ข้อใดไม่ใช่ โปรแกรมที่ใช้สร้าง cms

วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งของผมที่ได้มีโอกาสพักผ่อน และใช้เวลาว่างให้กับตัวเองมากยิ่งขึ้น แต่กระนั้นแล้วก็ยังไม่วายที่จะหาข้อมูลต่างๆ เพื่อเอาไว้ใช้อำนวยความสะดวกให้กับการทำงานของผมในเวลาทำงานครั้งต่อๆไป

โดยข้อมูลที่ว่านั้นก็จะมีอยู่หลายประเภทด้วยกันคือ ข้อมูลเกี่ยวกับการทำ Internet Marketing และข้อมูลใหม่ๆที่ใช้ในการอ้างอิง หรือจัดทำแอพพลิเคชั่นบนเว็บไซต์ ส่วนใหญ่นั้นข้อมูลที่ได้นี้ ผมจะศึกษาและหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ซึ่งผมมองว่าเนื้อหาหรือข้อมูลของเว็บไซต์ต่างประเทศนั้นมีความน่าเชื่อถือได้สูงมากกว่าข้อมูลที่อยู่บนเว็บไซต์ในประเทศไทยเราเอง เนื่องจากว่าถ้าเพื่อนๆลองสังเกตหลายๆเว็บไซต์ของต่างประเทศ เขาจะมีการวิเคราะห์วิจัยและตั้งสมมติฐานจาก นั้นเขาจะทำการทดลองด้วยข้อมูลต่างๆที่เขามี และสุดท้ายก็ยังมีผลสรุปให้เราได้อ่านการเป็นตัวอย่าง และเพื่อนำไปใช้ในการอ้างอิงหากเรามีแนวคิดคล้ายๆกับพวกเขาเหล่านั้นได้อีกด้วย

เอาล่ะครับนอกเรื่องไปซะนาน มาเข้าเรื่องหรือประเด็นของบทความนี้กันดีกว่า ซึ่งในบทความนี้ผมจะมาอธิบายเกี่ยวกับ cms ว่า cms มันคืออะไร จริงๆแล้วผมเชื่อว่าเพื่อนๆหลายท่านคงจะรู้จัก cms หรือ Content management System กันดีอยู่แล้ว ว่าความหมายของมันคืออะไร แต่สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่รู้จักกับ CMS วันนี้เรามาทำความรู้จักกับมันกันดีกว่าครับ

CMS หรือ Content management System นั้นก็คือระบบจัดการข้อมูลทางด้านเนื้อหาของหน้าเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้กระทั่งวีดีโอต่างๆโดยผู้ใช้ cms นี้ไม่จำเป็นที่จะต้องมีความรู้หรือความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนหรือพัฒนาเว็บไซต์อย่างใดทั้งสิ้น เพียงแค่เรารู้จักการใช้คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตแค่นั้น ก็ถือได้ว่ามีความเพียงพอต่อการใช้ CMS แล้ว

ข้อดีของ CMS คือมันจะช่วยให้เราสร้างหน้าเว็บเพจได้อย่างดายเพียงปลายนิ้ว เพียงแค่เรา คลิ๊ก ลากและวาง หรือใส่ข้อมูลตามที่เราต้องการแค่นั้น เราก็สามารถที่จะทำเว็บไซต์ง่ายๆเป็นของเราเองได้แล้ว ซึ่งปัจจุบันนี้ CMS จะมีให้เราได้ใช้ทั้งแบบฟรีและเสียค่าใช้จ่าย ในส่วนของ cms ที่เสียค่าใช้จ่ายนั้นผมจะไม่ขอลงรายละเอียดมากนัก เพราะคิดว่าเพื่อนๆบางท่านอาจจะยังไม่ค่อยให้ความสนใจ แต่ผมจะมาโฟกัสในเรื่องของ cms แบบที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อมาติดตั้งเพื่อใช้งานกันดีกว่า

ข้อดีของ CMS

  1. ผู้ใช้ระบบ cms นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการเขียนโปรแกรมเชิง Web Application ก็ได้
  2. สะดวกต่อการจัดการข้อมูลและเผยแพร่ข้อมูลในโลกออนไลน์เพียงไม่กี่ชั่วโมงเจ้าก็สามารถมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองออนไลน์ได้แล้ว
  3. ช่วยลดระยะเวลาในการจัดทำเว็บไซต์ซึ่งบางท่านจะเห็นว่าเว็บส่วนใหญ่นั้นจะเป็น cms ซะเป็นส่วนใหญ่ซึ่งในปัจจุบันนี้ผู้คนให้ความสนใจกับ css มากยิ่งขึ้นเพราะมันสามารถช่วยลดระยะเวลาในการทำเว็บไซต์ได้และเขาเหล่านั้นต้องการนำเวลาในการทำงานในส่วนที่เหลือไปใช้ในการโปรโมทเว็บไซต์หรือทำในเรื่องของ Internet Marketing แทน

เราควรใช้ CMS ในการจัดทำเว็บไซต์หรือไม่

อันนี้ผมคงตอบเพื่อนๆไม่ได้เนื่องจากว่าความจริงนั้นเว็บไซต์จะมีอยู่ด้วยกันหลายประเภทซึ่งถ้าเว็บไซต์ส่วนตัวหรือเป็นเว็บไซต์ง่ายๆไม่เน้นอะไรมากมายแล้วล่ะก็เราสามารถที่จะใช้ cms มาช่วยลดระยะเวลาในการจัดทำเว็บไซต์ให้กับเราได้แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราต้องการทำเว็บไซต์สำหรับโปรโมทสินค้าหรือข้อมูลบริษัทของเราผมแนะนำว่าให้ท่านเลือกใช้ cms ที่มีคุณภาพสูงใช้งานได้ง่ายหรือถ้าเป็นไปได้ให้ท่านเลือกใช้บริการกลับผู้ที่รับจัดทำเว็บไซต์จะดีกว่าเพราะมันจะช่วยให้ท่านลดระยะเวลาในการจัดทำเว็บไซต์ลงไปได้เยอะเลยทีเดียวครับ

ใช้ CMS ตัวไหนดีล่ะเนี่ย

เอาล่ะครับทีนี้ผมจะมาแนะนำ CMS ประเภทต่างๆให้เพื่อนๆได้รู้จักกันว่ามี cms ตัวไหนบ้างที่หน้าใช้งานโดย cms ที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้จะเป็น cms ที่คิดว่าเพื่อนๆหลายท่านคงจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่ผมคิดว่าอาจจะมีบางตัวที่เพื่อนๆหลายท่านยังไม่รู้จัก มาแนะนำให้รู้จักกันในวันนี้ครับ

1 – WordPress wordpress นี้จะเป็น cms ยอดนิยมตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้ cms ตัวนี้จะมีผู้ใช้งานอยู่ค่อนข้างมาก ทั้งในบ้านเราและต่างประเทศ ข้อดีของ wordpress ก็คือโครงสร้างพื้นฐานของระบบนั้นจะเป็น cms เต็มรูปแบบ สามารถปรับแต่งข้อมูลต่างๆได้เอง แม้ว่าผู้ที่ปรับแต่งนั้นจะไม่มีความรู้ในเรื่องการจัดทำเว็บไซต์เลยก็ตาม แต่ข้อเสียตั้งแต่สมัยพระเจ้าเหาที่ผมไม่ชอบเลยคือ มันโหลดช้าครับ เว็บไซต์มีไม่กี่บทความมันเล่นโหลด 5-10 วินาที เผลอๆถ้าลงพวก plugins หรือ template ห่วยๆนี่ชีวิต wordpress เราจบทันทีเลยครับ(อันนี้มือใหม่ต้องระวังนิดหนึ่งนะจ๊ะ) และปัญหาอื่นๆอีกนับไม่ถ้วน หลังๆมานี่ผมเลิกใช้เลย กลับไปเลี้ยงควายที่ทุ่งนายังจะสนุกกว่าทำเว็บด้วย wordpress (แต่แปลกว่าทำไมบล็อกแห่งนี้มันเป็น wordpress? คำตอบก็มันฟรีไง ตะเอง!!)

wordpress นั้นจะมีหลายๆอย่างที่ค่อนข้างครอบคลุมเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลของเว็บไซต์ เราสามารถดาวน์โหลด wordpress มาติดตั้งที่เว็บไซต์หรือโฮสติ้งของเราได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จากนั้นเราก็จะทำการปรับแต่งข้อมูลต่างๆได้ตามความพอใจได้เลยในทันที อีกทั้งเรายังสามารถดาวน์โหลด plugins, template หรือ Extension อื่นๆมาช่วยเสริมระบบ cms ใน wordpress ของเราได้เรียกได้ว่า wordpress นี้มีความยืดหยุ่นอยู่พอสมควรถ้าเทียบกับ cms ตัวอื่นๆที่ผมจะแนะนำต่อไป ถ้าเพื่อนๆคนไหนชอบทำเว็บไซต์ แบบง่ายๆ ไม่ต้องมีอะไรมากมาย wordpress ตอบโจทย์แน่นอนครับ

2 – Joomla Joomla นี้จะเป็น cms ยอดนิยมอีกตัวหนึ่งไม่แพ้กับ wordpress ซึ่งเราสามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งที่ hosting ของเราได้ฟรีเหมือนกับ wordpress อีกทั้งเรายังสามารถ Download Extension component หรือปลั๊กอินต่างๆมาติดตั้งเสริมเหมือนกับ wordpress ได้เลยในทันที อีกทั้ง Joomla นี้ยังรองรับการติดตั้งหรือปรับแต่ง template ได้อีกด้วย(ผมเห็นเว็บไซต์พวก อบต. วัด สำนักสงฆ์ หรือหน่วยงานรัฐของไทยเราใช้กันเยอะมาก ไม่รู้ทำไม)

3 – Drupal drupal นี้จะเป็น cms ที่ยอดนิยมอีกตัวหนึ่งที่ผมชอบใช้เหมือนกัน เนื่องจากว่ามันสามารถสเกลไปสู่ระบบ cms ในขั้น advance ได้ง่ายไม่เหมือนกับ wordpress หรือ joomla ซึ่ง 2 ตัวหลังนี่ถ้าจะเอากันจริงๆในระดับ enterprise นี่ผมว่าคงไม่เหมาะสมสักเท่าไหร่ เนื่องจากว่าออปชั่น และฟังก์ชั่นโดยรวมนั้นไม่ค่อยยืดหยุ่นหรือพัฒนาเพิ่มเติมเท่าใดนัก ทั้งในเรื่องความช้าแบบควายเคี้ยวหญ้าของ wordpress และรูให้เจาะกันแบบสนุกสนานของ joomla โดย 2 ตัวหลังนี่ผมไม่ค่อยจะนำมาใช้ทำเว็บไซต์แบบจริงๆจังสักทีเนื่องด้วยเหตุผลหลายประการครับ แต่ถ้าจะทำเว็บง่ายๆโง่ๆ ขึ้นมาสักเว็บในระยะเวลาที่มีอยู่จำกัดเพียงไม่กี่ชั่วโมงแล้วล่ะก็ wordpress กับ joomla นี่โคตรโดนเลยครับ ขอบอก แต่ยังไงก็แล้วแต่ในระดับ business หรือ enterprise ผมแนะนำให้ใช้ drupal นะครับจะได้ไม่เป็นภาระของลูกหลานในอนาคต

4 – PHP-Nuke ตัวนี้จะเป็น cms อีกตัวหนึ่งที่มี blogger ต่างประเทศใช้กันหลายเว็บไซต์อยู่เหมือนกัน เนื่องจากว่าระบบโดยรวมนั้นค่อนข้างใช้งานง่าย อีกทั้งยังสามารถรองรับภาษาไทยได้ด้วย แต่ในบ้านเรายังไม่ค่อยเป็นที่นิยมสักเท่าไหร่ เพราะในระดับลึกๆแล้วยังถือว่า user ยังเข้าถึงได้ยาก อีกทั้งออปชั่นต่างๆยังน้อยกว่าถ้าเทียบกับ wordpress, joomla, drupal ครับ แต่ถ้าเพื่อนๆท่านไหนเป็นนักพัฒนาระบบ cms และอยากดาวน์โหลดระบบ cms ที่มีระบบง่ายๆมาทดสอบเพื่อพัฒนาต่อล่ะก็ PHP-Nuke นี่เหมาะสมมากครับ

5 – Subrion เจ้า subrion นี้เพิ่งเกิดใหม่ครับ ผมชอบในเรื่องของการดีไซน์ระบบแอดมิน cms ตัวนี้มาก เพราะจะออกแบบในลักษณะ UNIX-UI ครับ ใช้งานง่ายคล้ายๆกับ wordpress เลย ผมยังไม่เคยลองติดตั้งเพื่อใช้งานจริงๆนะครับ แต่โดยรวมแล้วออปชั่นต่างๆถือว่าทำออกมาได้ดีเยี่ยมเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น plugins, extensions, templates และส่วนอื่นๆ แบบว่าเอาอยู่ครับ แต่เสียอย่างเดียวระบบแอดมินยังไม่มีภาษาไทยให้ใช้ครับ สำหรับมือใหม่ที่ยังงงกับภาษาอังกฤษนี่คงต้องใช้เวลาสักพัก แต่ไม่ยากครับ ลองดู

6 – TEXTPATTERN cmsตัวนี้จะมาในแนวเรียบง่ายครับ แต่มีความยืดหยุ่นด้านการใช้งานและพัฒนาต่ออยู่พอสมควร แต่ข้อเสียคือยังมีคนใช้น้อย เพราะยังไม่มีคนพัฒนาพวก template, plugins หรือ extension มาเสียบเข้าระบบเหมือนกับ wordpress, joomla หรือ drupal

7 – CONCRETE5 cms ตัวนี้เป็นอีกตัวหนึ่งที่ผมเคยเอามาทดสอบเพื่อจะพัฒนาต่อ เพราะว่าระบบโดยรวมทำได้ยืดหยุ่นมาก และง่ายต่อการพัฒนาต่อยอด เพราะโครงสร้างนั้นจะไม่เหมือนกับ wordpress หรือ joomla หรือ drupal เพราะ CONCRETE5 นี้จะมาในแนวของ framework เลยซึ่งผู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อที่มีความชำนาญในเรื่องของ framework เป็นทุนเดิมอยู่แล้วนี่ง่ายเลยครับกับ CONCRETE5

Last Moment

เป็นไงกับบ้างล่ะครับ สำหรับ CMS ยอดนิยม(สำหรับคนทั่วไป) สำหรับผมนั้นไม่ว่าจะเป็นตัวไหนก็ไม่แตกต่างครับ มันอยู่ที่ว่าเราจะทำอะไร ด้วยอะไร และเพื่ออะไรมากกว่า บางครั้งง่ายไปก็ไม่ดี ยากเกินไปก็ดูน่าปวดหัว ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องดูความเหมาะสมทั้งในระยะสั้นและยาวของเราด้วยนะครับ ว่าเหมาะสมกับ CMS หรือไม่หรือตัวไหน ถ้ามือใหม่ เล่นไปเหอะ wordpress ขี้หมูขี้หมาก็เอาอยู่(ประมาณว่าเข้าร้านอาหารแล้วนึกอะไรไม่ออก เฮ้ยน้อง ขอเป็นกระเพราไก่ไข่ดาวแล้วกัน ง่ายดี), business หรือ enterprise หน่อยก็ drupal ครับ แต่ถ้าสำหรับ developer อย่างผมล่ะก็ ผมเขียนเองครับ สนุกกว่าใช้ของคนอื่นเยอะเลย

โปรแกรมที่ใช้งานในรูปแบบ CMS มีอะไรบ้าง

ข้อดีของการสร้างเว็บไซต์ด้วย CMS.
ใช้งานง่าย ... .
ประหยัดเวลา ... .
มีเครื่องมือที่ครบครัน ... .
WordPress. ... .
HubSpot CMS Hub. ... .
Joomla. ... .
Adobe Commerce. ... .

โปรแกรมข้อใดถูกจัดอยู่ในประเภท CMS

CMS คือ software ที่มีผู้พัฒนามาจากภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในเว็บไซต์ เช่น PHP , Python , ASP , JSP ซึ่งในปัจจุบันมีคนใจดีพัฒนา CMS ฟรีขึ้นมามากมายอย่าง เช่น Mambo , Joomla , Wordpress.

CMS มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ อะไรบ้าง

CMS ประเภท เว็บบอร์ด ได้แก่ SMF, phpBB (ปัจจุบันจะไม่ค่อยได้พบเห็นแล้ว เนื่องจากความนิยมของ Social Media) CMS ประเภท E-Learning เช่น Moodle, Sakai. CMS ประเภท E-Commerce แบบมีตะกร้าขายของอย่าง Shopee, Lazada เช่น Magento, VirtueMart, osCommerce, phpShop.

โปรแกรม CMS ส่วนใหญ่ถูกพัฒนาด้วยภาษาใด

CMS หมายถึง โปรแกรมทาง Computer ที่ถูกใช้งานอยู่บน Web Server โดยพัฒนามาจากภาษาทางคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กัน อาทิเช่น PHP, ASP หรือ JPS แต่ที่นิยมกันมากที่สุดก็คือ PHP.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้