ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชาเสื่อมลง

อาณาจักรขอมโบราณ มีความเชื่อเรื่องสิ่งเร้นลับในธรรมชาติ เช่น ผีสางนางไม้ และรุกขเทวดา เป็นต้น อันเรียกโดยภาพรวมว่า "วิญญาณนิยม" (Animism) ต่อมาเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับชนชาติอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเดีย ก็ได้รับเอาความเชื่อของศาสนาอื่นเข้ามาด้วย ที่สำคัญได้แก่ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พุทธศาสนามหายาน และพุทธศาสนาเถรวาทตามลำดับ แต่ในที่สุดพุทธศาสนาเถรวาทก็ได้รับชัยชนะในสังคมกัมพูชา ทำให้ชาวกัมพูชาส่วนใหญ่ (กว่าร้อยละ 90) นับถือพุทธศาสนาเถรวาทตราบกระทั่งปัจจุบัน

คติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีอิทธิพลต่ออาณาจักรขอมมาช้านาน ทั้งในเรื่องของศาสนา การปกครอง ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนพิธีกรรมต่างๆ ต่อมาเมื่อประมาณสามศตวรรษก่อน คริสตศักราช พุทธศาสนามหายาน (เข้ามาในสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2) และพุทธศาสนาเถรวาท (เข้ามาในสมัยพระเจ้าทเรนวรมันที่ 2) ก็ได้เผยแผ่มาถึงดินแดนสุวรรณภูมิ และมีอิทธิพลต่ออาณาจักรขอมเพิ่มขึ้นตามลำดับ

ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาณาจักรขอมนับถือทั้งพุทธศาสนามหายาน และเถรวาท (ซึ่งรับมาจากอาณาจักรทวารวดี) งานที่สำคัญของพระองค์ก็คือการสร้าง "นครธม" ซึ่งมี "วิหารบายน" เป็นศูนย์กลางตามคติความเชื่อของพุทธศาสนามหายาน ต่อมาพระเจ้าอินทรวรมันที่ 3 ทรงให้การสนับสนุนพุทธศาสนาเถรวาท จนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันพาราเมศวร ทรงโปรดให้มีการจารึกสรรเสริญพระเจ้าแผ่นดินด้วยภาษาบาลี (แทนที่จะเป็นภาษาสันสกฤตดังในอดีต) แสดงให้เห็นว่าอาณาจักรขอมได้เปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาเถรวาทโดยสมบูรณ์

พุทธศาสนากับการปกครองในอดีต

ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผู้ทรงเลื่อมใสพุทธศาสนามหายานและหลักการของพระโพธิสัตว์ ทรงพิจารณาว่า ความทุกข์ที่กล่าวไว้ในพุทธศาสนามิได้หมายเพียงความทุกข์ทางใจเท่านั้น แต่ยังหมายรวมความทุกข์ทางกายอีกด้วย พระองค์จึงทรงเร่งสร้างถนนหนทาง วัด ที่พักคนเดินทาง สระน้ำ และโรงพยาบาล (โรคยาศาลา) เพื่อขจัดความทุกข์ของทวยราษฎร์ นับว่าพระองค์ทรงเป็นนักปฏิวัติสังคม ผู้ทรงนำหลักการ "ธรรมราชา" ในพุทธศาสนามาใช้แทน "เทวราชา" ตามคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ในปี ค.ศ.1186 พระองค์ทรงสร้าง "ปราสาทตาพรม" เพื่อเป็นที่ประดิษฐานภาพสลักศิลาของพระมารดา (พระนางศรีชัยราชจุฑามณี) ในรูปของ "พระโพธิสัตว์ปรัชญาปารมิตา" อันเป็นสัญลักษณ์ของปัญญา และ "ปราสาทชัยศรี" เพื่อเป็นที่ประดิษฐานภาพสลักศิลาของพระบิดา (พระเจ้าธรณันทรวรมัน) ในรูปของ "พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร" อันเป็นสัญลักษณ์ของกรุณา ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนามหายาน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิกายวัชรยาน) ที่ว่า "การสมรสระหว่างปัญญากับกรุณาทำให้เกิดการตรัสรู้" นับตั้งแต่สมัยของพระองค์เป็นต้นมา อาณาจักรกัมพูชาได้พลิกโฉมกลายมาเป็นอาณาจักรแห่งพุทธศาสนาโดยแท้

พุทธศาสนากับการเมืองสมัยใหม่

ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 พุทธศาสนาเถรวาทได้กลายเป็นศาสนาของชาวกัมพูชาส่วนใหญ่ หลังจากที่กัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส พุทธศาสนาก็ได้เข้ามามีบทบาทต่อการเมืองของกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950 เป็นต้นมา

สีหนุกับพุทธสังคมนิยม

เจ้านโรดมสีหนุนำเสนอ "พุทธสังคมนิยม" (Buddhist Socialism) ในลักษณะที่แตกต่างไปจากแนวคิด "สังคมนิยม" ของทั้งตะวันตกและตะวันออก พุทธสังคมนิยมของพระองค์ตั้งอยู่บนฐานคิดของพุทธศาสนาและโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรมกัมพูชา โดยการเน้นหลักความเสมอภาค ความเป็นอยู่ที่ดีของคนยากจน และเอกลักษณ์ของชาติ พระองค์ทรงย้ำว่าความเป็นกลางทางการเมืองระหว่างประเทศของกัมพูชา มาจากหลัก "ทางสายกลาง" ในพุทธศาสนา

ตามทรรศนะของพุทธศาสนา ผู้ปกครองจะต้องปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความเมตตากรุณาและเที่ยงธรรม หลักการนี้ขัดแย้งกับลัทธิมาร์กซิสม์ (Marxism) ที่เรียกร้องให้ประชาชนโค่นล้มรัฐบาลและสถาปนาระบอบ "เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ" ขึ้น พุทธสังคมนิยมยังไม่เห็นด้วยกับการปฏิเสธทรัพย์สินส่วนบุคคลของสังคมนิยมมาร์กซิสม์ โดยเจ้าสีหนุกล่าวว่าเศรษฐีจะถูกชักชวนให้ทำทานแก่คนยากจนมากกว่าจะถูกยึดทรัพย์ไปเป็นสมบัติของส่วนรวม

เจ้านโรดมสีหนุถูกนายพลลอนนอล (Lon Nol) กระทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.1970 และต่อมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ลอนนอลได้ประกาศให้กัมพูชาเป็นสาธารณรัฐ

พุทธศาสนากับการเมืองยุคลอนนอล

ชนชั้นปกครองของสาธารณรัฐกัมพูชาได้สัญญากับประชาชนว่า จะยกย่องพุทธศาสนาให้เป็นศาสนาประจำชาติ และจะเคารพขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวกัมพูชา บทบาททางศาสนาที่เคยปฏิบัติโดยพระมหากษัตริย์จะถูกแทนที่โดยประธานาธิบดี และเพื่อเป็นหลักประกันแก่ประชาชน มีการจารึกบนอนุสาวรีย์สาธารณรัฐหน้าพระราชวังว่า

"พุทธศาสนาสอนให้เราซื่อสัตย์ ปฏิเสธความเห็นแก่ตัว และส่งเสริมการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เหนือสิ่งอื่นใดพุทธศาสนาคือสัญลักษณ์ของเสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพ ความก้าวหน้า และความสมบูรณ์พูนสุข"

ลอนนอลได้เรียกร้องให้ประชาชนออกมาต่อต้านคอมมิวนิสต์เขมรแดงและเวียดนาม โดยให้เหตุผลเป็นคำขวัญว่า "ถ้าคอมมิวนิสต์มา พุทธศาสนาจะหมดสิ้นไป"

พุทธศาสนาภายใต้เขมรแดง

สงครามกลางเมืองสิ้นสุดลงในเดือนเมษายน ค.ศ.1975 ด้วยชัยชนะของเขมรแดง รัฐบาลเขมรแดงปกครองประเทศอย่างเข้มงวด และเปลี่ยนแปลงสังคมกัมพูชาอย่างถึงรากถึงโคน รัฐธรรมนูญคอมมิวนิสต์ได้ถูกประกาศใช้โดยกล่าวถึงเสรีภาพทางศาสนาในมาตรา 20 ว่า "พลเมืองกัมพูชาทุกคนมีสิทธิที่จะนับถือศาสนาหรือไม่นับถือศาสนาก็ได้ ศาสนาปฏิกิริยาซึ่งขัดขวางกัมพูชาประชาธิปไตยและประชาชนเป็นสิ่งต้องห้าม"

ภายใต้รัฐบาลเขมรแดง พุทธศาสนาต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงทั้งในด้านคำสอน คณะสงฆ์ และวัด พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าถูกตีความให้รับใช้การปฏิวัติ พระสงฆ์ต้องเข้ารับการศึกษาใหม่ และต้องใช้แรงงานเช่นเดียวกับฆราวาสทั้งในท้องนา การก่อสร้างถนนและเขื่อน มีการทำลายวัดวาอารามและพระพุทธรูป มีการเผาคัมภีร์และตำราทางศาสนา ภายในระยะเวลาเพียงสี่ปีพุทธศาสนาเกือบสูญสิ้นไปจากประเทศ

พุทธศาสนาภายใต้ระบอบเฮงสัมริน

การยึดครองกรุงพนมเปญของกองทัพเวียดนามเมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.1979 ทำให้การปกครองของเขมรแดงสิ้นสุดลง ระบอบเฮงสัมริน (Heng Samrin) ได้ถูกสถาปนาขึ้นภายใต้การควบคุมของเวียดนาม รัฐบาลใหม่ได้ฟื้นฟูพุทธศาสนาในระดับหนึ่ง โดยซ่อมแซมวัดและพระพุทธรูปจำนวนหนึ่ง รวมทั้งอนุญาตให้ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปบวชเป็นพระภิกษุได้ แทนที่จะตำหนิพุทธศาสนาว่าเป็นฝิ่นของประชาชนดังเช่นเขมรแดง เฮงสัมริน กลับยกย่องพุทธศาสนาว่าเป็นพลังทางศีลธรรมที่สำคัญในการสร้างสังคมใหม่ โดยกล่าวว่า

"พุทธศาสนาสอนเราให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นประชาธิปไตยและเป็นเอกภาพ โดยคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน พุทธศาสนาสอนเราให้รู้จักช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น อันสอดคล้องกับสังคมมนุษย์ที่ต้องการสันติภาพและสันติสุข"

เฮงสัมริน ได้ใช้พุทธศาสนาและคณะสงฆ์กัมพูชา เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการต่อสู้กับเขมรแดง ภายใต้ระบอบเฮงสัมริน แม้พระสงฆ์จะมิได้ถูกมองว่าเป็นกาฝากของสังคม และเป็นผู้ยังประโยชน์แก่ประเทศ แต่คณะสงฆ์ก็ถูกควบคุมจากรัฐบาลอย่างใกล้ชิด โดยต้องเข้ารับการอบรมลัทธิคอมมิวนิสต์จากเวียดนามและโซเวียต นิกายธรรมยุตและมหานิกายของกัมพูชาถูกยุบรวมเป็นหนึ่งเดียว และพระสงฆ์ต้องตีความพุทธศาสนาให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ

พุทธศาสนากับสังคมกัมพูชาปัจจุบัน

เมื่อรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตยถูกจัดตั้งขึ้นโดยมีนายกรัฐมนตรีซอนซาน (Son Sann) เป็นผู้นำนั้น ซอนซานเชื่อมั่นว่า พุทธศาสนาอันเป็นรากฐานวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวกัมพูชา จะเป็นพลังอันสำคัญในการรวมชาติกัมพูชาให้เป็นหนึ่งเดียว รัฐบาลซอนซานจึงสนับสนุนการฟื้นฟูพุทธศาสนาเถรวาทในรูปแบบดั้งเดิมของกัมพูชาขึ้นมาใหม่

ภายใต้รัฐบาลปัจจุบันของสมเด็จฮุนเซน (Hun Sen) สถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ โดยเจ้านโรดมสีหโมลี (พระโอรสของเจ้านโรดมสีหนุ) ทรงเป็นกษัตริย์องค์ปัจจุบัน พุทธศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีได้รับการส่งเสริมสนับสนุน พร้อมกับระบอบประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค สำหรับชาวกัมพูชาแล้วพุทธศาสนาและเอกลักษณ์ความเป็นกัมพูชาคือสิ่งเดียวกัน เป็นการยากที่จะจินตนาการว่า ชาวกัมพูชาจะสามารถอยู่ภายใต้ระบอบการเมืองที่มีอุดมการณ์เป็นปฏิปักษ์กับพุทธศาสนาได้

---

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน. ฉบับประจำวันอาทิตย์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ปีที่ ๒๙ ฉบับที่ ๑๐๔๗๓. คอลัมน์หน้าต่างความจริง, หน้า ๖.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้