พุทธสุภาษิตที่ว่า กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด

๓ . กัมมวรรค คือ หมวดกรรม.

๓๘. กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย.
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือให้ทรามและประณีต.
ม . อุป. ๑๔/ ๓๘๕.

๓๙ . ยงฺกิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ น ตํ โหติ มหปฺผลํ.
การงานอะไร ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก.
นัย - สํ. ส. ๑๕/ ๖๘.

๔๐ . สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ.
กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคติ.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๔๗.

๔๑ . สุกรํ สาธุนา สาธุ.
ความดี อันคนดีทำง่าย.
วิ . จุล. ๗/ ๑๙๕. ขุ. อุ. ๒๕/ ๑๖๗.

๔๒ . สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ.
ความดี อันคนชั่วทำยาก.
วิ . จุล. ๗/ ๑๙๕. ขุ. อุ. ๒๕/ ๑๖๗.

๔๓ . อกตํ ทุกฺกฏํ เสยฺโย.
ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า.
สํ . ส. ๑๕/ ๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๖.

๔๔ . ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกฏํ.

ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง.
สํ . ส. ๑๕/ ๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๖.

๔๕ . กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย.
ความดี ทำนั่นแล ดีกว่า.
สํ . ส. ๑๕/ ๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/ ๕๖.

๔๖ . น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ.
ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี.
สํ . ส. ๑๕/ ๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๓.

๔๗ . ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ.
ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นแลเป็นดี.
สํ . ส. ๑๕/ ๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/ ๒๓.

๔๘ . สุกรานิ อสาธูนิ อตฺตโน อหิตานิ จ.
การที่ไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๓๗.

๔๙ . ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ ตํ เว ปรมทุกฺกรํ.
การใดแลเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย การนั้นแลทำได้ยากยิ่ง.
ขุ . ธ. ๒๕/ ๓๗.

๕๐ . น หิ ตํ สุลภํ โหติ สุขํ ทุกฺกฏการินา.
สุขไม่เป็นผลอันคนทำชั่วจะได้ง่ายเลย .
สํ . ส. ๑๕/ ๑๐๔.

๕๑. กลฺยาณการี กลฺยาณํ. ปาปการี จ ปาปกํ.
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว.
สํ . ส. ๑๕/ ๓๓๓. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/ ๘๔.

๕๒ . กมฺมุนา วตฺตี โลโก.
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม .
ม . ม. ๑๓/ ๖๔๘. ขุ. สุ. ๒๕/ ๔๕๗.

๕๕ . ปฏิกจฺเจว ตํ กยิรา ยํ ชญฺ า หิตมตฺตโน.
รู้ว่าการใดเป็นประโยชน์แก่ตน พึงรีบทำการนั้นเทียว.
สํ. ส. ๑๕/ ๘๑.

๕๖ . กยิรา เจ กยิราเถนํ.
ถ้าจะทำ ก็พึงทำการนั้น ( จริง ๆ).
สํ. ส. ๑๕/ ๖๗. ขุ. ธ. ๒๕๑๕๖.

๕๗ . กเรยฺย วากฺยํ อนุกมฺปกานํ.
ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/ ๒๗๒.

๖๐. กิจฺจานุกุพฺพสฺส กเรยฺย กิจฺจํ.
พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/ ๘๔.

๖๑ . นานตฺถกามสฺส กเรยฺย อตฺถํ.
ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/ ๘๔.

อติสีตํ อติอุณฺหํ อติสายมิทํ อหุ
อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺเถ อจฺเจนฺติ มาณเว.
ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน
ด้วยอ้างว่าหนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว.
( พุทฺธ) ที. ปาฏิ. ๑๑/ ๑๙๙.

อถ ปาปานิ กมฺมานิ กรํ พาโล น พุชฺฌติ
เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ.
เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก
เขาเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๓.

ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ
กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ.
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น
ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว.
( พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/ ๓๓๓.

โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ กตตฺโถ นาวพุชฺฌติ
อตฺถา ตสฺส ปลุชฺชนฺติ เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา.
ผู้ใดอันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน
แต่ไม่รู้สึก ( คุณของเขา), ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมฉิบหาย.
( ทฬฺหธมฺมโพธิสตฺต) ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/ ๒๒๘.

โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ กตตฺโถ มนุพุชฺฌติ
อตฺถา ตสฺส ปวฑฺฒนฺติ เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา.
ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน
ย่อมสำนึก ( คุณของเขา) ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ.
( ทฬฺหธมฺมโพธิสตฺต) ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/ ๒๒๘.

โย ปุพฺเพ กรณียานิ ปจฺฉา โส กาตุมิจฺฉติ
วรุณกฏฺฐํ ภญฺโชว ส ปจฺฉา อนุตปฺปติ.
ผู้ใด ปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อน ในภายหลัง
ผู้นั้น ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง ดุจมาณพ ( ผู้ประมาทแล้วรับ)
หักไม้กุ่ม ฉะนั้น.
( โพธิสตฺต) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/ ๒๓.

สเจ ปุพฺเพกตเหตุ สุขทุกขํ นิคจฺฉติ
โปราณกํ กตํ ปาปํ ตเมโส มุญฺจเต อิณํ.
ถ้าประสพสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ
ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น.
( โพธิสตฺต) ขุ. ชา. ปญฺ าส. ๒๘/ ๒๕.

สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน วิหึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส น ลภเต สุขํ.
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมไม่ได้สุข.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๒.

สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน น หึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส ลภเต สุขํ.
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข.
( พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๒.

อุฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ
สุสํวิหิตกมฺมนฺโต ส ราชวสตึ วเส.
ผู้หมั่นในการงาน ไม่ประมาท เป็นผู้รอบคอบ
จัดการงานเรียบร้อย. จึงควรอยู่ในราชการ.
( พุทฺธ ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/ ๓๓๙.

ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา น นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย.
ถ้าคนพึงทำบาป ก็ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อย ๆ
ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น
เพราะการสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้.
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๐.

โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ กตตฺโถ นาวพุชฺฌติ
ปจฺฉา กิจฺเจ สมุปฺปนฺเน กตฺตารํ นาธิคจฺฉติ.
ผู้อื่นทำความดีให้ ทำประโยชน์ให้ก่อน
แต่ไม่สำนึกถึง( บุญคุณ ) เมื่อมีกิจเกิดขึ้นภายหลัง
จะหาผู้ช่วยทำไม่ได้.
( โพธิสตฺต ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/ ๒๙.

สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน
อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา น หเนยฺย น ฆาตเย.
สัตว์ทั้งปวง หวาดต่ออาญา ล้วนกลัวต่อความตาย
ควรทำตนให้เป็นอุปมาแล้ว ไม่ฆ่าเขาเอง ไม่พึงให้ผู้อื่นฆ่า ( ผู้อื่น ).
( พุทฺธ ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๒.

พุทธศาสนสุภาษิต “กลฺยาณการี กลฺยาณํปาปการี จ ปาปกํ” สอนให้มีความเข้าใจในเรื่องอะไร

แปลว่า – ผู้ทำกรรมดีย่อมได้ดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้ชั่ว หรือที่พูดกันสั้นๆ ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นพุทธภาษิตแสดงหลักกรรมในพระพุทธศาสนา

ลักษณะที่สําคัญที่สุดของพุทธศาสนสุภาษิตคือข้อใด

พุทธศาสนสุภาษิต คือ หลักคาสอนทางพระพุทธศาสนา ที่มีเนื้อหาสาระมี ประโยชน์ที่ควรน ามาปฏิบัติ ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว และเหล่าพระสาวกก็ได้กล่าวไว้ เช่นกัน เป็นถ้อยค าที่กล่าวไว้ดี มีคติเตือนใจ เป็นคาถาหรือข้อความสั้นๆ ยังไม่ได้อธิบาย ขยายความ ซึ่งส่วนมากจะเขียนและอ่านเป็นแบบภาษาบาลี

พุทธสุภาษิตที่ว่า “กมฺมุนา วตฺตตี โลโก” มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด

"กมฺมุนา วตฺตตี โลโก" "สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม" อธิบายว่า มนุษย์เรานี้มีการกระทำเกิดขึ้น อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าทำดี ทำชั่ว หรือ พอปานกลาง ด้วยกาย วาจา ใจ ทำกรรมด้วยกาย ท่านว่า "กายกรรม" ทำกรรมด้วยวาจา ท่านว่า "วจีกรรม" ทำกรรมด้วยใจ ท่านว่า "มโนกรรม"

พุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า ปูชโก ลภเต ปูชํ วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ มีความหมายตรงกับข้อใด

ปูชโก ลภเต ปูชํวนฺทโก ปฏิวนฺทนํ ผู้บูชาเขา ย่อมได้รับการบูชาตอบ ผู้ไหว้เขา ย่อมได้รับการไหว้ตอบ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้