ผลยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานที่ได้ทำการกำหนดไว้ 

สมมติฐานทางสถิติสามารถแบ่งออกได้เป็น  2 รูปแบบ คือ

  • สมมติฐานไร้นัยสำคัญ (Null Hypothesis) : มักจะเขียนในรูปของสมการที่แสดงให้เห็นว่าไม่มีความแตกต่างหรือไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เช่น H0 : m1 = m2 
  • สมมติฐานทางเลือก (Alternative hypotheses) : เป็นสมมติฐานที่เขียนให้สอดคล้องกับสมมติฐานทางการวิจัย มักเขียนในรูปของสมการที่แสดงให้เห็นว่ามีความแตกต่างหรือมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เช่น H1 : m1 ≠ m2 (ไม่มีทิศทาง) หรือ  H1 : m1 > m2 (มีทิศทาง)

วิธีการตั้งสมมติฐานการวิจัย

การตั้งสมมติฐานงานวิจัยจะต้องมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับจุดมุ่งหมาย ซึ่งการตั้งสมมติฐานจะเป็นแบบมีทิศทางหรือไม่มีทิศทางก็ได้ ขึ้นอยู่กับจำนวนข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา เมื่อตั้งสมมติฐานทางการวิจัยเรียบร้อยแล้ว ผู้ทำการวิจัยจะต้องตั้งสมมติฐานทางสถิติ 2 รูปแบบ ทั้งแบบเป็นกลางและทางเลือกควบคู่กัน สมมติฐานแบบทางเลือกจะมีลักษณะสอดคล้องกับสมมติฐานทางการวิจัยที่ตั้งไว้เสมอ

แหล่งที่มาของสมมติฐานการวิจัย


แหล่งที่มาของสมมติฐานการวิจัยที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เช่น

  • ทฤษฎีและแนวคิดจากศาสตร์แต่ละแขนงที่ได้รับการยอมรับจากผู้คนโดยทั่วไป
  • ผลงานวิจัยที่เคยมีผู้ทำการวิจัยมาแล้ว
  • การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
  • การศึกษาจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ 
  • การสังเกตพฤติกรรม และความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ในการวิจัย

หลักการตั้งสมมติฐานการวิจัยที่ดี

สำหรับหลักการตั้งสมมติฐานการวิจัยที่ดี สามารถแบ่งคุณสมบัติออกได้เป็น 5 ข้อหลัก ๆ ได้แก่เป็นสมมติฐานการวิจัยที่รัดกุมเฉพาะเจาะจง มีขอบเขตที่ไม่กว้างหรือแคบเกินไป

  1. มีความสอดคล้องกับหัวข้อหรือจุดมุ่งหมายของการวิจัย
  2. สมเหตุสมผลตามทฤษฎีและความรู้พื้นฐานที่ผู้คนในปัจจุบันให้การยอมรับ
  3. เป็นสมมติฐานการวิจัยที่มีข้อมูลหรือหลักฐานที่จะนำมาสนับสนุน ซึ่งสามารถทำการทดสอบได้
  4. สมมติฐานการวิจัยแต่ละข้อควรตอบคำถามเพียงประเด็นเดียว

การตั้งสมมุติฐานการวิจัยมีความจำเป็นอย่างไร

สำหรับผู้ที่มีความสงสัยว่าการตั้งสมมุติฐานการวิจัยมีความจำเป็นอย่างไร สมมติฐานนับได้ว่าเป็นตัวกลางที่จะช่วยเชื่อมโยงระหว่างหัวข้อการวิจัยและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งความสำคัญของสมมติฐานการวิจัย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อที่สำคัญ ได้แก่

  1. สมมติฐานจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถกำหนดขอบเขตของการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการช่วยทำให้ประเด็นของปัญหาการวิจัยชัดเจนขึ้น เช่น รูปแบบการสำรวจ และมาตรวัดผลการวิจัย เป็นต้น
     
  2. เป็นตัวช่วยการออกแบบการวิจัยที่มีความเหมาะสมกับปัญหาเฉพาะทาง ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง และวิธีการรวบรวมข้อมูล ซึ่งในปัจจุบันแบบสอบถาม ออนไลน์ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
     
  3. สมมติฐานการวิจัยจะช่วยกำหนดขอบเขตในการศึกษาข้อมูล และความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ได้อย่างตรงจุด ทำให้ผู้ทำการวิจัยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน สามารถแก้ปัญหาการวิจัยได้ รวมถึงช่วยประหยัดเวลาได้เป็นอย่างมาก

ประโยชน์ในการตั้งสมมติฐานการวิจัย

การตั้งสมมติฐานการวิจัยมีประโยชน์ที่ครอบคลุมการทำวิจัยหลากหลายด้าน ดังนี้

  • ช่วยชี้แนวทางในการวางแผนรูปแบบของการวิจัย (Research Design) ที่เหมาะสม รวมถึงรายละเอียดที่จำเป็น เช่น กลุ่มตัวอย่าง รูปแบบการเก็บข้อมูล รวมถึงการเลือกใช้สถิติต่าง ๆ 
  • ช่วยจำกัดขอบเขตของการวิจัย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ทำการวิจัยทราบแนวทาง และมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยให้มองเห็นภาพของข้อมูลต่าง ๆ และความสัมพันธ์ของข้อมูลได้ดี ทำให้สามารถดำเนินการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • ช่วยให้ผู้ทำการวิจัยเกิดความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามได้อย่างแจ่มชัด

ตัวอย่างสมมติฐานการวิจัย

ตัวอย่างที่ 1

ปัญหาวิจัย

ปัญหาอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของธุรกิจโยเกิร์ตแบบถ้วย ที่มีแนวโน้มการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค เฉพาะกลุ่มในวัยรุ่นเพศหญิงธุรกิจต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องทำการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อหาตัวอย่างกลุ่มเป้าหมายอาหารที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตได้มากขึ้น

หัวข้อวิจัย

พฤติกรรมการบริโภคโยเกิร์ตแบบถ้วย กรณีศึกษาผู้บริโภคหญิงวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร

  • สมมติฐานที่ 1 ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคหญิงวัยรุ่นมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคโยเกิร์ตแบบถ้วย
  • สมมติฐานที่ 2 รูปแบบการส่งเสริมการขายมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคโยเกิร์ตแบบถ้วย

ตัวอย่างที่ 2

ปัญหาวิจัย

ปัญหาที่ธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทยต้องเผชิญความท้าทายในเรื่องภาวะการจับจ่ายใช้สอยและการรับประทานอาหารนอกบ้านของคนไทยที่ลดลง ส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น รวมถึงต้นทุนการจัดการร้านอาหารที่สูงขึ้นต่อเนื่อง และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

หัวข้อวิจัย

ประเภทของร้านอาหาร คุณภาพของอาหาร คุณภาพการบริการ และสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารสำหรับมื้อค่ำของประชากรในกรุงเทพมหานคร

  • สมมติฐานที่ 1 ประเภทของร้านอาหารที่แตกต่างกันส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารสำหรับมื้อค่ำของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน
  • สมมติฐานที่ 2 คุณภาพของอาหารส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารสำหรับมื้อค่ำของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
  • สมมติฐานที่ 3 คุณภาพการบริการส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารสำหรับมื้อค่ำของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
  • สมมติฐานที่ 4 สื่อสังคมออนไลน์ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารสำหรับมื้อค่ำของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

ตัวอย่างที่ 3

ปัญหาวิจัย

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับประทานอาหารในยุคปัจจุบันต้องการความรวดเร็ว และมีรูปแบบที่ง่ายต่อการใช้ชีวิตมากขึ้น รวมถึงการบริโภคอาหารนอกบ้านมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจร้านอาหารต่าง ๆ ต้องมีการจัดการร้านอาหารที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป

หัวข้อวิจัย

การตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารยกยอริมคลองจังหวัดสมุทรสาคร

  • สมมติฐานที่ 1 เพื่อสำรวจลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ใช้บริการร้านอาหารยกยอริมคลองจังหวัดสมุทรสาคร
  • สมมติฐานที่ 2 เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารยกยอริมคลองจังหวัดสมุทรสาคร
  • สมมติฐานที่ 3 เพื่อศึกษาการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารยกยอริมคลองจังหวัดสมุทรสาคร

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้