ข้อใดแสดงว่า “เงินพดด้วง” เป็นความเจริญทางเศรษฐกิจของสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัย

          อาณาจักรสุโขทัยก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๗๘๑  หลังจากที่พ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาวรวมกำลังพลขับไล่ขอมซึ่งมีอำนาจปกครองดินแดนทั่วไปในสุวรรณภูมิได้สำเร็จ  ประกาศตนเป็นอิสระ  พ่อขุนบางกลางหาวขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ปกครองกรุงสุโขทัย  มีพระนามว่า  “ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์”

         อาณาจักรสุโขทัยมีอำนาจและพัฒนาบ้านเมืองจนเจริญถึงขีดสุดในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  ( พ.ศ. ๑๘๒๒ – ๑๘๔๒ )  และมีการขยายอาณาเขตลงไปทางตอนใต้จนตลอดแหลมมลายู  รวมทั้งส่งเสริมพระพุทธศาสนา  นำมาซึ่งการพัฒนาศิลปวัฒนธรรม  สถาปัตยกรรมและประติมากรรม  ที่สำคัญ  มีการประดิษฐ์อักษรไทยหรือลายสือไทซึ่งจารึกบนหลักศิลา  สิ่งเหล่านี้ถือเป็นรากฐานแห่งความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมและเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติไทยสืบมาจนทุกวันนี้

         นอกจากกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยจะทรงมีความเข้มแข็งและมีความสามารถในด้านการรบแล้ว  ยังทรงเป็นผู้นำในทางการค้า  หลักฐานที่เชื่อได้ว่าสุโขทัยเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าปรากฎข้อความในหลักศิลาจารึกว่า  “ ใครจักใคร่ค้าช้างค้า  ใครจักใคร่ค้าม้าค้า  ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า....”  และยังมีการค้นพบเตาเผาเครื่องสังคโลกจำนวนมากที่อำเภอสวรรคโลก  แสดงให้เห็นถึงปริมาณการผลิตเครื่องสังคโลก  ซึ่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญของสุโขทัย

         การค้าขายในอาณาจักรสุโขทัยพบว่ามีการใช้สื่อกลางการแลกเปลี่ยนรูปแบบต่างๆ ดังปรากฏในจดหมายเหตุจีนเจินละฟุงถู่จี้ของเจ้าต๋ากวาน  ซึ่งเดินทางผ่านอาณาจักรสุโขทัยเพื่อไปเยือนอาณาจักรเขมรประมาณ พ.ศ. ๑๘๓๙ – ๑๘๔๐  ความว่า  “....การค้าเล็กน้อยจ่ายกันเป็นข้าวหรือพืชผลอื่นๆ หรือสิ่งของที่มาจากเมืองจีน  ถัดมาก็ใช้ผ้า  ส่วนการค้าใหญ่ๆ ใช้ทองและเงิน”

         แต่สื่อกลางการแลกเปลี่ยนที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวสุโขทัยคือ  เงินพดด้วง  ซึ่งเป็นเงินตราที่ชาวสุโขทัยผลิตขึ้นใช้เอง  ทำด้วยโลหะเงิน  สัณฐานกลม  ปลายขาเงินยาวแหลมและชิดกัน  มีรูขนาดใหญ่ระหว่างขา  มีตราประทับเพื่อแสดงถึงแหล่งผลิต  และรอยบากเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ของเนื้อเงิน

         พดด้วงในยุคแรกมีรอยบากเล็กและไม่ค่อยเรียบร้อย  แต่ในยุคต่อมา  รอยบากใหญ่และลึกทำได้เรียบร้อยขึ้น  ปลายขาเงินงอพับเข้าหากัน  จนกระทั่งในยุคหลังจึงทำรอยบากเล็กลงที่เรียกเงินชนิดนี้ว่า  “ เงินพดด้วง”  สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า  “ ขดด้วง”  เนื่องจากมีลักษณะเหมือนตัวอ่อนของด้วงที่งอขดอยู่ในรังไหม  ภายหลังจึงเพี้ยนเสียงมาเป็นเงิน  “ พดด้วง”

          การผลิตเงินพดด้วงในสมัยสุโขทัย  ทางราชการเปิดโอกาสให้เจ้าเมืองประเทศราช  ตลอดจนพ่อค้าและประชาชนผลิตขึ้นใช้เองได้  เพื่อความสะดวกและคล่องตัวในการติดต่อค้าขาย  จึงพบเงินพดด้วงที่มีตราประทับแตกต่างกันหลายตรา  โดยอาจเป็นตราของผู้ผลิต  ของเจ้าเมืองหรือของผู้มีอำนาจรับรองเนื้อเงินก็ได้  ตราที่พบบนพดด้วงมีตั้งแต่ ๑ ตรา  ไปจนถึง ๗ ตรา  ตราที่พบส่วนใหญ่ได้แก่  ราชสีห์  ช้าง  หอยสังข์  ธรรมจักร  บัว  กระต่ายและราชวัติ

         นอกจากนี้  ยังพบว่าในสมัยสุโขทัยมีการนำโลหะชนิดอื่นซึ่งไม่ใช่โลหะเงิน  เช่น  ดีบุก  ตะกั่ว  สังกะสี  มาหลอมให้มีลักษณะคล้ายพดด้วง  แต่มีขนาดใหญ่กว่า  เรียกแตกต่างกัน  เช่น  พดด้วงชิน  เงินคุบ  เงินชุบ  หรือ  เงินคุก  ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าเพื่อใช้เป็นน้ำหนักชั่งสิ่งของหรือเป็นเครื่องรางของขลัง

         นอกจากพดด้วงซึ่งใช้เป็นเงินหลักแล้ว  ชาวสุโขทัยยังใช้  “ เบี้ย”  เป็นเงินปลีกสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้าราคาต่ำด้วย  ดังปรากฏหลักฐานในหลักศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง  ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นศิลาจารึกในสมัยพญาลิไท  ได้บันทึกถึงการบำเพ็ญทานว่า  “ คิดพระราชทรัพย์ที่พระราชทานคือ  ทองหมื่นหนึ่ง  เงินหมื่นหนึ่ง  เบี้ยสิบล้าน  หมากสองล้าน  จีวร๔๐๐”

         หลังจากเรืองอำนาจมาเกือบ ๒๐๐ ปี  อาณาจักรสุโขทัยได้เสื่อมลงเรื่อยๆ  จนกระทั่งถูกผนวกเข้าเป็นเมืองบริวารของกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๑๙๘๑  ในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ ๔  กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย

 

(เงินตราในสมัยสุโขทัย)

ไทยผลิตเงินตราขึ้นใช้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย! เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่เหมือนใครในโลก!!

เผยแพร่: 7 ก.ค. 2563 17:31   โดย: โรม บุนนาค


ในสมัยโบราณกาลนานมา เมื่อเริ่มมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน คนยุคนั้นใช้ทั้ง ลูกปัด เปลือกหอย อัญมณี แม้แต่เมล็ดพืช เป็นสื่อกลาง และได้มีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ สำหรับชนชาติไทย ข้อมูลของกองกษาปณ์กล่าวว่า มีการนำโลหะมาใช้เป็นเงินตราตั้งแต่สมัยสุโขทัย เรียกว่า “เงินพดด้วง” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่เหมือนเงินตราใดในโลก แสดงให้เห็นถึงความเจริญของชาติไทยที่ได้ผลิตเงินตราขึ้นใช้เอง และใช้ต่อมาเป็นเวลายาวนานราว ๖๐๐ปี จนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีการนำเงินเหรียญและเงินกระดาษตามแบบตะวันตกมาใช้

เงินพดด้วง ทำขึ้นจากแท่งเงิน ทุบปลายงอเข้าหากัน แล้วตอกตราแผ่นดินประจำรัชกาลลงไป มีสัณฐานกลมคล้ายตัวด้วง จึงเรียกกันว่า “เงินพดด้วง” แต่ชาวต่างประเทศกลับเรียกว่า “เงินลูกปืน” (BULLET MONEY)
เงินพดด้วงในสมัยสุโขทัย มีตราประทับไว้มากกว่า ๒ ดวง เป็นสัตว์ชั้นสูง เช่น วัว กระต่าย หอยสังข์ และราชสีห์ เป็นต้น

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เงินพดด้วงก็ยังมีลักษณะคล้ายกับของกรุงสุโขทัย แต่ตรงปลายที่งอจรดกันไม่แหลมเหมือนพดด้วงสุโขทัย ตราที่ประทับเป็นตราจักรและตราประจำรัชกาล เช่น ครุฑ ช้าง ราชวัตร พุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นต้น
ในสมัยกรุงธนบุรี ก็ยังใช้เงินพดด้วง ซึ่งผลิตขึ้นใช้เพียง ๒ ชนิด คือ ตราตรีศูล และตราทวิวุธ

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เงินพดด้วงประทับตราจักร ซึ่งเป็นตราแผ่นดิน กับประทับตราประจำรัชกาล คือ รัชกาลที่ ๑ ตราบัวอุณาโลม รัชกาลที่ ๒ ตราครุฑ รัชกาลที่ ๓ ตราปราสาท รัชกาลที่ ๔ ตรามงกุฎ รัชกาลที่ ๕ ตราพระเกี้ยว
ส่วนเบี้ย ซึ่งใช้เป็นเงินตราในสมัยก่อนเหมือนกัน เป็นเปลือกหอยขนาดเล็ก พ่อค้าต่างชาติได้นำมาจากหมู่เกาะมัลดีฟส์ ใช้เป็นเงินตราซื้อสินค้าไทย และขายหอยเบี้ยให้ไทย ใช้แก้ความขัดสนที่ไม่มีเงินตราแลกเปลี่ยน แต่เงินเบี้ยเป็นเงินที่มีค่าต่ำสุดในระบบเงินตรา เหมือนเศษสตางค์ มีอัตราแลกเปลี่ยน ๑๐๐ เบี้ยต่อ ๑ อัฐ หรือ ๑ สตางค์ครึ่งเท่านั้น

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขายกับไทยมากขึ้น จนเงินพดด้วงที่ทำด้วยมือไม่ทันกับความต้องการ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้ผลิตเหรียญกษาปณ์เงินด้วยเครื่องจักรที่นำมาจากประเทศอังกฤษ ในปี ๒๔๐๑ จึงเริ่มผลิตเหรียญบาท สลึง และเฟื้อง ต่อมาเมื่อนำเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้ามาจึงโปรดเกล้าฯให้สร้างโรงกษาปณ์ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานนามว่า “โรงกษาปณ์สิทธิการ” ผลิตได้จำนวนมาก ทั้งยังผลิตเงินตราราคาต่ำด้วยดีบุกด้วยเพื่อใช้แทนเบี้ยหอย

สำหรับเงินกระดาษ หรือ ธนบัตร เพื่อใช้ชำระในมูลค่าสูงๆ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯได้โปรดเกล้าให้พิมพ์ออกมาใช้ตั้งแต่ปี ๒๓๙๖ เรียกว่า “หมาย” มีมูลค่าตั้งแต่ เฟื้อง สลึง บาท ตำลึง ชั่ง อีกทั้งยังโปรดเกล้าฯให้พิมพ์ใบพระราชทานเงินตรา หรือ “เช็ค” ขึ้นด้วย แต่ทว่าเงินกระดาษ รวมทั้งเช็คพระราชทานที่ไม่เคย “เด้ง” ก็ไม่ได้รับความนิยม จึงมีใช้เฉพาะในรัชกาลที่ ๔ เท่านั้น
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการเงินครั้งสำคัญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่ามาตราเงินของไทยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น คือ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง เป็นระบบที่ยุ่งยาก ในปี ๒๔๔๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ปรับปรุงใหม่ โดยใช้เป็น บาท และสตางค์ เท่านั้น คือ ๑๐๐ สตางค์ เป็น ๑ บาท อันเป็นมาตราเงินไทยที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกอย่าง คือโปรดเกล้าฯให้นำพระบรมรูปของพระองค์ประทับลงบนเหรียญ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่นำพระบรมรูปของพระมหากษัตริย์ประทับลงบนเหรียญกษาปณ์

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงพยายามจะนำธนบัตรซึ่งตอนนั้นเรียกกันว่า “เงินกระดาษหลวง” ออกมาใช้ในปี ๒๔๓๖ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยม จนในปี ๒๔๔๕ เมื่อมีระบบธนาคารพาณิชย์เกิดขึ้น มีการซื้อขายกันเป็นเงินจำนวนมาก การใช้เหรียญกษาปณ์จึงยุ่งยากในการนับ ธนบัตรได้รับความนิยม จึงโปรดเกล้าฯให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติประกาศเลิกใช้เงินพดด้วงทุกชนิด ตั้งแต่วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๔๔๗ เป็นต้นมา

เราใช้เงินกระดาษกันอย่างจริงจังมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ เป็นเวลา ๑๐๐ กว่าปีแล้ว แต่วันนี้เงินกระดาษก็ทำท่าว่าจะหมดอนาคต เพราะเงินอิเล็กทรอนิกส์กำลังแทรกเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกที เห็นทีว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีก ซึ่งก็เป็นธรรมดาของโลก ใครที่ตกขบวนตามไม่ทันความเปลี่ยนแปลง อย่างกดลงทะเบียนเวปคนไทยไม่ทิ้งกัน หรือเยียวยาเกษตรกรไม่เป็น ระวังถึงตอนนั้นแม้มีเงินก็อาจจะอดข้าวได้ เพราะกดไม่เป็น

เงินพดด้วง มีความสําคัญอย่างไร

เงินพดด้วง เป็นเงินตราที่เริ่มต้นผลิตมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยใช้อย่างต่อเนื่องมาจนถึงสมัยศรีอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผลิตจากแท่งโลหะแบ่งน้ำหนักตามมาตรฐานน้ำหนักชัดเจนเป็นหน่วยชั่ง ตำลึง บาท สลึง เเละเฟื้อง เงินพดด้วงสามารถนำไปซื้อสินค้าในต่างอาณาจักรได้เพราะทำจากเนื้อเงินบริสุทธิ์ โดยใช้น้ำหนักเป็นตัว ...

เงินพดด้วง สมัยสุโขทัยทำมาจากแร่ชนิดใด

เงินพดด้วงนั้นยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า มีใช้กันครั้งแรกในรัชกาลใด แต่สันนิษฐานว่า เกิดขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัย เงินพดด้วงส่วนใหญ่ทำด้วยเงินบริสุทธิ์ ส่วนพดด้วงที่ทำด้วยทองคำนั้นพบในสมัยรัตนโกสินทร์เท่านั้น พดด้วงมีรูปร่างลักษณะสัณฐานกลม ปลายทั้ง ๒ ข้างงอเข้าหากันเหมือนตัวด้วงขด มีด้านต่าง ๆ คือ ...

เงินพดด้วงมีความเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสมัยอยุธยาอย่างไร

เงินพดด้วงทำขึ้นจากแท่งเงินทุบปลายงอเข้าหากัน จัดว่าเป็นเงินตราที่มีมูลค่าสูง เพราะกำหนดมูลค่าเท่ากับน้ำหนักของโลหะที่ใช้ผลิต จึงมักใช้ในการค้าขายระหว่างประเทศมากกว่าที่ชาวบ้านจะใช้กัน แบ่งเป็น 6 ชนิด คือ ตำลึง บาท กึ่งบาท สลึง เฟื้อง และไพ ซึ่งชนิดหนักตำลึงนั้น เนื่องจากมีมูลค่าสูงเกินไป ส่วนชนิดราคากึ่งบาทนั้นมี ...

เงินตราสมัยสุโขทัยที่ทำด้วยโลหะ ได้แก่อะไร

สมัยอาณาจักรสุโขทัย นอกจากนี้ ยังพบว่าในสมัยสุโขทัยมีการนำโลหะชนิดอื่นซึ่งไม่ใช่โลหะเงิน เช่น ดีบุก ตะกั่ว สังกะสี มาหลอมให้มีลักษณะคล้ายพดด้วงแต่มีขนาดใหญ่กว่า เรียกแตกต่างกัน เช่น พดด้วงชิน เงินคุบ เงินชุบ หรือเงินคุก รวมทั้งการใช้เบี้ยเป็นเงินปลีกสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้าราคาต่ำด้วย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้