ภาพใดคือภาพที่แสดงความลึกลวงตา

รู้หรือไม่ว่าการใช้ความเปรียบต่างและโบเก้อย่างได้ผลจะช่วยเพิ่มมิติพื้นที่ว่างและความลึกในภาพมาโครได้ ช่างภาพทิวทัศน์ GOTO AKI จะมาบอกเล่าให้ทราบกัน (เรื่องโดย: GOTO AKI, Digital Camera Magazine)

ภาพใดคือภาพที่แสดงความลึกลวงตา

EOS 5D Mark III/ EF100mm f/2.8L Macro IS USM/ FL: 100 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/250 วินาที, EV -1.3)/ ISO 1600/ WB: แสงแดด

หยดน้ำที่ปลายใบเฟิร์นคือตัวแบบหลักของภาพถ่ายด้านบน แต่ผมก็อยากสื่อถึงมิติพื้นที่ว่างและความลึกด้วย และต่อไปนี้คือวิธีที่ผมใช้ในการถ่ายภาพ

 

ขั้นตอนที่ 1: ใส่ส่วนที่มืดไว้ในแบ็คกราวด์ แล้วใช้ความเปรียบต่างเพื่อดึงดูดสายตาไปทางด้านหลัง

คนเรามักจะสนใจส่วนที่สว่างก่อน จากนั้นจะเปลี่ยนไปสนใจส่วนที่มืดกว่า เมื่อใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้แล้ว เราจะสามารถใช้ความเปรียบต่างในภาพเพื่อสร้างมิติพื้นที่ว่างได้

ภาพใดคือภาพที่แสดงความลึกลวงตา

A: ส่วนที่มืด
B: ส่วนที่สว่าง

สำหรับภาพด้านบน ผมจับโฟกัสไปที่หยดน้ำที่ผมต้องการให้เป็นตัวแบบหลัก แล้วจัดองค์ประกอบภาพในเฟรมเพื่อให้แบ็คกราวด์ส่วนใหญ่ดูมืด วิธีนี้จะสร้างความเปรียบต่างที่ช่วยดึงดูดสายตาจากด้านหน้าไปด้านหลัง

เอฟเฟ็กต์เช่นนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากแบ็คกราวด์เป็นสีเขียวสดทั้งหมด เนื่องจากจะไม่มีสิ่งใดมา “ขยับ” เส้นนำสายตาและภาพจะดูแบนมากขึ้นมากด้วย

เคล็ดลับ: แนวคิดนี้ยังเป็นเหตุผลที่คุณควรให้ความสนใจกับเงาเมื่อถ่ายภาพตัวแบบที่สว่าง

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีใช้สีเพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์แบบต่างๆ ได้ในบทความ:
ทำความเข้าใจทฤษฎีสี: คู่มือที่เป็นมิตรกับช่างภาพ
ควรใช้สีสันอย่างไรเพื่อดึงความสนใจไปที่ตัวแบบ

 

ขั้นตอนที่ 2: เพิ่มความลึกด้วยการวางตัวแบบไว้ระหว่างโบเก้ในแบ็คกราวด์กับในโฟร์กราวด์

การใช้โบเก้ในแบ็คกราวด์และในโฟร์กราวด์ร่วมกันจะช่วยกระตุ้นจินตนาการของผู้ชม และยังสามารถสร้างมิติความลึกได้อีกด้วย

ควรใช้ค่า f ที่ค่อนข้างกว้าง แต่เพียงพอที่จะรักษาตัวแบบหลักให้อยู่ในโฟกัส โดยปกติแล้ว เราสามารถใช้ค่าใดก็ได้ตั้งแต่รูรับแสงกว้างสุดไปจนถึงค่าประมาณ f/5.6 สำหรับภาพนี้ ผมใช้ f/3.5 จับโฟกัส (และตัวแบบ) ที่ระยะมิดเดิลกราวด์ แล้วภาพที่ได้ควรมีทั้งโบเก้ในโฟร์กราวด์และในแบ็คกราวด์ซึ่ง “ประกบ” ตัวแบบอยู่ ทำให้ภาพดูมีความลึกมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #3: การสร้างโบเก้
เคล็ดลับที่ไม่ควรพลาดจากมืออาชีพในการเพิ่มความลึกให้กับภาพ

เคล็ดลับ: เลนส์มาโครเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสร้างเอฟเฟ็กต์นี้เนื่องจากคุณสามารถใช้เลนส์ชนิดนี้ถ่ายภาพโคลสอัพ และระยะชัดตื้นที่ได้ก็ช่วยให้ง่ายต่อการจัดสิ่งต่างๆ ให้อยู่นอกโฟกัส!


หากต้องการทราบเคล็ดลับและบทเรียนเกี่ยวกับการถ่ายภาพมาโคร โปรดอ่านบทความเหล่านี้:
การถ่ายภาพมาโครในสภาพแสงน้อย: การป้องกันปัญหากล้องสั่นไหว
บทเรียน: ดอกไม้ที่สะท้อนบนหยดน้ำ
ภาพมาโครชวนน้ำลายสอ: ศิลปะแห่งการถ่ายภาพอาหารแบบโคลสอัพ

เรียนรู้วิธีอื่นๆ ในการควบคุมการดึงความสนใจของผู้ชมได้ใน:
การจัดองค์ประกอบภาพที่มีประสิทธิภาพ: ดึงความสนใจไปยังกบตัวจิ๋วในดอกไม้
สร้างฉากตระการตาด้วยเส้นนำสายตาระยะเทเลโฟโต้

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!


เกี่ยวกับผู้เขียน

GOTO AKI

เกิดเมื่อปี 1972 ที่จังหวัดคานากาวะ จบการศึกษาจาก Sophia University และ Tokyo College of Photography Goto เผยแพร่ผลงานคอลเลคชั่นภาพถ่ายที่มีชื่อว่า "LAND ESCAPES" และยังมีส่วนร่วมในผลงานอื่นๆ อีก อาทิ "water silence" การแสดงผลงานศิลปะที่ผสานภาพถ่ายกับวิดีโอเข้าไว้ด้วยกัน

ใบความรทู้ ่ี 6
การวาดทัศนียภาพ
………………………………………………………………………………………

การวาดภาพทแ่ี สดงทศั นียภาพ
1) ความลกึ ลวงตาแบบ 3 มิติ

ๆการสรา้ งความลึกลวงตาแบบ 3 มติ ิ มวี ธิ ีการ ดังนี้
1.1) การศึกษาจากภาพบรรยากาศ (Atmospheric
Perspective) ภาพบรรยากาศ หรือ ภาพทิวทัศน คือ
ทัศนียภาพท่ีเกิดข้ึนจากการมองเห็นสิ่งที่ อยู่ ไกลออกไป
เชน ภูเขา ต้นไม้เป็นตน ซึ่งอาจดูไม่ ชัดเจน เน่ืองจากมี
ตัวกลาง ซึ่งสิ่งเหลานี้จะ กั้นขวางแสง สะทอนจากวัตถุ
ทำใหแสง สะทอนถึงนัยนตาได้นอย สงผลใหมองเห็นวัตถุ
ไมช่ ัดเจน

1.2) ใชการซอนทับ (Overlapping) วิธีการน้ี เป็น
วิธีการพ้ืนฐานในการสร้าง ความลึกลวงตา สามารถ
ทำได้โดยนําวัตถุชิ้น หนึ่งไปวางไวด้านหน้าวัตถุท่ี
ต้องการ ศึกษาอีก ชิ้นหน่ึง โดยจัดวางในลักษณะการซ
อนทับ หรือ วางเหล่ือมกัน จะทำใหมองเห็นว่ามีวัตถุ
ชิ้นหน่ึง วางอยู่ ด้านหน้า และบังวัตถุที่ดูเหมือนอยู่
ข้างหลังบางสว่ น

1.3) เนนรายละเอียดและเส้นขอบ (Details & Edges) ในการวาดภาพ
แสดงทัศนียภาพ ผู้วาดจะต้องวาดใหสิ่งท่ีอยู่ไกลออกไปมีสีจางลง ดู ไม่
ชัดเจน และต้องวาดใหสิ่งที่อยู่ใกลเข้ามามีสีเขม ขึ้น ดูชัดเจน สามารถเห็น
รายละเอยี ดไดม้ ากกว่า เพ่ือใหภาพที่วาดดูคลา้ ยกับ ของ จริงมากข้ึน

1.4) สังเกตขนาดและช องว่าง (Size & Space) เรา
สามารถสังเกตได้ว่าวัตถุ 2 ช้ินท่ีมีขนาด และรูปทรงแบบ
เดียวกันจะมีขนาดเทากัน เมื่อต้ังอยู่ ห่างจากเราเทากัน แต่
เม่ือเล่ือนช้ินใด ช้ินหน่ึงใหไกล ออกไป เราก็จะพบว่าวัตถุช้ิน
นั้นมีขนาดเล็กลง ดังนั้น เมื่อเราเห็นวัตถุ 3 ชิ้น ที่มีรูปทรง
เหมือนกัน แต่มีขนาดแตกต่างกันชิ้นที่ ใหญ่กว่าจะดูเหมือน
วาง อยู่ใกลกว่าชนิ้ ท่เี ลก็ ซงึ่ อยู่หา่ งออกไป

1.5) เล่น กับโครงสร้าง (Modeling) การเล่นกับแสงเงาผ่าน
โครงสร้าง ชว่ ยเพ่ิม ประสิทธิภาพใน การมองเห็นรูปทรงของวัตถุนั้น ๆ
ได้ชัดเจนข้ึน โดยจะสังเกตได้จากเงาที่ ทอด ผ่านโครงสร้าง ซ่ึงเงาจะ
ทอดผ่าน ไปบนพื้นผิวของ วัตถุตามความลึก ความนูนที่ปรากฏใหเห็น
ด้วย สายตา เชน เงาท่ีทาบลงบนกลองที่วางซอนกัน จะทำให
จนิ ตนาการถึงรปู ทรง ความลึก ตื้นและ ความลาดเอียงของกลองน้ัน ๆ
ได้ เป็นตน

1.6) ใชการมองตำแหน่งในแนวด่ิง (Vertical Locations) หาก
จินตนาการว่า กําลังยืนอยู่ บนพ้ืนที่ ราบและมองไปตามพื้นข้างหน้า
ในระยะท่ีไกลจะพบว่า วัตถุที่วางอยู่บน พ้ืนที่ที่อยู่ห่างออกไปน้ัน จะ
ดูเหมือน ค่อย ๆ เล่ือนข้ึนสู่เส้นขอบฟา ถาต้องการใหวัตถุท่ีมี ขนาด
เท่ากันดูเหมือนกับว่าอยู่ห่างออกไป สามารถทำ ได้โดยจัดวางใหวัตถุ
เล่ือนข้ึนสูงจาก ระดับพื้นระนาบ ตามสัดสวน ภาพวัตถุอยู่สูงขึ้นไป
จากแนวระนาบมาก วัตถุนัน้ กจ็ ะดูห่างออกไปมาก

2) หลกั การวาดภาพแสดงทัศนยี ภาพ
มีหลักการสำคัญในการสร้างสรรคผลงาน คือ

การใชเทคนิคการ วาดภาพท่ีมีความลึกลวงตา เพ่ือสร้างภาพ
แบบ 3 มิติ บนพื้นผิวระนาบ 2 มิติ เพื่อใหภาพที่ถ่ายทอดดู
สมจริงคล้ายกับภาพท่ีเห็น จริงด้วย สายตา การวาดภาพท่ี
แสดงทัศนียภาพเป็นเรื่อง ของการเลียนแบบ ความจริง เม่ือ
มองออกไปใน โลกแห่งความเป็นจริง จะพบว่าวัตถุมี ขนาดเล็ก
ลง เม่ืออยู่ห่างไกลออกไป และมีระยะห่างสม่ำเสมอ เชน เสา
รัว้ จะสังเกตได้ว่าเสาแต่ละตนจะอยู่ใกล กันมากขึ้นเม่ือแนวรั้ว
อยู่หา่ ง ออกไป เป็นตน

การวาดภาพทแี่ สดงทัศนียภาพ คือ การวาดภาพที่สร้างความลึกลวงตา ท่มี ีทงั้ ระยะใกลและไกลบน
พ้ืนผิวระนาบ 2 มิติ โดยสามารถเรียนรูจากการสังเกต เพ่ือทำความเข้าใจในหลักการได้ วัตถุท่ีเราต้องการวาด ให
มคี วามลึกลวงตาแบบ 3 มิติ จะตอ้ งอาศัยจินตนาการมองใหเป็นรูปทรงทมี่ ีความโปรงใส สามารถเห็น สัดสวนที่อยู่
ภายในวัตถไุ ด้ แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นรูปทรงท่ีมคี วามสมบรู ณ์

ส่ิงท่ีควรคำนึงถึงในการวาดภาพแสดงทัศนียภาพ คือ ไม่ต้องเคร่งครัดในเรื่องของการใชจินตนาการใน การ
ถ่ายทอดผลงาน และหลักการวาดภาพแสดงทัศนียภาพใหมากจนเกินไป เพราะจะทำใหภาพท่ีได้แม้ว่าจะดู สวย
แตอ่ าจดูแขง็ ท่ือและไมม่ ีชวี ติ ชีวาได้

ตวั อยา่ งผลงาน การวาดภาพทศั นียภาพ แบบ 1 จดุ

ตวั อยา่ งผลงาน การวาดภาพทัศนยี ภาพ แบบ 1 จดุ