ข้อ ใด คือ พิกัดภูมิศาสตร์

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้

คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน

คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

มนุษย์นำ ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ มาใช้ในกำหนดและระบุตำแหน่งต่าง ๆ บนพื้นผิวทรงกลมของโลก โดยการอ้างอิงพิกัดที่เกิดจากค่าระยะเชิงมุมของละติจูด (Latitude) และลองจิจูด (Longitude)

ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate System) คือ ระบบอ้างอิง 3 มิติที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งมนุษย์นำมาใช้ในกำหนดและระบุตำแหน่งต่าง ๆ บนพื้นผิวทรงกลมของโลก โดยการอ้างอิงพิกัดที่เกิดจากค่าระยะเชิงมุมของละติจูด (Latitude) และลองจิจูด (Longitude) ซึ่งเคลื่อนออกห่างจากศูนย์กำเนิด (Origins) ที่กำหนดขึ้น

เส้นสมมติในระบบพิกัดภูมิศาสตร์

สำหรับศูนย์กำเนิดของละติจูด (Origin of Latitude) คือ เส้นสมมติในแนวระนาบที่ตัดผ่านศูนย์กลางของโลกพร้อมทั้งตั้งฉากไปกับแกนหมุนหรือที่เราเรียกกันว่า “เส้นศูนย์สูตร” (Equator) ขณะที่ศูนย์กำเนิดของลองจิจูด (Origin of Longitude) คือ เส้นสมมติในแนวตั้งที่ลากผ่านแกนหมุนของโลกตรงบริเวณหอสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ เมืองกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษ ซึ่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรหรือที่เราเรียกกันว่า “เส้นพรามเมริเดียน” (Prime Meridian) ซึ่งเป็นเส้นเมริเดียนเริ่มแรกที่แบ่งโลกออกเป็นซีกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออก

ตำแหน่งพิกัดของหอสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ เมืองกรีนิช

ดังนั้น ตำแหน่งที่เกิดขึ้นบนโลกตามระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์จึงมีหน่วยเป็นองศา ลิปดา และพิลิปดา พร้อมกับกำหนดอักษรที่ระบุทิศเหนือ-ใต้ (N/S) และตะวันตก-ตะวันออก (W/E) อย่างเช่น ละติจูดที่ 13 องศา 45 ลิปดา 5 ฟิลิปดา เหนือ (N) หรือ ลองจิจูดที่ 100 องศา 31 ลิปดา 5 ฟิลิปดา ตะวันออก (E) เป็นต้น

การระบุพิกัดบนโลก

เส้นละติจูดและลองจิจูดเป็นเส้นสมมติที่ถูกกำหนดขึ้น เพื่อนำมาใช้ในการระบุพิกัดบนพื้นผิวโลกซึ่งเป็นทรงกลม ดังนั้น เส้นสมมติที่เกิดขึ้นจึงมีลักษณะเป็นเส้นรอบวงที่เคลื่อนที่ไปรอบพื้นผิวโลก ทั้งเส้นที่วงรอบโลกในแนวนอนและเส้นที่วงเป็นครึ่งวงกลมในแนวตั้ง ดังนี้

  • เส้นละติจูด (Latitude) คือ เส้นสมมติที่วางตัวในแนวนอนตามพื้นผิวโลก แบ่งออกเป็นเส้นละติจูดที่อยู่บริเวณกึ่งกลางของโลกที่เรียกว่า “เส้นศูนย์สูตร” (Equator) และ “เส้นรุ้ง” หรือ “เส้นขนานเส้นละติจูด” (Parallels of Latitude) ที่วางตัวตามแนวนอนขนานกับเส้นศูนย์สูตรไปทางซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ โดยมีพิกัด (ต่ำสุด) คือ 0 องศา ณ เส้นศูนย์สูตรและมีพิกัด (สูงสุด) คือ 90 องศา ณ บริเวณขั้วโลกเหนือและใต้ นอกจากนี้ ทุก ๆ 1 องศาละติจูดหรือระยะห่างระหว่างเส้นละติจูด 1 องศาสามารถคิดเป็นระยะทางราว 111 กิโลเมตร (69 ไมล์) บนพื้นผิวโลก
  • เส้นลองจิจูด (Longitude) คือ เส้นสมมติที่วางตัวในแนวตั้งตามแกนหมุนของโลกซึ่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรหรือที่เรียกว่า “เส้นแวง” หรือ “เส้นเมริเดียน” (Meridian) โดยมีเส้นสมมติหลัก คือ เส้นที่ตัดผ่านหอสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ เมืองกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษ นับเป็นเส้นลองจิจูดที่ 0 องศา ซึ่งแบ่งโลกออกเป็นซีกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออก โดยพิกัดของเส้นจากเมืองกรีนิชไปทางด้านข้างจึงมีค่าพิกัดสูงสุดที่ 180 องศาตะวันตกหรือ 180 องศาตะวันออก นอกจากนี้ เส้นที่ 180 ซึ่งทับกันพอดียังถูกเรียกว่า “เส้นเขตวัน” (International Line) หรือเส้นแบ่งเขตวันระหว่างชาติที่เป็นเส้นของการกำหนดจุดเริ่มต้นของวันใหม่และจุดสิ้นสุดของวันเก่าอีกด้วย

พิกัดทางภูมิศาสตร์และการกำหนดเวลามาตรฐาน   

การแบ่งเขตวันและเวลาของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกนั้นอาศัยเส้นเมริเดียนหรือลองจิจูดในการกำหนดวันและเวลาของแต่ละพื้นที่ โดยมีเส้นพรามเมริเดียนที่ลากผ่านเมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ เป็นจุดอ้างอิงหลักที่ 0 องศาและจากการที่โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ (มุม 360 องศา) ใช้เวลา 24 ชั่วโมง ส่งผลให้ทุก 1 ชั่วโมง โลกสามารถหมุนไปได้ 15 องศาลองจิจูดหรือราว 1 องศาลองจิจูดในทุก 4 นาที

หอดูดาว เมืองกรีนิช

จากการกำหนดศูนย์กำหนดของลองจิจูด ณ เมืองกรีนิช เวลาท้องถิ่นของเมืองกรีนิชจึงถูกเรียกว่า “เวลาปานกลางกรีนิช” (Greenwich Mean Time : GMT) หรือเวลาสากล (Universal Time : UT) ตามข้อตกลงในปี ค.ศ. 1884 ส่งผลให้ประเทศที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองกรีนิชหรือเส้นลองจิจูดที่ 0 องศา จะมีเวลาช้ากว่าเวลาของเมืองกรีนิชและในทางกลับกันประเทศที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองกรีนิชจะมีเวลาเร็วกว่าเวลาสากล ดังนั้น หากอ้างอิงตามเส้นเมริเดียน เมืองแต่ละเมือง อย่างเช่น กรุงเทพมหานครและอุบลราชธานีจะมีการกำหนดเวลาที่แตกต่างกันออกไปเล็กน้อย ซึ่งสร้างความยุ่งยากและความสับสนงงงวยยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการตั้ง “เวลามาตรฐาน” (Standard Time) เพื่อกำหนดให้ในบริเวณใกล้เคียงกันนั้นมีเวลาเทียบเท่ากันทั้งหมด ซึ่งการแบ่งเขตพื้นที่ตามเส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือสู่ขั้วโลกใต้จะทำการแบ่งเป็นเขตละ 15 องศาลองจิจูดหรือเทียบเท่าเวลา 1 ชั่วโมง โดยอาศัยเส้นเมริเดียนกลางของเขตดังกล่าวเป็นหลัก เช่น ลองจิจูดที่ 0 องศา 15 องศา และ 30 องศา เป็นต้น โดยที่พื้นที่ซึ่งครอบคลุมอยู่ภายในระยะห่างไม่เกิน 7 องศา 30 ลิปดาทั้งสองข้างของเส้นเมริเดียนกลางจะนับเป็นพื้นที่ซึ่งอยู่ในเขตเวลาเดียวกัน (Time Zone) หรือมี “เวลาท้องถิ่น” (Local Time) เท่ากันนั่นเอง

แผนที่เขตเวลาของโลก

ดังนั้น ประเทศที่มีขนาดใหญ่และครอบคลุมพื้นที่เป็นอาณาบริเวณกว้างจึงมีหลายเขตเวลาภายในประเทศของตน อย่างเช่น รัสเซียที่มีมากถึง 11 เขตเวลา หรือ สหรัฐอเมริกาที่มี 6 เขตเวลา แต่อย่างไรก็ตาม เขตเวลาบางเขตถูกกำหนดขึ้นเพื่อง่ายต่อการสื่อสาร ดังนั้น ในบางรัฐ ประเทศ หรือเขตการปกครองอื่น ๆ จะมีการกำหนดเขตเวลาซึ่งไม่ตรงตามเส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือลงสู่ขั้วโลกใต้อย่างสมบูรณ์

ข้อใดคือพิกัดภูมิศาสตร์ *

พิกัดภูมิศาสตร์ (อังกฤษ: geographic coordinate system) คือสิ่งที่บอกให้เราทราบถึงตำแหน่งของสถานที่ต่าง ๆ บนผิวโลก โดยยึดตามระบบพิกัดทรงกลม (spherical coordinate system) ชาวบาบิโลเนียเป็นผู้คิดแนวคิดพิกัดภูมิศาสตร์ขึ้น ต่อมาโตเลมี นักปราชญ์ชาวกรีกเป็นผู้ปรับปรุงแนวคิดนี้อีกครั้ง โดยให้หนึ่งวงกลมมีมุม 360 องศา

ข้อใดคือพิกัดทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย

ที่ตั้งของประเทศไทยหรือราชอาณาจักรไทยอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย พิกัดประเทศไทย ทางภูมิศาสตร์มีตำแหน่งที่ละติจูด 5 องศา 37 ลิปดาเหนือ ถึง 20 องศา 28 ลิปดาเหนือ นั่นทำให้พื้นที่ของเราตั้งอยู่บนเขตร้อน ตลอดทั้งปีจะมีอุณหภูมิสูง มีตำแหน่งลองจิจูดที่ 97 องศา 21 ลิปดาตะวันออก ถึง 105 องศา 37 ...

ค่าพิกัดมีกี่ประเภท

ระบบพิกัดที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบพิกัดภูมิศาสตร์และ ระบบ UTM (Universal Transverse Mercator) 3.1. ระบบพิกัดภูมิศาสตร์(Geographic Coordinate System : GCS) 3.2 ระบบพิกัดกริด UTM (Universal Transvers Mercator co-ordinate.

พิกัดภูมิศาสตร์ดูยังไง

ดูพิกัดของสถานที่.
เปิด Google Maps ในคอมพิวเตอร์.
คลิกขวาตรงสถานที่หรือพื้นที่ในแผนที่ ซึ่งจะเป็นการเปิดหน้าต่างป๊อปอัป คุณจะเห็นละติจูดและลองจิจูดในรูปแบบทศนิยมแสดงอยู่ที่ด้านบน.
หากต้องการคัดลอกพิกัดโดยอัตโนมัติ ให้คลิกซ้ายที่ละติจูดและลองจิจูด.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้