ข้อใดเป็น “บ่อเกิด” ของกฎหมาย

แบ่งได้สองรูปแบบหลัก คือ ระบบ Civil Law หรือที่เรียกว่า ระบบประมวลกฎหมาย หรือระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ใช้ในประเทศต่าง ๆ ดังนี้ ได้แก่ ไทย เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เป็นต้น ระบบ Common Law หรือที่เรียกว่า ระบบเองโกลอเมริกัน หรือระบบกฎหมายจารีตประเพณี หรือระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ใช้ใประเทศต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ได้แก่ อังกฤษ อเมริกา แคนาดา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น

ข้อแตกต่างระหว่างระบบ Civil Law และ ระบบ Common Law[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. ทัศนคติ ต่อกฎหมายลายลักษณ์อักษร
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • นักกฎหมาย Civil Law เห็นว่าเป็นระบบเหตุผลที่ถูกต้องและเป็นกฎหมายทั่วไป
  • นักกฎหมาย Common Law เห็นว่าเป็นกฎหมายที่ยกเว้นจากหลักทั่วไป (หลักทั่วไป คือ คำพิพากษาบรรทัดฐาน)

2. ทัศนคติ ต่อคำพิพากษา
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ระบบ Civil Law เห็นว่าเป็นเพียงคำอธิบายในการใช้ตัวบทกฎหมายในการปรับใช้แก่คดีไม่ใช่บ่อเกิดแห่งกฎกมาย และไม่ใช้ตัวบทกฎหมาย ดังนั้น คำพิพากษาใหม่อาจจะตัดสินเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเดิม โดยวา

หลักเกณฑ์หรือให้เหตุผลเสียใหม่ได้

  • ระบบ Common Law เห็นว่าคำพิพากษาของศาลเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย ดังนั้นคำพิพากษาต่อ ๆ มาในกรณีอย่างเดียวกันย่อมต้องตัดสินตามแนวคำพิพากษาก่อน ๆ นั้นเสมอ

3. ทัศนคติ ต่อขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และศีลธรรม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • นักกฎหมาย Civil Law เห็นว่ากฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่อยู่เคียงคู่กับจารีตประเพณี และถือว่ากฎหมายเป็นสิ่งค้ำจุลศีลธรรมด้วย
  • นักกฎหมาย Common Law มีความโน้มเอียงที่จะเห็นว่าทั้งจารีตประเพณีและศีลธรรมเป็นคนละเรื่องกัน ไม่เกี่ยวกับกฎหมายลายลักษณ์อักษร

4. การใช้การตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษร
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ระบบ Civil Law  นักกฎหมายอาจตีความกฎหมายโดยนัยต่าง ๆ ได้ โดยพิจารณาตามเหตุผลในบทกฎหมายนั้น ๆ
  • ระบบ Common Law กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ถูกตราขึ้นโดยรัฐสภานั้นเป็น "การตีความตามตัวอักษร" ซึ่งเป็นวิธีการตีความในระบบ Common Law โดยเฉพาะ และกฎหมายลายลักษณ์อักษรจะถูกนำมาใช้โดวิธีการเทียบเคียง (Analogy) ไม่ได้

5. วิธีบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษร
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ระบบ Civil Law โดยหลักนั้นจะบัญญัติกฎหมายที่มีลักษณะเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไป (บททั่วไป) โดยจะใช้เทคนิคในการบัญญัติเพื่อให้ครอบคลุมในกรณีปัญหาและเปิดโอกาสให้ผู้ใช้กฎหมายมีดุลยพินิจในการใช้กฎหมายนั้นให้เหมาะสมกับความเป็นธรรมในแต่ละคดี แต่ในบางบทมาตราหากไม่วางหลักเกณฑ์ทั่วไปได้อย่างสมบูรณ์ ก็จะบััญญติเป็นรายละเอียด
  • ระบบ Common Law วิธีการบัญญัตินั้นต้องเขียนให้แน่นอนชัดเจนและละเอียด ดังนั้น สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับตัวบทในประมวลกฎหมาย เมื่ออ่านกฎหมายลายลักษณ์อักษรของประเทศในระบบ Common Law จึงรู้สึกว่ากฎหมายเขียนละเอียดมากจนเกินความจำเป็น มีลักษณืคล้ายสัญญามากกว่าที่จะเป็นตัวบทกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อผูกมัดให้ผู้ตีความได้ใช้กฎหมายตามที่ฝ่ายนิติบัญญัติต้องการ

"ที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมายมหาชน" รองศาสตราจารย์สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ...

Posted by sittikorn saksang on Tuesday, July 14, 2020

                  คำว่า ที่มาของกฎหมาย นักกฎหมายหลายท่านให้ความหมายไว้แตกต่างกัน บางท่านหมายถึงแหล่งที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมาย บางท่านหมายความถึงแหล่งที่จะค้นพบกฎหมาย หรือบางท่านอาจหมายความถึงศาลหรือผู้ที่จะนำกฎหมายไปปรับใช้กับคดีที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่านักกฎหมายจะมีความเห็นแตกต่างกันออกไป แต่ที่มาของกฎหมายโดยทั่วไปแล้วมีความใกล้เคียงกัน โดยพิจารณาถึงที่มาของกฎหมายหลักสองระบบคือ ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร และระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

ที่มาของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร

                   1. กฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นระบบที่สืบทอดมาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งให้ความสำคัญกับตัวบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยถูกต้องตามกระบวนการบัญญัติกฎหมาย ดังนั้นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ก็คือกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจมีหลายลักษณะด้วยกัน เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เป็นต้น

                    2. จารีตประเพณี ในบางครั้งการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร จะให้ครอบคลุมทุกเรื่องเป็นไปได้ยาก จึงต้องมีการนำเอาจารีตประเพณี มาบัญญัติใช้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรด้วย เช่น การชกมวยบนเวที ถ้าเป็นไปอย่างถูกต้องตามกติกา ถึงแม้ว่าคู่ต่อสู้จะบาดเจ็บหรือเสียชีวิตก็ไม่มีความผิด หรือแพทย์ที่ตัดแขนตัดขาคนไข้โดยที่คนไข้ยินยอมก็ไม่มีความผิด เป็นต้น เท่าที่ผ่านมายังไม่มีการฟ้องร้องคดีเรื่องเหล่านี้เลย ซึ่งคงจะเป็นเพราะจารีตประเพณีที่รู้กันโดยทั่วไปว่าเป็นเสมือนกฎหมาย

                    3. หลักกฎหมายทั่วไป ในบางครั้งถึงแม้จะมีกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายจารีตประเพณี มาใช้พิจารณาตัดสินความแล้วก็ตาม แต่ก็อาจไม่เพียงพอครอบคลุมได้ทุกเรื่อง จึงต้องมีการนำเอาหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งประเทศอื่น ๆ ที่มีความก้าวหน้าทางกฎหมาย ได้ยอมรับกฎหมายนั้นแล้ว มาปรับใช้ในการพิจารณาตัดสินคดีความด้วย เช่น หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้รับโอน โจทย์พิสูจน์ไม่ได้ต้องปล่อยตัวจำเลย คดีอย่างเดียวกันต้องพิพากษาตัดสินเหมือนกัน ฯลฯ เป็นต้น

ที่มาของกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

                    1.จารีตประเพณี ถือว่าเป็นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เนื่องจากกฎหมายระบบนี้เกิดจากการนำเอาจารีตประเพณี ซึ่งคนในสังคมยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมานาน มาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ

                    2.กฎหมายลายลักษณ์อักษร ในสมัยต่อ ๆ มาบ้านเมืองเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว การที่จะรอให้จารีตประเพณีเกิดขึ้นย่อมไม่ทันกาล บางครั้งจึงจำเป็นต้องสร้างกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมาใช้ด้วย

                    3.คำพิพากษาของศาล จารีตประเพณีใดที่ถูกนำมาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความแล้ว ก็จะกลายเป็นคำพิพากษาของศาล ซึ่งคำพิพากษาบางเรื่องอาจถูกนำไปใช้เป็นหลัก หรือเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาตัดสินคดีความต่อ ๆ ไป คำพิพากษาของศาลจึงเป็นที่มาอีกประการหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

                    4.ความเห็นของนักนิติศาสตร์ ระบบกฎหายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ยังยอมรับความเห็นของนักนิติศาสตร์มาใช้เป็นหลักในการตัดสินคดีความด้วย เพราะนักนิติศาสตร์เป็นผู้ที่ศึกษากฎหมายอยู่เสมอ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความคิด มีเหตุผล ความเห็นของนักนิติศาสตร์ที่มีชื่อเสสียงและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ย่อมมีน้ำหนักพอที่จะนำไปใช้อ้างอิงในการพิจารณาตัดสินความได้

5 .หลักความยุติธรรมหรือมโนธรรมของผู้พิพากษา ในระยะหลังที่บ้านเมืองเจริญขึ้นสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป การใช้จารีตประเพณีและคำพิพากษาก่อน ๆ มาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความอาจไม่ยุติธรรม จึงเกิดศาลระบบใหม่ขึ้น ซึ่งศาลระบบนี้จะไม่ผูกมัดกับจารีตประเพณีหรือคำพิพากษาของศาลเดิม แต่จะยึดหลักความยุติธรรมและให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณี ซึ่งเรียกว่ามโนธรรมของผู้พิพากษา(Squity) ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

บ่อเกิดของกฎหมายมีกี่ประเภท

บ่อเกิดของกฎหมาย จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ บ่อเกิดที่เป็นลายลักษณ์อักษรและบ่อ เกิดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร การทําให้บรรทัดฐานทางกฎหมายเป็นกฎหมาย ต้องพิจารณา จากเนื้อหาของกฎเกณฑ์ด้วยว่าสมควรจะผ่านบ่อเกิดชนิดใด เช่น เรื่องผู้ขับขี่รถยนต์ใน ลักษณะที่อาจจะเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของประชาชนผู้นั้นอาจถูกเพิกถอน ใบอนุญาตขับขี่ ...

ที่มาของกฎหมายลายลักษณ์อักษรมีอะไรบ้าง

ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นระบบกฎหมายที่มีต้นกำเนิดมาจากกฎหมายโรมัน คำว่ากฎหมายโรมัน หมายถึง กฎหมายที่ใช้ในมหาอาณาจักรโรมัน (Roman Empire) ซึ่งประกอบ ด้วยกฎหมายสำคัญได้แก่ กฎหมายสิบสองโต๊ะ กฎหมายชาวโรมัน (Jus Civile) กฎหมายชนต่างชาติ (Jus Gentium) และตัวบทกฎหมายอื่นของมหาอาณาจักรโรมัน ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าจักรพรรดิ ...

จุดกำเนิดของกฎหมายมหาชนมาจากแหล่งใดบ้าง

1.) จารีตประเพณี จารีตประเพณีที่ ตามหลักกฎหมายมหาชน เช่น จารีตประเพณีพระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ทรงอยู่เหนือการเมือง เป็นต้น 2.) คำพิพากษาของศาล ที่ศาลนำมาอ้างอิงในการวินิจฉัยคดี เช่นคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด หรือ คำพิพากษาศาลฎีกา เป็นต้น

ข้อใดเป็น “บ่อเกิด” ของกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษรมาจากอะไร

ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ระบบกฎหมายจารีตประเพณี ที่มาของกฎหมายในระบบนี้ที่สำคัญคือ จารีตประเพณี เนื่องจากประเทศอังกฤษเป็นต้นกำเนิดของระบบกฎหมายนี้ได้ยึดถือจารีตประเพณีเป็นหลักในการตัดสินคดี ครั้นเมื่อตัดสินคดีไปแล้วย่อมกลายเป็นคําพิพากษา ก็นำคำพิพากษานั้นมาใช้เป็นกฎหมาย ขณะเดียวกันความ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้