ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้ฟังที่ดี

การฟังเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อชีวิตของบุคคลทั่วไป เราจึงควรทราบลักษณะของผู้ฟังที่ดี ซึ่งมีดังนี้
    1 มีสมาธิในการฟัง การมีสมาธิเป็นสิ่งจำเป็นมากในการฟัง ผู้ฟังต้องตัดความวิตกหรือความกังวลใจต่าง ๆ ออกจากจิตใจให้หมด ฉะนั้นทุกครั้งที่ฟังเรื่องใดก็ตาม ผู้ฟังต้องหมั่นฝึกความมีสมาธิให้แก่ตนเองพยายามพุ่งความสนใจไปในเรื่องที่ตนกำลังฟังนั้น
    2 ตั้งจุดมุ่งหมายในการฟัง ในการฟังแต่ละครั้งผู้ฟังควรตั้งจุดมุ่งหมายไว้ว่าจะฟังเพื่ออะไร เช่น ฟังเพื่อจับใจความสำคัญ ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน เป็นต้น การฟังอย่างไร้จุดหมายย่อมเสียเวลาในการฟัง
    3 วิเคราะห์เจตนาของผู้พูด คือ ต้องรู้จักวิเคราะห์เจตนาของผู้พูด ว่า ผู้พูดมีความประสงค์อย่างไร มีสิ่งใดแอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ในเรื่องที่พูดหรือไม่
    4 สนใจและจับประเด็นสำคัญเรื่องที่ฟังให้ได้ คือขณะฟังต้องรู้จักใช้สติปัญญาวิเคราะห์ดูว่า ผู้พูดกำลังพูดเรื่องอะไร ให้สาระ ประโยชน์อะไรบ้าง เรื่องที่ฟังนั้นมีประเด็นสำคัญอย่างไร แล้วพยายามสรุปความคิดรวบยอดให้ได้
    5 ต้องวางใจเป็นกลางไม่มีอคติใด ๆ ต่อผู้พูด การมีอคติและการจับผิดผู้พูดย่อมมีผลเสียมากกว่าได้ ควรหลีกเลี่ยงการจับผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การแต่งกาย การพูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในบางคำ ฯลฯ เพราะจะทำให้ผู้ฟังเกิดรู้สึกว่าเรื่องที่กำลังฟังนั้นเป็นเรื่องที่น่าตำหนิ ควรสร้างเจตคติที่ดีต่อผู้พูดเสมอ การทำใจได้เช่นนี้ จะทำให้บรรยากาศการฟังเป็นไปอย่างราบรื่นและเข้าใจดี
    6 ฟังด้วยความอดทนและตั้งใจฟัง ต้องอดทนและตั้งใจฟังตั้งแต่ต้นจนจบ การฟังอย่างครึ่ง ๆ กลาง ๆ หรือฟังเพียงบางตอนย่อมทำให้ไม่สามารถเข้าใจเนื้อเรื่องได้สมบูรณ์
    7 ฟังอย่างสำรวม ให้เกียรติผู้พูด และมีมารยาทอันดีงาม นับเป็นคุณสมบัติของผู้ฟังที่ดี การรู้ว่าสิ่งใดควรไม่ควร เช่น การลุกเดินเข้าออก การทำเสียงเอะอะนับเป็นกิริยาที่ไม่เหมาะสม ถือว่าไม่ให้เกียรติ และเป็นการเสียมารยาทอย่างยิ่ง แสดงความคิดเห็นก็ควรทำภายหลัง
    8 ใช้ศิลปะในการฟัง ผู้ฟังที่ดีไม่ควรฟังอย่างเดียว ควรใช้ไหวพริบในบางโอกาส เพื่อช่วยให้ผู้พูดสามารถถ่ายทอดความรู้ ความคิดของตนไปสู่จุดหมายปลายทาง ตามที่ผู้ฟังต้องการโดยการใช้คำถามที่ได้ จากการเชื่อถือผู้ฟังต้องการ
    9 ขณะฟังควรบันทึกสิ่งสำคัญ หากสงสัย หากซัก ให้เหมาะสม
   10 หลักการฟัง ผู้ฟังบันทึกว่า เรื่องราวต่าง ๆ ที่ฟังไปนั้นตรงกับข้อจริง และมีเหตุผลน่าเชื่อถือเพียงใด มีสิ่งใดจะนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ได้หรือไม่ และรู้จักนำความรู้หรือข้อคิดต่าง ๆ ที่ได้จากการฟังไปใช้ประโยชน์ ตามโอกาสอันสมควร

คยสังเกตหรือไม่ว่าหลายครั้งที่เรากำลังฟังคนอื่น เราตั้งใจฟังจริง ๆ หรือเปล่า หรือเราแค่เงียบเพื่อรอให้อีกฝั่งพูดจบ เพื่อเราจะได้พูดต่อ การฟังถือจึงเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับการทำงานร่วมกันเป็นทีม และการฟังที่ดีนอกจากจะทำให้ผู้ฟังได้รับไอเดียใหม่ ๆ แล้ว ยังทำให้ผู้พูดกล้าแสดงไอเดีย ความคิดออกมา ทั้งนี้เพื่อช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานดีดีให้กับองค์กร ถ้าอย่างนั้นผู้ฟังที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร?

//open.spotify.com/episode/6LyuMPQnpUNw5lFhpRLint

การฟังเป็นผู้ฟังที่ดี มันดีอย่างไร?

แน่นอนว่าการเป็นผู้ฟังเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว เพราะคุณเป็นผู้รับ บางทีสิ่งที่ได้รับอาจเป็นสิ่งที่ดีหรือร้าย เช่น ไอเดียที่น้อง ๆ เสนอมาอาจเป็นไอเดียที่ดีหรือไม่ดีเลยก็ได้ ซึ่งอันนี้เราไม่มีทางรู้ ดังนั้นเราควรฟังอย่างเปิดใจ เพราะอาจจะมีไอเดียดี ๆ หลงเข้ามาบ้างก็ได้ ซึ่งไอเดียดี แหวกแนว และไม่คาดคิดแบบนี้จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ อยู่ที่ว่าคุณเป็นผู้ฟังที่ดีหรือเปล่า

ผู้ฟังที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

1. ผู้ฟังที่ดีต้องเปิดใจ

สมมติเวลาน้อง ๆ เสนอไอเดียมาแต่คุณไม่เปิดใจ มีอคติ รู้สึกว่าน้องคนนี้นำเสนอไอเดียมาแต่ละครั้ง ไม่ได้เรื่องทุกครั้งเลย ครั้งนี้ก็คงไม่ได้เรื่องอีกเหมือนเดิม แบบนี้แปลว่าคุณไม่เปิดใจ ดังนั้นไอเดียดี ๆ ที่ผ่านเข้ามามันก็อาจจะกลายเป็นไอเดียที่ไม่ดีในสายตาของคุณก็ได้

2. ผู้ฟังที่ดีต้องมี Interaction กับผู้พูด

การเป็นผู้ฟังที่ดีไม่ใช่แค่นั่งเงียบ การตอบสนองต่อสิ่งที่คุณได้ยิน เช่น การพยักหน้า มองตา ยิ้มให้ หัวเราะให้ถูกจังหวะ หรือแม้แต่การเปล่งเสียง “อือ เอ้อ อ่อ เห็นด้วย” นั้นเป็นสิ่งที่ดี ทำให้คนพูดได้เห็นว่าคุณกำลังฟังเขาอย่างตั้งใจ การที่คุณนั่งนิ่ง ๆ เป็นตอไม้ในห้องประชุมอาจไม่เข้าท่าสักเท่าไหร่

3. ผู้ฟังที่ดีต้องระงับสิ่งที่รบกวนการฟัง

เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ถ้าสิ่งที่เขากำลังพูดอยู่ไม่จำเป็นต้องใช้โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ ให้ปิดมันลงไปซะ การที่คุณหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเป็นการไม่เคารพคนพูด และบางครั้งทำให้คนพูดเสียกำลังใจ และสงสัยว่าเขากำลังฟังเราอยู่หรือเปล่า หรือเขาไม่สนใจ หรือว่าเขาเบื่อ โดยเฉพาะคนที่มีตำแหน่งสูงหลายคนจะรู้สึกว่างานของฉันสำคัญ สายนี้ไม่รับไม่ได้ อีเมลนี้ไม่ตอบไม่ได้ คำถามคือมันสำคัญกว่าน้องที่กำลังยืนพูดอยู่ต่อหน้าต่อตาคุณตรงนั้นจริงหรือ บางเรื่องมันอาจไม่ได้สำคัญไปกว่าน้องที่กำลังพรีเซนต์สิ่งที่เขาทำมาตลอด 2 สัปดาห์ ก็ได้

4. ผู้ฟังที่ดีต้องแนะนำผู้พูด

เช่น วิธีนี้พี่เคยลองทำแล้วนะ ผลลัพธ์ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ มีวิธีอื่นๆ อีกไหม? หรืออยากฟังมากเลยวิธีไหนที่แตกต่างไปจากเดิมไหม?

5. ต้องผลักดันให้ผู้พูดสามารถพูดได้ดี

ผู้ฟังที่ดีต้องคอยผลักดันให้ผู้พูดสามารถพูดได้อย่างต่อเนื่อง และเมื่อผู้พูดเกิดพูดตะกุกตะกักเราสามารถช่วยเสริมเขาได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้