วัสดุในข้อใดมีสมบัติเป็นตัวนำที่ดีที่สุด

การนำไฟฟ้าคือ ความสามารถที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำไฟฟ้า จะมีค่าต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้าอยู่ทุกตัวนำค่านี้เราเรียกกว่า ค่าความต้านทาน (Resistance) ได้เอาโลหะแต่ละชนิดไปทดลองหาค่าการนำไฟฟ้า โดยให้อุณหภูมิ พื้นที่หน้าตัด ความยาวที่เท่ากัน จะมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่แต่ละโลหะไม่เหมือนกันคือ สภาพต้านทานไฟฟ้า (electrical resistivity ) สภาพต้านทานไฟฟ้า (อังกฤษ: electrical resistivity) คือปริมาณการวัดของการต่อต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าในวัสดุ ค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าต่ำบ่งชี้ว่าวัสดุยินยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ได้ง่าย หน่วยในระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศของสภาพต้านทานไฟฟ้าคือ โอห์ม เมตร (Ωm)

 

.

ซึ่งค่าความต้านทานนี้จะมีความสัมพันธ์กับ พื้นที่หน้าตัด ความยาวและสภาพต้านทานไฟฟ้า คือ

 

โดย l คือ ความยาวของตัวนำ มีหน่วยเป็นเมตร(m) A คือ พื้นที่หน้าตัดของตัวนำ มีหน่วยเป็นตารางเมตร(m2) ρ (Greek: rho) คือ สภาพต้านทานไฟฟ้า (Resistivity )ของสสาร มีหน่วยเป็นโอห์ม-เมตร(Ω.m)

4 โลหะตัวนำไฟฟ้าดีที่สุด (ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียล) คือ

1.เงิน (Silver) มีค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า 1.59×10−8 Ω•m 2.ทองแดง (Copper) มีค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า1.68×10−8 Ω•m 3.ทองคำ (Gold) มีค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า 2.44×10−8 Ω•m 4.อลูมิเนียม (Aluminium) มีค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า 2.82×10−8 Ω•m

 

ข้อดี-ข้อเสียของโลหะทั้ง 4 เมื่อใช้เป็นตัวนำไฟฟ้า

1.เงิน (Silver) ตัวนำไฟฟ้าที่ดีที่สุดคือ เงินบริสุทธิ์ แต่ไม่ใช่โลหะที่ใช้กันทั่วไปในการนำไฟฟ้า เนื่องจากเงินมีข้อเสียคือ การกระจายของกระแสที่ไม่เท่ากัน โดยเฉพาะในกระแสความถี่สูง ราคาแพงกว่าอลูมิเนียมหรือทองแดงมาก

2.ทองแดง (Copper) โลหะที่ใช้กันมากที่สุดชนิดหนึ่งในการนำไฟฟ้า เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นง่ายต่อการพันหรือบัดกรีซึ่งทำให้เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเมื่อจำเป็นต้องใช้สายไฟจำนวนมาก ตัวอย่างการทองแดงเป็นตัวนำไฟฟ้าคือ การส่งกระแสไฟฟ้าและการผลิตไฟฟ้า ใช้ในมอเตอร์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหม้อแปลงและบุชบาร์ เมื่อติดตั้งอย่างถูกต้องจะเป็นโลหะที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้ทองแดงมักใช้เป็นตัวนำที่มีประสิทธิภาพในเครื่องใช้ในครัวเรือนและในอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยทั่วไป สายไฟส่วนใหญ่ชุบทองแดงเนื่องจากมีต้นทุนต่ำ ทองแดงยังใช้ในตัวนำไมโครวงจรไฟฟ้าและไมโครโปรเซสเซอร์เนื่องจากมีค่าการนำไฟฟ้าสูงและมีความต้านทานต่อการให้ความร้อนต่ำ นอกจากนี้ยังใช้ในโทรศัพท์มือถือทีวีและคอมพิวเตอร์

 

 

 

3.ทองคำ (Gold) เป็นตัวนำไฟฟ้าสูง แต่เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายจึงใช้ในปริมาณที่พอเหมาะเท่านั้น ไมโครชิปอาจมีสายทองสำหรับการเชื่อมต่อและในกรณีที่การใช้งานต้องการความต้านทานต่อการเกิดออกซิเดชั่นและการกัดกร่อนสูงพร้อมกับการนำไฟฟ้าสูงจึงใช้การชุบทองแบบบางมาก

4.อลูมิเนียม (Aluminium) เป็นโลหะอีกชนิดในการนำไฟฟ้าสูง แม้ว่าโดยปริมาตรแล้วการนำไฟฟ้าจะมีเพียง 60% ของทองแดง แต่โดยน้ำหนักแล้วอลูมิเนียมหนึ่งปอนด์มีความสามารถในการรับกระแสไฟฟ้าของทองแดงสองปอนด์ สิ่งนี้ทำให้มันเป็นวัสดุที่คุ้มค่ามาก อลูมิเนียมใช้ในสายไฟทางไกลการส่งและการจ่ายไฟฟ้าแรงสูงบนโครงข่ายไฟฟ้า หน้าสัมผัสไฟฟ้าของเบรกเกอร์

สายไฟนิยมใช้ทองแดง แม้ว่าเงินจะเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีที่สุด แต่เนื่องจากราคาแพงจึงนิยมใช้ทองแดงแทน ปลอกหุ้มสายไฟทำด้วยวัสดุประเภทฉนวนไฟฟ้าเช่น พลาสติก เพราะเป็นส่วนที่ต้องจับต้องได้

การนำความร้อน

จำแนกได้เป็น

  • ตัวนำความร้อน คือ วัสดุที่ยอมให้พลังงานความร้อนไหลผ่านไปได้ดี ตัวอย่างเช่น เงิน, ทองแดง
  • ฉนวนความร้อนคือ วัสดุที่ไม่ยอมให้พลังงานความร้อนไหลผ่านได้น้อย ตัวอย่างเช่น แก้ว, ไม้, กระเบื้อง, ผ้า

คำถาม จากภาพนักเรียนคิดว่าส่วนใดเป็นฉนวนความร้อนและส่วนใดเป็นตัวนำความร้อน (ขอบคุณภาพ: designedby freepik)
Kitchen vector created by Freepik

การถ่ายโอนความร้อน

จำแนกได้เป็น

  • การนำความร้อน (Conduction)
    คือการถ่ายโอนความร้อนจากโมเลกุลหนึ่งไปยังโมเลกุลที่ติดกันไป จากอุณหภูมิสูงไปสู่อุณหภูมิต่ำ เช่น เวลาจับหูกระทะจะรู้สึกร้อนเพราะตัวกระทุะจะส่งผ่านความร้อนต่อมาเรื่อยๆจนถึงหูกระทะและมือเรา
  • การพาความร้อน (Convection)
    คือการถ่ายโอนความร้อนโดยอาศัยตัวพาที่จัดเป็นของไหล เช่น ของเหลวและแก๊ส เช่น การต้มลูกชิ้น ลูกชิ้นจะได้ความร้อนโดยน้ำเป็นตัวพาความร้อน
  • การแผ่รังสี (Radiation)
    คือการถ่ายโอนความร้อนโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง การแผ่รังสีจึงสามารถถ่ายเทความร้อนผ่านอวกาศได้
    วัตถุทุกชนิดที่มีอุณหภูมิสูงกว่า -273°C หรือ 0 K (เคลวิน) จะมีการแผ่รังสี วัตถุที่มีอุณหภูมิสูงแผ่รังสีคลื่นสั้น วัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำแผ่รังสีคลื่นยาวตามกฎของวีน

ความเหนียว

หมายถึง ความสามารถในการรับแรงโดยไม่เกิดการแตกหัก สามารถพิจารณาความเหนียวจาก

  1. ความสามารถในการดึงเป็นเส้น
  2. ความสามารถในการตีเป็นแผ่นบางได้
ตัวอย่างเช่น โลหะต่างๆ เช่น ทองคำ, เงิน, เหล็ก สามารถตีให้เป็นแผ่นเป็นเส้นสามารถทำเป็นเครื่อง ประดับชนิดต่างๆ เช่น สร้อย, แหวน

คำถาม นักเรียนคิดว่า เชือกใดมีความเหนียวมากกว่ากัน เชือกไนลอน เชือกฟาง

ความยืดหยุ่น

จำแนกได้เป็น

  • วัสดุที่มีสภาพยืดหยุ่นคือ วัสดุที่เมื่อถูกแรงกระทำจะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง แต่เมื่อแรงกระทำหยุดวัสดุจะกลับสู่สภาพเดิมหรือใกล้เคียงเดิม ตัวอย่างเช่น ยางยืด, ฟองน้ำ, ลวดสปริง, เส้นเอ็น
  • วัสดุที่ไม่มีสภาพยืดหยุ่นคือ วัสดุที่เมื่อถูกแรงกระทำจะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง แต่เมื่อแรงกระทำหยุดลง วัสดุนั้นจะยังคงรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไป
ทั้งนี้วัสดุที่มีสภาพยืดหยุ่นสามารถเสียสภาพความยืดหยุ่นได้หากได้รับแรงกระทำมากเกินพิกัดยืดหยุ่น

ความแข็ง

คือ ความต้านทานต่อแรงกด การขัดสี สามารถทดสอบได้หลายวิธี วิธีง่ายๆคือดูจากความทนทานต่อการขูดขีด เช่น เล็บขูดทัลค์เป็นรอย แสดงว่าเล็บแข็งแรงกว่าทัลค์ เล็บมือไม่สามารถขูดแคลไซต์เป็นรอย แสดงว่าแคลไซต์แข็งแรงกว่าเล็บ และแข็งแรงกว่าทัลค์
ประโยชน์จากสมบัติด้านความแข็ง เช่น เพชรใช้ทำเครื่องตัดกระจก

ความแข็งของโมสแร่1ทัลก์2ยิปซัม3แคลไซต์4ฟลูออไรด์5อะพาไทต์6ออร์โทเคลสเฟลด์สปาร์7ควอตซ์8โทแพซ9คอรันดัม10เพชร

ความหนาแน่น

คือ ปริมาณมวลสารในหน่วยปริมาตร

ความหมายหน่วยความหนาแน่นปริมาณมวลสารในหน่วยปริมาตรกิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร, กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตรมวลปริมาณที่บอกความสามารถที่วัตถุสามารถต้านทานการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่กิโลกรัม, กรัมน้ำหนักแรงที่โลกหรือดาวเคราะห์กระทำต่อวัตถุนิวตันปริมาตรบริเวณที่อนุภาคต่างๆครอบครองในปริภูมิสามมิติลูกบาศก์เมตร, ลูกบาศก์เซนติเมตร

ความหนาแน่นเป็นคุณสมบัติเฉพาะของสารบริสุทธิ์

ชนิดของสารความหนาแน่น (กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)ทองคำ19,300ปรอท13,580เหล็ก7,870น้ำทะเล1,025น้ำ1,000น้ำแข็ง917เอทิลแอลกอฮอล์790

ความเป็นกรด-ด่าง (pH)

สารต่างๆในชีวิตประจำวันสามารถจำแนกได้ตามความเป็นกรด-ด่าง (pH)

คุณสมบัติของกรด (pH < 7)คุณสมบัติของเบส (pH >7)นำไฟฟ้าได้นำไฟฟ้าได้มีรสเปรี้ยวมีรสฝาดเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดงปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงินไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีแดงไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินทำปฏิกิริยากับโลหะได้แก๊สไฮโดรเจนไม่ทำปฏิกิริยากับโลหะยกเว้นอลูมิเนียมที่ทำ ปฏิกิริยาได้แก๊สไฮโดรเจนทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือและน้ำทำปฏิกิริยากับกรดได้เกลือและน้ำตัวอย่างสารที่เป็นกรด: น้ำส้มสายชู, น้ำยาล้างห้องน้ำ, น้ำโซดาตัวอย่างสารที่เป็นด่าง: น้ำปูนใส, น้ำขี้เถ้า, ผงฟู, ผงซักฟอก, โซดาไฟ

การทดสอบความเป็นกรด-ด่าง

สามารถทำได้ง่ายๆโดยกระดาษลิตมัสสีแดง-น้ำเงิน

สารที่มีฤทธิ์เป็นกรด

  • ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสแดง
  • เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสน้ำเงินเป็นแดง

สารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

  • ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสน้ำเงิน
  • เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสแดงเป็นน้ำเงิน

สารที่มีฤทธิ์เป็นกลาง

  • ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสน้ำเงิน
  • ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสแดง
  • ตัวอย่างเช่น น้ำเกลือ น้ำเชื่อม น้ำกลั่น

ในการเข้าใช้งานเวบไซต์ของเรา ท่านได้อ่าน เข้าใจ และยอมรับข้อกำหนดการใช้งาน นโยบายความเป็นส่วนตัว และนโยบายคุกกี้ของเราแล้ว โดยท่านสามารถอ่านนโยบายของเราได้ ที่นี่

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้